餓鬼道的眾生非常痛苦,盂蘭節施食可以超拔一切六趣,餓鬼有情
วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้ สารทจีน เป็นเทศกาลสำคัญทั้งของลัทธิขงจื๊อ พุทธศาสนา ศาสนาเต๋า และชาวบ้าน ในอดีตเป็นเทศกาลใหญ่มาก แต่ปัจจุบันลดความสำคัญลง นอกจากในวัดพุทธและวัดเต๋าแล้ว แพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวบ้านจีนภาคใต้ ตั้งแต่มณฑลหูเป่ย อานฮุย เจ้อเจียง ลงมาจนถึงกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ในหมู่ชาวจีนแคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และไหหลำ ยังคงเป็นเทศกาลใหญ่ เป็น ๑ ใน ๘ เทศกาลสำคัญประจำปีของจีนแต้จิ๋ว ในไทยสารทจีนเป็นเทศกาลจีนสำคัญอันดับ ๒ รองจากตรุษจีนเท่านั้น เทศกาลนี้มีชื่อเป็นทางการว่า "จงหยวนเจี๋ย" แต้จิ๋วว่า "ตงหง่วงโจ็ย" แต่ชื่อทั่วไปนิยมเรียกว่า แต้จิ๋วอ่านว่า "ชิกว็วยะปั่ว" แปลว่า "(เทศกาล) กลางเดือน ๗" นอกจากนี้ยังมีชื่อที่นิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "กุ่ยเจี๋ย ( กุ๋ยโจ็ย)" แปลว่า "เทศกาลผี" ชื่อทั้งสามนี้ถ้าคุยกับคนจีนภาคใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ทุกคนจะรู้จักดี แต่คนปักกิ่งจะไม่รู้จักเลย เพราะเทศกาลนี้ปัจจุบันชาวบ้านจีนภาคเหนือไม่ได้ทำแล้ว คงเหลือแต่ในวัดพุทธและเต๋าเท่านั้น คำ "จงหยวน " ที่เป็นชื่อเทศกาลนี้เป็นคนละคำกับ "จงหยวน " ซึ่งหมายถึง "ดินแดนลุ่มแม่น้ำฮวงโหตอนกลางและตอนล่างอันเป็นศูนย์กลางอารยธรรมจีน" จงหยวนที่เป็นชื่อเทศกาลได้มาจากชื่อเทพประจำเทศกาลนี้ของศาสนาเต๋า วันเทศกาลสารทจีนคือวันเทวสมภพของเทพจงหยวน จึงเรียกว่า "จงหยวนเจี๋ย" (ตงหง่วงโจ็ย) แปลว่า เทศกาลเทพจงหยวน ตรงกับวันกลางเดือน ๗ จึงเรียกว่า "ชีเย่ว์ปั้น" ( ชิกว็วยะปั่ว) หมายถึงเทศกาลกลางเดือน ๗ แต่เทศกาลนี้มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นเดือน ๗ คือวัน ๑ ค่ำ เป็นวัน "เปิดยมโลก" ให้ผีทั้งหลายออกมารับการเซ่นสังเวย วัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันไหว้ใหญ่ทั้งผีบรรพชนและผีไม่มีญาติ วันสิ้นเดือน ๗ (๓๐ ค่ำ หรือแรม ๑๕ ค่ำ) เป็นวัน "ปิดประตูยมโลก" ผีทั้งที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดต้องกลับเข้ายมโลก วันต้นเดือน สิ้นเดือน มีพิธีไหว้ด้วย และมีพิธีทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้เปตชนครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ๗ อีกต่างหาก กิจกรรมทั้งหมดล้วนแต่เกี่ยวกับผี คนจีนจึงถือว่าเดือน ๗ เป็น "เดือนผี" และเทศกาลกลางเดือน ๗ คือ "เทศกาลผี" แต่ที่คนไทยเรียกสารทจีนเพราะวันนี้ใกล้กับวันสารทไทย อีกทั้งอยู่ในช่วงต้นฤดูสารทหรือชิวเทียน (Autumn) ของจีนอีกด้วย เทศกาลจงหยวนมีที่มาจากประเพณีจีนโบราณ คือวันอุลลัมพนบูชาของพุทธศาสนาและความเชื่อของศาสนาเต๋ารวมกันอย่างกลมกลืน วัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณเป็นที่มาของลัทธิขงจื๊อและคตินิยมพื้นฐานของคนจีนตลอดมา ลัทธิขงจื๊อจึงเป็นศาสนาสำคัญที่สุดของจีนไปโดยปริยาย แต่ก็เข้ากันได้กับศาสนาพุทธและศาสนาเต๋าซึ่งเข้ามาแพร่หลายและเกิดขึ้นในภายหลัง จนในวิถีชีวิตคนจีนมีอิทธิพลของ ๓ ศาสนานี้อยู่คละเคล้ากันไป เทพจงหยวน เทพประจำเทศกาลสารทจีน เทพจงหยวนเป็นเทพประจำเทศกาลสารทจีน ชื่อเต็มว่า "จงหยวนต้าตี้-อธิบดีแห่งคืนเพ็ญกลาง" หรือ "ตี้กวนต้าตี้-ธรณิศมหาเสนาธิบดี" เรียกสั้นๆ ว่า "ตี้กวน-ธรณิศเสนา" มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทพแห่งมหาบรรพตทั้งห้า (ของจีน) ภูเขาและแม่น้ำ เจ้าที่ประจำเมืองทุกเมือง เทพในเมืองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตรวจดูโชคเคราะห์ของสรรพสัตว์ ตรวจบัญชีความดีความชั่วของมนุษย์ และหน้าที่สำคัญคือให้อภัยโทษแก่ผู้รู้ผิดกระทำพลีบูชาท่าน วัน15 ค่ำ เดือน 7ท่านจะลงมาตรวจบัญชีชั่วดีของมนุษย์แล้วประทานอภัยให้ นอกจากนี้ท่านยังต้องมาเป็นประธานดูแลการไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งคนเป็นผู้ไหว้ โดยท่านจะไปเจรจากับ "ลี่" ราชาของผีพวกนี้ ให้ช่วยคุมดูแลบริวารไม่ให้ทำร้ายมนุษย์ ฉะนั้นผู้คนจึงกินเจ ทำพิธีเซ่นสรวงบูชาท่าน เซ่นไหว้บรรพชน เพื่อให้ท่านอภัยโทษให้ทั้งแก่ตนเองและวิญญาณบรรพชน ปัจจุบันในไต้หวันนิยมไหว้ท่านตั้งแต่ยามแรกของวัน 15 ค่ำ จีนแบ่งวันคืนออกเป็น 12 ยาม ยามละ 2 ชั่วโมง ยามแรกคือช่วง 5 ทุ่มถึงตี1 (23.00-01.00 น.) ยามแรกของวัน15 ค่ำ ก็คือช่วง23.00-01.00 น. ของคืนวัน14 ค่ำ เพราะจีนเริ่มวันใหม่ตอน 5 ทุ่ม ถ้าไม่ไหว้ตอน 5 ทุ่ม ก็มาไหว้ตอนเที่ยงวันของวัน 15 ค่ำ หลังจากไหว้บรรพบุรุษไปแล้ว ในจีนแต่ละถิ่นเวลาไหว้ต่างกัน บางถิ่นก็ไม่ได้ไหว้แล้ว ส่วนในไทยไม่ปรากฏมีพิธีไหว้เทพจงหยวนโดยเฉพาะ ประเพณีนิยมการไหว้ในวันเทศกาลจีนของไทยจะไหว้เจ้าและเทวดาทั้งหมดตอนเช้า อนึ่งคนจีนในไทยนับถือ "ตี่จู๋เอี๊ย" คือ "เจ้าที่" มาก มีศาลเล็กๆ ตั้งอยู่ในบ้านแทบทุกบ้าน ตี่จู๋เอี๊ยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตี้กวน (ธรณิศเสนา) หรือเทพจงหยวน จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนของท่านประจำอยู่ทุกบ้าน การไหว้ตี่จู๋เอี๊ยจึงพออนุโลม แทนการไหว้เทพจงหยวนได้ ตำนาน ตำนานที่ 1 ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เซ็งฮีไต๋ตี๋ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง
- ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” (พระโมคัลลานะ) เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ
ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ยมบาล) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน
จำนวนชุดที่ไหว้ การไหว้ในเทศกาลสารทจีนแบ่งออกเป็น 3 ชุด ดังนี้ 1. ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่
จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็ขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง 2. ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ
คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง 3. ชุดสำหรับไหว้วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ
วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้ ขนมที่ใช้ไหว้
ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี - ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
- เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
- หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
- มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
- กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ
แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมี ของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ
แง่คิด
ประเพณีสารทจีนนอกจากจะเป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีกุศโลบายในการสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้าและมีความสุข http://www.thaigoodview.com/node/15108?page=0,0
ขนมเข่งสูตรเด็ด ส่วนผสม แป้งอเนกประสงค์ (แป้งข้าวเหนียว) 500 กรัม (ถ้าจะทำขนมเข่งสีดำ ใช้แป้งข้าวเหนียวดำ 1 ½ ถ้วย ผสมแป้งข้าวเหนียวขาว 3 ½ ถ้วย) น้ำ 2 ½ ถ้วย น้ำตาลทราย 3 ½ ถ้วย มะพร้าวทึนทึกขูด
แป้งข้าวเหนียวดำ สีตอนเป็นผงไม่ดำแต่ถ้าเอาไปใช้เต็มส่วนไม่ปนกับแป้งขาว จะได้ขนมดำมะเมื่อมทีเดียว
วิธีทำ
1. เทแป้งและน้ำตาลใส่ชาม แล้วค่อยๆเทน้ำใส่ นวดให้เข้ากัน จนเป็นเนื้อเดียวกัน
2. เอากระทงใบตองแห้งทาน้ำมันให้ทั่ว ใส่มะพร้าวที่ขูดด้วยมือไว้ก้นกระทง
3. ค่อยๆตักแป้งที่ละลายแล้วใส่จนเกือบเต็ม
4. ตั้งน้ำให้เดือดในลังถึง นึ่งขนมประมาณ 30 นาที
ผลงานสุดอร่อย
ขนมเทียนสูตรเด็ด
ไส้: ส่วนผสมไส้: น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ (หอมเจียว ¼ ถ้วย) หรือกระเทียม พริกไทย เกลือ 1ช้อนชา น้ำตาลทราย ¼ กุง น้ำตาลปีบ 3 ชต. พริกไทย 2 ช.ช.
วิธีทำ: 1. นำถั่วทองไปแช่น้ำไว้ 3 ชม. 2. นำถั่ว 1 ถ้วยไปนึ่งให้สุก 3. ตำถั่วให้ละเอียด 3. ตั้งกะทะเจียวกระเทียมพอเหลือง 4. ใส่ถั่วทองในกะทะ ใส่น้ำตาล เกลือ พริกไทย ชิมรสตามชอบผัดไปจนแห้ง
5. นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ อย่างในรูปนี้ เรียกว่าขนาดใหญ่ เต็มปากเต็มคำ(ดีจัง)
ตัวแป้ง ส่วนผสมแป้ง:
แป้งอเนกประสงค์ (แป้งข้าวเหนียว) 500 กรัม (ถ้าจะทำขนมเข่งสีดำ ใช้แป้งข้าวเหนียวดำ 1 ½ ถ้วย ผสมแป้งข้าวเหนียวขาว 3 ½ ถ้วย) น้ำกระทิ 3 ถ้วย น้ำตาลปีบ 1 ถ้วย วิธีทำ: 1. เทแป้งใส่ชาม ค่อยๆบี้น้ำตาลผสมไปกับแป้ง 2. ค่อยๆเทกระทิใส่แล้วนวดให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 3-4 ช.ม.
3. เอากระทงใบตองแห้งทาน้ำมันให้ทั่ว 4. เรียงกระทงในลังถึง หรือถาด หยอดน้ำแป้งที่ผสมไว้ก้นกระทงเล็กน้อย
5. วางไส้ถั่วลงกลางกระทง
6. หยอดแป้งให้ท่วมไส้ถั่วจนเกือบเต็มกระทง
5. นำไปนึ่งในลังถึงที่ตั้งจนน้ำเดือดแล้ว ประมาณ 30 นาที ผลงานสุดอร่อย(จริงๆ) เห็นกรรมวิธีการทำแล้วต้องของบอกเลยว่า ถ้าคนทำไม่มีความรักความอดทนใส่ลงไปด้วย คงไม่มีวันได้ทานขนมอร่อยๆอย่างแน่นอน ที่บอกอย่างนี้ก็เพราะว่า ต้องใช้เวลากับการทำขนมกันเป็นวันๆทีเดียวกว่าจะได้มาแจกจ่ายไหว้เจ้า ให้เรารับประทานกันเป็นกระจาดๆอย่างที่เห็น
ทำเสร็จแล้ว ถ้ายังมีเหลือเก็บข้ามวันข้ามคืน ก็อย่าเอาขนมใส่ในที่อับๆเชียวค่ะ ให้เรียงในกระจาดหรือถาดแล้วหาตาข่ายมาคลุมไว้ มิเช่นนั้นทิ้งไว้ไม่ทาน ขนมจะเป็นราได้ เสียดายแย่เลยค่ะ
อื้มมม! อร่อย (หมดไปอีกอัน) http://www.oknation.net/blog/nanahahe/2007/08/27/entry-1
สารทจีนนี้ โดนนนนนน เน่...
|