แสดงธรรมแด่ปัญจวัคคีย์สมณะไม่ควรค่องแวะที่สุดสองอย่างคือ หมุกมุ่นในกามสุข และทรมานตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์ ทางสายกลาง ต่างหากที่ควรดำเนิน ขอให้พระองค์ทรงตรัสให้ชัดเจน ตถาคตได้เห็นแจ้งเป็นอริยสัจ ๔ เป็นขั้นตอนแห่งการดับทุกข์ การเกิด แก่ เจ็บตายของสังขาร ทำให้เกิดทุกข์
ในขณะที่การรับรู้เกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และจิต ปรุงแต่งทำให้เกิด รัก โลภ โกรธ และหลง สิ่งเหล่านี้ล้วนนำมาซึ่งทุกข์
เมื่อไม่ต้องการมีทุกข์ ต้องละเหตุแห่งการเกิดทุกข์ คือสมุทัย เมื่อละเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์แล้ว ต้องดับที่เหตุแห่งทุกข์นั่นคือนิโรจน์ เมื่อรู้ว่านี้คือทุกข์ นี้คือเหตุแห่งทุกข์ นี้คือความดับทุกข์แล้ว ต้องรู้ถึงข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ นั่นคือมรรค อันประกอบด้วย เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตชอบ สรุปรวมมรรคนี้องค์ ๘ นั้นคือ ศีล สมาธิ และปัญญา
นิทานเซน : อาจารย์เซนละลายเกลือ 《禅师化盐》
ยังมีศิษย์เซนผู้หนึ่ง เกิดความสงสัยเกี่ยวกับวิถีการบรรลุธรรม จึงได้มาสอบถามอาจารย์เซนว่า
"ท่านอาจารย์ ศิษย์หมั่นนั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ภาวนามิเคยขาด นอนแต่หัวค่ำ ตื่นแต่เช้ามืด สำรวมจิตใจไม่คิดฟุ้งซ่าน ในบรรดาศิษย์ของท่าน นับว่าตัวข้าขยันหมั่นเพียรที่สุด แต่เหตุใดศิษย์ยังไม่สามารถรู้แจ้งได้เสียที?"
อาจารย์เซนจึงหยิบขวดน้ำเต้าใบหนึ่งออกมา จากนั้นนำเกลือหยาบมาหยิบมือหนึ่ง ส่งให้ศิษย์ผู้นั้นพลางกล่าวว่า
"เจ้าจงนำน้ำใส่ลงไปในขวดน้ำเต้าให้เต็มก่อน จากนั้นนำเกลือหยาบนี้ใส่ลงไปให้ละลายในขวดน้ำเต้าให้หมด หากทำได้ เจ้าจะสามารถรู้แจ้ง"
เมื่อได้รับคำแนะนำ ศิษย์เซนรีบปฏิบัติตาม แต่เวลาผ่านไปไม่นานนัก ก็วิ่งกลับมาหาอาจารย์เซน พร้อมทั้งเอ่ยด้วยความเศร้า ว่า
"ศิษย์พยายามคนให้เกลือละลายในน้ำ แต่ไม่สะดวกเพราะปากน้ำเต้าเล็กเกินไป ส่วนเม็ดเกลือก็มีมากเกินไป คนอย่างไรก็ไม่ละลาย เกรงว่าชาตินี้ศิษย์จะไม่ สามารถรู้แจ้ง"
อาจารย์เซนรับขวดน้ำเต้าในมือศิษย์มาเทน้ำออกบางส่วน แล้วเขย่าขวดไปมา เพียงไม่กี่ครั้งเม็ดเกลือในน้ำเต้าก็ละลายหมดสิ้น จากนั้นอาจารย์เซนจึงกล่าวด้วยความเมตตาว่า
"เพียรพยายามตั้งแต่เช้าจรดเย็น ไม่เหลือเวลารักษาจิตปกติเอาไว้บ้าง ก็ไม่ต่างจากขวดน้ำเต้าที่ใส่น้ำจนเต็มไร้พื้นที่ว่าง ไม่อาจเขย่าและไม่สามารถทำละลายสิ่งใดได้...ทำอย่างไรจึงละลายเกลือได้ ทำอย่างนั้นก็จะสามารถรู้แจ้งได้เช่นกัน"
"แปลว่า ต้องไม่ขยัน ทำตัวเรื่อยๆ เฉื่อยๆ จึงจะสามารถรู้แจ้ง เช่นนั้นหรือ?" ศิษย์ยังคงไม่เข้าใจ
ภาพเขียน พิณ คงโหว แบบโบราณ "อันว่าสายพิณนั้น หากตึงเกินไปก็อาจขาด หากหย่อนเกินไปก็ไม่อาจดีดให้เกิดเสียงเพลง เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรม ทางสายกลาง และจิตปกติคือวิถีแห่งการบรรลุธรรมที่แท้จริง" อาจารย์เซนกล่าว
ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4 http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000087600 http://swhappinessss.blogspot.com
|