1
2

วัฒนธรรมเภท โดย : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


สองคนในร่างเดียว




วัฒนธรรมเภท
โดย : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


จอร์จ โซรอส เคย "โจมตี" ค่าเงินบาท และมีส่วนทำให้ประเทศไทยตกเข้าสู่ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540 นอกจากเมืองไทยแล้ว


โซรอส ยังมีประวัติในการ "โจมตี" ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษและประเทศอื่นๆ อีกหลายแห่งโดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนา เป็นประเทศที่อ่อนแอและน่าจะได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากคนที่แข็งแรงมากกว่า


ดังนั้น ในสายตาของคนจำนวนไม่น้อย โซรอส คือ "ซาตาน" แต่อีกด้านหนึ่ง โซรอสกลับทำตัวเป็น "นักบุญ" เขาบริจาคเงินจำนวนมาก ช่วยเหลือประเทศและคนที่ด้อยกว่าทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาเคยบริจาคเงินให้กับคนในประเทศที่มีสังคม "ปิด" ในยุโรปตะวันออกเพื่อช่วยให้คนเหล่านั้นต่อสู้เพื่อให้ประเทศของตนเป็นสังคม "เปิด" ซึ่งจะทำให้ประเทศก้าวหน้าและมีชีวิตที่ดีขึ้น บุคลิกที่ขัดแย้งกันในตัวของโซรอส ผมคิดว่า เราน่าจะอธิบายได้บ้างจากแนวความคิดที่นักวิชาการเรียกว่าเป็นเรื่องของ "วัฒนธรรมเภท"


วัฒนธรรมเภท นั้น ความหมายคร่าวๆ คือ เป็น อาการของคนที่มีบุคลิกสองด้านที่ขัดแย้งกัน ด้านหนึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินไปโดยปกติวิสัยตามสามัญสำนึกของตนเอง แต่ อีกด้านหนึ่ง เป็นคุณค่าหรือเป็นแก่นสารที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของตนที่อยากจะเป็น เขาคิดว่า ทั้งสองสิ่งนี้แยกออกจากกันไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


ตัวอย่างที่เห็นกันมากมาย คือ เรื่องวัฒนธรรมของคนไทยในปัจจุบันที่คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะที่เป็นดาราและบุคคลที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก "โหยหา" และพยายามแสดงออกถึงความเป็น "ไทย"


แต่ในชีวิตปกติประจำวัน พวกเขาอยู่ในโลกของ "โลกาภิวัตน์" ความเป็นไทยสำหรับพวกเขานั้น ดูเหมือนจะเป็น "สัญลักษณ์" ที่ถูก "แช่แข็ง" ไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ "ในใจ" เช่น ถ้าเป็นหญิงต้องสงบเสงี่ยมเรียบร้อยเป็นแม่บ้านแม่เรือน การแต่งกายต้องเป็นชุดไทยภาคกลางยุครัตนโกสินทร์ เป็นต้น


ลองมาดูตัวอย่างของวัฒนธรรมเภทของดารา ที่เรามักได้ยินบ่อยๆ เช่น ดาราหญิงดังและบางคนก็ออกแนว "เซ็กซี่" ด้วย ในภาพที่เห็นทุกวัน เธอมักมีข่าวคราวที่เป็นเรื่องของความ "ฟู่ฟ่า" เฉกเช่นเดียวกับดาราระดับ "อินเตอร์" ทั้งหลาย เช่น การใช้สินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง เดินทางต่างประเทศบ่อยๆ ใช้บริการและซื้อสินค้าที่มีราคาสูงมาก บางครั้งก็มีข่าว "คาวๆ"


ในอีกด้านหนึ่งก็บอกว่า ตนเองชอบศึกษาธรรมะและเข้าวัดบ่อย บางคนก็ "นุ่งขาวห่มขาว" ทำสมาธิอยู่ที่วัดหรือสถานปฏิบัติธรรมเป็นครั้งคราว บางคนก็บอกว่าตัวเองรักและชอบวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็น "ไทย" มาก (เวลาอยู่ที่บ้านหรือไม่ได้ทำงาน)


คนร่ำรวยและมีชื่อเสียง บางคนอาจจะเป็นผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ ก็มีวัฒนธรรมเภทเช่นเดียวกัน ในชีวิตประจำวันเขาอาจจะใช้ชีวิตที่ "หวือหวาวุ่นวายและมีระดับ" เขาอาจจะขับรถสปอร์ตเฟอร์รารี่และขับเร็วอย่างร้ายกาจ เขาอาจจะใช้ชีวิตที่วุ่นวายกับงานธุรกิจมากมายในฐานะนักบริหารที่ทันสมัยและเป็น "อินเตอร์" มากๆ 


แต่อีกด้านหนึ่งของชีวิต เขาอาจชอบสิ่งที่เป็นไทยๆ เป็นของยุคเก่า บ้างก็จะแต่งตัวเป็นไทย หรือเป็นแบบของสังคมเก่าของต่างประเทศ หรืออาจจะออกแนวนักพรต เขาอาจจะพูดถึงการใช้ชีวิตที่ "พอเพียง" และไม่ติดยึดวัตถุสิ่งของ เขาไม่อยากให้คนมองว่าเขาเป็นคนโลภที่เห็นแก่เงิน เขาอยากให้คนเห็นว่า เขาเป็นคนที่สมถะและมองคุณค่าด้านจิตวิญญาณมากกว่าสิ่งอื่นใด


ในแวดวงนักลงทุนเอง แน่นอน ต้องมีเรื่องของวัฒนธรรมเภทเช่นเดียวกัน การเป็นนักลงทุน ถ้าพูดกันไปแล้ว เป็นอาชีพที่คนในสังคมจำนวนไม่น้อยมองว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ "ความโลภ" เป็นอันดับต้นๆ เพราะภาพโดยทั่วไป ก็คือ เป็นธุรกิจหรือกิจกรรมที่ได้เงินมาง่าย เร็ว และมากจนบางครั้ง "ไม่น่าเชื่อ" คนที่เข้ามาในยุทธจักรของการลงทุน ต้องพร้อมที่จะ "กิน" คนอื่นเสมอ ไม่มีภาพของการ "ทำงานหนัก" อย่างคนกินเงินเดือน หรือนักธุรกิจที่ต้องทุ่มเทชีวิตและจิตใจให้กับสิ่งที่ทำ และได้ผลตอบแทนมาอย่างเหมาะสม ชีวิตของนักลงทุนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะที่เป็นนักเก็งกำไร ก็เป็นอย่างนั้น พวกเขาอยู่กับความโลภ ชีวิตประจำวันก็เกี่ยวข้องอยู่กับกิเลส ความอยากได้และความร่ำรวย


นักลงทุนที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงบางคนก็เช่นเดียวกับคนที่ประสบความสำเร็จในวงการอื่น เขาไม่อยากถูกมองว่าเป็นคนโลภ อยู่ในโลกที่ฟุ้งเฟ้อ เขาอยากจะมีอีกโลกหนึ่ง ที่ไม่มีความโลภอยากได้ใคร่ดี โลกของคนที่อยู่ในศีลธรรมมีธรรมะประจำใจ มีชีวิตที่พอเพียง เขาอาจจะพูดถึงเรื่องการทำสมาธิเพื่อให้ใจสงบ แต่ในชีวิตจริงนั้น เขายังเล่นหุ้นที่ร้อนแรง และซื้อขายที่รวดเร็ว เขาอาจจะพูดถึงความสมถะไม่โลภ แต่ในชีวิตจริง เขายังเล่นหุ้นแบบ "ทุ่มตัวเดียว" และใช้มาร์จินเต็มวงเงิน เขาอาจจะใช้เงินทองซื้อหาสิ่งของเท่าๆ กับคนรวยที่มีฐานะเท่าเทียมกัน แต่อาจมีบางด้านที่ทำตัว "แบกะดิน"


ในความรู้สึกของผม วัฒนธรรมเภท นั้น คงเกิดขึ้นจากความต้องการของคนที่จะมีเอกลักษณ์ และต้องการตัวตนที่แตกต่างจากคนอื่น ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องหรือเป็นที่ "น่าทึ่ง" สำหรับคนทั่วไป ดังนั้น เราพยายามสร้างสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงแต่เป็นสิ่งที่อาจจะอยู่ใน "จินตนาการ" และเป็นสิ่งที่คนยอมรับมากกว่าชีวิตที่เป็นจริงของเรา


ในฐานะของ Value Investor การรู้เรื่องของวัฒนธรรมเภทนั้น น่าจะ มีประโยชน์ อย่างน้อยในแง่ที่ว่ามัน ช่วยให้เราได้รู้จักโลก หรือคนมากขึ้นว่า คนเรา บางทีก็มีสองบุคลิก สิ่งที่เราได้เห็นได้ยินได้ฟังจากปากของคน อาจจะไม่ใช่ของจริง เขาอาจจะบอกในสิ่งที่ทำให้เขาดูดี แต่ไม่ใช่สิ่งที่เขาทำจริง กลยุทธ์และเทคนิคที่เขาใช้ลงทุน ที่ออกมาจากปากของเขาอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาปฏิบัติจริงๆ


เช่นเดียวกัน ชีวิตและความคิดของเขา อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราเห็น แต่คำถามที่ตามมา ก็คือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนคนหนึ่ง มีตัวตนที่แท้จริงอย่างไร เราควรจะเชื่ออะไ


คำตอบของผม ก็คือ ถ้าจะดูบุคลิกที่เป็นจริงของใคร การดูในช่วงวัยเด็ก หรือดูพื้นฐานทางสังคมที่เขาผ่านมาในวัยเด็ก น่าจะเป็นตัวบอกที่ดีที่สุด จริงอยู่ คนเราเปลี่ยนแปลงได้ แต่นั่นเป็นข้อยกเว้น เราจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนจริงๆ 


แต่ ถ้าเราไม่รู้จักเขาในวัยเด็ก และไม่รู้จักพื้นเพของเขาเลย การที่จะรู้จักเขาได้ถูกต้องจริงๆ น่าจะดูจากการกระทำมากกว่าที่มาจากคำพูด ถ้าสองสิ่งนั้นไม่ตรงกัน







1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss