1
2

กาฬโรคปอด





โรคระบาดร้ายแรงที่มิควรมองข้า!

หลังมีข่าวประเทศจีนสั่งปิดเมืองจื่อเคอทันและพื้นที่โดยรอบมณฑลชิงไห่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของจีน หลังพบผู้เสียชีวิต 2 รายจากการป่วยเป็น “กาฬโรคปอดบวม” ภาษาหมอก็ไม่พลาดที่จะนำลักษณะอาการและความหมายของ “กาฬโรคปอดบวม” มาเล่าสู่กันฟัง
ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (ฮู) ระบุว่า กาฬโรคปอดบวม หรือ Pneumonic Plague จัดเป็นโรคระบาดร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งที่สามารถคร่าชีวิตผู้ติดเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่สามารถแพร่เชื้อได้ในอากาศและติดต่อจากคนสู่คนผ่านการไอจาม เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดกาฬโรคที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมและอักเสบ หรือ Bubonic Plague ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนในทวีปยุโรปมาแล้วประมาณ 25 ล้านคนจากการระบาดในสมัยยุคกลาง
ขณะที่ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไปของไทย ระบุว่า กาฬโรคปอด สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระต่าย กระรอก โดยมีหมัดหนูเป็นพาหะแพร่เชื้อแบคทีเรียสู่คน มีระยะฟักตัวของของโรคประมาณ 7 วัน จากนั้นเชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิตไปสู่ปอดและอาจทำให้เสียชีวิตทันที

อาการของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ในรายที่ต่อมน้ำเหลืองโตและปวดมาก อาการนี้เรียกว่า Bubonic Plague ผิวหนังบริเวณต่อมน้ำเหลืองจะบวมแดง อาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ระยะต่อมาเชื้อจะแพร่กระจายไปตามกระแสโลหิต เข้าสู่ปอด ตับ ม้าม บางรายไปยังเยื้อหุ้มสมอง เกิดภาวะเชื้อเข้ากระแสโลหิตรุนแรง จะเกิดอาการหัวใจวายและเสียชีวิตในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว

วิธีป้องกัน ทำได้ไม่ยาก เบื้องต้นกำจัดแหล่งขยะมูลฝอยที่เป็นแหล่งสะสมของ ‘หนู’ แล้วฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประจำบ้านบริเวณดังกล่าว เพื่อทำลายหมัดหนูที่หลงเหลืออยู่ เท่านี้ก็ไกลโรคแล้ว




อาการ :
อาการทันใด ไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัวรุนแรง อาการไอเกิดขึ้นใน 24 ชั่วโมง เสมหะตอนแรกเหนียวใสแล้วกลายเป็นสีสนิมหรือแดงสด มักไม่มีปื้นแผลในปอด ถ้าไม่รักษา : ตายภายใน 48 ชั่วโมง

การวินิจฉัยแยกโรค :
ปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย Pneumococci หรือตัวอื่น

สาเหตุ :
จากเชื้อแบซิลไล Yersinia pestis



ระยะฟักตัว :
ประมาณ 2-3 วัน

การแพร่เชื้อ :
แพร่ได้ง่ายทาง droplet จากทางเดินหายใจและสิ่งของที่เพิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคใหม่ๆ



การเกิดโรค :
เป็นอาการแทรกซ้อนของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (ดูกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง) หรืออาจจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรก

การรักษา :
รักษาด้วยยา streptomycin tetracycline หรือ chloramphinicol

การควบคุม :
แยกกักผู้ป่วยอย่างเข้มงวดยิ่ง



ผู้สัมผัสโรค :
ค้นหา แยกกักไว้ 7 วัน และให้เคมีป้องกัน (รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วย) รายงานองค์การอนามัยโลก (เป็นโรคต้องรายงานตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ ฉบับก่อน ปี 2005)

ชื่อโรคใหม่ที่ควรรู้จักวันนี้ กาฬโรคปอด



1 กาฬโรค จากหมัด หนู เกิดได้สามแบบ กาฬโรคเลือด กาฬโรคปอดและกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง
2 ตายใน 5-6วัน
3 อาการ ที่สำคัญ หลังจากถูกหมัดหนู กัด จะมีไข้สูง รู้สึกเจ็บตามตัวและอ่อนเพลีย แล้วมีตุ่มสีดำเป็นจ้ำๆ ต่อมน้ำเหลืองบวม ใต้ท้องน้อย ต้นขา และรักแร้จะบวม เพราะพบว่ามีตุ่มดำ ก่อนเสียชีวิตเล็กน้อยนี้เอง คนจึงเรียกโรคนี้ว่า Black Death

ติดตามสถานการณ์

ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ เตือนประชาชนระวังโรคกาฬโรคปอดในจีน ที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60 โดย กรมประชาสัมพันธ์ วัน จันทร์ ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552 16:10 น.

ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ เตือนประชาชนติดตามการระบาดของโรคกาฬโรคปอดในจีนอย่างใกล้ชิด ชี้ ผู้ต้องเดินทางควรระวัง เพราะร้ายแรงยิ่งกว่าโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ถึง 5 เท่า มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60 ศาสตราจารย์นายแพย์อมร ลีลารัศมี นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวเตือนประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่จะเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันเมื่อต้องอยู่ในที่แออัด มีคนจำนวนมาก เพราะอาจติดเชื้อโรคกาฬโรคปอดที่กำลังพบการระบาดอยู่ในทางภาคตะวันตกของจีนอยู่ในขณะนี้

โดยโรคดังกล่าวร้ายแรงยิ่งกว่าโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ถึง 5 เท่า มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60 ขณะที่โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีอัตราการเสียชีวิตไม่ถึงร้อยละ 2 โดยเชื้อแบคทีเรียของกาฬโรคปอดจะตรงเข้าทำลายปอดทันทีโดยไม่แสดงอาการอื่นซึ่งผู้ที่เป็นโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาทิ โรคปอด ถุงลมโป่งพองและหอบหืด มีโอกาสเสียชีวิตทันทีใน 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามเบื้องต้นคาดว่าการเข้ามาระบาดของโรคดังกล่าวในไทยเป็นไปได้ยาก เนื่องจากแพร่ระบาดได้น้อยเพราะทันทีที่ติดเชื้อผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงและทรุดขนาดไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ จึงมีโอกาสน้อยที่จะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น สำหรับการแพร่ระบาดของกาฬโรคปอดนั้นแพร่ในรูปแบบเดียวกับไข้หวัด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ไอ เช่นเดียวกับไข้หวัดทั่วไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีทางป้องกัน


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (3 ส.ค.) ว่า พบชายชาวจีนวัย 37 เสียชีวิตเป็นรายที่ 2 จากกาฬโรคปอดบวม ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ซึ่งก่อนหน้านี้ เพื่อนบ้านของเขา วัย 32 เป็นเหยื่อรายแรก อาศัยอยู่ในเมืองซิเคตัน มณฑลชิงไห่ ในขณะที่ชาวบ้านกว่าพันคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวธิเบตได้ถูกกักตัวไว้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

สำหรับกาฬโรคปอดบวมนี้ สามารถแพร่กระจายและติดต่อกันได้ ทั้งจากบุคคลไปสู่บุุคคล หรือจากสัตว์ไปสู่บุคคล อาการเริ่มต้นของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น มีไข้ ปวดหัวและหายใจไม่สะดวก

เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของจีน กล่าวว่า สถานการณ์ยังอยู่ภายใต้การควบคุม โรงเรียนและสำนักงานต่างๆ ยังคงเปิดทำการตามปกติ เว้นแต่ เมืองซิเคตัน ซึ่งมีประชากรราว 10,000 คน ได้ถูกกักบริเวณไว้ และเจ้าหน้าที่ได้พยายามตามหาผู้ที่สัมผัสกับผู้เสียชีวิตพร้อมเตือนประชาชนที่มาที่เมืองนี้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมและมีอาการไอหรือมีไข้ ให้พบแพทย์โดยทันที กาฬโรคปอดบวมนี้เป็นที่กังวลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นมาระยะนึงแล้ว

ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้จัดตั้งทีม 55 ทีม กระจายไปรอบเมืองเพื่อตรวจสอบและควบคุมโรคระบาดนี้ รายงานจากสื่อจีนรายหนึ่งเผยว่า ครั้งนี้ เป็นครั้งที่สามในรอบ 10 ปีที่่มีโรคระบาดในมณฑลชิงไห่

ด้านองค์กรอนามัยโรคกล่าวว่า กาฬโรคปอดบวม เป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงและผิดปกติที่สุด ซึ่งถ้าไม่รับการรักษาผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเสียเสียชีวิตสูง

อย่างไรก็ตาม นางวิเวียน ตัน โฆษกหญิงขององค์การอนามัยโรคประจำกรุงปักกิ่ง กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตก หรือเรื่องใหม่และทางองค์กรได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมสถานะการณ์อยู่ตลอดเวลา




ทีนี้เรามาศึกษาอย่างละเอียดกัน รวมถึง ป้องกันอย่างไร ถึงจะปลอดภัย

กาฬโรค(Plague)


มรณะดำ หรือ The Black Death หรือ Black Plague เป็นโรคติดต่อ

ชนิด
หนึ่งเกิดจากYersinia Pestis ส่วนใหญ่ทำให้เกิดโรคในหนูและในสัตว์

ฟันแทะชนิดอื่นรวมทั้งในคนด้วย โดยมีหมัดหนูเป็นพาหะที่สำคัญที่นำโรค

จาก
สัตว์ตัวหนึ่งไปยังสัตว์อีกตัวหนึ่ง หรือจากสัตว์ไปสู่คน เหตุการณ์โรค

ระบาด
ที่ร้ายแรงในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ คือ กาฬโรค เริ่มต้นขึ้นในแถบ

ตะวันตกเฉียงใต้และตอนกลางของเอเชีย และแพร่กระจายเข้าไปที่ยุโรป

มียอดผู้เสียชีวิตจากทั่วโลก รวมแล้วประมาณ 75 ล้านคน และในจำนวน

ประมาณ
20 ล้านคนเกิดขึ่นที่แถบยุโรปเท่านั้น เหตุการณ์เดอะแบล็กเด็ธ

ทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตไปร่วม 2/3 ของประชากรชาวยุโรปทั้งหมด จึงเป็น

โรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 และเป็นโรค

ที่มีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศ ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศฉบับปี

2005

Scientific Classification

Kingdom : Eubacteria

Phylum : Proteobacteria

Class : Gamma Proteobacteria

Order
: Enterobacteriales

Family : Enterobacteriaceae

Genus : Yersinia

Species
: Yersinia Pestis

Yersinia Pestis

Yersinia Pestis Under Fluorescent

โรคกาฬโรค

สาเหตุ


เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ
Yersinia Pestis เชื้อนี้มีรูปร่างเป็นแท่ง(Bacilli)

หรือ แท่งสั้นๆ (Cocccobacilli)ไม่มีหนวด (Flagella) ติดสีแกรมลบเมื่อย้อม

ด้วยวิธี Wayson หรือ Giemsa ลักษณะการติดสีหัว-ท้ายชัดเจนส่วนกลาง

ใสคล้ายรูเข็มกลัดซ้อนปลาย (Bipolar หรือ Closed Safety Pin) ผู้พบเชื้อ

ครั้งแรกปี พ.ศ. 2437 โดย Yersin & Hitasato เดิมแบคทีเรียสปีชีส์นี้จัด

อยู่ในจีนัส Pasteurella ในปี พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Yersinia ตาม

ชื่อผู้พบเชื้อคนแรก และปีพ.ศ. 2497Thalได้จัดอยู่ในEnterobacteriaceae

Wayson Stain Of Yersinia Pestis

สถานการณ์การระบาด


ในอดีตมีการระบาดใหญ่ของกาฬโรคเกิดขึ้น 3 ครั้ง

การระบาดครั้งที่ 1 ในคริสตวรรษที่ 6 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า Plague Of

Justinian การระบาดเริ่มจากประเทศอียิปต์ไปสู่ทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่กรุง

คอนสแตนติโนเปิล มีคนตายวันละหมื่นคน มีการระบาดติดต่อกันเป็นระยะ

เวลาประมาณ 50 ปี มีคนตายหลายล้านคน

การระบาดครั้งที่ 2
ในคริสตวรรษที่14 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่าThe Black

Death (กาฬมรณะ) โดยเริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศอินเดียและจีนผ่าน

ประเทศอียิปต์เข้าสู่ประเทศยุโรป มีการระบาดในอิตาลีเมื่อปี พ.ศ. 1889

เรียกว่า "Great Mortality" และมีการระบาดเป็นระยะตลอดคริสตวรรษที่

15, 16, 17 ในปี พ.ศ. 2208 เกิดการระบาดใหญ่ที่กรุงลอนดอนมีคนตาย

เป็นจำนวน 60,000 คน จากประชากร 450,000 คน เรียกว่า The Great

Plague Of London การระบาดในยุโรป ครั้งนั้นมีประชากรประมาณ 25

ล้านคน ต้องตายด้วยโรคนี้

การระบาดครั้งที่ 3
เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกปี พ.ศ. 2439 มีการระบาด

เข้าสู่สิงค์โปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ ฮาไวอี อารเบีย เปอร์เชีย เตอร์กี อียิปต์ และ

อาฟริกาตะวันตกเข้ารัสเชีย และในทวีปยุโรปเข้าสู่อเมริกาเหนือ
แลเม็กซิโก

มีรายงานระหว่างปี พ.ศ. 2443-2444 ในภาคตะวันออกของจีนมีคนตาย

ประมาณ 60,000 คน ปี พ.ศ. 2453-2454 ที่แมนจูเลียมีคนตายประมาณ

10,000 คน ต่อมามีรายงานการระบาดที่รัฐแคลิฟอเนียและประเทศรัสเซีย

ประวัติการระบาดในประเทศไทย


นายแพทย์ เอช แคมเบล ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ( Principal

Medical Officer Of Bangkok City) ได้รายงานการกาฬโรคครั้งแรกใน

ประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 เกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึก

ขาว เป็นโกดังเก็บสินค้า จังหวัดธนบุรีเป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดียแล้ว

ระบาดเข้ามาฝั่งพระนคร จากนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการติดต่อ

ค้าขายกับกรุงเทพฯ โดยทางบก ทางเรือและทางรถไฟ ไม่มีสถิติจำนวนผู้

ป่วยตายที่แน่นอน รายงานปรากฏก่อนปี พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดนครปฐมมี

คนตาย 300 คน ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย

1 ราย ที่ตลาดตาคลี จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจน

ปัจจุบันนี้


การระบาดในยุโรป

ในเดือนตุลาคม ปี 1347 กองเรือสินค้าที่อพยพมาจากเมือง เคฟฟา

(Caffa) มาที่ท่าเรือ เมซซิน่า (Messina) ประเทศอิตาลี่ ในเวลาที่เรือเทียบ

ท่า ลูกเรือทุกคนติดเชื้อหรือเสียชีวิตแล้ว จึงสัณนิษฐานได้ว่า เรือได้นำเอา

หนูติดเชื้อที่เป็นพาหะนำโรคมาด้วย เรือบางลำยังไม่เทียบท่า แต่กลายเป็น

เรือร้างลอยลำอยู่กลางน้ำ เพราะว่าทุกคนเสียชีวิตหมด พวกโจรสลัดที่เข้า

ไปปล้นเรือ ได้ช่วยให้กาฬโรคแพร่ระบาดอีกทางหนึ่ง การระบาดได้กระจาย

จาก จีนัว (Genoa) และ เวนิช (Venice) ในช่วงปี 1347-1348จากประเทศ

อิตาลี
แพร่ระบาดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามยุโรป จู่โจม ฝรั่งเศส

สเปน โปรตุเกษ และอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคมปี 1348 หลังจากนั้นแพร่

กระจายไปทาง ทิศตะวันออกไปยังประเทศเยอรมนี และแถบสแกนดิเนเวีย

ในช่วงปี 1348-1350 มีการพบการระบาดที่นอร์เวย์ในปี 1349 และในที่

สุดก็ระบาดลุกลาม ไปยังแถบตะวันตกเฉียงเหนือของรัสเซียในปี 1351

อย่างไรก็ตามการระบาดก็ได้แพร่กระจายไปทั่ว ไม่ว่าจะที่ยุโรป โปแลนด์

เบลเเยี่ยม หรือแม้กระทั่งเนเธอร์แลนด์

ภาพแสดงการแพร่ระบาดของกาฬโรคในยุโรป

พาหะ

หมัดหนู ได้แก่
Xenopsylla Cheopis, Nosopsyllus Fasciatus

หมัดหนู

สัตว์กักตุนโรค


ส่วนมากเป็นสัตว์ขบแทะ เช่นหนูแรท หนูไมซ ตุ่น เจอร์บิล กระรอก

มาร์ม๊อต กระต่ายป่า กระต่ายบ้าน นอกจากนี้อาจมีแมว และพังพอน


การติดต่อของโรค

1. โดยการกัดของพาหะนำโรค คือ หมัดหนู ชนิดของหมัดหนูที่เป็นพาหะ

นำโรคที่สำคัญ ได้แก่ Xenopsylla Cheopis, Nosopsyllus Fasciatus ซึ่ง

เป็นตัวแพร่โรคจากหนูไปยังหนู จากหนูไปยังสัตว์ฟันแทะ (Rodent) ชนิด

อื่นๆ และจากหนูไปสู่คน

2. โดยการกินสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้ เช่น สุนัขและแมว กินหนู หรือสัตว์ฟัน

แทะชนิดอื่นที่ป่วยด้วยโรคนี้

3. การติดโรคของคน

3.1 โดยถูกหมัดหนูกัด

3.2 โดยการสัมผัสสัตว์ป่วยหรือซากสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้

3.3 ทางลมหายใจ หรือสิ่งที่ถูกขับจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย

4. สุนัขและแมว เป็นพาหะนำโรคมาสู่คนได้ โดยการนำเอาหมัดที่มีเชื้อ

กาฬโรค ที่ติดมาจากหนูหรือสัตว์ฟันแทะชนิดอื่น

อาการ

ลักษณะอาการเริ่มแรกที่นำมาคือ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ วิงเวียน

กระสับกระส่าย คลื่นไส้ ปวดแขนหรือบริเวณเอว ผู้ป่วยทุกรายจะมีไข้สูง

ภายใน 2 – 3 ชั่วโมง หรือ 1 วัน นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น

พร้อมกับชีพจรเต้นแรงตามไข้ที่ขึ้นสูง กาฬโรคมีลักษณะอาการแบ่งได้

ใหญ่ 3 ลักษณะ ได้แก่

1 กาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)
พบมากกว่าร้อยละ

75 ของผู้ป่วยที่มีอาการ ระยะฟักตัวประมาณ 2 – 10 วัน ผู้ป่วยมีอาการไข้

สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย ต่อมน้ำ

เหลืองอักเสบบวม ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือ บริเวณขาหนีบ รองลงมา

คือ บริเวณรักแร้ ต่อมน้ำเหลืองรอบคอ ต่อมน้ำลาย ตามลำดับ


2 กาฬโรคชนิดโลหิตเป็นพิษ (Septicemic Plague)
เป็นกลุ่มที่มีการ

ติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นพิษอย่างรุนแรง หรือเกิด

จาก
กลุ่มของกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองที่ไม่ได้รับการรักษาและเกิดการติดเชื้อ

ในเลือด อาการของโรคกลุ่มนี้คือ ไข้ไม่สูง ต่อมน้ำเหลืองไม่โตแต่มีเลือด

ออกตามอวัยวะต่างๆ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการดีซ่านตัวเหลือง ตาเหลือง

3 กาฬโรคปอดบวม (Pneumonic Plague) พบมากในกลุ่มที่เข้าป่าล่า

ตัว Marmot ในแถบประเทศจีน มองโกเรีย กาฬโรคในกลุ่มนี้สามารถแพร่

กระจายไปสู่คนได้โดยการไอ จามรดกัน หรือโดนหมัดในตัวคน (Pulex

Irritans) กัด อาการของโรคคือ ไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวด

เมื่อยตัว หอบ เหนื่อยง่าย จากนั้นประมาณ 20 – 24 ชั่วโมงจะมีอาการทาง

ปอดเริ่มขึ้นคือ ไอถี่ขึ้น เสมหะตอนแรกเหนียวใสแล้วกลายเป็นสีสนิมหรือ

แดงสด มักไม่มีปื้นแผลในปอด

การรักษา

ยาปฏิชีวนะหลายตัวอาจใช้ร่วมกับยาซัลโฟนาไมด์ในการรักษากาฬโรค

ได้อย่างดี การใช้ยาร่วมกันหลายตัว จะมีประโยชน์ในสภาวะที่เกิดการขาด

แคลนยาstreptomycin หรือ Chloramphinicol หรือ Tetracycline ขนาดยา

ปฏิชีวนะที่แนะนำให้ใช้

ซัลฟาไดอะซีน : ให้วันละ 12 กรัมเป็นเวลา 4 – 7 วัน จะลดอัตราตายจาก

กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง การใช้ยาควรเริ่มต้น

ทางปากครั้งแรกขนาด 4 กรัม ตามด้วยขนาด 2 กรัมทุกๆ 4 ชั่วโมงจนกว่า

ไข้จะลดลงเป็นปกติ หลังจากนั้นใช้ขนาด 0.5 กรัมทุกๆ 4 ชั่วโมงต่อไปอีก

7 – 10 วันหลังจากให้ยาขนาดแรก ต้องคอยระวังทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง

ตลอดเวลา โดยให้ผู้ป่วยกินโซเดียมไบคาร์บอเนต 2 – 4 กรัมพร้อมยา

ซัลฟาไดอะซีนทุกครั้ง การรักษาแบบนี้ใช้รักษากาฬโรคปอดบวมไม่ได้ผล

เตตร้าซัยคลิน : ยาตัวนี้เป็นยาที่ใช้รักษากาฬโรคกันมากมักใช้ขนาดยาสูง

(4 – 6 กรัม/วัน) ในช่วง 48 ชั่วโมงแรก การให้ทางหลอดเลือดดำในระยะ

24 ชั่วโมงแรกจำเป็นสำหรับผู้ป่วยอาการรุนแรง แล้วเปลี่ยนมาเป็นยาทาง

ปากเมื่อผู้ป่วยกินยาทางปากได้



สะเตรปโตมัยซิน : ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาด 0.5 กรัมทุก 4 ชั่วโมงเป็น

เวลา 2 วันหลังจากนั้นให้ยาขนาด 0.5 กรัมเข้ากล้ามทุก 6 ชั่วโมงจน

อาการดีขึ้น ถ้าการฉีดยาแบบนี้ใช้ปฏิบัติไม่ได้ในภาคสนาม ให้ฉีดวันละ 2

ครั้งโดยแบ่งยาฉีดให้เท่ากัน




คลอแรมฟินิคอล :
ขนาดยาใช้รวม 20 – 25 กรัมให้ทางปากด้วยขนาด 50

– 75 ม.ก./น้ำหนักตัว 1 ก.ก.


การวินิจฉัย

เก็บเสมหะ ตัวอย่างเลือด ของเหลวจากต่อมน้ำเหลือง นำมาย้อมสี

ด้วยวิธีย้อมแกรม และย้อมด้วยเมทิลีนบลูตามวิธีของเวสัน เพื่อดูการ

ติดสีที่ขั้วทั้งสองของเซลล์รวมทั้งการย้อมแบบฟลูออเรสเซนต์แอนติบอดี

และเพาะเชื้อในอาหารเพาะเลี้ยงธรรมดา เช่น Nutrient Agar TSA รวมทั้ง

ขึ้นได้บน Selective Media ที่ใช้เพาะหาเชื้อ Enteric เช่น Mac Conkey

และขึ้นได้บน Enriched Media หรือ Blood Agar หลังเพาะเชื้อบนอาหาร

เลี้ยงเชื้อเป็นเวลา 24 ชั่วโมง Colony มีขนาดเท่าหัวเข็ม (Pin Point)

ขนาด <0.1>

การป้องกันและควบคุมโรค


1.สำรวจหนูและหมัดหนู ควบคุมและกำจัดหนูในโรงเรือน และเรือสินค้า

กำจัดหมัดหนูโดยใช้ยาฆ่าแมลง

2.ให้สุขศึกษาในประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ให้รู้วิธีป้องกันโรค และถ้า

มีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรคให้เข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็ว

3.มีมาตรการควบคุมระหว่างประเทศ

4.ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนแออัด และทำความสะอาด

ชุมชนแออัดให้ดีขึ้น

5.ผู้ที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยควรกินยาเตตระซัยคลินสำหรับป้องกัน และใช้ถุง

มือ ผ้าปิดปากและจมูก

6.ให้วัคซีนแก่ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค ช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคนี้ได้มาก

ปกติจะให้ภูมิคุ้มกันประมาณ 6 เดือน


องค์การอนามัยโลกได้กำหนดมาตรฐานของพาหนะและท่าขนส่งระหว่าง

ประเทศให้ปฏิบัติ คือ

1 มีมาตรการป้องกันหนู ตามคลังสินค้า

2 มีการเฝ้าระวังกาฬโรค โดยการดักหนู หาดัชนีหมัดหนูและผ่าหนูเพื่อ

ตรวจหาเชื้อกาฬโรคเป็นประจำ

3 เรือเดินทะเลที่เข้ามาจอดเทียบท่าจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันหนู

4 เรือเดินทางระหว่างประเทศต้องปลอดหนู โดยกำหนดให้มีการตรวจร่อง

รอยของหนูทุก 6 เดือน และมีเอกสารรับรองการตรวจโดยเจ้าหน้าที่

5 เครื่องบินระหว่างประเทศต้องปลอดจากแมลงและพาหะนำโรค


เอกสารอ้างอิง

Http://Www.Dld.Go.Th/Niah/Publishing/Newsletter/News_plague.Htm

Http://Yalor.Yru.Ac.Th/~Dolah/Notes/4034105-1-
49/MBGROUP/M_404652075.Doc


Http://En.Wikipedia.Org/Wiki/Yersinia_pestis

Http://Www.Thailabonline.Com/Plaque.Htm

Http://Webdb.Dmsc.Moph.Go.Th/Ifc_nih/A_nih_1_001c.Asp?Info_id=394

Http://Icd.Ddc.Moph.Go.Th/Index.Php?Option=Com_content&Task=View&Id=158&Itemid=82
http://www.technoinhome.com





1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss