สายตาเธอไล่ดูไปเห็นเว็บหนึ่งรายงานข่าวว่า สตีฟ เออร์วิน พิธีกรโทรทัศน์ชื่อดังของออสเตรเลีย ในชื่อ “นักล่าจรเข้” (Crocodile Hunter) เสียชีวิตแล้ว จากอุบัติเหตุถูกปลากระเบนแทงด้วยเงี่ยงพิษ
พออ่านแล้วยิ่งเกิดความกลัว เลยรีบคลิกเข้าไปดูรายละเอียด พบว่า ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางทะเลให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาไว้มากมายว่า เมื่อโดนกระเบนฟาดหางต้องทำอย่างไร เธอตัดสินใจโทรไปหาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่พอดีช่วงนั้น ดร.ธรณ์ ไปสัมนาต่างประเทศยังไม่กลับ ปลายสายบอกว่าจะกลับวันพรุ่งนี้
วันรุ่งขึ้นเธอโทรไปอีก เสียงตอบกลับมากว่า ดร.ธรณ์จะเข้ามาช่วงเย็นๆ โชคดีที่คนที่รับสาย เป็นอาจารย์ภาควิชาทางทะเลเหมือนกันเธอจึงเล่าให้ฟังว่า ขาบวมมาก เพราะโดนปลากระเบนแทง ขอให้ช่วยแนะนำว่าควรไปรักษาที่ไหนดี อาจารย์จึงแนะนำให้โทรไปที่กระทรวงสาธารณสุข ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่ง พร้อมกับให้เบอร์
"โชคดีจริงๆ คนที่รับสายเขามีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือด้วย เขาให้เจ้าหน้าที่ที่กองระบาดวิทยาชื่อ แสงโฉม ช่วยติดต่อหมอให้แล้วโทรกลับมาบอกว่า ให้โทรไปหานาวาเอกธนษวัฒน์ ชัยกุล หัวหน้ากองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน เป็นหมอที่โรงพยาบาลทหารเรือ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลใต้น้ำ"
หลังจากที่เธอได้โทรคุยกับหมอ และขอให้เธอมาพบที่โรงพยาบาลดูแผล พร้อมกับเอายาที่กำลังรับประทานอยู่มาให้ดูด้วย
"ตอนนั้นขาบวมมากเหมือนกับว่าจะเป็นหนอง เหมือนไม่ใช่ขาคน พอหมอเห็นยาเขาบอกว่า คุณทานยานี้ไม่ได้หรอกต้องกินยาฆ่าเชื้อที่แรงกว่านี้ เพราะยาที่กินอยู่เป็นยารักษาอาการอักเสบทั่วไป ไม่ใช่ ยาฆ่าเชื้อที่เกิดจากพิษสัตว์ทะเล "
หมอผู้เชี่ยวชาญจึงเปลี่ยนยาใหม่ หลังกินได้ 2 วัน อาการบวมลดลง ต่อจากนั้นฝนก็หิ้วยาที่หมอทหารเรือไปให้หมอที่โรงพยาบาลเอกชนดู เพราะอยู่ใกล้บ้านเธอ หมอไม่ได้ว่าอะไร เพียงแต่บอกว่า ยามันแรง ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ทำให้หมอที่โรงพยาบาลเอกชนไม่กล้าให้เพราะไม่มีประสบการณ์จึงไม่กล้าให้ยาแรงแบบนี้
อะไรอยู่ในขา
ความทรมานของฝนไม่ได้จบลงเพียงเท่านี้ จากนั้นไม่นานแผลเริ่มอักเสบเหมือนจะมีหนองภายใน หมอที่รักษาตัดสินใจระเบิดแผลเพื่อดูว่ามีเงี่ยงปลากระเบนอยู่หรือเปล่า ด้วยการฉีดยาชาแล้วผ่าตัด แต่ไม่พบเงี่ยงปลากระเบน มีแต่หนองกับเนื้อตาย ซึ่งเกิดจากวิธีการรักษาแบบชาวบ้านที่อยู่บนเกาะ
หมอทหารเรือบอกว่า อาจเกิดจากการไปอังไฟ ไม่ใช่เกิดจากการเอาขาไปแช่น้ำร้อน เพราะถ้าเกิดจากการแช่น้ำร้อนเนื้อตายต้องเป็นทั้งขา แต่นี่เป็นเฉพาะบางส่วน จากนั้นส่งตัวให้หมอที่โรงพยาบาลเอกชนผ่าตัดเนื้อตายออกถึง 2 ครั้งทำให้บาดแผลมีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มิลลิเมตร กลายเป็นบาดแผลยาว 5 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ลึกครึ่งนิ้ว
จากประสบการณ์ ฝนแนะว่า สำหรับคนโดนปลากระเบนแทงวิธีการปฐมพยาบาลที่ดีที่สุดก็คือ ควรเอาขาไปแช่ที่น้ำอุ่น โดยก่อนแช่ควรเอาขาข้างที่ปกติทดสอบดูก่อนว่าเรารับอุณหภูมิและสภาพได้ไหม แล้วค่อยเอาขาที่มีปัญหาแช่ไว้ประมาณ 30 นาที
"ขอย้ำนะว่า ไม่ใช่น้ำร้อนเป็นน้ำอุ่น พอแช่เสร็จควรที่ไปหาหมอ ไม่ใช่เอาขาไปอังควันไฟเพราะทำให้เกิดเนื้อตาย และเชื้อโรคเข้าไปด้วย ยิ่งทำแบบทูอินวันเหมือนฝนจะหายยาก (หัวเราะอีก) หรืออีกวิธีหนึ่งที่หมอแนะนำก็คือให้เอาไดร์เป่าผมไปด้วย ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ให้ใช้ไดร์เป่าผมเป่าเพื่อให้ความร้อนมันละลายโปรตีนที่เป็นพิษของปลากระเบนออกมา "
อีกเรื่องหนึ่งที่เธอบอกคือ ถ้าเกิดปัญหาอะไรที่หาทางแก้ไม่ได้ อินเทอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลมากมาย ยิ่งถ้าเป็นเคสที่ไม่ใช่โรคปกติ ทั่วไป หมอบางคนที่ไม่มีความชำนาญหรือประสบการณ์โดยตรง คงเป็นเรื่องปกติที่จะไม่รู้ และรักษาไปตามอาการเท่านั้น
"เราไม่ได้โทษคุณหมอ แต่ตัวเราเองก็ต้องพยายามขนขวายช่วยตัวเองด้วย กรณีที่เป็นเคสอะไรที่ผิดปกติก็ลองโทรไปที่กระทรวงสาธารณสุข น่าจะโอเค เพราะเป็นแหล่งที่เขาจะให้ข้อมูลอะไรที่ช่วยเหลือเราได้ " หญิงสาวกล่าวก่อนขอตัวไปรักษาแผลเป็นต่อ
Google คือ ช่องทางนำไปสู่การรักษาก็จริง แต่ถ้าขาดตัวหล่อลื่นระหว่างทางอย่าง "น้ำใจ" กระบวนการรักษาก็อาจจะไม่ลุล่วง
รวมมิตร ปลามีพิษ
อันตรายจากปลากระเบน
ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา กระทรวงสาธารณสุขระบุถึง ปลากระเบน ว่าเป็นปลาทะเลที่มีพิษชนิดหนึ่งพบได้ในน่านน้ำไทย โดยธรรมชาติปลากระเบนไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว อันตรายที่มักเกิดจากการเหยียบปลากระเบนที่ฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย หรือทรายปนโคลน
รูปร่างของหนามปลากระเบนแบบต่าง ๆ
ภาพตัดขวางของหนวดปลากระเบน แสดงเซลล์สร้างพิษหรือต่อมพิษ
ผู้ที่ถูกหนามหรือเงี่ยงปลากระเบน แผลมีลักษณะคล้ายแผลมีดบาด การที่เงี่ยงปลากระเบนมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย เมื่อชักเงี่ยงออกจากบาดแผลทำให้แผลฉีกมากขึ้น หลังถูกตำจะมีอาการปวดเป็นระยะๆ ต่อมาแผลจะอักเสบ บวม
นอกจากปลากระเบนแล้ว ปักเป้า เป็นปลาอีกชนิดที่มีพิษ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้จากการรับประทานเนื้อปักเป้า มักอาศัยอยู่ตามท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลน ชาวประมงจับติดมากับอวนลากเป็นประจำ ปลาปักเป้าชนิดที่มีรายงานว่าเป็นพิษต่อผู้บริโภคและพบในน่านน้ำไทย ได้แก่ ปลาปักเป้าลาย ปักเป้าดำ เป็นต้น
ปลาปักเป้า (Family Tetrodontidae) (ก).
และ ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Family Diodontidae (ข))
พิษปักเป้ามีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อไม่ทำงาน เกิดอาการอัมพาต ในกรณีที่ได้รับพิษจำนวนมากทำให้ระบบประสาทส่วนกลางไม่สามารถควบคุมการหายใจและการเต้นของหัวใจจนเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้
ปลากดทะเล (Family Tachysuridae)
ปลาดุกทะเล (Family Plotosidae)
ยังมี ปลากดทะเล เป็นปลามีพิษคล้ายกระเบน ลำตัวมีเมือกลื่น ไม่มีเกล็ด อันตรายจากปลากลุ่มนี้เกิดจากไปสัมผัสโดนก้านครีบแข็งบริเวณครีบหลังและครีบอก โดยเฉพาะขณะจับปลาเพื่อปลดออกจากเครื่องมือประมง เช่น เบ็ด แห หรืออวน, หรืออาจเกิดจากการไปเหยียบถูก เนื่องจากทั้งปลาดุกและปลากดทะเลเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามหน้าดิน และอาจมาหากินตามที่น้ำตื้นหรือปากแม่น้ำ
ลักษณะก้านครีบแข็งและต่อมพิษของปลากดทะเล
พิษของปลากลุ่มนี้มีผลคล้ายกับพิษของปลากระเบน เมื่อถูกตำจะเจ็บปวดทันที ปลาขนาดเล็กมีผลทำให้เจ็บปวดนานประมาณ 30 - 60 นาที ส่วนปลาขนาดใหญ่อาจมีผลทำให้เจ็บปวดนานถึง 48 ชั่วโมง และบาดแผลบวมอักเสบ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20100706/341426/พระเจ้า-Google...ช่วยชีวิต.html