1
2

เพชรโฮป Hope Diamond เปิดตำนานเพชรมรณะ!





Hope Diamond Picture


เปิดตำนานเพชรมรณะ!

เพื่อนๆบางคน คงรู้จัก เพชร โฮป(Hope Diamond) กันมาบ้างว่า เป็นเพชรที่เก่าแแก่ และสวยงามเป็นอย่างมาก หากแต่จะมีสักกี่คน ที่รู้ประวัติของมัน
ว่ากันว่าความสวยงามนั้น มักมาพร้อมกับหนามที่แหลมคม เฉกเช่นเดียวกับดอกกุหลาบ เช่นกันเพชรโฮปเม็ดนี้ก็มีตำนานเล่าขาน อันน่าสะพรึงกลัวเหมือนกัน

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเพชรที่มีชื่อว่า เพชรโฮป (Hope Diamond) เรื่มขึ้นเมื่อพ่อค้าชาวฝรั่งเศส ชื่อ จอง แบปทิส ทาเวอร์เนีย (Jean Baptiste Tavernier) ได้ซื้อเพชรดิบน้ำหนัก 112 3/16 กะรัต จากเหมืองคอลเลอ (Kollur) เมืองกอลคอนดา (Golconda) ประเทศอินเดีย แล้วนำมาถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

  • ค.ศ. 1668 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้มีบัญชาให้ช่างเพชรแห่งราชสนักเจียระไนเพชรเม็ดนี้ขึ้น เป็นเพชรเม็ดที่รู้จักกันในชื่อว่า "Blue Diamond of the Crown" หรือ "French Blue" ซึ่งนำไปตกแต่งบนสายสะพายเครื่องอิสริยาภรณ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อใช้สวมใส่ในงานพิธีการต่างๆ

    ตำนานได้กล่าวว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีโอกาสใส่เพชรนี้เพียงครั้งเดียวก่อนจะป่วยตายด้วยโรคระบาด คนรักของพระองค์ที่ได้รับเพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญก็ถูกขับออกจากราชสำนักใน ภายหลังเนื่องจากวางแผนจะวางยาพิษราชินี

    เคราะห์กรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารีอังตัวเน็ตนั้นมีชื่อเสียงเกินพอจนไม่มีอะไรจะให้พูดถึง และมีการกล่าวว่าเจ้าหญิงซึ่งเคยยืมเพชรเม็ดนี้จากพระนางมารีอังตัวเน็ตมา ใส่บ่อยๆก็ถูกประชาชนรุมฆ่าตายอย่างทารุณหลังจากที่เพชรเม็ดนี้ได้ตกทอดมาสู่พระนางแมรี่ อังตัวเนตต์(Marrie Antoinette) และได้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ขึ้น เพชรเม็ดนี้ได้สูญหายไป

  • ค.ศ.1830 เฮนรี่ ฟิลิป โฮป (Henry Philip Hope) ได้ซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้
    และหลังจากนั้นเขาก็ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1839 ตอนนี้เองที่เพชรถูกตั้งชื่อตามเจ้าของว่าโฮปไดอามอนด์ หรือเดอะโฮป เพชรถูกทำเป็นเข็มกลัด และตกทอดผ่านลูกหลานตระกูลโฮปไปอีกหลายรุ่นจนกระทั่งตกเป็นของฟรานซิส โฮปซึ่งแต่งงานกับนักแสดงสาวชาวอเมริกัน เมย์ โยฮ์ในปี 1894

    มย์กล่าวว่าเธอใส่โฮปไดอามอนด์ออกงานบ่อยๆ และมีการทำของเลียนแบบอย่างแนบเนียนขึ้นด้วย แต่ฟรานซิสปฏิเสธข้อเท็จจริงนี้

    * ภายหลังเมย์หย่ากับฟรานซิสและใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นไปจนเสียชีวิต เธอกล่าวว่าเคราะห์ร้ายของตัวเองเป็นเพราะโฮปไดอามอนด์ แต่ในความจริงแล้ว ตระกูลโฮปหลายคนเกี่ยวข้องกับเพชรเม็ดนี้และไม่ปรากฏว่ามีใครเคราะห์ร้ายแต่ อย่างไร

  • ค.ศ. 1906 เพชรเม็ดดังกล่าวได้ผ่านจากมือ ของบุคคลผู้เป็นสมาชิกในครอบครัวของตระกูล โฮป ไปอยู่ในมือของ จาคส์ เซลอท ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเพชรชาวเปอร์เซีย ซึ่งต่อมาเคาได้ทำอัตตวินิบาตกรรมตัวเองเจ้าของคนถัดมาคือ เจ้าชายคานิตอฟสกี แห่งรัสเซีย ทรงซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้ และมอบให้แก่นางสนมชาวฝรั่งเศส เพื่อใส่ไปแสดงละครที่ฟัวเยร์เบอร์เกร์

"แต่ขณะที่เธอกำลังแสดงอยู่นั้นเจ้าชายก็ทรงปลิดชีพเธอด้วยอาวุธปืน และอีกสองวันต่อมาพระองค์ก็ถูกปลงพระชนม์โดยผู้ปฏิวัติชาวรัสเซีย"

หลังจากที่เจ้าชายได้ถูกผู้ปฏิวัติชาวรัสเซียปลงพระชนม์แล้ว “เพชรโฮป” ก็ได้ตกไปอยู่ในมือของชาวอียิปต์

และด้วยอาถรรพ์ของเพชรเม็ดนี้ หรืออะไรมิทราบได้ ชาวอียิปต์และครอบครัวของเขาได้จมน้ำตายทั้งครอบครัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือสำราญชนกันที่สิงคโปร์

  • ถัดมาเป็นนายหน้าเขาได้นำเพชรโฮปนี้ไปขายให้แก่สุลต่านชาวตุรกี และก็ไม่วายต้องประสบพบชะตากรรมเช่นเดียวกับเจ้าของคนก่อนๆ เขาและครอบครัวเสียชีวิต จากอุบัติเหตุรถยนต์ตกหน้าผา

  • หลังจากที่เพชรโฮปได้มาอยู่ในมือของสุลต่านของตุรกี ท่านได้ทรงมอบเพชรเม็ดนั้นให้แก่พระสนม ทุกอย่างเป็นไปด้วยความสงบ จนกระทั่งมีการทำรัฐประหารเกิดขึ้น ขณะที่ความวุ่นวายกำลังเกิดขึ้นนั้นเอง พระสนมได้ถูกกระสุนปืนที่พลาดมา จนถึงแก่ความตาย ส่วนสุลต่านได้ถูกเนรเทศและขันทีผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเพชรเม็ดดังกล่าวก็ถูกจับแขวนคอ

  • ค.ศ.1911 บริษัทคาร์เทียได้รับซื้อเพชรโฮปเม็ดนี้ไว้ แล้วนำไปขายต่อให้กับครอบครัวแมคลีน (McLean)


  • ค.ศ.1947 แมคลีนเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 61 ปี หลานของเธอเป็นผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ของเพชรต่อ
    * ตำนานกล่าวว่าแม่ของแมคลีนเสียชีวิตหลังจากซื้อเพชรมาได้ไม่นานนัก ในไม่ช้าคนใช้ 2 คนก็เสียชีวิต ตามด้วยลูกชายวัย 10 ปีของเธออีกคน หลังเหตุการณ์นี้ เอวาลินหย่าจากเอ็ดวาร์ด ซึ่งตัวเอ็ดวาร์ดเอง หลังจากป่วยมีอาการทางจิตก็เข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตที่นั่น ลูกสาวเพียงคนเดียวของเอวาลีนตายเนื่องจากทานยานอนหลับเกินขนาด เอวาลีนพยายามแก้เคล็ดด้วยการไปอธิษฐานในโบสถ์ แต่ก็ไม่เป็นผลและต้องเสียครอบครัวทั้งหมดไป (ในความเป็นจริง ยังมีหลานอยู่รับกรรมสิทธิ์ต่อ)

  • ค.ศ.1949-1958 แฮรี่ วินสตัน(Harry Winston) ซึ่งเป็นพ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ค ได้ซื้อเพชรโฮปและมอบให้แก่สถาบันสมิธโซเนียน(Smithsonian Institute) ในกรุงวอชืงตัน ดีซี ซึ่งดูเหมือนว่าคำสาปแช่งจะยุติอยู่เพียงแค่นั้น อย่างไรก็ตามในท่ามกลางจดหมายนับพันๆฉบับ ที่ส่งมาขอบคุณในการบริจาคของเขาครั้งนั้น มีอยู่ฉบับหนึ่งที่วิงวอนให้ แฮรี่ วินสตัน เอาเพชรเม็ดนั้นกลับคืนไปโดยกล่าวว่า
    “ประเทศชาติกำลังจะแหลกไม่มีชิ้นดียู่แล้ว นับตั้งแต่วันที่เพชรเม็ดนี้มาถึงสถาบันสมิธโซเนียน”

ปัจจุบัน เพชรโฮป ได้กลายมาเป็นของโชว์ชิ้นเรียกแขกอยู่ที่ พิพิทธภัณท์สมิธโซเนียน ถ้าใครได้มีโอกาสไปวอชิงตัน ดีซี ก็อย่าลืมแวะไปชมนะครับ


ข้อมูลเพชรโฮป (Hope Diamond)

น้ำหนัก45.52 กะรัต
ขนาดยาว 25.60mm, กว้าง 21.78mm, ลึก 12.00mm
การเจียระไนรูปหมอน เหลี่ยมเกสร ขอบเจียระไน และมีเหลี่ยมแทรกส่วนที่ฐานเพชร
ความใสสะอาดVS1. มีร่องรอยการเจริญเตอบโต ของผลึก
สีน้ำเงินแกมเทา (Fancy dark Grayish-Blue)

I Love Ploy.Com



1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss