1
2

วิธีเติมเสน่ห์ให้ใบหู


กรุณาฟังให้จบ - แช่ม แช่มรัมย์


วิธีเติมเสน่ห์ให้ใบหู
โดย พอใจ พุกกะคุปต์
เมื่อวันก่อนดิฉันได้เรียนรู้ และได้ดูเห็นกับตาว่า
เสน่ห์สร้างได้ ไม่ต้องไปคลินิกความงาม

ท่านผู้อ่านคงเคยมีประสบการณ์ที่นั่งคุยอะไรอยู่กับใคร
แล้วรู้สึกว่าอีกฝ่ายทำให้เรารู้สึกว่าเราสำคัญที่สุดในโลกสำหรับเขา
ในช่วงที่เราพยายามเล่าอะไรให้เขาฟัง
เขาทิ้งทุกสิ่งเพื่อฟังเราอย่างเดียว

โลกทั้งโลกหยุด.อยู่ที่จุดที่เราอยู่.

แต่ ท่านผู้อ่านก็คงเคยมีประสบการณ์ที่นั่งคุยอะไรอยู่กับใคร แล้วบอกตัวเองว่า ไม่ต้องขยายความให้ยืดยาว เพราะรู้สึกว่าเขาไม่ได้อยู่กับเรา เขาอาจเหมือนนั่งฟังตาใส แต่สัมผัสได้ว่าใจคงอยู่ที่อื่นใด เขาฟังให้เสร็จๆ ฟังระหว่างรอพูด ฟังเพื่อตอบ ฟังเพื่อชี้แจง

มิได้ฟังเพื่อให้เสียงที่กระทบหู "เข้า" ไปอยู่ในใจ เพื่อจะได้เข้าใจก่อน

ดิฉันมีข่าวดีค่ะ เสน่ห์ของผู้ฟังที่สะกดผู้พูดให้หลอมละลาย เสริมได้ ไม่ยาก

วันนี้เล่าวิธีแรกนะคะ

พฤติกรรมหนึ่งที่จะทำให้คู่สนทนาตระหนักว่า ผมอยู่กับคุณ ไม่ไปไหน ผมฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้ "เข้า" ใจ คือ วิธีฟังที่ Dr. Carl Rogers นักจิตวิทยา เรียกว่า Responsive Listening หรือ การฟังอย่างรับรู้

ลองสังเกตวิธีฟัง (และคล้ายๆ ฟัง) 3 กรณีนะคะ

คุณตา เป็นผู้ป่วยในเก๋า ที่ทีมพยาบาลคุ้นเคย เพราะนอนอยู่โรงพยาบาลด้วยโรคชราเป็นเวลานานหลายเดือน

คุณตา: อยากกลับบ้านแล้ว กลัวไม่มีใครให้ข้าวชาเย็น คุณตาพูดเสียวแผ่วเบา
(ชาเย็น คือลูกสี่ขาหน้ายู่ยี่ แต่รักและภักดีคุณตาสุดตัวและหัวใจเล็กๆ ของพุดเดิ้ลกลางถนน ที่ถูกเก็บมาประคบประหงมจนหน้ายับเยินเปลี่ยนเป็นแค่ยู่ยี่)

คุณพยาบาล 1: พยักหน้ารับทราบและรีบเดินออกไป เพราะมีผู้ป่วยที่ต้องใส่ใจอีกหลายๆ เตียง
(และได้ยินเรื่องชาเย็น จน..ชาเย็น)

คุณพยาบาล 2: ยังกลับไม่ได้ค่ะ คุณตายังไม่หาย พักผ่อนมากๆ นะคะ
(ไม่ว่าคุณตาเตียงนี้หรือเตียงไหน จะบ่นเรื่องอะไร ก็ตอบเช่นนี้)

คุณพยาบาล 3: คุณตารักชาเย็นเหมือนลูกเลยนะคะ กลัวเขาหิวใช่ไหมคะ คุณตายังกลับไม่ได้นะคะ ต้องพักผ่อนมากๆ จะได้รีบหาย ได้กลับไปให้ข้าวเย็นเองนะคะ
(ระหว่างนั้นส่งสัญญาณด้วยสายตาให้ลูกคุณตา (ที่เป็นคน) ส่งเสียงเจื้อยแจ้วบอกคุณตาว่าน้องชาเย็นอ้วนพีดี ไม่ต้องกังวลค้า)

ดิฉันจับเวลาแล้ว ปรากฏว่าคุณพยาบาลท่านที่ 3 ใช้เวลาในการสนทนามากกว่าสองท่านแรก 11 วินาที พอดีเชี้ยะ

แต่เป็น 11 วินาทีของการบริหารเสน่ห์ที่จับใจคุณตา เพราะท่านได้รับคำยืนยันในสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปอยากได้: “ความเข้าใจ”

คุณพยาบาลท่านที่ 3 ใช้วิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้คู่สนทนาสัมผัสได้ว่า ฟังอยู่ค่ะ ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องข้องใจ ว่าไม่ใส่ใจฟัง เพราะเราให้ความมั่นใจว่าเข้าใจประเด็น เห็นไหม ทวนได้จากใจจริงๆ

ทักษะนี้เรียกว่า Acknowledge หรือ รับรู้ในสิ่งที่คู่สนทนาพูด

การรับรู้นี้ มิใช่แปลว่าแสดงความเห็นด้วยในประเด็นที่ได้ยิน
แปลเพียงว่า ท่านผู้ที่พูดอยู่มิใช่นกกา เราจึงไม่ได้ฟังท่านเหมือนฟังเสียงนกเสียงกา
แต่ฟังเสียงท่านเหมือนผู้ที่เราเคารพและให้เกียรติ จึงฟังผ่านเข้าหู และรับรู้ “เข้า”ไปในใจ

การ Acknowledge ช่วยทำให้อีกฝั่งตระหนักว่าเราฟังอยู่จริงๆ ซึ่งช่วยทำให้เขาพร้อมจะฟังเรามากขึ้นด้วย เพราะอย่างน้อยเขาสบายใจ ไม่ต้องทำตัวเป็นแผ่นเสียงตกร่อง ย้ำพูด เพราะคิดไปว่าสิ่งที่พูดไปแล้ว เราไม่ได้ฟัง

จากผลการวิจัยของ Dr. Marshall Rosenberg ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาต่อรอง บ่งชี้ว่า ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ ทำให้การเจรจาข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ใช้เวลาน้อยลงถึงครึ่งหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับการเจรจาที่ทั้งสองฝ่ายเน้นพูดใส่กัน จนต่างฝ่ายตั้งป้อมเสริมกำแพงล้อมลวดหนามสามชั้น

เอาหูไว้ใช้เห็นใจ น่าจะดีกว่า เอาไว้ใช้หาเรื่อง
เมื่อหูมีเสน่ห์ เจ้าของหูย่อมดูดีโดยอัตโนมัติ รีบจัดเลยค่ะ

http://bit.ly/qTbI22



1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss