1. การวางแผนการเงิน การวางแผนการเงิน ถือเป็นข้อพึงปฏิบัติแรกที่ทุกคนจะต้องทำ ทั้งวางแผนการเงินของตัวเองและครอบครัวให้เหมาะสม ประกอบด้วย การสำรวจตัวเอง, กำหนดเป้าหมาย, จัดสัดส่วนการใช้เงิน,ลองทำแผนมาปฏิบัติ 2. จัดงบดุลคุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว 1)รวมตัวเลขรายได้ของคุณทั้งหมด 2) รวบรวมและจดบันทึกรายจ่ายในแต่ละเดือน คุณจ่ายเงินไปกับเรื่องใดบ้าง 3) คาดคะเนรายจ่ายในอนาคต 4) ทำสรุปงบประมาณ แล้วตั้งงบดุลเงินสด 5) ติดตามการใช้จ่ายและปรับปรุงงบประมาณ
3. ออมเพลิน เมินจน การเก็บออมควรแยกบัญชีเงินฝากเป็น 3 บัญชี ได้แก่ บัญชีใช้จ่ายเผื่อฉุกเฉิน บัญชีเงินออม และบัญชีเพื่อการลงทุน 4. บริหารหนี้ หนีกับดักทางการเงิน การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งหนี้นั้น มีทั้ง “หนี้ดี” และ “หนี้ฟุ่มเฟือย” ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ วิธีการที่ดีที่สุดในการลดหนี้ คือ พยายามใส่เงินจำนวนมากที่สุดโดยไม่กระทบกับ รายจ่ายประจำที่จำเป็น เพื่อชำระหนี้สินที่ถูกคิดดอกเบี้ยแพงที่สุด 5. วางแผนประหยัดภาษี วิธีง่าย ๆ คือ สรรหาค่าลดหย่อน ประกอบด้วย ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เงินบริจาค ทำประกันชีวิต ฯลฯ 6. ก่อนจูงมือไปแต่งงาน คู่สมรสควรวางแผนอนาคตทางการเงินระยะยาวถึง 10 ปี และให้จัดแยกเงินออกเป็นหลาย ๆ บัญชี ตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงินแต่ละประเภท 7. แผนการเงินเพื่อซื้อรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการซื้อรถ ไม่ควรเกินอัตรา 15% ของรายได้ครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดภาระผ่อนส่งเกินตัว 8. แผนการเงินเพื่อซื้อบ้าน คือ “เลือกโครงการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด กู้เงินให้น้อยที่สุด และผ่อนชำระให้เร็วที่สุด” 9. แผนการเงินเพื่อเจ้าตัวน้อย จากการสำรวจค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการคลอดบุตร และค่าเลี้ยงดูบุตรต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถจัดการได้ คือ พอเริ่มตั้งครรภ์ก็เริ่มเก็บเงิน และบริหารเงินให้ดี 10. แผนการเงินเพื่อการศึกษาลูก ในการคำนวณหาค่าเล่าเรียนต้องคิดจากค่าเงินในปัจจุบันและอนาคต โดยให้รวมค่าอัตราการเพิ่มของค่าเทอมหรือเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปี (ประมาณ 5%) เข้าไปด้วย
11. แผนการเงินยามเกษียณ ทั้งหมดนี้เป็นวิธีบริหารเงินที่จะทำให้ทุกคนมีกินมีใช้แบบไม่จนตลอดปีและตลอดไป. ให้คุณคำนวณเงินที่คุณควรมี เมื่อตอนเกษียณ โดยเอา 1 หาร 10 คูณอายุปัจจุบัน และคูณรายได้ทั้งปี หากคุณมีเงินออมน้อยกว่าที่คำนวณได้ คุณควรต้องเก็บเงินในสัดส่วนที่มากขึ้น จึงจะพอใช้จ่ายในอนาคต 12. การลงทุนและการจัดสำหรับลงทุน คุณควรแบ่งเงินไว้สำหรับใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน และกันไว้สำหรับสร้างหลักประกันเรียบร้อยแล้ว เงินที่เหลือจะเป็นเงินที่คุณนำมาลงทุนได้ ซึ่งประเภทของการลงทุน มีตั้งแต่หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม และเงินฝาก เหล่านี้ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด
|