กอดบำบัด
การกอด นอกจากจะเป็นการแสดงถึงความรักต่อกันอย่างอบอุ่นแล้ว นักบำบัดเชื่อว่ายังช่วยเยียวยาหรือบำบัดโรคได้ด้วย
ในนิตยสาร "ชีวจิต" ฉบับเดือนพ.ย. น.พ.ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ จากภาควิชาจิตเวช โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ บอกเล่าถึงพลังของการกอดว่า
ในนิตยสาร "ชีวจิต" ฉบับเดือนพ.ย. น.พ.ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ จากภาควิชาจิตเวช โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ บอกเล่าถึงพลังของการกอดว่า
1.ลดความเจ็บปวดในผู้ป่วย ทั้งในผู้ป่วยเรื้อรังและไม่เรื้อรัง อาจแค่สัมผัสผู้ป่วยบริเวณที่เจ็บปวด หรือวางมือเหนือแผลที่ปิดผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์ จะช่วยเพิ่มปริมาณเฮโมโกลบิน และช่วยให้ร่างกายส่งเลือดมาหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณที่บาดเจ็บเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยบรรเทาความเจ็บปวด
และนอกจากนี้ จากการศึกษาวิจัยโดย เดวิด เบรสเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ยืนยันว่า จากการทดลองให้ผู้ป่วยหญิงที่ทุกข์ทรมานเพราะความเจ็บปวดก่อนคลอดได้รับการกอดโดยสามีบ่อยๆ พบว่าความเจ็บปวดลดลง
2.ลดความรู้สึกในทางลบ เช่น หวาดกลัว กังวล โกรธเกรี้ยว ไม่สบายใจ อันเป็นผลมาจากความป่วยไข้ไม่สบายกาย หรือผลจากโรคร้ายชนิดรุนแรง เช่น มะเร็ง เอดส์ จึงจำเป็นต้องกอดผู้ป่วยเพื่อประคองภาวะอารมณ์ ลดความรู้สึกในทางลบ ไม่ท้อแท้ต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
3.ช่วยพัฒนาการในเด็กพิการหรือเด็กออทิสติก จากตัวอย่างในหนังสือ "The Last Don" ของ มาริโอ พูโซ ตัวละครตัวหนึ่งชื่อ อะธีน่า ทำกล่องที่เรียกว่า "Hug Box" ให้ลูกสาวของเธอที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกเข้าไปนอน เพื่อให้รู้สึกว่าถูกกอดตลอดเวลา
4.ช่วยให้คนที่ขาดการกอด หรือการสัมผัสมีอาการดีขึ้น เพราะการกอด หรือการสัมผัสนั้นจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต ฉะนั้นคนที่ขาดการกอด หรือการสัมผัส จึงมีความเสี่ยงต่อความปวดร้าวรุนแรงในจิตใจ เมื่อเกิดความผิดหวังบางอย่างในชีวิต
คุณหมอปริยสุทธิ์ แนะนำว่า การกอดนั้นต้องเริ่มกอดด้วยใจรัก กอดด้วยสัมผัสแห่งรัก เราจะต้องมั่นใจว่าใจเราต้องรู้สึก "รัก" ก่อน แบบไม่มีเงื่อนไข
"แม้ว่าคนที่อยู่ข้างหน้าเราตอนนั้นไม่ใช่พ่อแม่เรา ไม่ใช่ญาติ เราก็ต้องไม่กอดด้วยความสงสารหรือปราศจากความรัก มิเช่นนั้นอ้อมกอดนั้นจะเจ็บปวด เป็นอ้อมกอดรสขม ไม่ช่วยให้ดีขึ้น แต่ถ้าเมื่อไรที่กอดด้วยความรัก ความรู้สึกที่เป็นบวก ก็จะได้ผลในเชิงการบำบัดเยียวยา" แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงกาลเทศะ และความเหมาะสมในวัฒนธรรมไทยด้วย
และนอกจากนี้ จากการศึกษาวิจัยโดย เดวิด เบรสเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส ยืนยันว่า จากการทดลองให้ผู้ป่วยหญิงที่ทุกข์ทรมานเพราะความเจ็บปวดก่อนคลอดได้รับการกอดโดยสามีบ่อยๆ พบว่าความเจ็บปวดลดลง
2.ลดความรู้สึกในทางลบ เช่น หวาดกลัว กังวล โกรธเกรี้ยว ไม่สบายใจ อันเป็นผลมาจากความป่วยไข้ไม่สบายกาย หรือผลจากโรคร้ายชนิดรุนแรง เช่น มะเร็ง เอดส์ จึงจำเป็นต้องกอดผู้ป่วยเพื่อประคองภาวะอารมณ์ ลดความรู้สึกในทางลบ ไม่ท้อแท้ต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
3.ช่วยพัฒนาการในเด็กพิการหรือเด็กออทิสติก จากตัวอย่างในหนังสือ "The Last Don" ของ มาริโอ พูโซ ตัวละครตัวหนึ่งชื่อ อะธีน่า ทำกล่องที่เรียกว่า "Hug Box" ให้ลูกสาวของเธอที่ป่วยเป็นโรคออทิสติกเข้าไปนอน เพื่อให้รู้สึกว่าถูกกอดตลอดเวลา
4.ช่วยให้คนที่ขาดการกอด หรือการสัมผัสมีอาการดีขึ้น เพราะการกอด หรือการสัมผัสนั้นจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต ฉะนั้นคนที่ขาดการกอด หรือการสัมผัส จึงมีความเสี่ยงต่อความปวดร้าวรุนแรงในจิตใจ เมื่อเกิดความผิดหวังบางอย่างในชีวิต
คุณหมอปริยสุทธิ์ แนะนำว่า การกอดนั้นต้องเริ่มกอดด้วยใจรัก กอดด้วยสัมผัสแห่งรัก เราจะต้องมั่นใจว่าใจเราต้องรู้สึก "รัก" ก่อน แบบไม่มีเงื่อนไข
"แม้ว่าคนที่อยู่ข้างหน้าเราตอนนั้นไม่ใช่พ่อแม่เรา ไม่ใช่ญาติ เราก็ต้องไม่กอดด้วยความสงสารหรือปราศจากความรัก มิเช่นนั้นอ้อมกอดนั้นจะเจ็บปวด เป็นอ้อมกอดรสขม ไม่ช่วยให้ดีขึ้น แต่ถ้าเมื่อไรที่กอดด้วยความรัก ความรู้สึกที่เป็นบวก ก็จะได้ผลในเชิงการบำบัดเยียวยา" แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงกาลเทศะ และความเหมาะสมในวัฒนธรรมไทยด้วย