"ครอบครัวยุค 2009" คุยเรื่อง "เงิน" อย่างไรให้ลงตัว
วันนี้ทีมงาน Life and Family มีข้อมูลวางแผนการเงินให้คล่องตัวในชีวิตคู่กับนักการเงินหญิงระดับกูรู ผู้ที่มีประสบการณ์กว่า 23 ปี ที่จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพี่ "วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ" ผู้เขียนหนังสือ "Money Pro แผนการเงิน แผนชีวิต" ที่ปัจจุบันเป็นถึงนายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ที่ปรึกษาบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ที่ปรึกษาการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ อาจารย์บรรยายพิเศษตามมหาวิทยาลัยชั้นนำ และต่างประเทศ "คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ" บอกกับทีมงานว่า การวางแผนการเงินเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน และทุกครอบครัว เพราะจะทำให้ชีวิตดี และไม่ขลุกขลัก ดังนั้นการวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่ควรจะทำ และเริ่มทำให้เร็วที่สุด เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อคุณ และครอบครัวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะครอบครัวที่จะต้องให้ความสำคัญกับการออมเป็นอันดับแรก เนื่องจากต้องมีภาระอันยิ่งใหญ่ตามมาในภายหน้า เช่น ผู้ที่เตรียมจะมีบุตร ต้องวางแผนการออมเพื่อเตรียมค่าใช้จ่ายในการฝากท้อง และในการคลอดด้วย " การวางแผนการเงิน เรื่องเงินไม่ใช่เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในชีวิต แต่เป้าหมายว่าจะทำอะไรในชีวิตสำคัญกว่า เช่น เราวางแผนเพื่ออะไร เพื่อที่ตอนเกษียณ เราจะได้มีเงินเก็บไว้ใช้ หรือวางแผนเพื่อส่งลูกไปเรียนหนังสือ วางแผนเพื่อซื้อบ้านใหม่ เพื่อครอบครัวจะได้มีความสุข และไม่ต้องไปเช่าบ้านอยู่อีกต่อไป ดังนั้นแผนการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถแยกออกจากชีวิตของคนเราไปได้ อย่าเก็บเงินเพื่อเป้าหมายเพียงแค่อยากได้เงินล้าน ซึ่งมันไม่ใช่ แต่ต้องเก็บ และใช้เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตต่างหากที่สำคัญกว่า" พี่วิวรรณบอก นอกจากวางแผนการออมแล้ว พี่วิวรรณบอกต่อว่า ทุกครอบครัวต้องวางแผนการใช้จ่ายเงินด้วย เริ่มจากจัดกระแสเงินสดให้ดี ให้มีสภาพคล่องอย่างเหมาะสม ไม่ติดขัด ซึ่งต้องไม่เป็นหนี้เป็นสินเพื่อการบริโภค แต่หากจะต้องกู้ยืมเงินแล้ว ควรจะเป็นการกู้ยืมเพื่อการซื้อทรัพย์สินที่มีค่า และมีการเพิ่มค่าไปตามระยะเวลา เช่น กู้มาซื้อบ้าน เป็นต้น สำหรับ คาถาที่เหมาะสมกับคนที่กำลังสร้างครอบครัว พี่วิวรรณ แนะว่า ต้องไม่เผลอใจ ซื้อของง่าย และอย่าใจอ่อนไปค้ำประกันใคร หากรู้ตัวว่าเป็นคนใจอ่อน ก็ต้องพยายามอย่าเข้าไปเดินห้างในช่วงเทศกาลสินค้าลดราคา เพราะจะเกิด "การซื้อโดยไม่ตั้งใจ" และการค้ำประกันก็เช่นกัน บางคนไปค้ำประกันผู้อื่น ถึงเวลาเกิดอะไรขึ้นหากผู้กู้ไม่มีเงินชำระ เจ้าหนี้ก็มักจะมาไล่เบี้ยกับผู้ค้ำประกัน ซึ่งอาจทำให้หมดเนื้อหมดตัวไปได้เช่นกัน * ใช้ชีวิตร่วมกัน คุยเรื่องเงินอย่างไรให้ลงตัว" เมื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันแล้ว จะตกลงเรื่องเงินกันอย่างไร ถึงจะราบรื่น และคล่องตัว พี่วิวรรณ ได้แบ่งรูปแบบของการใช้จ่ายเงินร่วมกันออกเป็น 3 รูปแบบตามความเหมาะสม ดังนั้น คือ 1.รวมเงินกันทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นคนๆ เดียวกันแล้ว และแจกจ่ายให้ไปใช้ส่วนตัว 2.แยกเงินออกเป็น 2 กระเป๋า (ของใครของมัน) แต่แบ่งกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าเช่าบ้านผู้ชายมีหน้าที่รับผิดชอบ ส่วนค่ากับข้าวเป็นหน้าที่ของผู้หญิงที่จะต้องจัดแจง เป็นต้น เหมาะกับครอบครัวที่มีรายได้ใกล้เคียงกัน หรือการศึกษาใกล้เคียงกัน 3. ต่างคนต่างใช้เหมือนเดิม ค่าใช้จ่ายส่วนกลางก็แล้วแต่สะดวก สำหรับใครที่รายได้สูงกว่า ก็รับผิดชอบค่าใช้จ่ายหลักๆ เช่น ค่าบ้าน ค่าไฟ เป็นต้น " ถ้าถามพี่นะ พี่คิดว่าตัวกระเป๋าน่าจะแยกกันใช้ เพราะเวลาเอามารวมเป็นกระเป๋าเดียวกัน จะมีความรู้สึกว่า มันไม่เป็นส่วนตัว โดยเฉพาะยุคสมัยนี้ ถึงจะรักกันมาก แต่ถ้าการแต่งงานทำให้ชีวิตเรามีข้อจำกัด มันก็ยังไงอยู่ บางคนอาจคิดว่า แต่เดิมเป็นโสดอยากใช้เท่าไหร่ก็ได้ แล้วทำไมแต่งงานแล้วทำไมต้องไปขอภรรยา หรือสามี ทั้งๆ ที่เงินเราก็หา ซึ่งรูปแบบแรกอาจจะไม่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน แต่อาจจะเหมาะกับครอบครัวที่หาเลี้ยงคนเดียว ส่วนรูปแบบที่ 2 หรือ 3 อาจจะเหมาะสมในยุคนี้ เพราะพี่เชื่อว่า ทุกคนต้องการอิสรภาพส่วนตัว" " สำหรับในครอบครัวพี่ พี่จะเลือกใช้วิธีที่ 3 มากกว่า เพราะแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน ซึ่งเมื่อก่อนพี่ทำงานธนาคาร แล้วผ่อนบ้าน แล้วเงินดาวน์บ้านก็เป็นเงินก้อนใหญ่ ซึ่งจะให้สามีเป็นคนออก คือเรื่องใหญ่ๆ จะให้สามีออกตลอด ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็แล้วแต่สะดวก หรือเวลาจะลงทุนเขามีเงินเท่านี้มา อยากจะให้หน่อย ซึ่งพี่ชำนาญกว่า พี่จะเอาไปลงทุนให้ ครอบครัวพี่ไม่ได้แบ่งกระเป๋ากันชัดเจน เพราะพี่รู้ตัวเองว่า พี่หาเงินมาได้เท่านี้ ตัวพี่มีสิทธิใช้เงินเท่าไหร่ เช่น ถ้า 10, 000 บาท ก็เก็บไว้ 1-2 พัน เพื่อผ่อนบ้าน เป็นต้น" พี่วิวรรณให้ความเห็น * เงินพอมีเงินออม-ลดปัญหาเรื่องเงิน * | |||||
การวางแผนการเริ่มต้นการใช้จ่ายในช่วงทำงานมีความสำคัญมาก ส่วนถ้ามีคู่สมรสใหม่ก็จะมีความสำคัญยิ่งขึ้น พอหลังจากนั้น อายุเริ่มมากขึ้น ค่าใช้จ่ายไม่ค่อยมีความสำคัญสักเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังพบว่า ช่วงวัย 30-40 ปี เป็นวัยที่มีแนวโน้มที่จะขาดสภาพคล่องได้สูง เพราะเป็นวัยที่ไปก่อภาระ สร้างตัว ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือส่งลูกเรียน ซึ่งรายรับที่เข้ามาอาจจะไม่ทันกัน ฉะนั้นจะไม่เกิดปัญหาหารเงิน ต้องรู้จักวางแผนให้ดี เช่น รู้ว่าจะมีรายจ่ายอะไรในอนาคตบ้าง เมื่อรู้แล้วต้องจัดเก็บเงินให้เป็นระเบียบ ซึ่งเริ่มแรกก็ต้องออมเงินก่อน ไม่ใช่ใช้เหลือแล้วจึงเก็บ " คำนิยามเรื่องการออมที่พี่ท่องจำอยู่เสมอ และทำให้พี่บริหารเงินได้ดีในวันนี้ นั่นคือ เงินออมคือเงินที่เก็บเอาไว้ก่อน แล้วส่วนที่เหลือค่อยเอาไปใช้ เงินออมไม่ใช่เงินที่เหลือจากการใช้ เพราะคนส่วนใหญ่คิดว่า พอได้เงินมาก้อนหนึ่ง ใช้ให้เต็มที่แล้วค่อยเก็บออม เช่น เหลือ 500 ก็เก็บ 500 แต่ของตัวพี่เอง สมมติว่าได้มา 10, 000 บาท พี่ต้องเก็บก่อน 1,000 บาท แล้วเอา 9,000 ไปใช้ ซึ่งมันจะแตกต่าง และมามาตลอด 25 ปีของการทำงาน" "ดังนั้นการออม คนออมต้องมีวินัย หลังจากนั้นต้องมาดูว่า จะเอาเงินที่ออมไปลงทุนอะไร เพราะออมคือการฝากธนาคารเฉยๆ ซึ่งปัจจุบันฝากอย่างเดียว ดอกเบี้ยก็ได้น้อย และที่สำคัญอย่าใช้เงินอนาคต เพราะบางคนบอกว่า ฉันไปเที่ยวก่อน ไว้ถอนทีหลัง ทางที่ดี มีน้อยใช้น้อย ใช้มากก็ต้องหามาก และต้องคาดอยู่ตลอดเวลาว่า ชีวิตมันไม่มีอะไรแน่นอน เงินออมจะช่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินได้" พี่วิวรรณให้เทคนิควางแผนการออมเพื่อชีวิตที่ดี และมีเงินเก็บ นอก จากนี้ต้องแบ่งหมวดหมู่ของรายจ่ายให้เป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน ซึ่งพี่วิวรรณแนะนำว่า ต้องแบ่งเป็น 3 หลัก คือ 1.รายจ่ายที่จำเป็น 2. รายจ่ายเพื่อความบันเทิง และ 3.รายจ่ายเพื่อสุขภาพ และสถานการณ์ในเหตุฉุกเฉิน 1. รายจ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าเล่าเรียนของลูก เป็นต้น 2. รายจ่ายเพื่อความบันเทิง เช่น ค่าโทรศัพท์ หรือค่าใช้จ่ายทั่วไป 3. รายจ่ายเพื่อสุขภาพ และสถานการณ์ฉุกเฉิน เราต้องแบ่งเอาให้ ไม่ว่าตอนนี้ หรือในอนาคต เราไม่อาจรู้ได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับตัวเรา และครอบครัวบ้าง แต่ทั้งนี้อาจไม่ใช่ฉุกเฉินในทางร้ายเสมอไป แต่เป็นฉุกเฉินในโอกาสที่ดีก็เป็นได้ เช่น มีที่ดินดีๆ มาขาย หรือมีตึกแถวมาขาย ซึ่งของแบบนี้ต้องใช้เงินสูง ถ้าเกิดว่าไม่มีเงินก้อน ทำให้พลาดโอกาสที่ดีเหล่านี้ไปได้ ดังนั้นถ้าเกิดว่า หารายได้เพิ่มไม่ได้ เราต้องไปตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป นั่นคือ รายจ่ายเพื่อความบันเทิง ในส่วนที่จำเป็น ต้องพยามคงเอาไว้ เป็นต้น คนในครอบครัวต้องช่วยกันดู และช่วยกันจัดแจง | |||||
นอกจากนี้ พี่วิวรรณบอกว่า ยิ่งทำงานมากขึ้น ต้องยิ่งเก็บมากขึ้น และที่สำคัญต้องกิน และดูแลรักษาตัวเองให้มากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันต้องให้รางวัลกับตัวเองด้วย เช่น ทำงานเหนื่อยมามาก หรือทำงานประสบความสำเร็จ ต้องให้ความสุขทางกาย และทางใจกับตัวเอง อาทิ ไปเที่ยวกับครับครัว หรือไปกินอาหารร่วมกันนอกบ้าน เป็นต้น * ไม่ปิดบังรายจ่ายของกันและกัน * ทั้งก่อนแต่ง และหลังแต่ง ควรมีเวลาคุยกันเรื่องค่าใช้จ่ายบ้าง เพื่อให้ทุกอย่างเปิดเผย และเดินไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีการปิดบังเรื่องเงิน หรือการใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เพราะนี่คือชีวิตคู่ และเป็นเรื่องของความเข้าใจว่ารายจ่ายต่างๆ คืออะไร เราควรใช้เงินเท่าไหร่ เช่น ค่ากับข้าว ค่าของใช้ภายในบ้าน เมื่อคุยกันเรื่องนี้ และเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จะทำให้ชีวิตเริ่มเปิดเผยถึงแนวทางความเป็นจริง ไม่เกิดปัญหาเรื่องเงิน เป็นต้น " ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อแต่งงานกันแล้ว แต่ไม่รู้ว่าใครคนหนึ่งมีหนี้สินติดตัวมา ซึ่งไม่ได้เปิดเผยให้รู้ เวลามีเงินเข้าบ้าน หรือได้เงินในแต่ละเดือน ก็ไม่ได้มาช่วยแบ่งเบาภาระในครอบครัว แต่กลับนำไปจ่ายหนี้สินของตัวเองทุกๆ เดือน ทำให้เกิดปัญหาตามมาได้" พี่วิวรรณให้ความเห็น ดังนั้นเมื่ออยู่ด้วยกันแล้ว พี่วิวรรณแนะว่า ทั้งคู่ควรเปิดเผยเรื่องเงินต่อกัน เพื่อที่จะได้รู้ว่า ใครมีภาระด้านไหนบ้าง จะได้แบ่งสัดส่วน และจัดหมวดหมู่ไม่ให้การใช้จ่ายภายในบ้านต้องขาดการคล่องตัวไปด้วย ดังนั้นการคุยกัน เช่น ฉันมีภาระต้องจ่ายในส่วนนี้นะ ช่วงนี้เธอหนักหน่อยนะ เธอเห็นใจหน่อย แต่ฉันจะพยายามหาเงินให้มากขึ้น และจะไม่กวนเธอมากหรอก เป็นต้น ซึ่งต้องคุยกัน และช่วยกันกลบหนี้ที่ต้องจ่ายในอัตราดอกเบี้ยที่สูง แต่ทั้งนี้ควรให้เกียรติการออมของแต่ละฝ่ายด้วย * เมื่อปัญหาเกิด ต้องหามุมสงบนั่งคุย * เวลา และสถานที่พูดคุยเรื่องการเงินของคุณมีความสำคัญต่อความสงบภายในครอบครัว ขอให้แน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาวะที่สบายๆ เลือกสถานที่ซึ่งมีความเป็นกลาง พยายามออกห่างลูกๆ ของคุณ และที่สำคัญ ต้องรู้ล่วงหน้าว่า จะคุยกันเรื่องอะไร เป้าหมาย และลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ในชีวิตคืออะไร เพื่อจะได้ตกลงกันได้เร็วขึ้น เพราะถ้านั่งคิดอยู่คนเดียว มันจะยิ่งฝังตัวเองลึกขึ้น จนบางครั้งอาจตัน และหาทางออกไม่เจอก็เป็นได้ ดังนั้น คุยกันด้วยเหตุผลเป็นสิ่งที่ดีที่สุด * เมื่อเงินไม่พอ ต้องหารายได้พิเศษ * อย่างไรก็ตาม ถ้าเงินในบ้านไม่เพียงพอต่อรายจ่าย พี่วิวรรณแนะนำว่า ควรหารายได้เพิ่มเติม เช่น ถ้าครอบที่รู้แล้วว่า ค่าใช้จ่ายเท่านี้ และอยากจะผ่อนบ้าน แต่เงินเดือน 2 คนยังเพียงพอเลย ก็ต้องหารายได้จากทางอื่น แล้วแต่ความสามารถของแต่คนคน " สมัยก่อน พี่ก็งานพิเศษ หารายได้จากการสอนหนังสือ หรือไม่ก็เขียน และแปลหนังสือบ้าง เพื่อหารายได้เสริม เพราะเรารู้ว่าเราใช้เงินเก่ง กอปรกับเงินเดือนก็แทบจะไม่พอ ถึงแม้จะทำงานเอกชนแล้วก็ตาม เพราะฉะนั้น ต้องรู้ตัว และพอถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องดิ้นรน และไม่ต้องไปอายใคร เพราะงานที่ทำ เราไม่ได้ไปทำให้ใครเดือนร้อน เนื่องจากเป็นงานที่สุจริต ดังนั้นมีโอกาสทำ ควรทำให้เต็มที่ เพราะถ้าอายุมากแล้ว ร่างกายจะถดถอย และไม่พร้อมที่จะทำอะไรได้มากเหมือนอย่างเดิม" พี่วิวรรณให้ทางเลือก | |||||
ถ้าครอบครัวไหนมีลูก ต้องสอนให้ลูกรู้จักค่าของเงิน ไม่ว่าจะรวย หรือจนก็ตาม สังเกตได้ว่าเด็กสมัยใหม่ไม่ค่อยรู้ค่าของเงิน เมื่อเทียบกับเด็กสมัยก่อนที่จะรู้จักค่าของเงินมากกว่า เพราะครอบครัว หรือพ่อแม่มีความยากลำบาก หรือกว่าจะได้เงินมาเลือดตาแทบกระเด็น เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ใช้เงินฟุ่มเฟือย พี่วิวรรณมองว่า พ่อแม่สอนให้ลูกรู้สึกว่า "เขารวยล่ะ เขาสบายล่ะ เขาไม่ต้องดิ้นรน หรือไม่ต้องหาให้เหนื่อย" ทางที่ดีพ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกรู้จักค่าของเงินด้วยการทำงานพิเศษ หรือถ้าเป็นห่วงก็ให้ทำงานบ้านก็ได้ ทำให้เวลาอยากได้อะไร เด็กจะได้รู้จักเก็บ และใช้อย่างประหยัด เพราะกว่าจะได้เงินมาแต่บาท ต้องใช้แรง และสมองมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้คือการหลอมวินัยให้เด็กรู้จักคิด วางแผน และรู้ถึงคำว่า "พอเพียง" และไม่โวยวาย หรือเอาแต่ใจเมื่อพ่อแม่ไม่ซื้อของตามที่ตัวเขาเองต้องการ ทำให้ตอนโต เด็กจะใช้เงินได้อย่างรู้คุณค่าตามมา " พี่จะบอกให้ว่า ตอนเด็กพี่ใช้เงินเก่งมาก ค่าขนมที่ได้จากแม่ในแต่ละวัน พี่ไม่เคยเหลือกลับบ้านเลย มาวันนี้ พ่อแม่ เพื่อนตกใจ ว่าพี่เปลี่ยนไปได้อย่างไร เพราะพ่อพี่เตือนว่า "ลูกเอ๋ย ลูกใช้เงินเก่ง ลูกต้องหาให้เก่งด้วย และต้องหาให้ได้มากกว่าที่ใช้ ถ้าหาได้น้อย ก็ต้องใช้น้อย ถ้าหาได้มาก เราก็มีสิทธิ์ใช้มาก แต่ต้องไม่มากจนเกินตัว" พอโตขึ้น พี่ทำงาน ได้เงินเดือนๆ แรก ก็เก็บทันที 1, 000 บาท และทำแบบนี้ไปทุกเดือน ไม่มีขาด และฝากแล้วต้องห้ามถอน ถ้าถอนถูกปรับ" นี่เป็นข้อเตือนใจจากคุณพ่อ ที่พี่วิวรรณยึดถือมาโดยตลอด พี่ วิวรรณฝากทิ้งท้ายไว้ว่า การวางแผนเรื่องเงินที่ดี ช่วยให้ครอบครัวมีความสุข แต่ถ้าวางแผนไม่ดี ชีวิตก็จะทำแต่งาน หาเงิน ใช้ และหมด ซึ่งเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีเก็บออมเลย หรือบางคนทำงานหนักมาก เกษียณอายุเพียงไม่กี่เดือน ก็ต้องลาโลกไป ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ชีวิตก็น่าเสียดาย และไม่มีความสุข อย่าง ไรก็ดี การจัดการ และวางแผนการเงินร่วมกัน อาจไม่ใช่เส้นทางที่โรแมนติก มากนัก แต่ถ้ามีรากฐานการเงินที่ดี คุณก็อาจจะมีเรื่องให้ต้องฝ่าฟันน้อยลง ดังนั้นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จคือ ต้องหามุมมอง และคุณค่าร่วมกันว่า ในฐานะคู่ชีวิตทั้งก่อน และหลังแต่ง คุณต้องการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างไร? นั่นจะทำให้คุณ และเขา หรือคุณ และเธอจูงมือผ่านมันไปได้อย่างราบรื่น นั่นเพราะคุณได้เตรียมความพร้อม และวางแผนชีวิตร่วมกันเป็นไว้อย่างดี |
- ลดขอบเขตของงานเลี้ยงฉลองให้เล็กลงในชีวิตของคุณอาจต้องมีการจัดงานใหญ่โตสำหรับวันสำคัญของคุณทุก ๆ ปีเช่น งานแต่งงาน งานวันเกิด งานวันครบรอบต่าง ๆ เมื่อก่อนคุณอาจจะจัดงานใหญ่โตเต็มที่แต่ตอนนี้อาจต้องคิดใหม่ จัดงานเล็ก ๆ แต่อบอุ่นก็สร้างความประทับใจและน่าจดจำมิรู้ลืมได้เช่นกัน
- วางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือนและรายปีคุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ โดยคุณต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อให้รู้ว่าในแต่ละเดือนคุณมีรายรับและรายจ่ายเฉลี่ยเท่าไรหักรายจ่ายประจำแล้วคุณยังพอมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เพื่อที่จะหาทางลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลงได้
- ใช้จ่ายอย่าให้เกินงบเมื่อคุณวางแผนการเงินได้แล้วว่าในแต่ละเดือนคุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไร และเท่าใด คุณก็ควรจะปฏิบัติตามที่วางแผนเพื่อควบคุมไม่ให้เกินงบที่ตั้งไว้ อย่าลืมเก็บใบเสร็จรับเงินหรือจดบันทึกรายจ่ายของคุณทุกวัน จะได้รู้ตัวอยู่เสมอว่าคุณใช้จ่ายไปมากน้อยเพียงใดแล้ว
- ใช้สินค้าและบริการที่ถูกกว่าเดิมอีกวิธีหนึ่งคือการเปรียบเทียบราคาสินค้าและบริการที่คุณเคยใช้อยู่ประจำกับแพ็กเกจอื่น หรือเจ้าอื่น ๆ เช่นโปรโมชั่นโทรศัพท์ มือถือ เดี๋ยวนี้มีให้เลือกมากมายซึ่งให้ความคุ้มค่าได้มากกว่า ประกันภัยรถยนต์ อาจเปลี่ยนจากประกันชั้น 1เป็นชั้น 3 หากคุณไม่เคยขับชนใครเลย หรือถ้าบ้านคุณติดจานดาวเทียมอาจเปลี่ยนเป็นแพ็กเกจที่มีช่องน้อยลง ถ้าคุณไม่ได้ดูทีวีบ่อยนัก ก็ช่วยประหยัดได้อีกทาง การตัดค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนี้เมื่อมองในระยะยาวก็ช่วยให้ประหยัดได้ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ
- อย่าซื้อของเพียงเพราะมันกำลังลดราคาข้อนี้มีไว้เตือนใจสาวนักช้อปที่มักจะตาลุกวาวเมื่อเห็นป้ายลดราคา ในยามนี้คุณควรคิดให้รอบคอบว่า สิ่งนั้นมีความจำเป็นกับคุณแค่ไหน หากมันไม่จำเป็นจริง ๆ ท่องไว้ “เก็บเงินไว้ก่อนดีกว่า”
- ติดตามข่าวสารการเงินเป็นประจำเมื่อคุณหูกว้างตากว้าง คุณอาจได้ช่องทางในการเก็บออมเงินที่คุ้มค่ามากกว่าเดิม เช่นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือการฝากเงินระยะสั้นที่ได้ดอกเบี้ยสูง เป็นต้น
พอใจสิ่งที่มีอยู่
ดอนแนะนำให้ใช้ความรู้สึกรักศักดิ์ศรี ภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเอง เป็นนิสัยกับความรู้สึกที่สร้าง
ภูมิคุ้มกันโรคฟุ่มเฟือยไม่ออมเงินได้อย่างน่าอัศจรรย์ และเป็นภูมิคุ้มกันที่จะช่วยผลักดันให้คุณมีวินัย
เดินตามงบใช้จ่าย พร้อมกับออมเงินได้มากขึ้น และจ่ายน้อยลงอย่างไม่รู้ตัว
สนุกออมจากงานอดิเรก
คนที่มีงานอดิเรก หรือกิจกรรมยามว่าง ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูป การเย็บปักถักร้อย การเขียนหรืองาน
เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ ดอนแนะนำว่าขอให้ใช้ความชื่นชอบส่วนตัวให้เป็นประโยชน์ แม้ว่าความ
ชอบต้องใช้เวลาและพัฒนาการในการฝึกฝนก็ตาม
แต่ความพยายามบวกความมุ่งมั่นตั้งใจ ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะช่วยคุณได้ไม่
ช้าก็เร็ว ให้สามารถใช้พรสวรรค์กับความชอบในงานอดิเรก เป็นทางเลือกทำรายได้เข้ากระเป๋าเป็นเงิน
ออม นอกเหนือจากรายได้จากงานประจำที่ทำอยู่ ก็เป็นได้ในอนาคต
ช่วยเหลือผู้ลำบากกว่า
ลองใช้เวลาว่างเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกว่าตัวเอง เป็นอีกความคิดหนึ่ง ที่ดอนเชื่อว่าจะ
ช่วยให้คุณรู้จักการใช้ชีวิตแบบพอเพียง และไม่ประมาทที่จะเก็บหอมรอมริบไว้ยามแก่เฒ่า
การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และช่วยคนอื่นที่ไม่มีโอกาสได้รับความสุขสบายอย่างที่คุณได้รับ ยัง
ช่วยกระตุ้นให้จิตใจของคุณซึ่งเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ไม่คิดฟุ้งเฟ้ออวดร่ำอวดรวยในสังคม
การช่วยเหลือผู้อื่นนั้น ดอนย้ำว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรมากมายให้ยุ่งยาก หรือเสียเงินมากมายเกิน
สถานะตัวเอง เพียงร่วมกับคนอื่นๆ ให้ทุนสร้างที่พักพิง หรือทำอาหารดีต่อสุขภาพแจกจ่ายให้ผู้
อดอยากไม่มีจะกิน ง่ายเท่านี้จะค่อยบ่มเพาะความคิด ให้ตัวเองรู้จักอดออม เพียงพอและแบ่งปัน
รู้จักบอกปัดบ้าง
ไอเดียนี้ดอนอยากให้ปรับนิสัยความเป็นคนตรงให้ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ทางการเงิน หรือเห็นแก่
ประโยชน์ส่วนตนกับความเป็นอยู่พอเพียงของตัวเองบ้าง เพราะทุกคนมีสิทธิส่วนตัวที่จะเปลี่ยนแผน
หรือเปลี่ยนใจไม่ทำอะไรก็ได้
ดอนแนะนำว่าหากคุณเคยมีพันธะ ช่วยเหลือให้ทุนอุดหนุนกิจกรรมใดที่เป็นการกุศลมาก่อน แต่เมื่อการ
ช่วยเหลือนั้นๆ ไม่ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของคุณดีขึ้น หรือไม่ยืดหยุ่นพอที่จะเก็บหอมรอมริบได้
บ้าง ขอให้ยอมรับสภาพของตัวเอง ที่ไม่สามารถแบ่งปันหรือให้ความช่วยเหลือการเงิน แก่องค์กรการ
กุศลหรือผู้ลำบากกว่าในทันที
ลดทำกิจกรรมสิ้นเปลือง
เลี่ยงหรือลดที่จะเข้าสังคมทำกิจกรรมมากเกินไป จนทำให้ตัวเองกับครอบครัวยุ่งอยู่กับกิจกรรมล้นมือ
ทั้งวัน ทำตัวกับจิตใจให้ว่างเปล่าและพักผ่อนเสียบ้าง ปล่อยให้รถจอดอยู่กับที่ ปิดทีวีกับหยุดนั่งหน้าจอ
คอมพิวเตอร์ท่องอินเทอร์เน็ตเสียบ้าง เพียงลดกิจกรรมสิ้นเปลืองพลังงานเหล่านี้ จะช่วยคุณออมหรือ
ประหยัดเงินได้ไม่มากก็น้อย
ดอนกลับสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัว ได้พบปะพูดคุยรับประทานอาหารร่วมกัน หรือว่างๆเล่นเกม
หรือกิจกรรมภายในครอบครัวสนุกด้วยกัน ควรกำหนดตารางเวลาให้หมดไปกับธุระนอกบ้านเพียง 1หรือ
2 วันก็พอ เพื่อลดความสับสนวุ่นวายอยู่กับงานและสังคมนอกบ้านช่วงวันทำงาน
ฝึกใช้เหตุผลก่อนช้อป
ดอนแนะนำนักช้อป หากต้องการเปลี่ยนนิสัยให้เป็นคนออมอย่างง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยการเตรียมจิต
ใจตัวเองให้พร้อม ก่อนเดินเข้าไปในศูนย์การค้า คิดให้ดีก่อนว่าจะซื้ออะไร
และเพื่ออะไรบ้าง
หรือเมื่อคุณโชคดีได้เงินก้อนใหญ่ไปบริหาร ขอให้จินตนาการไว้ล่วงหน้า และคิดถึงเหตุกับผลก่อนว่า
คุณจะรับผิดชอบจัดการกับเงินที่มีอยู่ ภายใต้สถานการณ์ข้างหน้าที่มีแต่ความไม่แน่นอนอย่างไร และ
ตัดสินใจใช้หรือบริหารเงินให้ดีได้อย่างไร
มีใจเอื้อเฟือเผื่อแผ่
ไอเดียสุดท้ายนี้ดอนเชื่อว่าไม่ยาก เพราะการเอื้อเฟ้อเผื่อแผ่เป็นนิสัยฝังเข้าไปในสายเลือดของคนไทย
อยู่แล้ว ดอนเชื่อว่าการใช้แรงกายเข้าช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ นอกจากจะช่วยประหยัดทุน
ทรัพย์ของผู้ช่วยแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติที่ดี และดีกว่าการให้ของขวัญหรูราคาแพงเสียอีก
ดอนยกตัวอย่างง่ายๆ และเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้คนได้รับความช่วยเหลือในยามรถยนต์ของพวกเขามี
ปัญหา ถ้าคุณเป็นมีผู้ใจดีมีน้ำใจ มีความรู้ในการซ่อมแซมรถเข้ามาช่วย ย่อมทำให้ผู้รับความช่วยเหลือ
มีความสุขไม่ต้องสิ้นเปลืองหรือเสียเวลาเข้าอู่ซ่อม
การทาสีบ้านที่ใช้ทักษะง่ายๆ หากคุณทำได้จะช่วยเพื่อนบ้านรู้สึกดีกับคุณ เป็นการช่วยพวกเขาประหยัด
รายจ่ายจ้างช่างทาสีไปได้ส่วนหนึ่ง ขณะเดียวกันเมื่อเพื่อนบ้านมีน้ำใจช่วยดูแลลูกๆ ของคุณ ในช่วง
เวลาสั้นเพียง 1-2 ชั่วโมง ถือเป็นการช่วยเหลือต่างตอบแทนช่วยคุณประหยัดเงินค่าจ้างพี่เลี้ยงหรือค่า
บริการรับดูแลเด็กเล็กได้
ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ