1
2

เครื่องกล


Simple Machines Video , Project for Kids-makemegenius.com series of Educ


เครื่องกล

เครื่องกล (machines) หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงหรืออำนวยความสะดวก หรือทั้งช่วยผ่อนแรงและอำนวยความสะดวก

ประเภทของเครื่องกล เครื่องกลแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น รอก คาน พื้นเอียง ลิ่ม สกรู ล้อและเพลา

What is a pulley?
 



1. รอก (
pulley)


รอก เป็นเครื่องกลที่ใช้สำหรับยกของขึ้นที่สูงหรือหย่อนลงไปในที่ต่ำ รอกมีลักษณะเป็นล้อมหมุนได้คล่องรอบตัว และมีเชือกพาดล้อสำหรับยกตัวและดึงวัตถุ

รอก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ รอกเดี่ยวและรอกพวง

รอกเดี่ยว แบ่งเป็น รอกเดี่ยวตายตัว และรอกเดี่ยวเคลื่อนที่



รอกเดี่ยวตายตัว เป็นรอกที่ตรึงติดอยู่กับที่ ใช้เชือกหนึ่งเส้นพาดรอบล้อโดยปลายข้างหนึ่งผูกติดกับวัตถุ ปลายอีกข้างหนึ่งใช้สำหรับดึง เมื่อดึงวัตถุขึ้นในแนวดิ่ง แรงที่ใช้ดึงจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของวัตถุ รอกเดี่ยวตายตัวไม่ช่วยผ่อนแรงแต่สามารถอำนวยความสะดวกในการทำงาน ตัวอย่างเช่น การชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา การลำเลียงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างขึ้นที่สูง



สูตรที่ใช้ คำนวณ

E = W
E = แรงความพยายาม หรือแรงที่ใช้ดึงวัตถุ (นิวตัน)
W = แรงต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)




รอกเดี่ยวเคลื่อนที่ เป็นรอกที่เคลื่อนที่ได้ขณะที่ใช้งาน วัตถุผูกติดกับตัวรอกใช้เชือกหนึ่งเส้นพาดรอบล้อโดยปลายข้างหนึ่งผูกติดกับเพดาน ปลายอีกข้างหนึ่งใช้สำหรับดึง เมื่อดึงวัตถุขึ้นในแนวดิ่งแรงที่ใช้ดึงมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของน้ำหนักของวัตถุ รอกเดี่ยวเคลื่อนที่เป็นเครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรง



สูตรที่ใช้ คำนวณ

E = W/2
E = แรงความพยายาม หรือแรงที่ใช้ดึงวัตถุ (นิวตัน)
W = แรงต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)



รอกพวง รอกพวงแบ่งเป็น 3 ระบบ คือ รอกพวงระบบที่ 1 ระบบที่ 2 และระบบที่ 3

รอกพวงระบบที่ 1 ประกอบด้วยรอกเดี่ยวเคลื่อนที่หลายตัว รอกแต่ละตัวมีเชือกคล้องหนึ่งเส้น โดยปลายข้างหนึ่งผูกติดกับเพดาน ปลายอีกข้างหนึ่งผูกกับรอกตัวถัดไป วัตถุผูกติดกับรอกตัวล่างสุด เชือกที่คล้องรอบรอกตัวบนสุดใช้สำหรับดึง



สูตรที่ใช้ คำนวณ

E = W/2n
E = แรงความพยายาม หรือแรงที่ใช้ดึงวัตถุ (นิวตัน)
W = แรงต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
n = จำนวนรอกเดี่ยวเคลื่อนที่

รอกพวงระบบที่ 2 ประกอบด้วยรอก 2 ตับ ตับบนแขวนติดเพดาน วัตถุผูกติดกับรอกตัวล่างสุด ของตับล่าง ใช้เชือกเส้นเดียวคล้องรอบรอกทุกตัว โดยปลายข้างหนึ่งผูกติดกับรอกตัวล่างสุดของตัวบน หรือตัวบนสุดของตับล่างปลายอีกข้างหนึ่งใช้สำหรับดึง



สูตรที่ใช้ คำนวณ

ก. E = ข. E =
E = แรงความพยายาม หรือแรงที่ใช้ดึงวัตถุ (นิวตัน)
W = แรงต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
n = จำนวนรอก

รอกพวงระบบที่ 3 ประกอบด้วยรอกเดียวตายตัว 1 ตัว ที่เหลือเป็นรอกเดี่ยวเคลื่อนที่ ปลายข้างหนึ่งของเชือกที่คล้องรอบรอกทุกตัวผูกติดกับคานตรงอันหนึ่งวัตถุผูกติดกับคานนี้ ปลายอีกข้างหนึ่งของเชือกผูกกับรอกตัวถัดไป เหลือปลายสุดท้ายใช้สำหรับดึง



สูตรที่ใช้ คำนวณ

E =
E = แรงความพยายาม หรือแรงที่ใช้ดึงวัตถุ (นิวตัน)
W = แรงต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
n = จำนวนรอกเดี่ยวเคลื่อนที่





What is a lever?  

2. คาน (lever)

แรง (force) คือ อำนาจอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทำให้หรือพยายามทำให้วัตถุเปลี่ยนภาวะจากการหยุดนิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ หรือภาวะจากการเคลื่อนที่เป็นการหยุดนิ่ง หน่วยของแรง แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน (N)

ผลของแรง

แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง เกิดเป็น งาน
แรงทำให้วัตถุหมุนรอบจุดๆ หนึ่ง เกิดเป็น โมเมนต์

งาน (work) หมายถึง ผลคูณของแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวแรง หรือ

งาน = แรง × ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ตามทิศทางของแนวแรง
หน่วยของงาน งานมีหน่วยเป็น นิวตันเมตร หรือจูล

ถ้าออกแรงกระทำต่อวัตถุแล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่ หรือวัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตั้งฉากกับแนวแรงที่กระทำกับวัตถุ จะไม่มีงานเกิดขึ้นจากแรงนั้น



โมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลคูณของแรงกับระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง หรือ

โมเมนต์ = แรง × ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง
หน่วยของโมเมนต์ โมเมนต์มีหน่วยเป็น นิวตันเมตร

โมเมนต์มี 2 ชนิด คือ

โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา



กฏของโมเมนต์

เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งถูกกระทำด้วยแรงหลายแรง แล้ววัตถุนั้นอยู่ในภาวะสมดุลจะได้ว่า

ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
W = แรงความต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ
E = แรงความพยายาม
F = จุดหมุนหรือจุดฟัลครัม
a = ระยะทางตั้งฉากระหว่างจุดหมุนถึงแรงความต้านทาน
b = ระยะทางตั้งฉากระหว่างจุดหมุนถึงแรงความพยายาม
ถ้าคาน AB อยู่ในภาวะสมดุลจะได้

โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

คาน คือ วัตถุที่ยาว แข็ง อาจตรงหรืองอก็ได้ และหมุนรอบจุดหมุนได้เมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ คานแบ่งเป็น 3 อันดับ โดยถือว่าจุดหมุนและแรงความพยายามเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้

คานอันดับที่ 1 คือ คานที่มีจุดหมุน (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงต้านทาน (W)



คานอันดับที่ 2 คือ คานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F)



คานอันดับที่ 3 คือ คานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F)





ตัวอย่างการคำนวณ คานโตสม่ำเสมอยาว 1 เมตร ที่ปลายทั้งสองมีวัตถุหนัก 240 นิวตัน และ 160 นิวตัน แขวนไว้ตามลำดับ จงหาว่าจะต้องแขวนคานที่จุดใด คานจึงจะสมดุล

สมมติให้แขวนคานห่างน้ำหนัก 240 นิวตัน เป็นระยะทาง X เมตร

โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
240 × X = 160 × (1-X)
240 X = 160 - 160X
240X + 160X = 160
400X = 160
X = 160 / 400
X = 0.4 เมตร
แขวนคานห่างน้ำหนัก 240 นิวตัน เท่ากับ 0.4 เมตร


What is an inclined plane?

3. พื้นเอียง (inclined plane)

พื้นเอียง คือ เครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรง มีลักษณะเป็นไม้กระดานยาวเรียบ ใช้สำหรับพาดบนที่สูงเพื่อขนย้ายวัตถุขึ้นสู่ที่สูงโดยการลากหรือการผลัก

ประโยชน์ของพื้นเอียง คือ ช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยผ่อนแรงในการขนย้ายสิ่งของขึ้นหรือลงจากยานพาหนะ



สูตรที่ใช้คำนวณเรื่องพื้นเอียง

งานที่ให้กับเครื่องกล = งานที่ได้จากเครื่องกล
E d1 = W d2
E = แรงความพยายามหรือแรงที่ใช้ลากวัตถุ (นิวตัน)
d1 = ความยาวของพื้นเอียง (เมตร)
W = แรงความต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
d2 = ความสูงของพื้นเอียง

ตัวอย่างการคำนวณ นาย ก. ใช้พื้นเอียงยาว 8 เมตร วางพาดกำแพงสูง 2 เมตร โดยให้ปลายของพื้นเอียงอยู่บนกำแพงพอดี แล้วลากวัตถุหนัก 500 นิวตัน ขึ้นไปไว้บนกำแพง จงหาว่านาย ก ออกแรงเท่าใด

ให้ออกแรงลาก = X นิวตัน

งานที่ให้ = งานที่ได้
แรงที่ใช้ลาก × ความยาวพื้นเอียง = น้ำหนักวัตถุ × ความสูงพื้นเอียง
X × 8 = 500 × 2
X = 500 × 2 / 8 = 125 นิวตัน
แรงที่ออกเท่ากับ 125 นิวตัน

ตัวอย่างการคำนวณ เด็กชายดำออกแรง 60 นิวตัน ก็สามารถลากวัตถุหนัก 300 นิวตัน ขึ้นไปตามพื้นเอียง ซึ่งวางพาดกำแพงสูง 1.5 เมตรได้ จงหาว่าพื้นเอียงยาวเท่าใด

งานที่ให้ = งานที่ได้
แรง × ความยาวพื้นเอียง = น้ำหนักวัตถุ × ความสูงพื้นเอียง
60 × ความยาวพื้นเอียง = 300 × 1.5
ความยาวพื้นเอียง = 300 × 1.5 / 60 = 7.5 เมตร


Simple Machines: Wheel and Axle

4. ล้อและเพลา (Wheel and Axle)

ล้อและเพลา เป็นเครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรงประกอบด้วยวัตถุทรงกระบอก 2 อันติดกัน อันใหญ่เรียกว่าล้อ อันเล็กเรียกว่าเพลา ใช่เชือก 2 เส้น พันรอบล้อเส้นหนึ่ง อีกเส้นหนึ่งพันรอบเพลาโดยพันไปคนละทาง ปลายข้างหนึ่งของเชือกที่พันรอบเพลาผูกติดกับวัตถุ ปลายข้างหนึ่งของเชือกที่พันรอบล้อใช้สำหรับออกแรงดึง



สูตรที่ใช้คำนวณเรื่องล้อและเพลา

E R = W r (ไม่คิดแรงเสียดทาน)
E = แรงความพยายามหรือแรงที่ใช้ดึง (นิวตัน)
R = รัศมีของล้อ (เมตร)
W = แรงความต้านทานหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
r = รัศมีของเพลา (เมตร)


Simple Machines: What is a wedge?  

5. ลิ่ม

ลิ่ม เป็นเครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรงรูปร่างคล้ายขวาน ใช้สำหรับตอกลงในเนื้อวัตถุเพื่อให้เนื้อวัตถุแยกออกจากกัน



สูตรที่ใช้คำนวณเรื่องลิ่ม

E H = W L
E = แรงความพยายามหรือแรงที่ตอกลิ่ม (นิวตัน)
H = ระยะทางที่แรงความพยายามเคลื่อนที่ หรือระยะทางที่ลิ่มจมลงในเนื้อไม้ (เมตรหรือเซนติเมตร)
W = แรงความต้านทานหรือแรงอัดของเนื้อไม้ (นิวตัน)
L = ระยะทางที่แรงความต้านทานเคลื่อนที่ หรือระยะทางที่เนื้อไม้แยกออกจากกัน (เมตรหรือเซนติเมตร)

What is a screw?  

6. สกรู (screw)

สกรู เป็นเครื่องกลที่ช่วยผ่อนแรงมีรูปร่างคล้ายบันไดเวียนวนรอบแกนอันหนึ่ง สกรูใช้สำหรับยกวัตถุหนักๆ ขึ้นสูงๆ โดยแรงความพยายามเคลื่อนที่เป็นวงกลมขณะที่แรงความต้านทานเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง ดังรูป



สูตรที่ใช้คำนวณเรื่องสกรู

W × P = E × 2πR
W = แรงความต้านหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
P = ระยะทาง 1 ช่วงเกลียว (เมตรหรือเซนติเมตร)
E = แรงความพยายามหรือแรงที่กระทำกับสกรู (นิวตัน)
R = รัศมีของการหมุนหรือความยาวของด้ามแม่แรง (เมตรหรือเซนติเมตร)

:: docs.google.com ::
:: tumblr.com ::





1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss