1
2

Why We Buy ? เจาะใจผู้บริโภค ต่อยอด อีเวนท์



Money$marts - Paco Underhill Feature


Why We Buy ?
เจาะใจผู้บริโภค ต่อยอด อีเวนท์
อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จับมือกับนักวิจัยการตลาดระดับโลกอย่าง “Paco Underhill”ตั้งบริษัทร่วมทุน Envirosell Thailand แกะรอยนักช้อป


การนำงานวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค มาแก้ไขปัญหาธุรกิจผ่านกิจกรรมทางการตลาด (อีเวนท์) คือหลักการทำงานของ
บริษัทร่วมทุนที่เพิ่งตั้งขึ้น โดยมี อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ถือหุ้นใหญ่ 60% ร่วมกับบริษัทวิจัยระดับโลกอย่างเอ็นเวอร์โรเซล

เกรียงไกร กาญจนะโภคิน , Paco Underhill,สรินพร จิวานันต์
ภายใต้ชื่อบริษัท Envirosell Thailand (เอ็นเวอร์โรเซล ไทยแลนด์) “เกรียงไกร กาญจนะโภคิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) เปิดมุมคิดสะท้อนการทำธุรกิจของอินเด็กซ์ฯ ที่หวังจะต่อยอดธุรกิจอีเวนท์ โดยมีงานวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค (ที่น่าเชื่อถือในระดับโลก) รองรับ

นอกจากจะทำให้อินเด็กซ์ฯ สามารถขยายธุรกิจอีเวนท์ในประเทศได้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังจะกลายเป็นโอกาสที่จะรุกธุรกิจอีเวนท์ในต่างแดนด้วยสปีดที่เร็วขึ้น โดยมีแบรนด์วิจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภคในระดับโลกหนุนหลัง ในทางกลับกันศาสดาแห่งศาสตร์นักช้อป อย่าง Paco Underhill ยังสามารถต่อยอดธุรกิจที่ปรึกษางานวิจัยในประเทศไทย แบบจับคู่ไปกับอินเด็กซ์ฯ

เรียกว่า..งานนี้ "win-win" ด้วยกันทั้งหมด

บริษัทแห่งนี้ยังมีตั้งเป้าจะไต่ดันอันดับ TOP 5 บริษัทชั้นนำด้านการวิจัยในเมืองไทยภายใน 5 ปีจากนี้ ด้วยรายได้ปีละ 50 ล้านบาท

“อินเด็กซ์ฯ คิดว่าเรามีจุดแข็งเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ถ้าได้ร่วมงานกับบริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Envirosell ที่มีจุดเด่นเรื่องการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง และมีอยู่สาขาทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น นิวยอร์ก โตเกียว มิลาน มอสโก เม็กซิโก และเซาเปาโล ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อธุรกิจของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการต่อยอดมายังธุรกิจอีเวนท์ของอินเด็กซ์ฯ เช่น บริษัทนี้ต้องการข้อมูลการตลาด พอทราบข้อมูลแล้วก็อยากจะจัดกิจกรรมอีเวนท์ต่อก็ใช้บริการเราได้ทันที”

เกรียงไกรยังเล่าว่า ปัจจุบันงานวิจัยตลาดการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค (Shopper In Store) ถือเป็นเทรนด์ธุรกิจที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ โดยในเมืองไทยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 30 ล้านบาท เพราะผู้ประกอบการมักจะต้องการจะล่วงรู้และรู้เข้าไปถึงพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าที่เปลี่ยนไปในทุกปีเพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการเพื่อเพิ่มยอดขาย

ปัจจุบันยังมีบริษัทข้ามชาติไม่น้อยที่เข้ามาเปิดยูนิตการทำงานด้านนี้ในไทย เช่น Leo Burnett และ Arc ที่เปิด Shopper Marketing Focus ในปี 2552 หรือ LOWE ที่เปิด Retail Activation Network ล่าสุด Y&R ยังเปิด Y&Retail ในปีนี้ แต่เนื่องจากข้อมูลในลักษณะนี้ในไทยยังมีน้อย จึงถือเป็นโอกาสธุรกิจของอินเด็กซ์ฯ ที่จะอาศัยความเป็นมืออาชีพของ Envirosell กว่า 30 ปี ที่ดูแลลูกค้ากว่า 160 บริษัท จาก 26 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้เป็นบริษัทที่มาเปิดสาขาในไทย

“จากจุดเด่นของ Envirosell ในเฝ้าสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค หรือ Observational Research ผสมผสานกับการทำงานจากความคิดสร้างสรรค์ของอินเด็กซ์ฯ ผมเชื่อว่า บริษัท Envirosell Thailand จะช่วยปูพื้นฐานสร้างแนวความคิดด้านพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้นในเมืองไทย”

ด้าน Paco Underhill ประธานผู้ก่อตั้งบริษัทเอ็นเวอร์โรเซล กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มของตลาดธุรกิจค้าปลีกในเมืองไทยที่มีการแข่งขันสูง ทั้งในแง่ของตัวสินค้า และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงถือเป็นโอกาสของธุรกิจวิจัยการตลาดเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคคนไทย สำหรับ Envirosell การเข้ามาทำธุรกิจนี้ในไทย ยังถือเป็นการเปิดประตูธุรกิจสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขายังยกตัวอย่างเนื้อหาในหนังสือ “Why We Buy : The Science of Shopping (ศาสตร์แห่งการชอปปิง)” ซึ่งเป็นหนังสือขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาติดต่อกันกว่าทศวรรษ และยังเป็นหนึ่งในหลายคัมภีร์ที่นักการตลาดนำไปใช้อ้างอิงในการแปลงงานวิจัยการตลาดเป็นไอเดียธุรกิจ ว่า

นักการตลาดที่ดีต้องรู้จักความสำคัญของการเฝ้าสังเกตให้เห็นโอกาส และทำความเข้าใจกับสิ่งที่มีอยู่อย่างลึกซึ้ง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่เราคิดว่าดีอยู่แล้ว ว่ามีความผิดพลาดใดๆ ซ่อนอยู่หรือไม่ เพราะการสังเกตเห็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หรือการเปลี่ยนแปลงเพียงนิดน้อย อาจจะส่งผลดีต่อสินค้าอย่างมโหฬารก็เป็นได้

หนึ่งในศาสตร์แห่งการชอปปิงที่เขาค้นพบ คือ
นักชอปปิงมักจะรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องเลือกซื้อสินค้าในพื้นที่จำกัด อยู่ในที่คับแคบมากเกินไป หรือเมื่อเวลาถูกเบียดมาจากด้านหลัง แม้ว่าสินค้าจะวางอยู่ในโลเคชันที่ดีที่สุดของห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ต แต่หากมีคนเดินพลุกพล่านมากจนเกินไปยอดขายของสินค้านั้นจะทำเงินได้ไม่ดีเท่าที่ควร

หลังการค้นพบ Paco ได้แนะนำให้ซูเปอร์มาร์เก็ต ย้ายสินค้านั้นไปวางยังตำแหน่งที่ห่างจากช่องทางเดินหลัก ถึงแม้ความถี่ของการแวะชมสินค้าจะลดลง แต่อัตราการซื้อกลับเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

หรือ การค้นพบปัญหาเรื่อง “มือไม่ว่าง”
เพราะสิ่งที่อยู่ในมือของบรรดานักช้อปทั้งหลายจะมีทั้งโทรศัพท์มือถือ กระเป๋าถือ กระเป๋าเอกสาร หรือแม้แต่แก้วกาแฟ เป็นต้น เพราะนั่นเป็นวิถีชีวิตของคนยุคนี้ ผู้ขายสินค้าจึงควรสร้างอุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อให้มือของนักช้อปเป็นอิสระ เช่น การออกแบบตะกร้ารถเข็นให้มีที่สำหรับวางแก้วน้ำ หรือตะกร้ารถเข็นเด็กที่มีช่องนิรภัยสำหรับใส่กระเป๋าถือเพราะจะทำให้นักช้อปมีมือว่างในการสัมผัส ทดลอง ชิม ฯลฯ ก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้า

Paco บอกว่าการค้นพบเรื่องนี้ของเขา แม้จะเป็นเหมือนเส้นผมบังภูเขา แต่ก็ทำให้หนึ่งในดีพาร์ตเมนท์สโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ มียอดขายเพิ่มขึ้น

โดยวิธีวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคจะเริ่มจากการส่งบุคลากรไปติดตามดูพฤติกรรมการชอปปิงของผู้บริโภค การสัมภาษณ์ผู้บริโภค และการถ่ายวีดิโอ ณ จุดขาย ก่อนจะนำมาศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้า แปลงมาเป็นไอเดียการตลาด เพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้สินค้าและแบรนด์ต่างๆ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุด
http://bit.ly/pt3nn1





1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss