1
2

เทคนิคการต่อรองราคาสินค้าให้ได้ใจคนขาย (ทริคเล็ก ๆ จากแม่ค้าจ้ะ)





เทคนิคการต่อรองราคาสินค้าให้ได้ใจคนขาย (ทริคเล็ก ๆ จากแม่ค้าจ้ะ)


สำหรับพฤติกรรมการซื้อ สินค้าและต่อรองราคาสินค้าของแต่ละคนจะมีหลากหลายแตกต่างกันไป บางคนไม่ชอบต่อรองราคา เมื่อได้ยินราคาที่รู้สึกพอใจที่จะจ่ายก็ตัดสินใจจ่ายเงินไปเลย แต่กับบางคนขอให้ได้ต่อรองสักนิดก็ยังดี ถ้าได้ลดเยอะก็ยิ่งดีใหญ่

แล้ว เคยสังเกตุมั้ยว่าทำไมบางคนถึงได้รับการลดราคาเยอะ บางคนได้รับการลดราคาน้อย หรืออาจจะไม่ได้รับการลดราคาเลยจากคนขาย (ยกเว้นร้านค้าที่ฟิกซ์ราคาสินค้าไว้แล้วลดไม่ได้)

วันนี้เราเลยมีทริ คเล็ก ๆ ในการต่อรองราคาสินค้าจากคนขาย ให้ได้ใจคนขาย (โดยที่ไม่โดนด่าไล่หลัง อิอิ)และได้รับการลดราคา มาฝากกัน จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน และเพื่อน ๆในวงการค้าขายค่ะ

สิ่งที่ไม่ควรพูดในการต่อรองราคาสินค้า คือ



1.เปรียบเทียบราคาสินค้ากับร้านอื่น ๆ (ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม) ข้อนี้คนขายโหวตให้เป็นอันดับ 1 ในสิ่งที่ลูกค้าไม่ควรทำอย่างยิ่ง เนื่องจากลูกค้าหลายคนมักเข้าใจผิดว่าการเปรียบเทียบราคาสินค้ากับร้านอื่น ให้คนขายฟังจะทำให้รู้สึกว่าสินค้าร้านตนขายแพงกว่าที่อื่นแล้วจะได้ลดราคา ให้ (หลายครั้งที่ลูกค้ามักจะเมคข้อมูลขึ้นมาซึ่งไม่เป็นความจริง อันนี้จับผิดได้บ่อย ๆ ก็นึกขำอยู่เหมือนกัน) ในความเป็นจริงแล้วพวกคนขายจะรู้สึกเหมือนโดนหยามนิด ๆ ประมาณว่า ถ้าเห็นว่าร้านอื่นดีกว่า หรือขายถูกกว่าแล้วจะมาซื้อร้านฉันทำไม เป็นต้น วิธีการนี้นอกจากจะไม่ได้รับการลดราคาจากคนขายแล้ว ยังอาจมีสิทธิ์โดนด่าไล่หลัง หรือชักสีหน้าได้ (แต่ส่วนใหญ่พวกคนขายเขาไม่ทำต่อหน้าลูกค้าหรอกนะคะ)

เพราะการที่ แต่ละร้านจะตั้งราคาสินค้าแต่ละตัวนั้นนอกจากจะดูต้นทุนบวกกำไรแล้ว เขายังสืบราคาจากตลาดทั่วไปด้วย (จริงๆแล้วต้นทุนสินค้าชนิดเดียวกันแต่รับ มาจากคนละที่ก็ไม่เท่ากัน ไม่ต้องถามให้เสียเวลาเลยว่าทำไมร้านนู้นขายถูกกว่าร้านนี้) คนขายจึงค่อน ข้างจะรู้ดีว่าที่ไหนขายเท่าไหร่อย่างไร สังเกตุว่าแต่ละร้านจะขายสินค้าในราคาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก



2.ต่อรองราคาที่มากจนเกินไป ลูกค้า บางคนต่อรองซะจนคนขายเกือบขาดทุนกันเลยทีเดียว เพราะนึกเอาแต่จะได้อย่างเดียว ซึ่งจริง ๆ แล้วสินค้าแต่ละตัวนั้นการบวกลบกำไรไม่เท่ากัน บางตัวกำไรอาจจะถึง 50-100% เช่น สินค้าจำพวกเสื้อผ้า เป็นต้น แต่สินค้าบางตัวถูกจำกัดให้บวกกำไรเพิ่มจากต้นทุนได้เพียง 8-15% เท่านั้น ฉะนั้นหลายครั้งที่คนขายได้ยินลูกค้าต่อรองราคาที่มากจนเกินไป ถึงกับสะเทือนใจกันไปเลยทีเดียว บางครั้งการลดราคาของคนขายลูกค้าอาจจะมองว่าน้อยนิด แต่มันอาจจะมีผลต่อการอยู่รอดของกิจการเขาเลยได้ทีเดียว แล้วลูกค้าจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าประเภทไหน ควรต่อรองราคาที่เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ผู้เขียนจึงวิเคราะห์ได้คร่าว ๆ ดังนี้

- สินค้าที่มีราคาไม่เกิน 500 บาท ลดราคาได้ไม่เกิน 50 บาท

- สินค้าที่มีราคาตั้งแต่ 500 บาทแต่ไม่เกิน 1000 บาท ลดราคาได้ไม่เกิน 100 บาท

- สินค้าที่มีราคาตั้งแต่ 1000 บาทแต่ไม่เกิน 10000 บาท ลดราคาได้ไม่เกิน 100 - 200 บาท

*** ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับพาวเวอร์ของคนขายสินค้านั้น ๆ ด้วย



3.ต่อรองราคาให้ลดเยอะ ๆ แต่เมื่อคนขายตกลงแล้วไม่ซื้อ (โดย ตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) จริง ๆ ข้อนี้มันเป็นมารยาทที่ลูกค้าส่วนใหญ่รู้กันอยู่แล้ว แต่กับบางคนคิดว่าต่อไว้ก่อน ให้รู้ว่าลดสุด ๆ ได้เท่าไหร่ค่อยมาซื้อวันหลัง เป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ เพราะเมื่อพร้อมที่จะมาซื้อแล้ว คนขายอาจจะไม่ลดให้เลยก็ได้ เนื่องจากไม่พอใจและรู้สึกว่าเสียมารยาทมาก ๆ (และลูกค้าประเภทนี้คนขายมักจะจำหน้าได้ซะด้วยสิ)

นี่ก็เป็นทริคเล็ก ๆ ที่ผู้เขียนนำมาฝาก ใครมีอะไรเพิ่มเติมก็บอกกันได้เลยนะคะ และหวังว่าเพื่อน ๆ จะได้ประโยชน์จากบทความของเราบ้างไม่มากก็น้อย ขอให้มีความสุขสนุกกับการเลือกซื้อและการต่อรองราคาสินค้ากันนะคะ


1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss