*** วีดีโอนี้มีประโยชน์นะคะเปิดฟังไปด้วยทำงานไปด้วยก็ได้นะคะ *** โรคกรดไหลย้อน เทป 9 ใครไม่ป่วยยกมือขึ้น เทป 9 ตอน โรคกรดไหลย้อน ช่วงที่ 1 สำหรับท่านใดที่มีอาหาร แสบร้อนบริเวณหน้าอก เรอรสเปรี้ยว ไอเรื้อรัง รักษายังไงก็ไม่หายห้ามพลาดเทปนี้ครับ เพราะท่านมีสิทธิเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรค GERD ได้ แต่ไม่ต้องห่วง เราจะพาท่านไปพบนายแพทย์สุเทพ กลชาญวิทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบบาลจุฬาลงกรณ์ นายแพทย์สุเทพ จะมาเล่าถึงที่มาสาเหตุของโรค วิธีวินิจฉัย และวิธีรักษา ช่วงสุดท้ายเราจะไปพูดคุยกับหมอแดงถึงวิธีทางธรรมชาติบำบัด ว่าทำอย่างไรถึงจะป้องกันไม่ให้เป็นโรคกรดไหลย้อน และถ้าเป็นแล้วมีวิธีรักษาอย่างไรบ้างโรคกรดไหลย้อน ตื่นขึ้นกลางดึกขึ้นมาไอ ไอเรื้อรัง เสียงแหบ เจ็บคอในตอนเช้า อาเจียนบ่อยๆ น้ำหนักลด ท้องอืด แน่นท้อง แสบร้อนหน้าอก รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปาก.. อาการเหล่านี้เป็นที่มาของอาการเริ่มแรกของการเป็นโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน (gastro-esophageal reflux disease หรือ GERD) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "อาหารขย้อน" ก็ได้ค่ะ คุณควรรีบพบแพทย์ เพราะหากทิ้งไว้นานจะเป็นต้นเหตุแห่งการเกิดพังผืด และทำให้เป็นโรคมะเร็งได้ค่ะ โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคยอดฮิตของคนเมือง ด้วยเหตุผลจากวิถีการดำเนินชีวิตของคนเมืองที่ต้องเร่งรีบตลอดเวลา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการจุกเสียดนั้น ร้อยละ 10-15% เป็นโรคกรดไหลย้อนค่ะ ตามปกติแล้ว ช่วงต่อของกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร จะมีกล้ามเนื้อหูรูดที่ทำหน้าที่ปิดกั้นไม่ให้อาหารหรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปยังหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อน เป็น ภาวะผิดปกติของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่ไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ภาวะนี้เกิดขึ้นได้ เนื่องจาก กล้ามเนื้อหูรูดที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนประตูกั้นเกิดหย่อน หรือปิดไม่สนิท มีสาเหตุมาจากหลายอย่างด้วยกัน 1.พบได้บ่อยที่สุดคือ จากพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ทำให้กรดจากกระเพาะที่ออกมาเพื่อย่อยอาหาร สามารถไหลเข้าสู่หลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารไม่ได้ออกแบบมาให้โดนกรด พอโดนกรดก็จะระคายเคือง เกิดการอักเสบ เกิดการหย่อนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือกระเพาะอาหารทำงานมากเกินไป จึงทำให้กรดที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร 2.ความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าในคนปกติ หรือเกิดมีการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารมากขึ้น 3.เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร 4.อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดหรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม อาการของโรคกรดไหลย้อน สามารถแบบออกตามระบบการทำงานของร่างกายเราได้ 2 ระบบคือ 1.อาการทางหลอดอาหาร จะมีอาการเจ็บคอในตอนเช้า จะจุกแน่นหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้หลังอาหาร 2.อาการทางกล่องเสียงและปอด เสียงแหบในตอนเช้า ไอเรื้อรังในคอนกลางคืน และมีอาการคล้ายหอบ หรือเจ็บหน้าอก เมื่อไปพบคุณหมอ คุณหมอจะตรวจและวินิจฉัยแล้วไม่พบโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย อย่างเช่น เนื้องอกในกระเพาะ หรือลำไส้ คุณหมอก็จะรักษาโดยให้รับประทานยาในกลุ่มยาลดกรด ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร รวมถึงยาที่ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ขอแนะนำให้รับประทานยาสม่ำเสมอตามคำสั่ง ที่สำคัญไม่ควรลดขนาดยาหรือหยุดยาเอง และอาจใช้เวลารักษาประมาณ 1 - 3 เดือน กว่าอาการจะดีขึ้น นอกจากนี้โรคนี้ยังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์จึงเป็นสิ่งจำเป็นค่ะ เพื่อเป็นการลดอาการและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคนี้อีกครั้งค่ะ 1.แบ่งมื้ออาหารให้ถี่ แต่รับประทานในปริมาณที่น้อย 2.ลด หรือหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด 3.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมันสูง อาหารประเภททอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ และผลไม้รสเปรี้ยว 4.งดดื่มสุรา เบียร์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เพราะจะกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น 5.งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก และทำให้กล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรง 6.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง 7.หากผู้ที่มีน้ำหนักเกินควรลดน้ำหนัก เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูง ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้มาก 8.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 9.สวมใส่เสื้อผ้าที่พอดีตัว อย่าใส่เสื้อผ้าที่คับ หรือ แน่นเกินไป 10นอนโดยให้หัวเตียงอยู่สูง : ซึ่งอาจปรับให้หัวเตียงเอียงสูงจากแนวราบ 6-8 นิ้ว ( แต่อย่าใช้หมอนหนุนให้ศีรษะอยู่สูง ) หากวันนี้คุณเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่ได้เป็นโรคกรดไหลย้อนแล้วละก็ อย่านิ่งนอนใจนะคะ มาปรับเปลี่ยน Life style กันดีกว่า เป็นการป้องกันไม่ให้คุณเป็นโรคนี้ในอนาคตด้วยค่ะ |