เท่านั้นเจ้าค่ะ
หลังจากโสกัณฑ์แล้ว ก็จะเสด็จไปถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ถวายสบงและเครื่องไทยทาน แล้วจึงเสด็จไปสรงน้ำที่เขาไกรลาส มีเสนาบดี 4 คน ที่รับสมมติเป็นท้าวจตุโลกบาล เดินเคียงพระเสลี่ยงไปสรงน้ำ ณ พระแท่นสรง เชิงเขาไกรลาส เชิงเขาทำเป็นสระอโนดาตน้อยๆ พราหมณ์ถวายน้ำกลศ น้ำสังข์ แล้วจึงเสด็จเข้าไปในพลับพลาเปลื้องเครื่องทรง ผลัดพระภูษา แล้วเสด็จขึ้นบนยอดเขา เฝ้าพระอิศวร พระอิศวรจะเสด็จลงมารับถึงกลางบันใดนาคขึ้นไปถึงชั้นพระแท่น เมื่อพระอิศวรประทานพรแล้ว พระเจ้าลูกเธอฯ เสด็จกลับลงไปด้านทิศตะวันออก แล้วเวียนรอบเขาไกรลาสจากซ้ายไปขวา 3 รอบ แล้วเสด็จกลับเข้าในพระราชวังตามทางที่แห่มา ในตอนบ่ายจะประกอบพิธีเวียนเทียนสมโภช ซึ่งส่วนมากจะสมโภช ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน แต่บางครั้งก็สมโภช ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมื่อสมโภชเสร็จ ก็เป็นอันเสร็จพิธี วันรุ่งขึ้นก็อัญเชิญพระเกศาไปลอยแม่น้ำ เป็นอันเสร็จพิธีโสกัณฑ์อย่างใหญ่ เจ้าค่ะ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ในเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์
สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
ในเครื่องทรงในพระราชพิธีโสกันต์
ผู้ใหญ่ช่วยแต่งกายให้เด็กที่เข้าพิธีโกนจุก
ในภาพเป็นเกศากันต์ของพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงฯ

"สี่แผ่นดิน" เล่าถึงงานโกนจุกของพลอย
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์บรรยายการแต่งกายในงานโกนจุกไว้ว่า
"เกี้ยวทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยแวววาม ผ้ายกทองสีสด มีนวมสวมรอบคอ ตรึงเครื่องเพชรต่างๆเข้ากับนวม
มีแหวน สายสร้อย จี้ และของอื่นๆอีกเป็นอันมาก"
ภาพที่นำมาลงนี้เป็นเด็กหญิงในชุดโกนจุก
ถ่ายเมื่อพ.ศ. 2339 ประมาณ 3-4 ปีหลังจากพลอย
เป็นเครื่องแต่งกายแบบเดียวกัน
พิธีโกนจุก
เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ยังมีจัดกันอยู่ในปัจจุบัน และเด็กหญิงจะไว้จุกเด็กชายจะไว้เปียอยู่ ถือเป็นลักษณะเด่นของชุมชนนั้นได้ เมื่อเด็กมีอายุย่างเข้าเขตวัยหนุ่มและสาว ( ชาย ๑๓ ปี หญิง ๑๑ ปี ) ตามความนิยมของอินเดียจึงมีพิธีการเพื่อบอกกล่าวแก่ญาติและเพื่อนฝูงอีกครั้งหนึ่ง คือ การโกนจุก
ขั้นตอนทั่วไปของพิธีโกนจุก
การโกนจุกนี้ มักจะหาโอกาสทำรวมกับพิธีมงคล เช่น