1
2

"แผ่นดินไหว" หลบยังไงให้ปลอดภัย "สามเหลี่ยมชีวิต" 'TRIANGLE OF LIFE'




Part 1 แผ่นดินไหวที่พม่า กระทบไทย?


Part 2 แผ่นดินไหวที่พม่า กระทบไทย?


Part 3 แผ่นดินไหวที่พม่า กระทบไทย?



"แผ่นดินไหว" หลบยังไงให้ปลอดภัย

ภาพสาธิตวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
โดยให้ก้มต่ำ หาที่กำบังและยึดไว้ให้แน่น (getthru.govt.nz)


เมื่อเกิดภัยแผ่นดินไหว รู้หรือไม่การหนีขึ้นไปชั้นบนๆ ของตึกสูงถือว่าปลอดภัยสุดแม้ยิ่งสูงอาคารจะยิ่งแกว่ง ลิฟต์เป็นสิ่งที่ต้องงดใช้ในทุกๆ กรณี แต่พื้นที่ใกล้ลิฟต์แข็งแรงสุด หาซอกมุมเหมาะเป็นที่กำบัง ระวังไฟดับ สปริงเกอร์ทำงานเป็นเหตุตามสถานการณ์ไม่ต้องตกใจ


ช่วงเวลา 20.55 น. ของวันที่ 24 มี.ค.54 เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า 6.7 ริกเตอร์ หลายจังหวัดในภาคเหนือไทยได้รับแรงสั่นสะเทือน โดยแรงสั่นสะเทือนมาไกลรู้สึกได้ถึงกรุงเทพฯ และอาจทำให้อาคารร้าวเล็กน้อย และไม่แน่ว่าอาจมีอาฟเตอร์ช็อคตามมา ซึ่งภัยแผ่นดินไหวเข้าใกล้ตัวแล้ว เราจะเตรียมรับมือกันอย่างไร หลังจากติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ขอหยิบการเตรียมความพร้อมและรับมือหากเกิดภัยแผ่นดินไหวจาก หนังสือ “อยู่กับภัยใกล้ตัว” ของสำนักป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ว่า นอกจากจะมีสติตั้งมั่นแล้ว จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

ชั้นบนของอาคารปลอดภัยสุด - งดใช้ลิฟต์
กรณีความสั่นสะเทือนมากให้ปิดสวิตช์ไฟหลักและปิดถังแก๊ส ให้มุดใต้โต๊ะ เก้าอี้ พิงผนังด้านใน แล้วอยู่นิ่งๆ หากไม่มีโต๊ะ ใช้แขนปิดหน้า ปิดศีรษะ หมอบตรงมุมห้อง อยู่ให้ห่างกระจก หน้าต่าง และเลี่ยงบริเวณที่สิ่งของหล่นใส่หรือล้มทับ เช่น โคมไฟ ตู้ หากยังนอนอยู่ ให้อยู่บนเตียง ใช้หมอนปิดบังศีรษะ หลีกเลี่ยงบริเวณที่อาจมีสิ่งของหล่นใส่ อยู่บริเวณที่ปลอดภัย

ใช้ช่องประตูเป็นที่หลบภัยถ้าอยู่ใกล้ ให้อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุด จึงออกไปภายนอกบริเวณที่ปลอดภัย เพราะอันตรายส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งของหล่นใส่ และต้องคาดว่าหรือตระหนักเสมอว่า ไฟฟ้าอาจดับ หรือสปริงเกอร์อาจทำงาน หรือมีเสียงเตือนไฟไหม้

อย่างไรก็ดี อย่าใช้ลิฟต์ขณะมีการสั่นไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์แล้วไม่ทราบว่าอยู่ชั้นไหน ให้กดปุ่มแล้วออกจากลิฟต์ทันที บริเวณใกล้ลิฟต์จะเป็นส่วนที่แข็งแรงของอาคารเหมาะแก่การหลบและหมอบ

ทั้งนี้ อย่ากรูกันวิ่งออกมาหน้าอาคาร เมื่อการสั่นไหวหยุดแล้ว จึงทยอยออกนอกบริเวณที่คิดว่าปลอดภัย ชั้นบนสุดของอาคารเป็นที่ปลอดภัยที่หนึ่งแต่ความสั่นสะเทือนและการโยกจะมากกว่าชั้นที่ต่ำลงมา

ถ้าเกิดไฟใหม้ในช่วงแรกร่วมด้วยให้รีบดับไฟและให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายของอาคารหากปลอดภัยสามารถกลับเข้าในอาคารได้ และหากเป็นแผ่นดินไหวใหญ่ให้ระลึกเสมอว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวตามมา (After Shock) แต่มีขนาดเล็กกว่า

นอกอาคารที่โล่งแจ้งปลอดภัย
ให้อยู่ด้านนอกในที่โล่งแจ้งปลอดภัยที่สุด อยู่ให้ห่างจากอาคาร เสาไฟ สายไฟฟ้า ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งของที่อาจหล่นใส่

จอดรถที่โล่ง
ให้จอดรถเมื่อสามารถจอดได้โดยปลอดภัยและในที่ซึ่งไม่มีของหล่นใส่ อยู่ให้ห่างอาคาร ต้นไม้ ทางด่วน สะพานลอย เชิงเขา เป็นต้น

รีบนำเรือออกสู่ทะเลลึก
ความสั่นสะเทือนเนื่องจากแผ่นดินไหวไม่ทำอันตรายผู้อาศัยอยู่บนเรือ ยกเว้นในกรณีเกิดสึนามิ เรือที่อยู่ใกล้ชายฝั่งจะได้รับความเสียหายให้รีบนำเรือออกสู่ทะเลลึก

อยู่ในโรงงานห้ามใกล้สารเคมี-วัตถุระเบิด
เมื่อรู้สึกสั่นสะเทือน ให้ตั้งสติ อย่าตกใจวิ่งหนีออกนอกอาคาร ให้หมอบอยู่ใกล้เสา หรือเครื่องจักรที่แข็งแรง อยู่ให้ห่างเสาไฟฟ้า โคมไฟ สิ่งห้อยแขวน สิ่งของที่อาจล้มคว่ำ หรือ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ภาชนะที่เป็นสารเคมีอันตราย วัตถุระเบิด หรืออยู่ใกล้เครื่องจักรที่กำลังหมุนทำงาน มื่อความสั่นสะเทือนหยุด จึงเดินออกไปที่โล่งแจ้งและติดตามข่าวสารจากทางราชการและตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น

ติดในซากอาคารงดใช้เสียง อยู่นิ่งๆ
อย่าติดไฟ อยู่อย่างสงบ ใช้ผ้าปิดหน้า เคาะท่อ ฝาผนัง ใช้นกหวีด เพื่อเป็นสัญญาณต่อหน่วยช่วยชีวิต การตะโกนอาจสูดสิ่งอันตรายเข้าร่างกาย ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้กำลังใจต่อกัน

ภาพตัวอย่างการปฏิบัติตนขณะเกิดแผ่นดินไหว จากหนังสือ “อยู่กับภัยใกล้ตัว” ถ้าอยู่ในอาคารสูง อย่าวิ่งหนี เพราะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ พยายามหาที่กำบังศรีษะ ทั้งใช้โครงสร้างที่มั่นคง มุมตึก ใต้โต๊ะ ใต้เก้าอี้ หรืออยู่ในที่โล่งๆ ห้ามใช้ลิฟต์ (ภาพจากกรมอุตุฯ ญี่ปุ่น)


大愛新聞DaAiTV-新聞報導-生命三角避震-20100305.mp4
全球接連發生地震,尤其在高雄地震之後,不少人擔心,遇到地震到底應該怎麼避險?專家表示,遇到地震,一樓的民眾應該往外跑,但二樓以上建議先找安全的地點避難,但所謂的­安全空間在哪裡?對於地震救援非常有經驗的美國國際救援小組成員--道格‧庫普,以深入災區的經驗,並且在廢棄學校各角落,擺放人體模型,模擬地震摧毀建築物後的情況,發­現了所謂的生命三角



"สามเหลี่ยมชีวิต"
'TRIANGLE OF LIFE'
ผมชื่อ ดัก คอบบ์ เป็นหัวหน้าหน่วยกู้ภัยและผู้จัดการด้านพิบัติภัยของทีมกู้ภัยนานาชาติแห่งสหรัฐฯ ซึ่งเป็นทีมกู้ภัยที่มีประสบการณ์มากที่สุดในโลก ข้อมูลในบทความนี้จะช่วยชีวิตคนในกรณีแผ่นดินไหว ผมเคยคลานเข้าไปในตึกที่ถล่มมา 875 ตึก เคยทำงานกับหน่วยกู้ภัยจาก 60 ประเทศ ก่อตั้งหน่วยกู้ภัยในหลายประเทศและเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการอพยพผู้คนกรณีเกิดพิบัติภัยขององค์การ สหประชาชาติมา 2 ปี ผมได้ทำงานกับพิบัติภัยใหญ่ๆ ในโลกมาตั้งแต่ปี 1985

เมื่อปี 1996 เราได้ทำภาพยนตร์ขึ้นมาเรื่องหนึ่งซึ่งได้พิสูจน์ว่าวิธีการรักษาชีวิตของผมถูกต้อง เราได้ถล่มโรงเรียนและบ้านที่มีหุ่นมนุษย์ 20 ตัวอยู่ภายใน หุ่น 10 ตัว

"มุดและหาที่กำบัง" และอีกสิบตัวใช้วิธีการรักษาชีวิตแบบ "สามเหลี่ยมชีวิต" ของผม หลังจากแผ่นดินไหวทดลองเราคลานผ่านซากปรักหักพังและเข้าไปในตึกเพื่อถ่ายภาพและเก็บข้อมูลของผลที่เกิด ในภาพยนตร์แสดงให้เห็นว่าอัตราการอยู่รอดของพวกที่มุดและหาที่กำบังคือศูนย์และโอกาสรอด 100% สำหรับพวกที่ใช้วิธี "สามเหลี่ยมชีวิต"

ภาพยนตร์ชุดนี้ได้ผ่านสายตาของผู้ชมโทรทัศน์เป็นล้านๆ คนในตุรกีและส่วนที่เหลือของยุโรป เคยออกอากาศทางโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา คานาดา และลาตินอเมริกา ตึกแห่งแรกที่ผมได้คลานเข้าไปคือโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเม็กซิโกซิตี้ ในแผ่นดินไหวปี 1985 เด็กทุกคนอยู่ใต้โต๊ะเรียนเด็กทุกคนถูกอัดแบนจนกระดูกแหลกพวกเขาอาจจะมีชีวิตรอดด้วยการนอนราบกับพื้น ตรงบริเวณทางเดินข้างๆโต๊ะเรียนของตัวเอง ในเวลานั้น เด็กๆ ได้รับคำแนะนำให้หลบใต้อะไรบางอย่าง

อธิบายอย่างง่ายๆ เมื่อตึกถล่ม น้ำหนักของเพดานที่ตกลงมาบนสิ่งของหรือเครื่องเรือนที่อยู่ภายในจะทับทำลายสิ่งของเหล่านั้น เหลือที่ว่างหรือช่องว่างข้างๆมัน ที่ว่างเหล่านี้คือสิ่งที่ผมเรียกว่า

"สามเหลี่ยมชีวิต" สิ่งของชิ้นยิ่งใหญ่ ยิ่งแข็งแรง โอกาสถูกทับอัดยิ่งน้อย โอกาสที่สิ่งของถูกทับอัดยิ่งน้อย ช่องว่างก็จะยิ่งใหญ่ขึ้น โอกาสที่คนที่อาศัยช่องว่างเหล่านั้นหลบภัยจะไม่เป็นอันตรายก็ยิ่งมาก ครั้งต่อไปที่คุณดูอาคารที่ถล่มในโทรทัศน์ ลองนับ "สามเหลี่ยม"ที่เกิดขึ้นที่คุณเห็นดู มันมีอยู่เต็มไปหมดทุกที่ เป็นรูปทรงที่เห็นได้มากที่สุดอยู่ทั่วไป

สิบวิธีเพื่อความปลอดภัยยามแผ่นดินไหว

1) เกือบทุกคนที่ "มุดและหาที่กำบัง"
เมื่ออาคารถล่มถูกทับอัดจนตายคนที่เข้าไปอยู่ใต้สิ่งของ อาทิ โต๊ะหรือรถยนต์ถูกอัดทับ

2) แมว หมา และเด็กทารก โดยธรรมชาติมักจะขดตัวในท่าเหมือนอยู่ในครรภ์มารดา
คุณควรทำเช่นกันในกรณีแผ่นดินไหว มันเป็นสัญชาติญาณเพื่อความปลอดภัย/รักษาชีวิต คุณสามารถมีชีวิตรอดในช่องว่างที่เล็กกว่า ไปอยู่ข้างๆสิ่งของ ข้างเก้าอี้โซฟา ข้างของหนักๆ ชิ้นใหญ่ๆ ที่จะบี้แบนไปบ้างแต่ยัง เหลือที่ว่างข้างๆ มันไว้

3) อาคารไม้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ปลอดภัยที่สุดที่จะอยู่ภายในขณะแผ่นดินไหว
ไม้มีความยืดหยุ่นและเคลื่อน ตัวตามแรงของแผ่นดินไหว ถ้าอาคารไม้จะถล่มจะเกิดช่องว่างขนาดใหญ่เพื่อช่วยชีวิต และอาคารไม้ยังมีน้ำหนักทับทำลายที่เป็นอันตรายน้อยกว่าอาคารอิฐจะแตกพังเป็นก้อนอิฐมากมาย ก้อนอิฐเหล่านี้เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บแต่จะทับอัดร่างกายน้อยกว่าแผ่นคอนกรีต

4) หากคุณกำลังนอนอยู่บนเตียงตอนกลางคืนและเกิดแผ่นดินไหวเพียงกลิ้งลงจากเตียงช่องว่างที่ปลอดภัยจะเกิดรอบๆเตียง
โรงแรมจะสามารถเพิ่มอัตราผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหวได้ โดยเพียงติดป้ายหลังประตูในทุกห้องพักบอกให้ผู้เข้าพักนอนราบกับพื้นข้างๆ ขาเตียงระหว่างแผ่นดินไหว

5) หากมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นและคุณไม่สามารถหนี้ออกมาง่ายๆทางประตูหรือหน้าต่าง
ก็ให้นอนราบและ ขดตัวในท่าทารกในครรภ์ ข้างๆเก้าอี้โซฟาหรือเก้าอี้ตัวใหญ่ๆ

6) เกือบทุกคนที่อยู่ตรงช่องประตูตอนตึกถล่มไม่รอด เพราะอะไร?
หากคุณยืนอยู่ตรงช่องประตูและวง กบประตูล้มไปข้างหน้าหรือข้างหลัง คุณจะโดนเพดานด้านบนตกลงมาทับ หากวงกบประตูล้มออกด้านข้าง คุณจะถูกตัดเป็นสองท่อนโดยช่องประตู ไม่ว่ากรณีไหน คุณไม่รอดทั้งนั้น!

7) อย่าใช้บันไดเด็ดขาด บันไดมี "ช่วงการเคลื่อนตัว" ที่แตกต่างไป (บันไดจะมีการแกว่งแยกจากตัวอาคาร) บันไดและส่วนที่เหลือของตัวอาคารจะชนกระแทกกันอย่างต่อเนื่องจนเกิดปัญหากับโครงสร้างของบันได คนที่อยู่บนบันไดก่อนที่บันไดจะถล่มถูกตัดเป็นชิ้นโดยชั้นบันไดถูกแยกส่วนอย่างน่าสยดสยอง ถึงอาคารจะไม่ถล่มก็ควรอยู่ห่างบันไดไว้ บันไดเป็นส่วนของ อาคารที่มีโอกาสถูกทำให้เสียหาย ถึงแม้แผ่นดินไหวจะไม่ได้ทำให้บันไดถล่ม มันอาจถล่มในเวลาต่อมา
เมื่อรับน้ำหนักมากเกินไปจากคนที่กำลังหนี มันควรได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยเสมอ ถึงแม้ส่วนที่เหลือของอาคารจะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม

8) ไปอยู่ใกล้กำแพงด้านนอกของอาคารหรือออกจากอาคารถ้าเป็นไปได้
จะเป็นการดีกว่ามากที่จะอยู่ใกล้ส่วนนอกของอาคารมากกว่าจะอยู่ที่ส่วนในของอาคาร คุณยิ่งอยู่ลึกเข้าไปหรือไกลจากบริเวณภาย นอกของอาคารมากเท่าไหร่ โอกาสที่ทางหนีของคุณจะถูกปิดกั้นยิ่งมีมาก

9) คนที่อยู่ภายในรถยนต์ถูกทับอัดเมื่อถนนด้านบนตกลงมา
เพราะแผ่นดินไหวและทับรถของพวกเขานี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับแผ่นคอนกรีตระหว่างชั้นของถนนหลวงนิมิทซ์ ผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดจากแผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกอยู่ในรถของตัวเอง พวกเขาตายทั้งหมด

พวกเขาสามารถมีชีวิตรอดได้ง่ายๆ ด้วยการออกจากรถและนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างๆ รถตัวเอง คนที่ตายทุกคนอาจรอดได้ถ้าพวกเขาสามารถออกจากรถและนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างรถตัวเอง รถที่ถูกทับอัดทุกคันมีช่องว่างสูง 3 ฟุตอยู่ข้างๆ ยกเว้นรถที่ถูกเสา
คาดตกทับกลางคันรถ

10) ผมค้นพบ--ขณะที่คลานเข้าไปในซากสำนักงานหนังสือพิมพ์และสำนักงานอื่นที่มีกระดาษจำนวน มาก--ว่ากระดาษไม่อัดตัว จะพบช่องว่างขนาดใหญ่รอบๆกองกระดาษที่เรียงทับซ้อนกัน

มาตราริกเตอร์
มาตราริกเตอร์ (อังกฤษ: Richter magnitude scale) หรือที่รู้จักกันว่า มาตราท้องถิ่น (อังกฤษ: local magnitude scale; ML) เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อบอกปริมาณของพลังงานแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง มันเป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึมฐานสิบ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากลอดาริทึมของแอมพลิจูดการสั่นของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากศูนย์บนเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวบางประเภท (Wood–Anderson torsion) ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่สามารถวัดค่าได้ 5.0 ตามมาตราริกเตอร์จะมีแอพลิจูดการสั่นมากเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวที่วัดค่าได้ 4.0 ริกเตอร์ ขีดจำกัดบนที่มีประสิทธิภาพของการวัดตามมาตราริกเตอร์นี้ควรต่ำกว่า 9 ริกเตอร์ และต่ำกว่า 10 ริกเตอร์สำหรับมาตราโมเมนต์แมกนิจูด เมื่อตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
ปัจจุบันมาตราริกเตอร์ถูกแทนที่ด้วย มาตราโมเมนต์แมกนิจูด ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะให้ค่าที่โดยทั่วไปแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับแผ่นดินไหวขนาดกลาง (3-7 แมกนิจูด) แต่ที่ไม่เหมือนกับมาตราริกเตอร์คือ มาตราโมเมนต์แมกนิจูดจะรายงานสมบัติพื้นฐานของแผ่นดินไหวจากข้อมูลเครื่องตรวจวัด แทนที่จะเป็นการรายงานข้อมูลเครื่องตรวจวัด ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในแผ่นดินไหวทุกครั้ง และค่าที่ได้จะไม่สมบูรณ์ในแผ่นดินไหวความรุนแรงสูง เนื่องจากมาตราโมเมนต์แมกนิจูดมักจะให้ค่าที่ใกล้เคียงกันกับมาตราริกเตอร์ แมกนิจูดของแผ่นดินไหวที่ได้รับรายงานในสื่อมวลชนจึงมักจะรายงานโดยไม่ระบุว่าเป็นการวัดความรุนแรงตามมาตราใด
พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาของแผ่นดินไหว ซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพลังทำลายล้างของมัน สามารถวัดได้จาก 3/2 เท่าของแอมพลิจูดการสั่น ดังนั้น แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน 1 แมกนิจูดจึงมีค่าเท่ากับพหุคูณของ 31.6 (= (101.0)(3 / 2) ในพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา และที่แตกต่างกัน 2 แมกนิจูด จะมีค่าเท่ากับพหุคณของ 1000 (= (102.0)(3 / 2) ในพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา
ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
ริกเตอร์ความรุนแรงลักษณะที่ปรากฏ
1 - 2.9เล็กน้อยผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
3 - 3.9เล็กน้อยผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
4 - 4.9ปานกลางผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5 - 5.9รุนแรงเครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6 - 6.9รุนแรงมากอาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไปรุนแรงมากมากเกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

มาตราเมร์กัลลี

มาตราเมร์กัลลี (อังกฤษ: Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินไหว คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์กัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮร์รี โอ. วูด และแฟรงก์ นิวแมนน์ นักวิทยาแผ่นดินไหวชาวอเมริกันได้นำมาตราเมร์กัลลีมาปรับปรุงทำให้มาตรานี้เพิ่มเป็น 12 อันดับ เรียกว่า Modified Mercalli Intensity Scale อักษรย่อ MM ปัจจุบันมาตราเมร์กัลลีไม่ค่อยเป็นที่นิยม
อันดับที่และลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
เมร์กัลลีลักษณะที่ปรากฏ
I.อ่อนมาก ผู้คนไม่รู้สึก ต้องทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะทางเท่านั้น
II.คนที่อยู่ในตึกสูง ๆ เริ่มรู้สึกเพียงเล็กน้อย
III.คนในบ้านเริ่มรู้สึก แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
IV.ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างมาทำให้บ้านสั่นเบา ๆ
V.คนส่วนใหญ่รู้สึก ของเบาในบ้านเริ่มแกว่งไกว
VI.คนส่วนใหญ่รู้สึก ของหนักในบ้านเริ่มแกว่งไหว
VII.คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มมีรอยร้าว
VIII.อาคารธรรมดาเสียหายอย่างมาก
IX.สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดีตามหลักวิศวกรรม เสียหายมาก
X.อาคารพัง รางรถไฟงอเสียหาย
XI.อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน
XII.ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

ระดับความรุนแรงแผ่นดินไหว ตามมาตราเมอร์คัลลี
ความรุนแรงสภาพของแผ่นดินไหวความรุนแรง
1คนธรรมดาจะไม่รู้สึกแต่เครื่องวัดสามารถตรวจจับได้
2 (อ่อน )คนที่มีความรู้สึกไวจะรู้สึกว่าแผ่นดินไหวเล็กน้อย
3 (เบา )คนที่อยู่กับที่รู้สึกว่าพื้นที่สั่น
4 (พอประมาณ )คนที่สัญจรไปมารู้สึกได้
5 (ค่อนข้างแรง )คนที่นอนหลับก็ตกใจตื่น
6 (แรง )ต้นไม้สั่น บ้านแกว่ง สิ่งปลูกสร้างบางชนิดพัง
7 (แรงมาก )ฝาห้องแยกร้าว กรุเพดานร่วง
8 (ทำลาย )ต้องหยุดขับรถยนต์ ตึกร้าว ปล่องไฟพัง
9 (ทำลายสูญเสีย )บ้านพัง ตามแถบรอยแยกของแผ่นดินท่อน้ำท่อแก๊สขาดเป็นตอน ๆ
10 (วินาศภัย )แผ่นดินแตกอ้า ตึกแข็งแรงพัง รางรถไฟคดโค้ง ดินลาดเขาเคลื่อนตัวหรือถล่มตอนชัน ๆ
11 (วินาศภัยใหญ่ )ตึกถล่ม สะพานขาด ทางรถไฟท่อน้ำและสายไฟใต้ดินเสียหาย แผ่นดินถล่ม น้ำท่วม
12 (มหาวิบัติ )ทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นดินแถบนั้นเสียหายโดยสิ้นเชิง พื้นดินเคลื่อนตัวเป็นลูกคลื่น
สภาพความรุนแรงของแผ่นดินไหวแบ่งออกเป็น 12 ระดับ เริ่มจากความรุนแรงน้อยสุดคือ ระดับ 1 ไปจนถึงระดับ 12 เป็นระดับความรุนแรงสูงสุด แต่ถ้ารุนแรงระดับ 6 ขึ้นไปจะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น เมื่อปี 2537 เกิดแผ่นดินไหวที่ อ.พาน จ.เชียงราย ขนาดประมาณ 5.6 ริกเตอร์ แต่มีความรุนแรงระดับ 6 – 7 ทำให้อาคารร้าวใช้การไม่ได้ แต่เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดนาน ๆ ครั้ง




TRIANGLE OF LIFE NEW DISASTER PREPAREDNESS TRAINING


EXTRACT FROM DOUG COPP'S ARTICLE ON THE: 'TRIANGLE OF LIFE'

My name is Doug Copp. I am the Rescue Chief and Disaster Manager of the
American Rescue Team International (ARTI), the world's most experienced
rescue team. The information in this article will save lives in an earthquake.

I have crawled inside 875 collapsed buildings, worked with rescue teams
from 60 countries, founded rescue teams in several countries, and I am a
member of many rescue teams from many countries..

I was the United Nations expert in Disaster Mitigation for two years. I
have worked at every major disaster in the world since 1985, except for
simultaneous disasters.

The first building I ever crawled inside of was a school in Mexico City
during the 1985 earthquake. Every child was under its desk. Every child
was crushed to the thickness of their bones. They could have survived by
lying down next to their desks in the aisles. It was obscene, unnecessary and
I wondered why the children were not in the aisles. I didn't at the time
know that the children were told to hide under something.

Simply stated, when buildings collapse, the weight of the ceilings
falling upon the objects or furniture inside crushes these objects, leaving a
space or void next to them. This space is what I call the 'triangle of life'.
The larger the object, the stronger, the less it will compact. The less the
object compacts, the larger the void, the greater the probability that
the person who is using this void for safety will not be injured. The next
time you watch collapsed buildings, on television, count the 'triangles' you
see formed. They are everywhere. It is the most common shape, you will see,
in a collapsed building.

TIPS FOR EARTHQUAKE SAFETY

1) Most everyone who simply 'ducks and covers' WHEN BUILDINGS COLLAPSE are crushed to death. People who get under objects, like desks or cars, are crushed.

2) Cats, dogs and babies often naturally curl up in the fetal position.
You should too in an earthquake.. It is a natural safety/survival instinct. You can survive in a smaller void. Get next to an object, next to a sofa, next to a large bulky object that will compress slightly but leave a void next to it.

3) Wooden buildings are the safest type of construction to be in during
an earthquake. Wood is flexible and moves with the force of the earthquake.
If the wooden building does collapse, large survival voids are created.
Also, the wooden building has less concentrated, crushing weight. Brick
buildings will break into individual bricks. Bricks will cause many injuries but
less squashed bodies than concrete slabs.

4) If you are in bed during the night and an earthquake occurs, simply
roll off the bed. A safe void will exist around the bed. Hotels can achieve a
much greater survival rate in earthquakes, simply by posting a sign on The back of the door of every room telling occupants to lie down on the floor, next to the bottom of the bed during an earthquake.

5) If an earthquake happens and you cannot easily escape by getting out
the door or window, then lie down and curl up in the fetal position next to
a sofa, or large chair.

6) Most everyone who gets under a doorway when buildings collapse is
killed. How? If you stand under a doorway and the doorjamb falls forward or
backward you will be crushed by the ceiling above. If the door jam falls sideways you will be cut in half by the doorway. In either case, you will be killed!

7) Never go to the stairs. The stairs have a different 'moment of
frequency' (they swing separately from the main part of the building).
The stairs and remainder of the building continuously bump into each
other until structural failure of the stairs takes place. The people who get
on stairs before they fail are chopped up by the stair treads - horribly
mutilated. Even if the building doesn't collapse, stay away from the
stairs. The stairs are a likely part of the building to be damaged. Even if the
stairs are not collapsed by the earthquake, they may collapse later when
overloaded by fleeing people. They should always be checked for safety,
even when the rest of the building is not damaged.

8) Get Near the Outer Walls Of Buildings Or Outside Of Them If Possible
- It is much better to be near the outside of the building rather than
the interior. The farther inside you are from the outside perimeter of the
building the greater the probability that your escape route will be
blocked.

9) People inside of their vehicles are crushed when the road above falls
in an earthquake and crushes their vehicles; which is exactly what happened
with the slabs between the decks of the Nimitz Freeway.. The victims of
the San Francisco earthquake all stayed inside of their vehicles. They were
all killed. They could have easily survived by getting out and sitting or
lying next to their vehicles. Everyone killed would have survived if they had
been able to get out of their cars and sit or lie next to them. All the
crushed cars had voids 3 feet high next to them, except for the cars that had
columns fall directly across them.

10) I discovered, while crawling inside of collapsed newspaper offices
and other offices with a lot of paper, that paper does not compact.
Large voids are found surrounding stacks of paper.

Spread the word and save someone's life... The Entire world is
experiencing natural calamities so be prepared!

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000037830
http://www.dek-d.com/content/lifestyle/352/Triangle-of-Life-.php
http://www.truthorfiction.com/rumors/t/triangle-of-life.htm
http://www.cmmet.tmd.go.th/seismo/seismo.php

http://th.wikipedia.org/wiki/%





1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss