1
2

คัมภีร์ 5 ห่วง

Musashi's 'The Book of Five Rings'


Miyamoto Musashi killing a giant nue
:: commons.wikimedia.org ::

คัมภีร์ 5 ห่วง 



คัมภีร์ 5 ห่วง 
วิถีแห่งดาบ มิยาโมโต้ มุซาชิ 
ดิน น้ำ ลม ไฟ ความว่างเปล่าของจิต
ดิน (จิ) ว่าด้วยปรัชญาของเฮอิโฮ
น้ำ (มิซุ) ว่าด้วยจิตวิญญาณ
ไฟ (ฮิ) ว่าด้วยการต่อสู้
ลม (คาเซ) ว่าด้วยการต่อสู้ของสำนักอื่น
ความว่าง (คุ) ว่าด้วยการทำให้หลักการแปรเป็นหลักปฏิบัติ
         คัมภีร์แห่งการดำเนินชีวิตตามวิถีแห่งซามูไร แนวทางปรัชญาในวิถีของการต่อสู้ เป็นแนวทางการเดินไปสู่จุดหมายได้อย่างเหมาะสม โดยนำคุณลักษณะของธาตุพื้นฐานทั้งห้ามาแบ่งเป็นภาคเป็นลักษณะของ รูปแบบการต่อสู้ รวมทั้งการอธิบายถึงความเป็นมาและความเป็นไป เพื่อการนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ และจะเดินไปบนเส้นทางชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวัง และรู้แจ้ง ด้วยหลักใหญ่ที่ว่าชีวิตคือการควบคุม ทั้งกายและจิตใจ ให้ เกิดภาวะสมดุล ชีวิตจะไม่โอนเอียง

บททั้งห้าของ Book of Five Rings

มูซาชิได้เขียน "คัมภีร์ห้าห่วง" โดยแบ่งเป็นห้าภาคด้วยกัน แต่ละภาคก็มีหลักวิชาแตกต่างกันไป โดยมูซาชิแบ่งเป็นภาคดิน ภาคน้ำ ภาคไฟ ภาคลม และภาคสุญตา โครงสร้างการเขียนของมูซาชิแบบนี้สะท้อนให้เห็นว่า มูซาชิเป็นพุทธในเชิงหลักคิด นี่คงเป็น ผลของการปฏิบัติธรรมแบบเซน ในช่วงบั้นปลายแห่งชีวิตของเขานั่นเอง

 ดิน ทำหน้าที่เป็นบทนำ เปรียบเสมือนพื้นฐาน  ท่านจะพูดถึงส่วนประกอบของวิชา และเปรียบเทียบกล่าวศิลปะการเป็นผู้นำและการสร้างบ้านเป็นท่านจะพูดถึงส่วนประกอบของวิชา

 น้ำ เปรียบเสมือนท่วงท่า เป็นวิธีออกดาบของท่าน อธิบายถึงเทคนิคพื้นฐานและหลักการพื้นฐาน
'ข้าได้ให้นามของศิลปะการต่อสู้ของข้าว่า "สองสวรรค์ หนึ่งรูปวิถี" (Two Heaven, One Style)'

 ไฟ เปรียบเสมือนศัตรู เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว การเรียนรู้ถึงความรู้สึกนึกคิด

 ลม เปรียบเสมือนวิชารูปแบบอื่นๆ นอกจากที่ท่านได้ระบุไว้

 ว่างเปล่า เป็นจุดสำคัญของวิถีทั้งห้า เพราะเป็นการรวบรวมทุกอย่างเป็นหนึ่งเดียว บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด


The Book of Five Rings (Go Rin No Sho) Source - Eisei-Bunko Museum
'หากเจ้าต้องการเรียนรู้วิถีแห่งศิลปะการต่อสู้ จงใส่ใจและพิจารณาทุกสิ่งที่เขียนไว้ในนี้ให้ดีบททั้งห้าของ Book of Five Rings'
บทที่ 1 บทแห่งดิน   
ใน ภาคดิน มูซาชิได้กล่าวถึง ภาพกว้างๆ เกี่ยวกับวิถีของกลยุทธ์และวิทยายุทธ์ตามทัศนะของเขา มูซาชิกล่าวว่า ในการจะรู้วิถีที่แท้จริงนั้น จะต้องรู้ทั้งที่ใหญ่ที่เล็กที่ตื้่นที่ลึก รู้หนารู้บาง ดุจการย่ำพื้นดินบนเส้นทางที่ตรงดิ่ง ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตั้งชื่อภาคแรกในคัมภีร์เล่มนี้ของเขาว่า ภาคดิน 
'บทนี้ข้าจะพูดถึงภาพรวมของศิลปะการต่อสู้ รูปแบบของข้าเอง มันเป็นสิ่งที่ยากยิ่งที่จะเข้าถึงวิถีแห่งนักดาบได้ด้วยตัวคนเดียว แต่หากเจ้ารู้ภาพรวม เจ้าก็จะรู้รายละเอียด และจากน้ำตื้น เจ้าจะสามารถเข้าย่างก้าวเข้าสู่น้ำลึกได้'
บทที่ 2 บทแห่งน้ำ 
ภาคน้ำ ซึ่งเป็นภาคที่สองของคัมภีร์ห้าห่วง มูซาชิบอกว่า เหตุที่เขาตั้งชื่อว่า น้ำ ก็เพราะวิทยายุทธ์ของตัวเขาเรียนรู้จาก "น้ำ" มาเป็นเยี่ยงอย่าง โดยเฉพาะในการฝึกใจของเขา ซึ่งมูซาชิบอกว่า เขาได้พยายามฝึกใจของเขาให้เป็นดุจใจของน้ำ เนื่องจากน้ำสามารถปรับตัวเข้ากับภาชนะได้ทุกชนิดทุกประเภท นอกจากนี้ น้ำยังสามารถดำรงอยู่แค่หยดเดียวเป็นหยดน้ำค้างก็ได้ หรือจะดำรงอยู่เป็นมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลก็ได้ เขาจึงขอใช้คุณสมบัติของน้ำนี้ เป็นสัญลักษณ์แทนหลักกลยุทธ์และวิทยายุทธ์ของสำนักของเขา 
มูซาชิกล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่ฝึกฝนหลักวิทยายุทธ์จนกระทั่งสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ที่เป็นปัจเจกได้ดั่งใจปรารถนาแล้ว ก็ย่อมที่จะสามารถชนะคนทั้งโลกได้ด้วยหลักการเดียวกันนั่นเอง เพราะใจที่มีชัยเหนือคนคนหนึ่งนั้น ย่อมเป็นใจเดียวกับใจที่มีชัยเหนือไพรีข้าศึกนับพันนับหมื่น ดั่งคำสอนที่ว่า "จงใช้หนึ่งไปรู้หมื่น" หรือ หากรู้ซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียวก็ย่อมสามารถรอบรู้ในเรื่องทั้งปวงได้ นี่แหละคือ หลักวิชาฝีมือที่เป็นหลักกลยุทธ์เชิงบูรณาการ และพหุปัญญาของมูซาชิ 
'บทนี้ ข้าจะเปรียบน้ำเสมือนจิต น้ำจะเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะที่ใส่ ไม่ว่าจะมีมุมหรือโค้งเช่นไร น้ำนั้นไม่ว่าจะเป็นหยดเพียงหนึ่ง หรือเป็นมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ น้ำก็ยังเป็นสีฟ้า และด้วยความบริสุทธิ์ของมัน ข้าได้เขียนรูปแบบของข้าไว้ในบทนี้ หากเจ้าสามารถเข้าใจวิถีแห่งนักดาบได้อย่างถ่องแท้ เมื่อเจ้าสามารถล้มคู่ต่อสู้หนึ่งคนได้อย่างอิสระ เจ้าก็สามารถเอาชนะทุกคนบนโลกใบนี้ได้ศิลปะสั่งการกองทัพคล้ายๆกับการทำสิ่งเล็กๆให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เหมือนกับการเริ่มสร้างพระพุทธรูปจากเท้าขึ้นไปจนเป็นรูปเป็นร่าง "หนึ่งคน รู้หมื่นสิ่ง" คือทฤษฏีแห่งศิลปะการต่อสู้'
บทที่ 3 บทแห่งไฟ

ภาคไฟ มูซาชิได้กล่าวถึงการสู้รบในทัศนะของเขา มูซาชิกล่าวว่า ไฟนั้นเจิดจ้า จะใหญ่ก็ได้จะเล็กก็ได้ จึงเหมาะที่จะเป็นสัญลักษณ์ของการสู้รบ ซึ่งมีทั้งการต่อสู้แบบตัวต่อตัว และการต่อสู้ระหว่างกองทัพกับกองทัพ แต่วิถีของการรบนั้นยังคงเป็นหลักวิชาเดียวกันอยู่ดี ความจริงในเรื่องนี้ หากครุ่นคิด เรื่องนี้ให้ลึกซึ้งรอบคอบก็จะเป็นที่ประจักษ์ได้เอง 
มูซาชิกล่าวว่า ไฟดวงใหญ่นั้นมองเห็นง่าย แต่ไฟดวงเล็กมองเห็นยาก เปรียบเหมือนกับคนหมู่มากที่จะเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กันนั้นเป็นเรื่องยาก ในขณะที่คนคนเดียวใช้ใจดวงเดียวของตนก็จะเคลื่อนไหวง่าย เปลี่ยนแปลงง่ายในทันที เพราะฉะนั้นการรู้ในเรื่องเล็กๆ อย่างใจของคนคนเดียว จึงยากกว่าการรู้ในเรื่องใหญ่ๆ ของคนกลุ่มใหญ่ที่กุมสภาพได้ง่ายกว่า มูซาชิจึงเน้นว่า คนเราควรหมั่นฝึกฝนใจให้เป็นปกติไม่เปลี่ยนแปลงไม่หวั่นไหว แม้ยามเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝัน หรือตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เพราะนี่เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการสู้รบ 
'บทนี้ข้าจะพูดถึงสนามรบ สาเหตุที่ข้าได้เขียนลงไว้ ณ ที่นี้เนื่องจากไฟนั้นมีตั้งแต่กองเล็กๆ ไปยังกองไฟขนาดใหญ่ และยังเป็นพลังงานที่สังเกตได้ ในวิถีแห่งสนามรบ การประจันหน้าหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งต่อหนึ่ง หนึ่งต่อหมื่น หรือ หมื่นต่อหมื่นนั้นมีความเหมือนกันทั้งสิ้น เป็นการง่ายที่จะสังเกตสิ่งขนาดใหญ่ และยากที่จะเห็นสิ่งขนาดเล็ก เหตุผลคือจิตของกลุ่มคนขนาดใหญ่นั้นเปลี่ยนแปลงได้ช้าต่างจากจิตของคนเพียงคนเดียวที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและรวดเร็ว เจ้าจำเป็นต้องเข้าใจสิ่งนี้ เพราะทุกสถานการณ์มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง 
ซึ่งในบทแห่งไฟนี้จะพูดถึงการฝึกฝนทุกวัน พิจารณาและตัดสินใจในทุกๆการเคลื่อนที่อย่างเด็ดเดี่ยวรวมถึงการไม่ปล่อยให้จิตใจย่อหย่อน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ำสำคัญในศิลปะการสู้ จากเหตุผลต่างๆเหล่านี้ ข้าได้เขียนเกี่ยวกับชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ลงบนบทแห่งไฟนี้' 
บทที่ 4 บทแห่งลม
ภาคลม มูซาชิได้กล่าวถึง วิชาฝีมือของสำนักอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับสำนักของเขา เขาตั้งชื่อภาคนี้ว่า "ลม" (ซึ่งคำคำนี้ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงคำว่า สไตล์หรือลีลาได้ด้วย) เพื่ออธิบายสไตล์การต่อสู้ของสำนักอื่นๆ เพราะเขามีความเห็นว่า หากไม่รู้จักเรื่องของคนอื่นแล้วจะรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ได้อย่างไร 
'บทแห่งลมนี้ ข้าจะเขียนเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้รูปแบบอื่นๆ เนื่องจากในภาษาจีน ตัวอักษรคำว่า "ลม" มีอีกความหมายนึงคือ "รูปแบบ" ได้เช่นกัน เนื่องจากในสถานที่ฝึกต่างๆก็มีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป ดังนั้นข้าจะเขียนเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ในประเทศนี้และเทคนิค ต่างๆของแต่ละวิชา 
ลม วิชา หรือรูปแบบต่างๆ หากเจ้าไม่เข้าใจผู้อื่น เจ้าย่อมยากที่จะเข้าใจตัวเอง ไม่ว่าจะวิชาหรือวิถีใดๆก็ตามมักจะมีความเชื่อที่ผิดวิสัยอยู่ในตัวมันหากจิตใจเจ้าผิดเพี้ยนไป จนทำให้เจ้าคิดว่า "นี่คือวิถีที่ดี" เจ้าย่อมไปไม่ถึงทางที่ถูกต้อง และเมื่อเจ้าเดินผิดทางไป ช่องว่างอันบิดเบี้ยวขนาดเล็กในใจเจ้าย่อมขยายขึ้น เป็นปรกติที่คนอื่นๆมักจะมองว่า "ศิลปะการต่อสู้คือวิถีดาบเพียงอย่างเดียว" แต่กฏและ''เทคนิคของศิลปะการต่อสู้ของข้านั้นให้ความสำคัญกับอย่างอื่นมากกว่า ซึ่งข้าจะเขียนไว้ใน บทนี้เพื่อให้ความรู้เจ้าเกี่ยวกับ
ศิลปะการต่อสู้ในโลกนี้ บทนี้แปลยากมากครับ แต่สรุปง่ายๆคือ "รู้เขารู้เรา" นั่นแหละครับ
บทที่ 5 บทแห่งความว่าง หรือ สุญตา 
ภาคสุญตา ของคัมภีร์ห้าห่วงนั้น มูซาชิบอกว่า เขาต้องการพูดถึง เรื่องที่ลึกล้ำ ที่เป็นปากทางเข้าสู่อภิมรรค โดยเขาต้องการจะชี้ให้เห็นว่า เมื่อบรรลุอภิมรรคแล้วก็จงเป็นอิสระจากอภิมรรคนั้นเสีย จงเป็นอิสระจากวิถีกลยุทธ์ และวิถีวิทยายุทธ์เสียเถิด เพื่อก้าวเข้าสู่สภาวะอันสุดแสนพิสดารพันลึกของจิต นี่แหละจึงเป็นการเดินเข้าสู่อภิมรรคที่แท้จริง ที่เรียกกันว่า วิถีแห่งสุญตา
'บทนี้ข้าได้เขียนขึ้น โดยความว่างเปล่าที่ถ้าพูดไม่ได้หมายความถึง "ภายในจิตใจ" หรือ "ทางเข้า" จงปล่อย "การเข้าถึงในหลักการ" เอาไว้''"วิถีแห่งศิลปะการต่อสู้" คือ "ความอิสระโดยธรรมชาติ" เจ้าย่อมได้ความแข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้น เจ้ารู้จังหวะการเคลื่อนไหว เจ้าจะเข้าโจมตีและฟัน''โดนได้โดยธรรมชาติของเจ้าเอง ทั้งหมดนี้คือวิถีแห่งความว่างเปล่า''ทั้งหมดนี้ข้าได้เขียนไว้ในบทแห่งความว่างเปล่า ซึ่งเจ้าย่อมสามารถเข้าสู่ "วิถีที่ถูกต้อง" ได้โดยธรรมชาติของเจ้าเอง'
Miyamoto Musashi
(Kumamoto, Kumamoto Prefecture, Musashi Otsuka Park)

มิยะโมะโตะ มุซะชิ 
หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ มิยะโมะโตะ มุซะชิ มาก่อน แต่ประวัติของบุคคลเรืองนามผู้นี้เป็นอย่างไร เราลองมาติดตามดูครับ ตามที่ปรากฏในหนังสือชื่อ “คัมภีร์ห้าห่วง (五輪書, Go Rin No Sho)” ซึ่งมิยะโมะโตะ มุซะชิเป็นผู้ที่แต่งขึ้นเอง ในหนังสือระบุไว้ว่าเขาเกิดเมื่อ ค.ศ. 1584 ที่จังหวัดฮาริมะ (播磨国, Harima) ในประเทศญี่ปุ่น มีชื่อเดิมว่าชินเมน มุซะชิ (新免武蔵, Shinmen Musashi) พ่อของมุซะชิชื่อว่าชินเมน มุนิไซ (新免無二斎,  Shinmen Munisai) ซึ่งก็เป็นนักดาบที่มีชื่อเสียงด้วยเช่นกัน


ภาพวาดมุซะชิในช่วงวัยหนุ่มกำลังวาดดาบสองมือ 
วาดโดย อุตากาว่า คุนิโยชิ 
(歌川 国芳, Utagawa Kuniyoshi)

ตลอดชีวิตของมุซะชิ เขาได้ต่อสู้มากกว่า 60 ครั้งและไม่เคยแพ้ใครเลย การต่อสู้เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อเขามีอายุได้เพียงแค่ 13 ปี เขาต่อสู้กับ อาริมะ คิเฮ (Arima Kihei ) ผู้เชี่ยวชาญวิชาดาบ สำนักคาชิม่าชินโตริว (鹿島新当流, Kashima Shintō-ryūผลของการดวลในครั้งนั้นคือมุซะชิได้ฆ่าคู่ต่อสู้ตาย

ในปี 1600 ได้เกิดสงครามระหว่างตระกูล โทโยโทมิ (Toyotomi) กับตระกูล โตกุกาว่า (Tokugawa) ซึ่งมุซะชิก็เข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย โดยอยู่ข้างตระกูลโทโยโทมิ ซึ่งต่อมาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้มุซะชิต้องหลบหนีภัยสงครามไปช่วงหนึ่ง

ต่อมาขณะที่มุซะชิมีอายุได้ 20 - 21 ปี เขาเดินทางไปยังเมืองเกียวโต ซึ่งที่นี่มุซะชิได้ต่อสู้กับสำนักดาบโยชิโอกะซึ่งเป็นสำนักดาบที่มีชื่อเสียงอย่างมากในเมืองเกียวโต การต่อสู้มีทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งแรกต่อสู้กับ โยชิโอกะ เซจูโร่ (Yoshioka Seijūrō) ครั้งที่ 2 กับ โยชิโอกะ เดนชิจิโร่ (Yoshioka Denshichirō) ครั้งที่ 3 กับเด็กอายุเพียงแค่ 12  ปีชื่อว่า โยชิโอกะ มาตาชิจิโร่ (Yoshioka Matashichiro) ซึ่งต้องกลายมาเป็นเจ้าสำนักต่อจากเซจูโร่และเดนชิจิโร่ คราวนี้ไม่ใช่เป็นการต่อสู้หนึ่งต่อหนึ่งแต่เป็นการที่สำนักดาบโยชิโอกะรุมมุซะชิคนเดียว ในครั้งนี้มุซะชิได้ฆ่ามาตาชิจิโร่และคนอื่นๆ ไปมากมาย และสำนักดาบโยชิโอกะก็ถูกทำลายลงไป นี่ยังเป็นครั้งแรกที่มุซะชิใช้ดาบสองมือ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวิชาดาบเฉพาะตัวของเขาที่เรียกว่า นิเทนอิจิริว (二天一流)


เคียวโซ่ (鎖鎌, kusarigama)


จิโอะ (杖:じょう,  jō)

หลังจากนั้นเขาได้ต่อสู้กับนักสู้ที่มีชื่อเสียงอีกหลายคนเช่น ชิชิโดะ ไบเคน (宍戸梅軒, Shishido Baiken) ผู้ที่เชี่ยวชาญในวิชา เคียวโซ่ (鎖鎌, kusarigama) มุโซ กอนโนสุเกะ คัทสุโยชิ (夢想權之助勝吉, Musō Gonnosuke) ผู้ให้กำเนิดวิชาการต่อสู้ด้วยไม้ที่เรียกว่า จิโอะ (杖:じょう,  jō) 

แต่การต่อสู้ครั้งสำคัญที่สุดก็คือการต่อสู้กับ ซาซากิ โคจิโร่ (佐々木 小次郎, Sasaki Kojirō) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1612 ขณะที่มุซะชิมีอายุราว 30 ปี การต่อสู้เกิดขึ้นที่เกาะกันริวจิมะ (巌流島, Ganryūjima) มุซะชิต่อสู้โดยใช้ดาบไม้ที่เขาเหลาจากไม้พายเรือหักระหว่างที่เขานั่งเรือข้ามทะเลไปเพื่อต่อสู้ มุซะชิไปสาย ปล่อยให้โคจิโร่รอ และเมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น มันก็จบลงอย่างรวดเร็ว โดยแน่นอนว่ามุซะชิเป็นฝ่ายชนะ คุณสามารถดูฉากอ้างอิงการต่อสู้ดังกล่าวได้ด้านล่าง...

One of the most famous duel(1612) in Japanese samurai history.
Kojiro said "You can't kill me with that shabby wooden stick."
Musashi said "You've lost because you threw away the sheath." 
Kojiro answered "I won't use this bloody sword after killing you."

นอกจากวิชาดาบแล้ว มุซะชิยังสนใจการวาดรูป การแกะไม้และพุทธศาสนา มุซะชิได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่มได้แก่

1. กระจกแห่งวิถีกลยุทธ (Hyodokyo)
2. กลยุทธ 35 ข้อ (Hyoho Sanjugo Kajo)
3. กลยุทธ 42 ข้อ (Hyoho Shijuni Kajo)
4. วิถีแห่งการก้าวเดินโดยลำพัง (独行道, Dokkōdō)
5. คัมภีร์ห้าห่วง (五輪書,Go Rin No Sho)

ภาพนกกระเต็นเกาะบนกิ่งไม้ 
วาดโดยมิยะโมะโตะ มุซะชิ

คัมภีร์ห้าห่วง เขียนโดยมิยะโมะโตะ มุซะชิ ฉบับแปลไทย

เชื่อกันว่ามุซะชิอาจเสียชีวิตตามธรรมชาติหรือไม่ก็ด้วยโรคมะเร็งในช่องท้องในปี ค.ศ.1645 ขณะมีอายุได้ 61 ปีเขาตายอย่างสงบหลังจากที่เขียนหนังสือเล่มสุดท้ายคือ วิถีแห่งการก้าวเดินโดยลำพัง (独行道, Dokkōdō) ซึ่งเป็นหลักการ 12 ประการเพื่อเป็นการชี้นำคนรุ่นต่อไป ร่างของมุซะชิถูกฝังอย่างสงบในหมู่บ้านยูเงะ (弓削町, Yuge-chō) ซึ่งอยู่ใกล้กับเขาอิวาโตะ (Iwato)


ภาพที่มิยะโมะโตะ มุซะชิ วาดตัวเอง

ป้ายอนุสรณ์แสดงความคารวะแด่มิยะโมะโตะ มุซะชิ

ป้ายอนุสรณ์แสดงความคารวะแด่มิยะโมะโตะ มุซะชิ อักษรจารึกบนป้ายสลักไว้ว่า เซชิน โชคุโด (Seishin Chokudo) หมายความว่า หัวใจที่มุ่งมั่นและหนทางที่เที่ยงแท้ ซึ่งเป็นข้อความเดียวกับที่อยู่บนดาบไม้ของมิยะโมะโตะ มุซะชิด้วยเช่นกัน ป้ายนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เชื่อกันว่ามุซะชิเคยอาศัยอยู่ ที่โคคุระ (小倉, kokura)


คัมภีร์ 5 ห่วง 
วิถีแห่งดาบ มิยาโมโต้ มุซาชิ (ย่อ)

ต้นเดือนสิบ ปีที่ 20 แห่งราชวงศ์ "คาเนอิ" (ค.ศ.1645) "ชินเมน มุซาชิ โน คามิ ฟูจิวารา โน เก็นชิ" ในวัย 60 ปี ได้ขึ้นสู่ยอดเขา อิวาโตะ ในคิวชู เพื่อสักการะต่อฟ้าและสวดมนต์ระลึกถึงคุณแห่งพุทธองค์และเจ้าแม่กวนอิม ก่อนจะจรดพู่กันเขียน "คัมภีร์ 5 ห่วง" อันเป็นแนวทางที่จะบรรลุถึงวิถีแห่ง "กลยุทธ์" (เฮอิโฮ) ที่เขาเรียกว่า "นิ เตน อิจิ ริว" และได้หมั่นฝึกฝนมาเป็นเวลาหลายสิบปี 

"มุซาชิ" กล่าวถึงความเป็นมาของตนเองว่า ได้อุทิศตนให้กับวิถีแห่งกลยุทธ์ตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย เพียงอายุ 13 ปีก็ได้โค่น "อะริมา คิเฮอิ" จากสำนักชินโต พออายุได้ 16 ปี ก็มีชัยเหนือ "ทาตาชิม่า อากิยาม่า" หลังจากนั้น 5 ปี จึงมุ่งหน้าสู่เกียวโต เมืองหลวงที่ชุมนุมยอดฝีมือคับคั่ง เพื่อปะดาบกับผู้มีฝีมือที่หลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ และไม่เคยมีครั้งใดเลยที่จะปราชัย 

หลังจากนั้นจึงท่องตระเวนไปทั่วทั้งแผ่นดิน เพื่อหาคู่มือเปรียบติด น่าเสียดายว่า ตลอดการประลองกว่า 60 ครั้ง ในช่วงอายุ 13 ถึง 29 ปี "มุซาชิ" ไม่เคยหยิบยื่นชัยชนะให้กับผู้ใด 

เมื่ออายุล่วงเข้า 30 จึงพิจารณาไตร่ตรองถึงการประลองที่ผ่านมาในอดีต และพบว่า ที่ตนสามารถมีชัยเหนือคู่ต่อสู้ นอกจากจะอาศัยโครงสร้างร่างกายอันแข็งแกร่งบวกกับพรสวรรค์แล้ว บางครั้งก็เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องของคู่ต่อสู้เอง เหนืออื่นใดคือ ตนเองมีกลยุทธ์ที่จะเป็นผู้พิชิต 

"มุซาชิ" ใช้เวลากว่า 20 ปีในการฝึกฝนและศึกษาถึงกลยุทธ์นี้ จวบจนอายุล่วงเข้า 50 ปี จึงสามารถกล่าวได้ว่าค้นพบ "วิถีแห่งกลยุทธ์" 

เมื่อบรรลุถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ "มุซาชิ" ก็พลันเจนจบสรรพ "ศาสตร์" และ "ศิลป์" ทั้งปวงได้ โดยไม่ต้องมีผู้ฝึกสอน แม้แต่ "คัมภีร์ 5 ห่วง" เล่มนี้ ก็เขียนขึ้นโดยไม่ได้อ้างอิงถึงคำสอนหรือตำราใด ๆ ที่เคยมีมาในอดีต 

โดยที่โครงร่างของ "คัมภีร์ 5 ห่วง" นี้ แบ่งออกเป็น 5 บท คือ "ภาคดิน" "ภาคน้ำ" "ภาคไฟ" "ภาคลม" และ "ภาคความว่าง" '

บทแห่งดิน
บทแห่งดิน เป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจถึง “วิถีแห่งกลยุทธ์” ("ศิลปะการต่อสู้") และกล่าวถึงแนวทางของสำนัก ที่ไม่ได้เน้นเพียงการฝึกฝนเพลงดาบ หากแต่จะสำเร็จวิถีแห่งยุทธ์ จำต้องรู้ถึงสรรพสิ่งทั้งในแนวกว้างและในเชิงลึก 

“มุซาชิ” อธิบายว่า “กลยุทธ์” คือ วิถีแห่งนักสู้ไม่ว่านายทัพหรือพลทหารล้วนแล้วแต่ต้องรู้ถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ แต่น่าเสียดายว่ากลับไม่มีนักสู้ใดที่เข้าใจถึง “วิถีแห่งกลยุทธ์” อย่างถ่องแท้ 

สรรพสิ่งล้วนมี วิถีพุทธ คือ วิถีแห่งความพ้นภัย การศึกษา คือ วิถีแห่งนักปราชญ์ และ การแพทย์ คือวิถีแห่งการรักษาเยียวยา แม้แต่กวีนิพนธ์ การชงชา การจัดดอกไม้ ตลอดจนศิลปะแขนงต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มี ”วิถี” ของมันให้ฝึกฝน 
1. พุทธศาสนา คือ วิถีแห่งการหลุดพ้น 
2. คำสอนของขงจื้อ คือ วิถีแห่งวัฒนธรรม 
3. ยา คือ วิถีแห่งการรักษาโรคหนึ่งๆ
นอกจากนี้ ท่านยังได้ยกตัวอย่างเช่น วิถีชงชา วิถีแห่งการยิงธนู ซึ่งผู้ฝึกวิถีเหล่านี้ สนุกสนานไปกับการฝึกฝนมาจากก้นบึ้งหัวใจ แต่ผู้ฝึกฝนวิถีแห่งการต่อสู้นั้น หาได้ยาก ที่จะฝึกฝนและสนุกไปกับมันเช่นเดียวกับผู้ฝึกวิถีเหล่านี้ (ในความหมายของสนุกสนานคือ ฝึกด้วยความจริงใจและฝึกด้วยความสุขใจ)

สำหรับ “วิถีของนักสู้” ก็คือ “ความพยายามยอมรับในความตาย” แม้ความตายจะเป็นสิ่งที่ทุกผู้คนต้องพบพาน แต่สำหรับชนชั้นนักสู้แล้ว การเผชิญหน้ากับความตายอย่างมีคุณค่า คือการตายในหน้าที่ โดยปราศจากความอับอาย นักสู้จะบรรลุถึงวิถีนี้ได้จึงต้องแจ่มแจ้งใน “วิถีแห่งกลยุทธ์” เพื่อพิชิตชัยในทุกศึกที่จะนำมาซึ่งศักดิ์ศรี และเกียรติแห่งนักสู้และผู้เป็นนาย 

วิถีแห่งกลยุทธ์ “มุซาชิ” มีความเห็นว่า การเปิดสอน “เพลงดาบ” โดยทั่วไป เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางการแสวงหาผลประโยชน์เท่านั้น หาใช่วิถีแห่งกลยุทธ์ที่จริงไม่ เพราะตั้งแต่อดีตกาล “เพลงดาบ” ถูกจัดอยู่ในหนึ่งวิชาช่างสิบหมู่ และศิลปะเจ็ดแขนง อันสะท้อนให้เห็นว่าเป็นเช่นเดียวกับงานศิลปะที่เสนอขายอยู่ทั่วไป  



ซึ่งเปรียบได้กับการนำเสนอ “กาก” แต่ไม่ได้แจกแจงถึง “แก่น” แนวทางเช่นนี้อาจเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ที่มักจะให้ความสำคัญกับดอกไม้มากกว่าเมล็ดพันธุ์ หากแต่เป็นแนวความคิดที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เป็นหลัก จึงนำไปสู่การแสดงโอ้อวดโดยปราศจากกลยุทธ์ที่เที่ยงแท้ และย่อมเป็นต้นเหตุแห่งความพินาศในที่สุด 

“มุซาชิ” กล่าวว่า แม้แต่คนในชนชั้นทั้งสี่ก็ยังต้องมี “วิถี” ของตนเอง (สังคมญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้น แบ่งชนชั้นทางสังคมออกเป็น 4 กลุ่มคือ นักสู้ ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า) 

ชาวนา ย่อมต้องรู้จักใช้จอบเสียมและเครื่องมือในการเพราะปลูก อีกทั้งเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่มีผลต่อพืชสวนไร่นา 

พ่อค้า ย่อมต้องรู้จักใช้ส่วนประกอบในการผลิตสินค้า เพื่อจำหน่ายสร้างกำไรหาเลี้ยงชีพ 

สำหรับ นักสู้ ความเชี่ยวชาญในอาวุธคู่มือคือวิถีแห่งตน และหากปราศจากซึ่งกลยุทธ์แล้ว ย่อมแสดงถึงความรู้อันอ่อนด้อย 

ช่างฝีมือ ก็ต้องรู้จักใช้เครื่องไม้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมีการวางแบบที่ถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน และสร้างงานตามแบบที่กำหนดไว้ 

โดยทั่วไปแล้ว วิถีของผู้คนส่วนใหญ่จะมีอยู่สี่วิถีคือ นักรบ ชาวนา ช่างศิลป์ และพ่อค้า
1. วิถีแห่งชาวนา ผู้เป็นชาวนาย่อมต้องเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเกษตรให้พร้อม คอยระวังการเปลี่ยนแปลงของฤดูการตลอดเวลา
2. วิถีแห่งพ่อค้า
 ผู้เป็นพ่อค้าคือผู้สรรหาสินค้าหลายหลาย และมาหากำไรจากข้อดีและข้อเสียจากสินค้านั้นๆ
3. วิถีแห่งนักรบ 
ผู้เป็นนักรบย่อมต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ให้เหมาะสมต่อการฝึกฝนของกองทัพ และต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการใช้งานและข้อดีของอาวุธนั้นๆ หากขาดการจัดเตรียมและศึกษาข้อได้เปรียบของอาวุธให้ถ่องแท้ ย่อมสามารถพาตระกูลที่สังกัดพ่ายในสงครามอย่างแน่นอน
4. วิถีแห่งช่างศิลป์ (ในที่นี้ท่านยกช่างไม้เป็นตัวอย่าง) ช่างไม้ที่ดีนั้นต้องจัดเตรียมอุปกรณ์งานช่างให้พร้อม เรียนรู้ที่จะให้อุปกรณ์ต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จัดเตรียมไม้ฉากให้พร้อมและสร้างสิ่งต่างๆตามแบบแปลนที่ได้รับ โดยมิให้ล้มเหลวแต่อย่างไร

“มุซาชิ” ยังขยายความของกลยุทธ์โดยเปรียบเทียบกับ “การสร้างบ้านของช่างไม้” งานของช่างไม้คือการสร้างบ้าน บ้านก็มีหลากหลายลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งบ้านของผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ บ้านของนักสู้ หรือข้านของชนชั้นต่าง ๆ ช่างจึงจะต้องเข้าใจถึงบ้านที่ตนเองจะสร้างว่าเป็นแบบใด สำหรับชนชั้นใด จึงจะสามารถสร้างบ้านขึ้นจากแบบที่ร่างไว้ 

นายช่างใหญ่ต้องเข้าใจถึงบ้านในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงอาคารและวัดวาอาราม ตลอดจนพระราชวัง เข้าใจถึงหลักโครงสร้างสถาปัตยกรรม และรูปแบบของอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ละชนชั้น เพื่อที่จะสามารถควบคุมใช้งานช่างไม้ให้สร้างบ้านได้ตามแบบแผนที่วางไว้ เช่นเดียวกับนายทัพที่รู้จักใช้กำลังพล งานบ้านเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกและแยกแยะไม้ ไม้ตรงเรียบสวยงามเข็งแรงเหมาะกับงานเสาด้านอก ไม้ตรงเรียบแต่มีตำหนิเล็กน้อยสามารถใช้เป็นเสาภายในและขื่อคาน สำหรับไม้เนื้ออ่อนที่ไม่แข็งแรงนักแต่เรียบงาม สามารถใช้ทำเป็นผนังและกรอบประตู ไม้ที่แข็งแรงแต่ไม่สวยงามก็สามารถใช้ผูกเป็นนั่งร้านเพื่อการก่อสร้าง แม้แต่ไม้ที่ดูไม่สวยงามและเปราะบางก็สามารถใช้เป็นเชื้อฟืน 

นายช่างใหญ่จะต้องรู้ถึงขีดความสามารถของช่างลูกมือที่มีอยู่ เพื่อที่จะมอบหมายงานที่เหมาะสมและตรงกับงานที่ถนัดช่างบางคนอาจถนัดในการทำห้องโถง บ้างอาจถนัดการทำประตู บานเลื่อน บ้างอาจถนัดทำผนังเพดาน ช่างฝีมือรองลงมาก็จะรับมอบหมายงานถากเหลา และตบแต่งไม้ถือเป็นการฝึกฝนฝีมือให้มีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ในขณะสร้างงานนานช่างใหญ่ก็จะต้องสามารถควบคุมงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามขั้นตอนลดความสับสนอลหม่าน เข้าใจถึงข้อจำกัดของช่างลูกมือแต่ละคน รู้จักการกระตุ้นสร้างขวัญและกำลังใจเมื่อถึงยามที่จำเป็น 



วิถีแห่งกลยุทธ์สำหรับ นายทัพ ก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน นั่นคือความรู้ในการศึกในแต่ละรูปแบบ ตลอดจนเข้าใจถึงขีดความสามารถของกองทัพตัวเอง วิถีแห่งกลยุทธ์ของพลทหารก็เป็นเช่นเดียวกับช่างไม้ ที่ต้องพกพากล่องเครื่องมือติดตัวไปทุกที่ ทำงานตามคำสั่งของนายช่างใหญ่ สร้างงานได้อย่างเที่ยงตรงสวยงาม 

ความสำเร็จของช่างไม้วัดจากผลงานที่ปราณีตบรรจง รอยต่อเรียบสม่ำเสมอไม่บิดเบี้ยว ขัดเงาอย่างเรียบง่ายสวยงามไม่ใช่เพียงเพื่อปกปิดความบกพร่อง เมื่อสั่งสมประสบการณ์จนเกิดความเชี่ยวชาญในทุกแขนงแห่งงานไม้ ก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นเป็นนายช่างใหญ่ 

ช่างไม้จะต้องหมั่นรักษาเครื่องไม้เครื่องมือให้คมกริบอยู่ตลอดเวลา แม้ในยามว่างก็ต้องหมั่นสร้างงานชิ้นเล็ก ๆ อันเป็นหนทางการฝึกฝนฝีมือ และสร้างความคุ้นเคยเชี่ยวชาญกับเครื่องมือแต่ละอย่าง 

ดังเช่นการปฏิบัติตนของ นักสู้ หรือ นักวางกลยุทธ์ วิถีแห่งกลยุทธ์ จึงครอบคลุมไปถึงการมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี มีนาวทางการปกครองที่ดี ใช้คนอย่างฉลาด รู้จักอุปถัมภ์ค้ำจุน และมีการรักษากฎระเบียบวินัยที่เคร่งครัด 



ว่าด้วย “อิจิ ริว นิโตะ” 
“อิจิ ริว นิโตะ” คือ แนวทางดาบ ของ “มุซาชิ” นับตั้งแต่อดีตกาลนักสู้ล้วนคาดดาบ 2 เล่ม หนึ่งเป็นดาบยาว อีกหนึ่งเป็นดาบสั้น 

โดยทั่วไปวิธีการใช้ดาบของสำนักอื่น คือการกุมดาบด้วยสองมือ เช่นเดียวกับการใช้หอกหรือขวาน นั่นหมายความว่า เป็นการใช้ดาบเพียงเล่มเดียว ในขณะที่ดาบอีกเล่มหนึ่งยังประดับไว้ในฝัก ไม่อาจเปล่งพลานุภาพของดาบถึงขีดสุด การกุมดาบด้วยสองมือทำให้การกวัดแกว่งดาบเป็นไปอย่างเชื่องช้า และติดขัดและไม่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ขณะอยู่บนหลังม้า การต่อสู้บนพื้นที่ขรุขระ หรือการวิ่งท่ามกลางฝูงชน 



แนวทางของ “มุซาชิ” จึง ฝึกฝนให้ใช้ดาบด้วยมือเดียว ผู้ฝึกฝนจึงสามารถ ใช้ดาบทั้งสองเล่มได้พร้อมกันทั้งซ้ายและขวา ในขณะใช้ดาบเพียงเล่มเดียว สามารถใช้อีกมือที่ว่าง เพื่อช่วยในการทรงตัว กุมบังเหียน ตลอดจนการจับถืออาวุธอื่น ประโยชน์ของการใช้ดาบทั้งสองเล่มยังมีอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ต้องต่อสู้กับคนหมู่มาก 

สำหรับผู้ไม่คุ้นเคยการกุมดาบด้วยมือเดียวจะต้องใช้กำลังมาก และยากต่อการกวัดแกว่ง แต่เมื่อผ่านการฝึกฝน ความคล่องแคล่วก็จะทวีขึ้นตามพละกำลังที่เพิ่มพูน 

ที่สำคัญ แนวทางของ “มุซาชิ” นั้น ปัจจัยในการเอาชัยคือ จังหวะในการวาดดาบ ไม่ใช่ความเร็วของเพลงดาบ 

ถึงแม้ว่า “ดาบ” จะได้รับการยกย่องว่าเป็นที่สุดแห่งศาสตราวุธ และเชื่อวันว่าผู้บรรลุใน วิถีแห่งดาบ เป็นผู้ที่บรรลุวิถีแห่งกลยุทธ์ และจะมีชัยเหนือคู่ต่อสู้ทั้งปวง แต่จิตวิญาณของวิถีแห่งกลยุทธ์ที่แท้จริงคือการเอาชัย 

ดังนั้นถ้าผู้ฝึกฝนสามารถเรียนรู้วิถีแห่งศาสตร์อื่น และแผ้วทางจนได้รับชัยชนะก็กล่าวได้ว่า ค้นพบวิถีแห่งกลยุทธ์ของตนเอง 



อาวุธกับกลยุทธ์ 
ในบทแห่งดินนี้ “มุซาชิ” ยังกล่าวถึง การเลือกใช้อาวุธว่า ต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่วงเวลา 

ในขณะที่ ดาบยาว ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ 

ดาบสั้น เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่จำกัดหรือในระยะประชิดคู่ต่อสู้ 

ส่วน ขวานศึก และ หอกนั้น ใช้ในการรบพุ่ง โดยที่ หอก จะเข้มแข็งและเหมาะกับการรุก ส่วน ขวานศึก นั้นเหมาะกับการตั้งรับ 

ส่วน ธนู เหมาะสำหรับการยิงสนับสนุนเพื่อการโจมตี หรือสกัดกั้นในขณะล่าถอย ซึ่งไม่มีประโยชน์ใดเลย ในการต่อสู้แบบตะลุมบอนหรือการยิงระยะไกล 

เช่นเดียวกับ ปืนไฟ ที่ใช้งานได้ดีเฉพาะในป้อมค่าย แต่ไม่สามารถหาญหักกับดาบในระยะประชิดใกล้ 

การเลือกใช้อาวุธจึงต้องขึ้นกับสถานการณ์ ถึงแม้โดยทั่วไปนักสู้จะมีอาวุธคู่มือ แต่การเลือกใช้อาวุธไปตามความถนัดและความชอบพอของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม นับเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะนำไปสู่ความหายนะได้ 

“มุซาชิ” มีความเห็นว่า อาวุธที่ดีมีไว้ใช้งาน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องประดับ ม้าศึกก็จัดเป็นยุทโธปกรณ์อย่างหนึ่ง จะต้องมีความเข็มแข็งอดทน ไม่มีข้อบกพร่อง เช่นเดียวกับดาบต้องคมกล้า หอกทวนต้องตั้งตรงแข็งแรง ธนูและปืนไฟต้องมีความแม่นยำและคงทนต่อการใช้งาน 


“จังหวะ” 
“มุซาชิ” ให้ความสำคัญกับ “จังหวะ” เป็นอย่างยิ่ง โดยกล่าวว่าความรู้สำคัญที่กล่าวถึงในคัมภีร์ทั้งห้าบทคือเรื่องราวของ “จังหวะ” ที่พึงเรียนรู้นั่นเอง เพราะนักสู้ที่จะสามารถช่วงชิงได้ ต้องอาศัยการหยั่งรู้ถึงจังหวะของคู่ต่อสู้ และช่วงชิงลงมือในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดถึง 

ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือศาสตร์และศิลป์ใด ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัย “จังหวะ” ในการสร้างความสมบูรณ์งดงาม เช่นเดียวกับที่นักสู้จะสามารถมีชัยได้ ก็ต้องใช้อาวุธอย่างถูกต้องสอดคล้องกับ “จังหวะ ในการต่อสู้ช่วงชิง สรรพสิ่งล้วนมีจังหวะ 

แม้แต่ “ความว่าง” ก็ยังมีจังหวะ การดำเนินชีวิตของคนทุกชนชั้นก็ยังมีจังหวะของชีวิต นักสู้มีจังหวะแห่งการเติบโตและล่มสลาย พ่อค้ามีจังหวะของการร่ำรวยและล้มละลาย สรรพสิ่งจึงมีทั้งจังหวะและการรุ่งเรืองและเสื่อมโทรม กลยุทธ์ก็เป็นเช่นสิ่งอื่นที่มีจังหวะอันหลากหลาย นักสู้พึงแยกแยะจังหวะที่เหมาะสมออกจากจังหวะที่ไม่เหมาะสม 

โดยเรียนรู้จากขนาดเล็กใหญ่ ความเร็วช้า และลำดับก่อนหลัง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อจังหวะของกลยุทธ์ หากไม่เรียนรู้ถึงจังหวะย่อมไม่อาจบรรลุถึงกลยุทธ์ และที่สำคัญมีเพียงการฝึกฝนเท่านั้น ที่เป็นวิถีแห่งการเรียนรู้ถึง “จังหวะ” ของกลยุทธ์ 
'สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาวิชาของข้า นี่คือกฎที่ต้องนำเข้าไปในการฝึกฝน''
1. คิดอย่างซื่อสัตย์''
2. หลอมตัวเองกับวิถี''
3. สัมผัสไปกับศิลปะต่างๆ''
4. รู้ทุกวิถีของทุกอาชีพ''
5. รู้ข้อดีเสียของทุกสิ่ง''
6. พัฒนาวิสัยทัศน์''
7. เข้าใจสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา''
8. สังเกตทุกสิ่งแม้เล็กน้อย''
9. อย่าเอาสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพมาเข้าตัวเอง'
บทแห่งน้ำ
บทแห่งน้ำ กล่าวถึง จิตวิญาณ ที่เปรียบได้ทั่ง “น้ำ” อันสามารถแปรเปลี่ยนรูปร่างได้ตลอดเวลา บางครั้งเล็กน้อย เพียงหยดเดียว บางครายิ่งใหญ่ดั่งห้วงมหรรณพ แนวทางของสำนักจะถูกอธิบายอย่างแจ่มแจ้งดุจความใสกระจ่างของน้ำในบทนี้ 

“มุซาชิ” กล่าวว่า ถึงแม้คัมภีร์เล่มนี้จะอรรถาธิบายถึงการยุทธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งหากแต่สามารถพิจารณาเปรียบเทียบในแง่ของการทำสงครามระดับกองทัพได้เช่นเดียวกัน 

ผู้ฝึกฝนจะต้องทำความเข้าใจถึงพื้นฐานได้อย่างถ่องแท้ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดเพี้ยนในระดับบั้นปลาย สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ฝึกฝนบรรลุถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ได้ ต้องอาศัยความมานะฝึกฝนอย่างหนัก โดยไม่ย่อท้อ เพราะการบรรลุที่แท้นั้น 
จะเกิดขึ้นจากการค้นพบภายใน ไม่ใช่เกิดจากการอ่านและลอกเลียนเพียงอย่างเดียว 

สภาวะของ “สมาธิ” และ “จิตใจ” 

“มุซาชิ” ให้ความสำคัญกับเรื่องของ สมาธิ และ จิตใจ เป็นอันดับแรก ผู้ที่จะบรรลุวิถีแห่งกลยุทธ์ได้ ต้องรักษาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ศูนย์กลางเสมอ ไม่ตึงเครียดหรือปลดปล่อยจนเกินไป พึงรักษาความสงบไว้อย่างมั่นคง หากแต่ต้องยืดหยุ่นอิสระและเปิดกว้าง 

แม้ร่างกายจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนไหว ก็ต้องรักษาสภาพจิตใจนี้ไว้ในทุกช่วงยาม สมาธิ และ จิตใจ ต้องสงบเยือกเย็นอยู่เสมอ จิตใจ จะต้องไม่ถูกร่างกายชักจูงไป ต้องรวบรวม สมาธิ มั่นต่อจิตใจและเพิกเฉยต่อร่างกาย การฝึกปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะสร้างความแข้งแกร่งให้กับจิตใจ ไม่เปิดเผยความรู้สึกนึกคิดของฝ่ายตรงข้าม 

ในขณะเดียวกัน กลับรับรู้ถึงสภาวะและแนวทางความคิดของฝ่ายตรงข้าม สามารถประเมินรูปแบบของคู่ต่อสู้ได้อย่างถูกต้อง การจะบรรลุถึงเส้นทางดังกล่าวจะต้องมีจิตใจที่แจ่มในเปิดกว้าง พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมรอบด้านอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สำคัญจะต้องมีการปรับปรุงความรู้ใหม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อขยายจิตใจออกไปอย่างไม่จำกัด 

จุดแห่งสมาธิ ก็คือ การระวังระไวในการต่อสู้ จะต้องมีการตรวจสอบแก่นแท้ของสภาพแวดล้อมที่มีอยู่จริงอย่างลึกซึ้ง และ เข้าใจถึงปรากฏการณ์เปลือกนอก ที่ฝ่ายตรงข้ามจงใจเปิดเผยให้เห็น เล็งเห็นถึงสภาพของระยะไกล และสามารถฉกฉวยความมีเปรียบจากระยะใกล้ หยั่งรู้ถึงแนวทางเพลงดาบที่แท้ของฝ่ายตรงข้าม โดยไม่หลงกลต่อรูปแบบการเคลื่อนไหวภายนอกของคู่ต่อสู้ เพื่อชัยชนะเหนือผู้อื่น การต่อสู้ทุกครั้งจึงจะต้องมีการคิดคำนวณและวางแผนไว้เป็นอย่างดี โดยไม่ถูกเบี่ยงเบนไปจากสภาพแวดล้อมที่ถูกจัดสร้างขึ้น 

เมื่อ สมาธิ และ จิตใจ คือรากฐานของกระบวนท่าทั้งปวง “มุซาชิ” จึงกำหนดการตั้งท่าในการต่อสู้ให้อยู่ในสภาวะพร้อม ด้วยร่างกายที่ตั้งตรงไม่เอนเอียง สายตาแน่วแน่ไม่วอกแวก ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ 

สำหรับแนวทางการจับดาบของ “มุซาชิ” นั้นเน้นที่ความยืดหยุ่นไม่แข็งเกร็งพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ เพื่อเปลี่ยนถ่ายการเน้นย้ำให้น้ำหนักของการกดดาบได้ตามสถานการณ์ เช่นเดียวกับจังหวะของการเคลื่อนเท้า ที่จะต้องมีความสมดุลทั้งซ้ายขวาอย่างปรกติ โดยไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวย่างก้าวด้วยการเน้นย้ำความถนัดของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง 
วิถีแห่งการถือดาบ
ในการจับดาบ จงปล่อยให้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ให้เป็นธรรมชาติ นิ้วกลางไม่แน่นหรือหลวมเกินไป และกำมือที่เหลือ อย่าให้มีช่องว่างที่ทำให้มือหลวม 
แนวคิดในการจับดาบที่ควรใช้คือ จับดาบเพื่อ "ตัด" ศัตรูของตน เมื่อจับดาบต้องไม่เปลี่ยนวิธีจับไปมา และต้องไม่ให้มือของตนไปอยู่ในตำแหน่งที่คุมดาบไม่ได้ ในขณะที่เจ้ายันดาบ ปัดดาบ โจมตีหรือควบคุมดาบอีกฝ่าย นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ควรจะเลื่อนไปมาตามความต้องการเพียงเล็กน้อย ไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตาม จงจับดาบด้วยความตั้งใจที่จะ "ตัด" คน 
ซึ่งจะทำให้การจับดาบนั้นจะไม่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบดาบใหม่กับศพหรือนักโทษ หรือแม้กระทั่งในการสู้รบจริง แต่ไม่ว่าจะเป็นดาบหรือมือการไม่ยอมเคลื่อนไหวดาบหรือมือไปตามธรรมชาตินั้นไม่เป็นที่พึงประสงค์เท่าไหร่นัก มือหรือดาบที่ไม่มีการเคลื่อนที่นั้นเปรียบเสมือนมือที่ตายไปแล้ว มือที่สามารถเคลื่อนไปมาได้คือมือที่ยังมีชีวิตอยู่ 
การใช้เท้า
ในการใช้เท้า เล็บเท้าควรจะลอยเล็กน้อยและใช้ส้นเท้าเป็นตัวหลักในการก้าวเท้า ในการใช้เท้าในการต่อสู้ ให้เดินแบบตามธรรมชาติ ในกรณีของการก้าวกว้างหรือแคบ เร็วหรือช้า จะทำให้เท้าเหมือนลอยอยู่ บินหรือเท้าตาย ซึ่งทั้งสามอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในวิถีของการก้าวเท้านั้นถูกเรียกว่าเท้าหยินหยาง และเป็นสิ่งที่สำคัญในศิลปะการต่อสู้ หลักการของเท้าหยินหยาง คือ การไม่ก้าวเท้าเพียงข้างเดียว ด้วยวิถีหยินหยางนี้ การก้าวเท้านั้นไม่ว่าจะเป็นการก้าวซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย ไม่ว่าจะทำการจู่โจม ถอย หรือปัดป้องการโจมตี ต้องไม่เคลื่อนเท้าเพียงข้างเดียวอย่างเด็ดขาด

“ไร้กระบวนท่า” 
“มุซาชิ” มีความเห็นว่า หากผ่านการฝึกฝนเรียนรู้จรคล่องแคล่วก็จะสามารถใช้ดาบได้อย่างคล่องแคล่ว อิสระอย่างเป็นธรรมชาติ จนเป็นเสมือนกับส่วนหนึ่งของร่างกาย สำหรับท่วงท่าการจรดดาบตามแนวทางของ “มุซาชิ” นั้น มีเพียง 5 ท่วงท่าที่เรียกกันว่าจรด 5 ทิศ อันประกอบด้วย 

โจดาน (ท่าบน) 
จูดาน (ท่ากลาง) 
เกดาน (ท่าต่ำ) 
มิกิโนะวากิ (ปิดขวา) และ 
ฮิดาริ โนะวากิ (ปิดซ้าย) 

ซึ่งการจรดท่าทั้ง 5 นี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ออกในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแนวทางการฟาดฟันดาบของฝ่ายตรงข้าม โดยกล่าวไว้ว่า ท่าบน ท่ากลาง และท่าต่ำนั้น เป็นการใช้ออกจากแง่มุมที่มั่นคงแข็งแรง ในขณะที่ปิดขวาและปิดซ้ายเป็นการใช้ออกจากแง่มุมที่เลื่อนไหล เพื่อขจัดสิ่งกีดขวางที่มีอยู่ในด้านใดด้านหนึ่ง 

สำหรับท่าจรดดาบที่ “มุซาชิ” ให้ความสำคัญที่สุดคือ ท่าจรดกลาง ซึ่งเปรียบได้กับตำแหน่งของนายทัพที่จะทำให้อีกสี่ตำแหน่งที่เหลือติดตามการเคลื่อนไหวไปได้อย่างเป็นจังหวะจะโคน 

อย่างไรก็ตาม “มุซาชิ” เห็นว่าการจรดดาบเป็นเพียงกระบวนการหนึ่งในการฟาดฟันเท่านั้น แม้แต่การตั้งรับ และปิดป้องก็เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่จะบรรลุถึงการฟาดฟันฝ่ายตรงข้าม ผู้ถือดาบจึงควรมุ่งมั่นในการฟาดฟันศัตรู มากกว่าพะวักพะวนถึงท่วงท่าทิศทางในการจรดดาบ เพราะหากกล่าวถึงที่สุดแล้วการเคลื่อนไหวดาบเพียงเล็กน้อย ก็จะเป็นการเปลี่ยนท่าจรดดาบจากกระบวนท่าหนึ่งไปยังอีกกระบวนท่าหนึ่ง นาวทางที่คิดค้นขึ้น จึงเป็นทั้ง “มีกระบวนท่า” และ “ไร้กระบวนท่า” เพราะที่สำคัญคือการค้นพบตำแหน่งแง่มุมที่เหมาะสมที่จะใช้ฟาดฟันฝ่ายตรงข้ามอันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการมีชัยเหนือคู่ต่อสู้ 


ว่าด้วยการใช้ดาบ 
“มุซาชิ” ให้ความสำคัญกับการเอาชัยในดาบเดียว ซึ่งเป็นการฟาดฟันดาบออกในท่วงท่าที่สงบอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นเพียงจังหวะเดียวก่อนที่คู่ต่อสู้จะตัดสินใจปิดป้องหรือถดถอยตั้งรับ ในขณะที่เป็นฝ่ายรุกไล่อาจใช้การฟันหลอกล่อ เพื่อให้คู่ต่อสู้เสียจังหวะก่อนที่จะฟาดฟันกระบวนที่แท้จริงออก ในขณะที่ฟาดฟันพร้อมกัน จะต้องฟาดฟันออกอย่างรวดเร็ว รุนแรง ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามหลบหลีกปิดป้อง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็ว หากแต่ให้ทดแทนด้วยความหนักหน่วงลึกล้ำ 

การฟาดดาบ ในแต่ละครั้งคราก็มีจุดประสงค์เป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป การฟาดฟัน อย่างว่องไวโดยขยับดาบแต่เล็กน้อยเป็นการจู่โจมรบกวนสมาธิของฝ่ายตรงข้าม การฟาดฟัน ไปยังดาบยาวของคู่ต่อสู้โดยการกดต่ำหรือกระแทกให้หลุดจากมือ เป็นการจู่โจมทำลายอาวุธของฝ่ายตรงข้าม และที่หวังผลรุนแรงคือการฟาดฟันแบบกวาดรวมไปยังส่วนหัว แขน และขา ของคู่ต่อสู้ในกระบวนท่าเดียว 

สำหรับท่าร่างในการฟาดฟันดาบ “มุซาชิ” มุ่งการฝึกปรือสู่ขั้นร่างกายกับดาบรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวก่อนเพียงเล็กน้อยก่อนที่ดาบจะฟาดฟันออกไป โดยมีทั้งรูปแบบของการฟันใส่แขนขา เพื่อเข้าประชิดคู่ต่อสู้ และรูปแบบของการฟันที่ออกไปตามจิตสำนึก 

เพื่อพิชิตชัยในฉับพลัน เมื่อคู่ต่อสู้เงื้อดาบจะฟาดฟันแทนที่จะยื่นดาบหรือเหยียดมือออกไปก็จะใช้กลยุทธ์การหระชิดเข้าพิงกับคู่ต่อสู้แทน เป็นการทำลายจังหวะและป้องกันการปัดป้องของคู่ต่อสู้และเปลี่ยนสภาพจากการหดห่อร่างกาย เป็นการยื่นขยายมือเท้าออกไปครอบงำฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด หากคู่ต่อสู้สามารถสกัดการฟาดฟันได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นการแนบดาบเข้ากับฝ่ายตรงข้าม โดยอาศัยการเกาะเกี่ยวที่เน้นการใช้กำลังอย่างแกร่งกร้าว และการพัวพันที่ใช้กำลังอย่างอ่อนหยุ่น เพื่อช่วงชิงช่องว่างและแง่มุมที่เหมาะสมในการโถมฟาดฟันใส่ทรวงอกร่างกายของฝ่ายตรงข้าม ดาบยังสามารถทิ่มแทงโดยเฉพาะในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีช่องว่างให้ฟาดฟันหรือเมื่อความคมของดาบเริ่มลดทอนลง 

ในยามรุกนั้นเป้าหมายของการทิ่มแทงหัวใจ ในขณะตั้งรับ การทิ่มแทงก็สมารถใช้ออกเพื่อยับยั้งการรุกของคู่ต่อสู้ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ใบหน้าและตวงตาของฝ่ายตรงข้าม การบีบบังคับให้คู่ต่อสู้หนีออกจากเส้นทาง นับเป็นสัญาณแห่งชัยชนะของเรา การทิ่มแทงยังสามารถใช้ออกในกรณีที่เราเพลี่ยงพล้ำเสียจังหวะจากการรุกจนฝ่ายตรงข้ามฟาดฟันเข้ามา หลักการคือจะต้องตบดาบของฝ่ายตรงข้ามออก และพลิกแพลงเปลี่ยนจากการตบออกเป็นทิ่มแทง หากฝึกฝนจนจังหวะของการทิ่มแทงรวดเร็วกว่าการตบออก ก็จะมีชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้ ไม่เพียงแต่รูปแบบของการฟาดฟันทิ่มแทง และการเคลื่อนไหวท่าร่าง การใช้ดาบยังครอบคลุมถึงการใช้เสียงตวาด เพราะนอกจากจะเป็นการข่มขวัญคู่ต่อสู้แล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างจังหวะการใช้ดาบของตนเองอีกด้วย 



“มุซาชิ” ยังได้กล่าวถึงกรณีของการต่อสู้กับพวกมากกว่า จะต้องสังเกตทุกความเคลื่อนไหวของศัตรู พึงใช้ดาบทั้งสองเล่มเพื่อกวาดต้อนให้ศัตรูที่รายล้อมอยู่รอบด้าน ให้รวมตัวกันอยู่ในด้านเดียว จะได้พ้นจากสภาวะที่ต้องรับมือจากการจู่โจมรอบด้าน จะต้องวางแผนการรับมืออย่างเป็นขั้นตอน 

โดยการลำดับก่อนหลังในการเข้าถึงของคู่ต่อสู้แต่ละคน การผลักดันให้ศัตรูถอยกลับไปในลักษณะที่ยังเป็นรูปขบวนอยู่นั้น ไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ เลย การฟาดฟันจึงต้องมุ่งมั่นที่จะทำลายขบวนของศัตรูให้กระเจิดกระเจิงสับสนรวนเร 

การจะบรรลุได้ถึงชัยชนะจะต้องผ่านการฝึกฝนจนร่างกายกับดาบหลอมรวมเป็นหนึ่ง การเคลื่อนร่างเป็นไปตามธรรมชาติปรุโปร่งถึงจังหวะแห่งจิตวิญาณ เมื่อถึงขอบเขตนี้แล้ว วิถีแห่งการพิชิตศัตรูทั้งกองทัพ กับการเอาชัยเหนือศัตรูหนึ่งเดียว ก็ไม่มีความแตกต่างกัน 
รากฐานกระบวนท่าทั้งห้า
1. "ท่ากลาง"    การตั้งท่า: ดาบชี้ไปที่ใบหน้าศัตรู    ศัตรูฟันดาบแรก: ปัดดาบไปทางขวาตน    ศัตรูฟันดาบสอง: ปัดดาบไปขึ้นบนและดึงดาบออกมา    ศัตรูกำลังฟันดาบสาม: ฟันแขนอีกฝ่ายจากข้างล่าง
'ท่าทั้งห้านั้นไม่สามารถเข้าใจได้โดยการอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างเดียว ต้องฝึกฝนด้วยการถือดาบไว้ในมือด้วย''เมื่อได้ดังนั้นเจ้าย่อมเข้าใจถึงวิถีแห่งดาบของข้า และเข้าใจดาบของอีกฝ่ายไม่ว่าเขาจะจู่โจมมาอย่างไร''นี่คือสาเหตุที่ข้าสอนเข้าด้วยกระบวนท่าดาบสองมือ และไม่มีท่าอื่นใดนอกจากห้ากระบวนท่านี้ ซึ่งเจ้าต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง'
2. "ท่าสูง"    การตั้งท่า: เงื้อดาบและโจมตีอีกฝ่ายเมื่ออีกฝ่ายโจมตี    เมื่อโจมตีพลาด: ให้ปล่อยดาบไว้ท่าเดิม    เมื่อศัตรูเริ่มโจมตีกลับ: ฟันดาบขึ้นจากท่าเดิม
'มีจังหวะมากมายที่เกี่ยวข้องกับในกระบวนท่านี้ แต่หากฝึกฝนภายในขอบเขตอันมากมายเหล่านั้นจะทำให้เจ้าสามารถเข้าถึงรายละเอียดของท่าทั้งห้า และสามารถเอาชนะได้ทุกสถานการณ์'
3. "ท่าต่ำ"    การตั้งท่า: ดาบชี้ลงต่ำ    เมื่อศัตรูบุกเข้ามา: โจมตีมืออีกฝ่ายจากด้านล่าง    เมื่อโจมตี: มีโอกาสที่ศัตรูจะปัดหรือฟันดาบเรา ปล่อยจังหวะนี้ผ่านไป    เมื่อศัตรูปัดดาบเราสำเร็จ: ฟันมือด้านบนอีกฝ่ายทิ้ง 
4. "ท่าซ้าย"    การตั้งท่า: ดาบที่จะใช้โจมตีให้พร้อมจากด้านซ้าย    เริ่มโจมตี: ฟันดาบแรกไปที่ข้อมือหรือมือที่ถือดาบของอีกฝ่าย    เมื่ออีกฝ่ายโจมตีดาบเรา: ปัดดาบอีกฝ่ายทิ้ง    โจมตีปิด: ใช้ดาบอีกเล่มอ้อมไปฟันแขนอีกฝ่ายตามแนวเหวี่ยงของไหล่'การโจมตีนี้จุดสำคัญอยู่ที่การเอาชนะโดยการปัดวิถีโจมตีของดาบศัตรู'
5. "ท่าขวา"    การตั้งท่า: ดาบพร้อมทางด้านขวาตน    เมื่อฝ่ายตรงข้ามโจมตี: ยกดาบขึ้นและตัดศัตรูจากด้านบนลงล่าง
'หากเจ้าเคยชินกับพื้นฐานของกระบวนท่านี้แล้ว เจ้าจะสามารถควบคุมดาบขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดายนี่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ถึงวิถีแห่งดาบเช่นกัน'


บทแห่งไฟ
ธรรมชาติของไฟ นั้นเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา และเปี่ยมไปด้วยอันตราย 
บทนี้จึงว่าด้วยการต่อสู้ทั้งแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หรือการโรมรันทั้งกองทัพ ดังนั้นยุทธวิธีต่างๆ ที่จะนำมาชิงชัยจะถูกนำมาอธิบายไว้ในบทนี้

โดยทั่วไปมีความเชื่อว่าเคล็ดลับของชัยชนะคือความรวดเร็ว หลายสำนักเน้นฝึกฝนความรวดเร็วของร่างกายเพราะเชื่อว่าความเร็วกว่าเพียงเล็กน้อยจะนำมาซึ่งชัยชนะ แต่วิถีของ “มุซาชิ” มุ่งเน้นว่าการเล็งเห็นถึงยุทธวิธีของฝ่ายตรงข้ามจึงเป็นหนทางที่แท้จริงสู่ชัยชนะ 


Episode 45: The final showdown between Musashi and Sasaki Kojiro. 
Musashi tells Kojiro, "You just threw your life away", 
referring to Kojiro's scabbard. From the 1984 NHK TV 
series starring Koji Yakusho and based on the book by Eiji Yoshikawa.

ปัจจัยสำคัญ อย่างหนึ่งของการพิชิตชัย คือการเลือกทำเลสถานที่ จะต้องเลือกตำแหน่งที่สูงกว่าของฝ่ายตรงข้ามเป็นการข่มขวัญ ให้แสงสว่างอยู่ด้านหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสายตา และเป็นทิศทางที่แสงจะรบกวนคู่ต่อสู้ ในขณะจู่โจมจะต้องไม่เปิดโอกาสให้ศัตรูเห็นตำแหน่งทิศทางตลอดจนสภาพแวดล้อมที่ก้าวผ่าน และบีบคั้นฝ่ายตรงข้ามเข้าสู่จุดอับ แม้แต่การต่อสู้ในห้องหับก็ต้องคำนึงถึงข้าวของเครื่องใช้ในห้องเพื่อใช้ประโยชน์ในการกีดขวางคู่ต่อสู้ 

การเคลื่อนไหวแรก
“มุซาชิ” กล่าวถึงการเคลื่อนไหวแรกว่ามีเพียง 3 กรณีท่านั้นคือ 

1.จู่โจมเพื่อมุ่งเป็นฝ่ายรุก 
2.ตั้งรับการจู่โจมจากฝ่ายตรงข้าม 
3.การจู่โจมพร้อมฝ่ายตรงข้ามในรูปแบบแรก 

ต้องพิจารณาถึงตำแหน่งแง่มุมที่จะลงมือแล้วลงมือทันทีโดยปราศจากความลังเลด้วยพลัง และความเร็วที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม หากแต่ต้องออมรั้งพลังสำรองไว้อีกส่วนหนึ่ง ไม่ควรทุ่มเทพลังทั้งหมดลงไปกับการโจมตีครั้งแรกเพียงครั้งเดียว 

ในรูปแบบที่สอง เมื่อตั้งรับให้อยู่ในสภาวะว่างเปล่าผ่อนคลายเหมือนไร้กำลัง แต่เมื่อฝ่ายตรงข้ามโถมเข้าใส่ ให้ถอยหลังเพิ่มระยะห่างอย่างรวดเร็ว และเมื่อสภาวะจู่โจมของคู่ต่อสู้ถึงที่สุดก็จะเป็นจังหวะรุกไล่กลับเพื่อเอาชัย และในรูปแบบสุดท้าย จะต้องอาศัยการตอบโต้ที่สงบเยือกเย็น ประกอบกับการเคลื่อนไหวหลอกล่อ และเมื่อคู่ต่อสู้อยู่ในระยะหวังผลจึงฉกฉวยโอกาสจู่โจมพิชิตศึกอย่างรวดเร็ว
การจะบรรลุถึงผลของการเคลื่อนไหวแรก จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจกับฝ่ายตรงข้ามทั้งในแง่ของบุคลิกและการเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ ที่จะสะท้อนถึงจุดแข็งและจุดอ่อนออกมา 

ในแง่ของการศึกสงครามก็คือศึกษาถึงรูปแบบการเดินทัพ ขวัญ และกำลังใจของไพร่พล ตลอดจนหลักจิตวิทยาของฝ่ายตรงข้าม และพื้นที่ในการทำสงครามเพื่อสืบค้นถึงจังหวะและช่องว่างในการจู่โจม เมื่อเรียนรู้ถึงฝ่ายตรงข้ามก็จะสามารถหยุดยั้งความคิดที่จะจู่โจมจนอยู่ในสถานะที่จะชักนำคู่ต่อสู้แทนที่จะถูกชักนำ ต้องล่วงหน้าก่อนการกระทำของฝ่ายตรงข้ามเสมอเพื่อก่อกวนสิ่งที่คู่ต่อสู้จะดำเนินการให้กลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ 

เช่นในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามโถมเข้าประชิดให้หยุดยั้งการจู่โจมด้วยการฉากหนี กล่าวคือไม่ยอมให้คู่ต่อสู้อยู่ในสภาวะที่ได้เปรียบแม้แต่น้อย ในกรณีของการศึกสงคราม หากฝ่ายตรงข้ามจู่โจมจากระยะใกล้ด้วยธนูหรือปืนไฟเราก็จะต้องบุกจู่โจมจากระยะไกลด้วยธนูหรือปืนไฟ เราก็จะต้องบุกจู่โจมเข้าใกล้เพื่อทำลายระยะที่มีเปรียบของฝ่ายตรงข้าม และใช้ดาบด้วยจิตใจที่แข็งแกร่ง ในการเข้าต่อสู้โรมรันแน่นอนว่าการฝ่าข้ามไปในลักษณะนี้จะเต็มไปด้วยความยากลำบาก หากแต่เมื่อฝ่าข้ามไปได้ก็จะล่วงรู้ถึงจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ จึงต้องอาศัยความบากบั่นอดทนเช่นเดียวกับการล่องเรือข้ามมหาสมุทรจนถึงฝั่ง ต้องเข้าใจความรู้สึกนึกคิดจนเหมือนกับจะกลายเป็นฝ่ายตรงข้าม 

เมื่อบรรลุถึงขอบเขตนี้ก็จะสามารถคาดการณ์ถึงดาบต่อไปของฝ่ายตรงข้ามได้ อันนำมาซึ่งความมีเปรียบอย่างต่อเนื่อง แม้เมื่อคู่ต่อสู้เข้าสู่ภาวะพังพินาศ เราก็สามารถที่จะรับรู้และฉกฉวยจังหวะเข้าพิชิตชัยได้ในที่สุด หากเมื่อเข้าสู่ภาวะของการค้ำยัน เราจะต้องเปลี่ยนแผนที่วางไว้ทันที เพราะเป็นสัญญาณว่าฝ่ายตรงข้ามอาจล่วงรู้ถึงสภาวะของเรา หากยังดื้อดึงยืนกรานก็รังแต่จะสูญเสียกำลัง

การสร้างสภาวะผ่อนคลายก็สามารถแพร่ระบาดสู่ฝ่ายตรงข้าม หากเราสามารถสร้างสภาวะผ่อนคลายขึ้นจนมอมเมาให้ฝ่ายตรงข้ามย่อหย่อนเราก็จะโจมตีเข้าไปได้ เหมาะสำหรับใช้ออกในยามที่เผชิญศึกที่ยืดเยื้อ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการแทรกซึมเข้าไปยังฝั่งตรงข้าม ในกรณีที่ไม่สามารถคาดการณ์ถึงแผนการของฝ่ายตรงข้ามได้ กลยุทธ์ที่ควรใช้ออกเรียกว่า "การเคลื่อนเงา" อันเป็นรูปแบบการแสร้งโจมตีแบบดุเดือดรุนแรง เพื่อบีบบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเผยแผนการที่แท้จริงออกมา 

เมื่อสามารถล่วงรู้ถึงแผนการของฝ่ายตรงข้าม หากฝ่ายตรงข้ามเริ่มดำเนินกลยุทธ์ เราก็จะต้องชักจูงเปลี่ยนแปลงทิศทางของฝ่ายตรงข้ามให้อยู่ในทิศทางและแง่มุมที่เราสามารถควบคุมไว้ได้โดยสิ้นเชิง 



ขู่ขวัญ
แนวทางหนึ่งในการมีชัยเหนือคู่ต่อสู้ คือการทำให้ฝ่ายตรงข้ามอยู่ในสภาวะที่เสียสมดุล ปราศจากขวัญและกำลังใจ โดยมีแนวทางหลักๆ 3 ประการ คือ 

1.สร้างความวิตกหวาดกลัวให้เกิดกับฝ่ายตรงข้าม 
2.ทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกว่าเราสามารถทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ 
3.ทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดเดาสถานการณ์แท้จริงได้

กลยุทธ์การขู่ขวัญมักถูกใช้ออกเพื่อทำลายความคิดต่อสู้ของฝ่ายตรงข้าม สามารถทำได้ทั้งจากรูปแบบของการจัดทัพให้ดูยิ่งใหญ่ทั้งๆที่ความจริงมีไพร่พลอยู่ไม่มากนัก การจัดแบ่งกองทัพออกจู่โจมกระหนาบข้างเพื่อตัดกำลังและสร้างความหวาดกลัวตลอดจนการใช้ฝุ่นควันในการพรางตาฝ่ายตรงข้าม หรือการใช้เสียงทำลายขวัญ 

ในกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามมีความแข็งแกร่งไม่สามารถเอาชัยได้ในการโจมตีทั้งหมด เราก็จะต้องศึกษาถึงแง่มุมสำคัญของคู่ต่อสู้อันเป็นจุดยุทธศาสตร์หลักเพื่อโถมกำลังเข้าจู่โจมทำลาย เพราะหากสามารถควบคุมจุดยุทธศาสตร์ได้ ก็จะมีชัยในขั้นสุดท้าย 

ในขณะเดียวกันเราจะต้องสร้างความสับสนให้กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อไม่ให้ล่วงรู้ถึงเส้นทางการเดินทัพและแง่มุมในการโจมตีที่แท้จริง ซึ่งสามารถทำได้จากการล่อหลอกด้วยเส้นทางการสลับเปลี่ยนตำแหน่งที่ไม่แน่นอน ตลอดจนการเปลี่ยนระดับความเร็ว 

ในกรณีพบกับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งหรือมีกำลังพลมากกว่า จะต้องทำให้ทัพของฝ่ายตรงข้ามตกอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิง โดยการโจมตีเข้าไปยังจุดต่างๆของฝ่ายตรงข้าม เมื่อฝ่ายตรงข้ามทุ่มเทเข้ามารับมือ เราก็จะถอนกำลังไปโจมตีจุดอื่นแทน 

รูปแบบเช่นนี้จะสร้างความปั่นป่วนรวนเรให้กับฝ่ายตรงข้าม เมื่อเราพบว่าคู่ต่อสู้เพลี่ยงพล้ำแม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีไพร่พลมากกว่า แต่ก็ขาดขวัญกำลังใจ ก็นับเป็นโอกาสอันดีในการเข้าบดขยี้ทำลายล้างให้ย่อยยับ ไม่เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ถอยหนีซึ่งอาจหวนกลับมาได้อีก การจะให้ฝ่ายตรงข้ามพ่ายแพ้นั้นไม่ใช่เป็นเพียงความพ่ายแพ้ภายนอก หากแต่จะต้องเป็นการยอมรับทั้งกายใจ เพราะจิตใจที่ไม่พ่ายแพ้ย่อมสามารถรวบรวมกำลังขึ้นต่อสู้ใหม่อยู่เสมอ 

ในทางตรงข้าม หากเราต้องตกอยู่ในจุดอับมีสภาพเป็นเบี้ยล่างจนไม่สามารถแก้สถานการณ์ได้ ควรที่จะเลิกล้มแผนที่ได้วางไว้ทั้งหมดเสียแล้วเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพราะการแก้ไขปัญหานั้นในบางสถานการณ์ยังยากยิ่งกว่าการสร้างใหม่เสียอีก

จะต้องดำเนินการในสิ่งตรงข้ามกับความคาดหวังของฝ่ายตรงข้ามอยู่เสมอ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่ควรที่จะใช้กลยุทธ์เดิมซ้ำสอง และควรที่จะมุ่งให้ความสนใจกับหลักใหญ่ใจความ เพราะการให้ความสำคัญกับรายละเอียดปลีกย่อยมากเกินไปอาจนำไปสู่ความเข้าใจถึงสถานการณ์ที่แท้จริงอย่างผิดเพี้ยน
แนวทางของมุซาชิ คือเน้นให้ความสำคัญกับการรุก ต้องสร้างโอกาสให้อยู่ในสภาวะรุกเสมอ ผู้ที่มีชัยได้จะต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักจนมีความแข็งแกร่งดุจหินผา สามารถรับมือกับการจู่โจมได้ในทุกรูปแบบ 

แก่นแท้ของชัยชนะ คือการเรียนรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของฝ่ายตรงข้าม ในแง่ของการทำศึก ต้องเข้าใจไพร่พลของฝ่ายตรงข้ามประดุจว่าเป็นไพร่พลของตนเอง เมื่อบรรลุถึงขอบเขตนี้แล้ว “มีดาบ” กับ “ไร้ดาบ” ก็ไม่มีความแตกต่างกัน ผู้มีชัยไม่จำเป็นจะต้องมีดาบเสมอไป


บทแห่งลม
บทแห่งลม กล่าวถึงกลยุทธ์ของสำนักดาบอื่น ที่แทบทั้งหมดยึดติดอยู่กับกระแสเดิม ๆ ลมจึงเปรียบได้ดั่งกระแสดังกล่าว หากไม่สามารถรู้ถึงขีดความสามารถของคู่ต่อสู้ ก็เป็นการยากที่จะรู้จักตนเอง 

สำหรับสำนักอื่นแล้ว เมื่อพูดถึง “กลยุทธ์” ก็จะให้ความสำคัญไปที่ “เพลงดาบ” ซึ่งแตกต่างกับวิถีของ “มุซาชิ” โดยสิ้นเชิงและเขาเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และหากผู้ใดเริ่มต้นด้วยจุดเล็ก ๆ ที่ไม่ถูกต้องแล้ว ที่สุดแล้วย่อมขยายไปสู่ข้อผิดพลาดอันยิ่งใหญ่ 

“มุซาชิ” จึงมุ่งกล่าวถึงรูปแบบและวิธีการของสำนักดาบอื่น โดยชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดและจุดด้อยของแต่ละรูปแบบ โดยเห็นว่าการที่แต่ละสำนักให้ความสำคัญกับรูปแบบอย่างตายตัวนั้น เป็นเพียงแนวทางการปรุงแต่งให้เพลงดาบเป็นเพียงการค้าขายเท่านั้น การจำกัดอยู่เพียงกระบวนท่าที่ตายตัว แม้จะมีการฝึกฝนขัดเกลาอย่างหนักหน่วงแต่ก็ยังห่างไกลจากวิถีแห่งกลุทธ์ที่แท้ และไม่ใช่กลยุทธ์แห่งการพิชิตชัย 

“มุซาชิ” ได้ประมวลรวบรวมแนวทางดาบของสำนักอื่นที่ปรากฏอยู่ทำการวิเคราะห์แยกแยะแบ่งออกเป็น 9 หมวดหมู่โดยได้ให้ความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ไว้ดังนี้ 



แนวทางของ “ดาบยาวพิเศษ” 
“มุซาชิ” กล่าวว่า มีบางสำนักที่ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ดาบที่ยาวกว่าคู่ต่อสู้ ด้วยความคิดที่ว่า “ยาวหนึ่งนิ้ว ได้เปรียบหนึ่งส่วน” แนวทางนี้สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจที่อ่อนแอ และผิดเพี้ยนไปจากวิถีแห่งกลยุทธ์ที่แท้ เพราะในความเป็นจริง ดาบที่ยาวกว่า ก็ไม่จำเป็นที่ต้องมีเปรียบเสมอไป 

ในกรณีที่ระยะห่างระหว่างเรากับคู่ต่อสู้ยิ่งชิดกันมาก ดาบยาวก็ยิ่งยากต่อการกวัดแกว่างฟาดฟัน แทนที่จะเป็นประโยชน์ก็จะกลับกลายเป็นภาระของผู้ใช้ ถึงแม้ผู้มุ่งเน้นแนวทางของดาบที่ยาวกว่า จะยกเหตุผลต่าง ๆ มากมายที่จะชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบ แต่ในความเป็นจริง ก็ไม่ใช่ว่าผู้ที่ใช้ดาบสั้นกว่าจะต้องพ่ายแพ้เสมอไป เพราะในบางพื้นที่อาจมีสิ่งกีดขวางต่อดาบที่ยาวเป็นพิเศษ 

ดาบที่ยาวเป็นพิเศษและมีน้ำหนักมาก ยังไม่เหมาะกับผู้ที่มีพละกำลังไม่เพียงพอ การใช้ดาบที่ยาวกว่า อาจเปรียบได้กับการศึกที่ใช้กองทัพที่มีกำลังพลมากกว่า ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า ฝ่ายที่มีลำลังพลใหญ่กว่าจะต้องชนะเสมอไป มีตัวอย่างอยู่มากมายที่กองกำลังขนาดเล็กสามารถมีชัยเหนือกองกำลังที่ใหญ่กว่าได้ 

แนวทางของ “ดาบทรงพลัง” 
บางสำนักเน้นหนักที่การใช้กำลังในการฟาดฟันดาบ สำนักเหล่านี้มีความเห็นว่าการใช้กำลังอันรุนแรง เป็นหนทางในการทำลายล้างคู่ต่อสู้ แต่ในมุมมองของ “มุซาชิ” แล้ว ดาบที่ใช้ออกด้วยความรุนแรงเพียงอย่างเดียวเป็นของหยาบ การศึกที่แท้ยากที่จะเอาชัยด้วยพลังอันป่าเถื่อนเพียงอย่างเดียว 

ในขณะที่ดาบฟาดฟันออก ความคิดไม่ควรยึดติดอยู่กับการใช้กำลังว่า ดาบนั้นจะฟันออกอย่างรุนแรงหรือแผ่วพลิ้ว วิถีที่เที่ยงแท้คือเมื่อดาบฟาดฟันออก ความคิดคำนึงจะมุ่งอยู่ที่การทำลายล้างคู่ต่อสู้เท่านั้น 

การฟาดฟันที่รุนแรงจะผกผันย้อนกลับในรูปแบบของแรงดีดสะท้อน ที่จะนำไปสู่การเสียสมดุล ขาดหลักยึดอันมั่นคง และตกเข้าสู่สภาวะที่เสียเปรียบ การโหมใช้แรงอย่างรุนแรง ยังกระทบถึงระดับความเร็วที่ชะลอเชื่องช้าลง เช่นเดียวกับการศึก การใช้กำลังหาญหักเพียงอย่างเดียว จะนำไปสู่ความสูญเสีย ซึ่งไม่อาจยืนยันได้ว่าจะพบกับชัยชนะเสมอไป 



แนวทาง “ดาบสั้น” 
บางสำนักมุ่งเน้นให้ความสำคักับการใช้ดาบสั้น (โดยทั่วไปนักสู้ชาวญี่ปุ่นจะพกดาบสองเล่ม คือ ดาบยาวเล่มหนึ่งเรียกว่า “ทาจิ” และ ดาบสั้นอีกเล่มหนึ่งเรียกว่า “คาตานะ”) โดยมักฝึกฝนให้ใช้ออกเมื่อต้องตกอยู่ในสภาวะตั้งรับ ความเห็นของสำนักโดยทั่วไปก็คือ ดาบสั้นเหมาะสมที่จะใช้ในการปัดป้องหลบหลีก 

“มุซาชิ” เห็นว่าสภาวะการตั้งรับนั้นเกิดขึ้นจากการถูกชักจูงของฝ่ายตรงข้าม หรือการที่ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังคนมากว่า การบุกเข้าไปในดงของคู่ต่อสู้จำนวนมากด้วยการใช้ดาบสั้นเพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะดาบสั้นจะตกอยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการปัดป้อง 

แนวทางที่แท้ในการตั้งรับคือ การป้องกันอย่างรัดกุม แล้วจึงหาจังหวะที่จะสร้างความสับสนให้กับฝ่ายตรงข้าม แม้ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังพวกมากกว่าก็ต้องตัดทอนกระจายกำลังของคู่ต่อสู้ลง เมื่อสบโอกาสจึงเข้าบดขยี้ทำลาย การฝึกฝนเน้นใช้ดาบสั้น จะทำให้ผู้ฝึกติดยึดกับความคิดในการตั้งรับเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ถูกคู่ต่อสู้ชักจูงไปในที่สุด 



แนวทางของ “ดาบหลายเล่ม” 
บางสำนักมุ่งเน้น ให้ผู้ฝึกฝนสามารถใช้ดาบที่มีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันออกไป เพื่อใช้ในสภาวการณ์ที่แตกต่างกันออกไป 

แต่สำหรับ “มุซาชิ” แล้ว แนวทางดังกล่าวสะท้อนถึงความวอกแวกสับสนในตัวของผู้ฝึกฝนเอง สำนักที่มุ่งเน้นแนวทางดังกล่าว ก็เป็นเพียงแค่การสร้างความหลากหลาย เพื่อที่ประดับประดากลยุทธ์ของตนเองให้สามารถซื้อขายเท่านั้น การเน้นรูปแบบดาบ ตลอดจนให้ความสำคัญกับท่วงท่าในการฟาดฟัน ย่อมไม่ใช่วิถีแห่งกลยุทธ์ สิ่งพื้นฐานที่แท้คือการเหยียบย่ำไปยังเหล่าคู่ต่อสู้ให้สับสน ทำลายขวัญและกำลังใจให้ฝ่ายตรงข้ามสูญเสียกระบวนท่า 

แนวทางของสำนัก “จรดกระบวนท่า” 
บางสำนักเน้นที่รูปแบบการจรดท่าดาบ โดยมากจะเน้นให้ผู้ฝึกฝนตั้งท่าจรดดาบ ด้วยท่วงท่าที่แข็งเกร็ง ซึ่งตามความคิดของ “มุซาชิ” แล้ว เป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ใดเลย เพราะการจดท่านั้น เป็นสิ่งที่พึงทำเมื่อไร้ศัตรูเท่านั้น การจรดท่าดาบที่แท้ไม่ใช่สิ่งดายตัวต้องแปรเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อม จึงสามารถพิชิตชัย การจรดท่าสะท้อนถึงรูปแบบการให้ความสำคัญกับการตั้งรับ 

ซึ่งขัดกับแนวทางการรุก เมื่อฝ่ายตรงข้ามมุ่งเน้นการจรดท่า ก็จะเปิดโอกาสให้เราสามารถสังเกตค้นหาจุดอ่อน ที่จะเข้าจู่โจมทำลายอย่างเหนือการคาดเดา ทั้งการสร้างสถานการณ์อันสับสน ก่อให้เกิดความยุ่งเหยิงในจิตใจของฝ่ายตรงข้าม ตลอดจนการสร้างความตื่นตระหนกหวาดกลัว การจรดท่าที่แข็งเกร็งตายตัวก็เปรียบเหมือนกับการตั้งทัพในรูปแบบเดิม ๆ และขาดความยืดหยุ่น ง่ายที่จะคาดเดาและไม่อาจแปรผันไปตามสภาวการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปจึงยากที่จะมีชัย 

แนวทางของสำนัก “จุดเพ่งสมาธิ” 
แต่ละสำนักจะฝึกฝนให้มีจุดในการเพ่งมองไปยังคู่ต่อสู้แตกต่างกันออกไป บางแห่งเน้นการเพ่งสมาธิไปยังดาบของฝ่ายตรงข้าม บ้างก็เพ่งไปยังใบหน้า บ้างก็ให้ความสำคัญกับมือหรือการย่างเท้า 

“มุซาชิ” เห็นว่า การเพ่งสมาธิมองไปยังจุดหนึ่งจุด ทำให้ละเลยไม่อาจเห็นสภาพโดยรวมที่แท้จริง อีกทั้งสมาธิจิตใจยังอาจถูกทำให้วอกแวกสับสนจากจุดปลีกย่อย ที่ฝ่ายตรงข้ามจงใจเปิดเผยล่อลวง  มีเพียงจิตใจของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นที่เป็นจุดเพ่งสมาธิ เช่นเดียวกับการรบทัพจับศึกที่จะต้องพึงสังเกตและรับรู้ถึงสภาพอันแท้จริงของฝ่ายตรงข้าม ค้นหาจุดอ่อนจุดแข็ง ไม่ควรใส่ใจกับสิ่งปลีกย่อยที่จะสร้างความไขว้เขว


แนวทางของ “การสืบเท้า”
แต่ละสำนักก็มีแนวทางการสืบเท้าที่แตกต่างกันไปบ้างเน้นหนักที่การก้าวย่อง บ้างฝึกฝนการกระโดดลอยตัวบ้างเน้นการทิ้งน้ำหนักในการก้าวย่าง และยังมีรูปแบบการสืบเท้าต่างๆ อีกมากมาย 

แต่สำหรับ“มุซาชิ”  สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่เป็นสิ่งสลักสำคัญ สภาพพื้นผิวที่แตกต่างกันจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการสืบเท้าเอง เพราะสมรภูมิบางแห่งก็ราบเรียบ บางแห่งเป็นป่ารก บางแห่งเป็นหล่มโคลนหรืออาจเป็นห้วยธารคลองบึง 

ดังนั้นรูปแบบการสืบเท้าอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมไม่เหมาะสมการสืบเท้าที่ดีจึงควรเป็นเช่นการเดินดังปกติที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปสำหรับการทำศึกแล้วการเดินทัพจะต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และสถานะของฝ่ายตรงข้ามการหักโหมโจมตีโดยไม่รู้กลยุทธ์ของฝ่ายตรงข้ามจะนำมาซึ่งความพ่ายแพ้ เช่นเดียวกับการสูญเสียโอกาสที่จะมีชัย เพราะไม่อาจทราบถึงความระส่ำระส่ายที่เกิดขึ้นในฝ่ายตรงข้าม

แนวทางของ “ความเร็ว”
บางสำนักเน้นที่ความเร็วในการพิชิตชัย ทั้งความเร็วของท่าร่าง และความเร็วในการฟาดฟันดาบออกเพราะเชื่อว่าจะสร้างความได้เปรียบในการต่อสู้ แต่คำกล่าวที่ว่า ยิ่งเร่งรีบ ยิ่งสูญเปล่า สะท้อนให้เห็นว่าความเร็วไม่ใช่ตัวกำหนดชัยชนะเสมอไป

“มุซาชิ” เห็นว่าบางสภาวะแวดล้อมนั้นไม่อาจใช้เร็วเข้าชิงชัย ความเร็วช้าที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมสะท้อนให้เห็นถึงการสูญเสียจังหวะในการต่อสู้ หากฝ่ายตรงข้ามเร่งรีบ เราควรจะตั้งอยู่ในความสงบ การใช้ความเร็วจะทำให้ตกอยู่ในจังหวะของคู่ต่อสู้ เมื่อนั้นย่อมยากที่จะมีชัย

แนวทางของ “เคล็ดลับ”
สำนักดาบบางแห่งมีการคัดเลือกผู้ฝึกฝนที่จะได้รับการถ่ายทอดเคล็ดวิชาลับสุดยอด แต่สำหรับมุซาชิแล้วมุ่งที่จะฝึกฝนให้ตามความพร้อมของแต่ละคนเน้นหนักที่การเล่าเรียนจากประสบการณ์ที่แท้จริง จึงไม่มีวิชาชั้นสูงที่เป็นเคล็ดลับ รูปแบบการถ่ายทอดแปรเปลี่ยนไปตามภูมิปัญญาของผู้ฝึกฝน โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ขจัดความสงสัยให้กับศิษย์ เป็นแนวทางที่ว่า ครูคือเข็มศิษย์คือด้าย



บทแห่งความว่าง
บทแห่งความว่างซึ่งหมายถึง การไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด สรรพสิ่งล้วนต่อเนื่องตามกันเป็นหลักของการไม่ยึดติดในหลักการที่สุดแล้ววิถีแห่งกลยุทธ์จึงเป็นวิถีแห่งธรรมชาติ เมื่อเข้าใจพลังแห่งธรรมชาติก็จะรู้ถึงจังหวะและสถานการณ์ มีปฏิกิริยาตอบโต้เป็นธรรมชาติ 

เนื้อหาในบทนี้จึงกล่าวถึงหนทางไปสู่วิถีที่ว่า “ความว่าง” ก็คือ “ความไม่มี” 
การจะเข้าถึง “ความว่าง” ได้ต้องรับรู้ได้ถึง ความไม่มี”  
ซึ่งมีเพียงหนทางของการรับรู้ถึง “ความมี” เท่านั้น 
จึงจะสามารถแบ่งแยกและรับรู้ได้ถึง ความไม่มี” 

หลายคนอาจเข้าใจว่า “ความไม่รู้” คือ “ความว่าง” ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างยิ่งเพราะ “ความไม่รู้” ไม่ใช่ความว่างที่แท้ หากแต่เป็นเพียง “อวิชชา” หรือภาพมายา 

วิถีแห่งกลยุทธ์ก็เช่นกันมีผู้ที่หลงคิดว่าความไม่เข้าใจในกลยุทธ์คือ “ความว่าง” ย่อมเป็นความคิดเห็นที่ผิดพลาด เพราะสิ่งนั้นไม่ใช่ “ความว่าง” ที่แท้ การเข้าถึงวิถี แห่งกลยุทธ์ได้ จะต้องอาศัยการอุทิศตนเข้าฝึกฝนทุ่มเทให้กับการยุทธ์ด้วยจิตวิญญาณที่แน่วแน่สั่งสมจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี ขัดเกลาสมาธิและจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ลับประสาทให้แหลมคมทั้งการรับรู้ภายในและการมองเห็นภายนอกเมื่อจิตวิญญาณโผล่พ้นจากเมฆหมอกแห่งมายา จึงบรรลุได้ถึง “ความว่าง” ที่แท้ 

เมื่อตระหนักได้ถึง “ความว่าง” ที่แท้ ไม่ว่าจะด้วยหนทางแห่งพุทธหรือการรู้แจ้งด้วยตนก็จะคิดได้ถึงสรรพสิ่งที่ถูกต้องเที่ยงแท้ แต่ถ้าสรรพสิ่งเดียวกันถูกพิจารณาด้วยมุมมองเพียงด้านใดด้านหนึ่ง สรรพสิ่งนั้นก็จะปรากฎได้หลายรูปแบบซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นรูปแบบที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริงแท้


แนวการใช้ชีวิตที่ " มุซาชิ " เขียนเพื่อมอบเป็นมรดกให้ลูกศิษย์ เจ็ดวันก่อนเสียชีวิต เรียกว่า 
วิถีที่เด็ดเดี่ยวแม้โดดเดี่ยว 
1.อย่าใช้ชีวิตขัดกับคุณธรรมของชาวโลก 
2.ไม่แสวงหาความสุข สบาย สำราญใส่ตัว 
3.ไม่คลั่งไค้ลยึดติดทุกสิ่ง 
4.ไม่โลภ ชั่วชีวิต 
5.ไม่เสียใจในเรื่องที่ล่วงเลย 
6.ไม่อิจฉาริษายาผู้อื่น 
7.ไม่เสียใจกับการพลัดพราก 
8.ไม่ให้รักชายหญิงมารบกวนใจ 
9.ทำงานหนักเอาเบาสู้ ไม่เลือกแต่งานสบาย 
10.ไม่คิดสร้างบ้านหลังโต 
11. ไม่แสวงแต่อาหารเลิศรส 
12. ไม่สะสมของเก่า 
13. ไม่มีความเกลียดชังในใจ 
14. ไม่เสียดายชีวิต ถ้าต้องสละเพื่อมรรค 
15. ไม่ฟ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ในปัจจัยสี่ 
16. ไม่สะสมเพชรนิลจินดา 
17. เคารพพระพุทธเจ้า เทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ ไม่ได้คิดอ้อนวอนขอให้ท่านช่วย 
18. ไม่เคยห่างจากมรรคาของนักรบ 

หลักการคือ....
1. ไม่ถูกความคิดเก่า ค่านิยมเก่าและประเพณีที่คร่ำครึครอบงำ
2. ไม่ขายวิชาเพื่อการพาณิชย์
3. แม้ยามสงบก็หมั่นลับเขี้ยวเล็บเอาไว้เสมอ 
4. จิตใจมิใช่สิ่งที่ฝึกฝนได้ด้วยตำรา แต่จะต้องฝึกฝนโดยผ่านการต่อสู้จริง ๆ โดยผ่านการปฏิบัติที่เป็นจริง
5. "การเมือง" คือวิทยายุทธ์ของการต่อสู้แบบรวมหมู่
6. หลักการต่อสู้ที่เอาชนะปัจเจกได้ย่อมสามารถประยุกต์ใช้กับการต่อสู้เพื่อเอาชนะคนหมู่มากได้
7. จงใช้อาวุธทุกชนิดที่มีอยู่ทั้งหมดในการต่อสู้
8. จะต้องสำเหนียกให้ดีว่า อาวุธที่ตนเองมีอยู่คืออะไร
9. ไม่ยึดติดกับการใช้อาวุธประเภทเดียว
10. จงมีจิตใจที่หนักแน่น ราบเรียบ ไม่หวั่นไหวโดยง่าย จิตใจเช่นนี้จะได้มาจากการฝึกฝนเท่านั้น ไม่อาจเกิดขึ้นเองได้เป็นอันขาด
11. การลำเอียงเข้าข้างตัวเอง เป็นอุปสรรคของการพัฒนาจิตใจ
12. พยายามรักษาความคึกคัก และ กระตือรือร้นในชีวิตประจำวันเอาไว้ตลอดเวลา
13. ไม่ติดกับ "กระบวนท่า" หรือ "สามัญสำนึก" ที่ตัวเองมีอยู่
14. มีกระบวนท่าก็เหมือนไม่มี ยามมีกระบวนท่าก็คือยามไม่เคลื่อนไหว
15. อ่านคู่ต่อสู้ให้ออก มองให้เห็นด้วยธาตุแท้ของเขาให้ได้
16. หัดวางตัวเองให้อยู่ในฐานะของคู่ต่อสู้
17. "ศัตรู" มักอยู่ในพวกเดียวกันเอง
18. ศัตรูเป็นสิ่งไม่ถาวร เพราะศัตรูคือความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกับสถานที่เวลา และผู้คน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงได้
19. ก้าวแรกของชัยชนะอยู่ที่การขจัดเงื่อนไขของการเป็นศัตรู
20. สร้างความหวั่นไหวให้กับจิตใจของคู่ต่อสู้
21. แสวงหาวิธีที่จะเปล่งพลังและศักยาภาพของตัวเองออกมาได้จนถึงขีดสูงสุด
22. เป้าหมายคือสิ่งที่ตัวเองสามารถบรรลุได้
23. จงอย่ากลัวการมีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว
24. การฝึกฝนตนเองนี้ไม่มีที่สิ้นสุดและสุดท้าย
25. จงต่อสู้เมื่อคิดว่าจะชนะ 

ถ้าสนใจเนื้อหาเรื่องคัมภีร์ 5 ห่วง มากกว่านี้ลองหาหนังสือมาอ่านดูนะคะ ^^
{เนื้อเรื่องที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน :: วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด" :: }




1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss