"ดูแลจิตใจคนวัยทำงาน"
ความเครียดจากการทำงาน เป็นปฏิ กิริยาตอบสนองของร่างกาย จิตใจและอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน สาเหตุอาจมาจากการทำงานที่หนักเกินไป ความเหนื่อยล้า เพื่อนร่วมงาน หรือข้อจำกัดของหน่วยงาน ในปัจจุบันโรคเครียดจากการทำงานเป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วย
คนที่ประกอบอาชีพใดหรือทำงานประเภทใดและในสถานที่แบบไหน มีโอกาสประสบปัญหาโรคเครียดมากที่สุด
10 อันดับอาชีพที่ทำให้คนเครียดมีดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศ
บุคลากรทางการแพทย์
วิศวกร
ฝ่ายขายและการตลาด
การศึกษา
การเงิน
ทรัพยากรบุคคล
ฝ่ายปฏิบัติการ
ฝ่ายผลิต
เสมียน
จากงานวิจัย อาชีพที่เกิดความเครียดน้อย คือ บุรุษไปรษณีย์ บรรณารักษ์ ช่างทำผม นักบำบัดทางการพูด (Speech Therapists)
คนที่ทำงานออฟฟิศจะมีโอกาสเครียดมากน้อยแค่ไหน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไร
จากการสอบถามทัศนคติของคนทำงานชาวอเมริกัน พบว่า
82% กล่าวว่างานส่งผลให้เกิดความเครียดในระดับที่น้อย สามารถจัดการได้
35% กล่าวว่างานส่งผลให้เกิดปัญหาทางร่างกายและจิตใจ
28% กล่าวว่า ความคาดหวังจากที่ ทำงานส่งผลให้เกิดความเครียดในชีวิตอย่างมาก
42% กล่าวว่าความกดดันในที่ทำงานส่งผลรบกวนต่อชีวิตครอบครัวและชีวิตส่วนตัว
และจากผลการสำรวจทางโทรศัพท์ของสำนักสุขภาพจิตสังคม พบว่า ปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาการงาน คิดเป็นร้อยละ 43 จากปัญหาที่สอบถามทั้งหมด
เพศหญิงมีอัตราส่วนของผู้ที่เกิดความ เครียดสูงกว่าเพศชาย และในวิธีการแก้ไขปัญหา พบว่าประชาชนเลือกที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่
คนที่เป็นผู้บริหารหรือผู้นำธุรกิจมีโอกาสเกิดความเครียดหรือไม่ สาเหตุมาจากสิ่งเร้าใด
ทุกคนมีโอกาสเกิดความเครียดได้ บุคคลแต่ละคนจะมีความสามารถในการเผชิญกับความเครียดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ
เหตุการณ์หรือปัญหาที่เผชิญ (event)
ความถี่หรือความบ่อยในการเผชิญ (frequency)
ประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคล (experience)
แรงสนับสนุนหรือการได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน หรือครอบครัว (social support)
สาเหตุของความเครียดในการทำงาน มาจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้
ปัจจัยเฉพาะเรื่องงาน ได้แก่ ภาระงานที่มากเกินไป งานซ้ำซากน่าเบื่อ ไม่มีเวลาพัก ไม่อยากทำงานนั้นแล้ว
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ เสียงดัง ผู้คนจอแจ อึดอัด อากาศไม่ถ่ายเท มีความไม่ปลอดภัยในการทำงาน (เครื่องจักร, มลพิษ)
ปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ ภาระงาน หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบไม่ชัดเจน มีความสับสนในเป้าหมายของงาน มีหัวหน้างานหลายคน เกิดความสับสน ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ขาดการสื่อสารกันภายในองค์กร
ปัจจัยความไม่มั่นคงของงาน ได้แก่ มีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้าง มีการเปลี่ยน งานของบุคลากรบ่อยครั้ง ขาดโอกาสความก้าวหน้าใน สายงาน
ปัจจัยด้านสัมพันธภาพของผู้ร่วมงาน ได้แก่ มีระยะห่างระหว่างหัวหน้างานและ ลูกน้อง มีปัญหาระหว่างผู้ร่วมงานมีปัญหาการทำร้ายร่างกายกันในที่ทำงาน
โรคที่เกิดจากความเครียด ความเครียดจากการทำงานส่งผลต่อปัญหาสุขภาพร่างกาย เกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้
โรคหัวใจและหลอดเลือด
มะเร็ง
ปวดหลัง
โรคซึมเศร้า
ปวดหัวเรื้อรัง
โรคนอนไม่หลับ
ความผิดปกติทางจิต
เมื่อเป็นโรคที่เกิดจากความเครียดแล้วเราจะดูแลรักษาสุขภาพอย่างไร
สัญญาณเตือนเมื่อเริ่มเครียดจากการทำงาน : หงุดหงิดและถูกเร้าได้ง่ายจากเพื่อน ร่วมงาน ครอบครัวและเพื่อนฝูง นอนหลับยาก มีความกังวลในเรื่องงานที่สูงขึ้น ปวดหัวบ่อยหรือมีอาการของโรคกระเพาะ
สถานการณ์ที่นำมาสู่ความเครียด : ไม่สามารถจัดการหน้างานของตนได้ เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ค่อยได้ มีความเห็นที่แตกต่างจากหัวหน้างาน รู้สึกเบื่อหน่ายและไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน มีขีดจำกัดในเรื่องเวลาในการทำงาน ความเครียดจากการทำงานเกิดร่วมกับปัญหาชีวิตของตนเอง
เมื่อเครียดจากการทำงาน จะส่งผลต่อการทำงาน ดังนี้ มีประสิทธิภาพในการทำงานที่แย่ลง มีการลาหยุดงานหรือเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น
วิธีจัดการกับความเครียดจากการทำงาน
หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทานผักและผลไม้ให้มาก หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกอาหารขยะ, กาเฟอีน และน้ำตาล
หาเวลาว่างเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
แบ่งเวลาพักระหว่างการทำงาน
ฝึกวิธีการจัดการความเครียดด้วยตนเอง เช่น การหายใจเข้า-ออกลึก ๆ และการทำสมาธิ
วิธีคลายเครียด
การจัดการด้วยตนเอง ได้แก่ การควบคุมลมหายใจ (Breathing) การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การจินตภาพ (Imagery) การตระหนักรู้ในตนเอง (Self Awareness) การรวบรวมสมาธิ (Concentration) ให้มุ่งสนใจอยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ รับรู้ว่า ตนเองกำลังทำอะไร และมีการเคลื่อนไหวอย่างไร โดยให้รับรู้ถึงความรู้สึกในทางบวก
การปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อลดความเครียด
1. ปรับเปลี่ยนการสื่อสารภายในองค์กร
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างบุคลากรภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน มุ่งประโยชน์ของงานเป็นที่ตั้ง
ชี้แจงบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบภาระงานให้ชัดเจน
เมื่อมีปัญหาควรพูดคุยกันทางตรง ใช้เหตุผลและเป้าหมายของงานเป็นที่ตั้ง ไม่ ควรใช้อารมณ์ในการสื่อสาร
2. ปรับเปลี่ยนบทบาทของหัวหน้างาน
รับฟังความรู้สึก และความคิดเห็นของผู้ร่วมงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว
แสดงให้เห็นว่าผู้ร่วมงานทุกคนมี คุณค่าและให้กำลังใจ
ควรแจกจ่ายงานให้ผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสม อย่ากำหนดการส่งงานที่กระชั้นจนเกินไป
3. ให้ข้อเสนอและผลตอบแทนแก่ผู้ร่วมงาน
ให้สิ่งตอบแทนผู้ร่วมงานเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ
ให้โอกาสผู้ร่วมงานในการเจริญก้าวหน้า
ข้อมูลจาก สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์