แต่ "หาว" ที่ว่านี่เป็นอาการชนิดหนึ่งของมนุษย์เรา ที่เกิดจากปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกาย
บางคนหาวทีเนี่ยถึงกับน้ำมูก น้ำตาไหลกันเลยทีเดียว แล้วทำไมคนเราถึงหาว?
วันนี้เราจะได้รู้กัน>>>>>>>
แต่ถ้าหากลองแล้วยังไม่ได้ผล ยังคงหาวต่ออยู่เรื่อยๆ วันละไม่ต่ำกว่า 30 ครั้งล่ะก็ แนะนำให้ไปพบแพทย์ตรวจร่างกายดีกว่า เพราะการหาวบ่อยๆ แบบนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า...เพื่อนๆ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับลักษณะการนอน และระบบทางเดินหายใจ เข้าแล้วต้องระวัง!!!!
แหล่งที่มา: เดลินิวส์
http://blog.fukduk.tv
อยากรู้ไหม ทำไมเวลาเห็นคนอื่นหาวแล้วต้องหาวตามด้วย อ่านบทความนี้จะพบคำตอบ....
พบอาการหาวตามกันอาจมีสาเหตุมาจากการที่คนเราต้องการ แสดงออกถึงการมีอารมณ์ร่วมกับผู้อื่น
ในทางการแพทย์ระบุว่า การหาวเป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายที่สั่งการโดยสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ตั้งแต่ปลา แมว ไปจนถึงสุนัข ล้วนหาว ตามสัญชาตญาณ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดจากวัฒนาการที่ถ่ายทอดสืบกันมา ทว่า คน ชิมแปนซี และลิงกัง มีอาการหาวตามกันเมื่อเห็นหรือคิดว่าคนอื่นๆ หรือสัตว์ตัวอื่นหาว
นักวิทยาศาสตร์หลายคนเคยสงสัยว่า เหตุใดการหาวจึงเป็นอาการที่ติดต่อถึงกันได้ อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาล่าสุดพบว่า การหาวตามกันอาจมาจากความต้องการในการแสดงอารมณ์ร่วม กับผู้อื่น
ดร. อาสึชิ เซนจุ จากวิทยาลัยเบิร์กเบ็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยลอนดอน และนักวิจัยจากญี่ปุ่น ร่วมกันศึกษาอาการหาวตามกันในกลุ่มเด็กธรรมดาและเด็ก ออทิสติก ซึ่งพบว่าเด็กกลุ่มหลังไม่มีประสบการณ์ในการหาวตามกัน
ทั้งนี้ เป็นที่รู้กันดีว่า ออทิสม์เป็นความผิดปกติของพัฒนาการในสมอง ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่สามารถมีความผูกพันทางอารมณ์กับผู้อื่น
การที่พบว่า เด็กออทิสติกหาวโดยสัญชาตญาณ แต่ไม่หาวตามเด็กอื่น บ่งชี้ว่าการหาวตามกันอาจมีสาเหตุมาจากการต้องการแสดงอารมณ์ร่วม
ใน รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารไบโอโลจี เลตเตอร์ส ดร.เซนจุกล่าวว่า นี่เป็นการศึกษาชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า การหาวตามกันไม่เกิดกับเด็กออทิสติก หรืออีกนัยหนึ่งคือ ความผิดปกติของพัฒนาการในสมองอาจเป็นเกราะสกัดกั้นอา การหาวตามคนอื่น
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เชื่อว่า การหาวเป็นการเพิ่มออกซิเจนในสมอง และเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มระดับการตื่นตัว โดยเฉพาะในเวลาที่มีความเครียดหรือความกดดัน ซึ่งอธิบายได้ว่า เหตุใดคนที่กำลังรอบางสิ่งที่น่าตื่นเต้น เช่น นักกีฬาที่กำลังจะลงแข่งขัน หรือนักเรียนที่กำลังเตรียมตัวเข้าห้องสอบจึงหาว
แต่ คำอธิบายดังกล่าวไม่สามารถใช้กับการหาวตามกัน ทฤษฎีหนึ่งที่เคยพูดถึงกันมาคือ มนุษย์เราเคยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเหมือนชิมแปนซี จึงจำเป็นต้องร่วมมือร่วมใจกันในเรื่องต่างๆ รวมถึงการนอน ดังนั้น การหาวจึงอาจเป็นสัญญาณทางสังคมอย่างหนึ่ง