สำหรับคนที่วันๆ ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ คงต้องเกิดอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า หรืออาการทางสายตาอื่นๆ กันบ้าง ปัจจุบันอาการทางสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์มีเพิ่มขึ้น จากสถิติพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากกว่า 50% มีอาการปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า และปวดศรีษะ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ เช่น ปวดเหมื่อยคอและหลัง ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และยังมีตัวแปรอีกหลายประการที่ทำร้ายสายตาของเรา เช่น ชนิดของจอคอมพิวเตอร์ แสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ความสว่างของห้อง ท่านั่ง ฯลฯ
เคล็ดลับเพื่อถนอมดวงตาเวลาใช้คอมพิวเตอร์
1. กระพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้ง เกิดจากการที่เรากระพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้าไม่อยากตาแห้ง ควรจะกระพริบตาให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น | |
2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป | |
3. ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสะท้อน เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้าน ที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า | |
4. เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เวลาพิมพ์งาน ควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสมจะสังเกตได้จากการที่เราอ่านตัวอักษรได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพวิเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอนสายตาได้ดีกว่าจอแบบเก่า (CRT) | |
5. เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป | |
6. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน |
การบริหารกล้ามเนื้อตาแบบง่ายๆ
การบริหารกล้ามเนื้อตา เป็นการออกกำลังกล้ามเนื้อตา เพื่อช่วยลดความตึงเครียดของดวงตา อาการเพลียตา หรือปวดตา เนื่องจากการใช้สายตามาก โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
กลอกตาขึ้น - ลงช้าๆ 6 ครั้ง ::
| โดยเหลือบตาขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุด ในระหว่างการบริหารอย่างเกร็งลูกตา |
กลอกตาไปข้างขวาและซ้ายสลับกัน :: | โดยกลอกตาไปให้ขวาสุด และซ้ายสุด |
ชูนิ้วชี้ขึ้นมาให้อยู่ในระดับสายตา :: | ห่างจากสายตาประมาณ 8 นิ้ว แล้วจองมองไปที่ระยะไกลๆ ประมาณ 10 ฟุต สลับกับใช้ตามองระยะใกล้ที่นิ้งมือ ใช้เวลามองแต่ละที่ประมาณ 2 - 3 วินาที ทำสลับไปมาเช่นนี้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2 - 3 รอบ |
กลอกตาเป็นวงกลมช้าๆ :: | โดยเริ่มกลอกตาตามเข้มนาฬิกาก่อน แล้วกลอกตาทวนเข็มนาฬิกา ทำประมาณ 10 ครั้ง แล้วหยุดพัก 1 วินาที ทำประมาณ 2 - 3 รอบ |
การรักษาโรคตาแห้ง
การรักษาโรคตาแห้ง มีหลายวิธีที่สามารถปฏิบัติเองได้ง่ายๆ จนถึงต้องพบจักษุแพทย์ วิธีการรักษามีดังนี้
1. ลดการระเหยของน้ำตาให้น้อยลง เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดีคือ หลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงกับแดดและลม โดยสวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง ไม่นั่งในที่ที่มีลมพัดหรือแอร์เป่าใส่หน้า | ||
2. กระกระพริบตาถี่ๆ ในภาวะปกติคนเราจะกระพริบตานาทีละ 20 - 22 ครั้ง ทุกครั้งที่กระพริบตา เปลือกตาจะรีดผิวน้ำตาให้มาฉาบผิวกระจกตา แต่ถ้าในขณะที่จ้องหรือเพ่งตาจะลืมค้างไว้นานกว่าปกติ ทำให้กะรพริบตาเพียง 8 - 10 ครั้ง น้ำตาก็จะระเหยออกไปมาก ทำให้ตาแห้งเพิ่มขึ้นจึงควรพักสายตา โดยการหลับตา กระพรบตา หรือลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ ประมาณ 2 - 3 นาที ในทุกครึ่งชั่วโมง | ||
3. สำหรับผู้ที่ตาแห้งมาก อาจใช้กรอบแว่นชนิดพิเศษที่มีแผ่นคลุมปิดกันลมด้านข้างแว่นชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยครอบทั้งดวงตาและป้องกันลมด้วย หรือจะใช้แผ่นซิลิโคนชนิดพิเศษที่ใสบางและนุ่ม นำมาตัดให้เข้ากับด้านข้างของกรอบแว่นตาคู่เดิม ซึ่งเรียกว่า Moist Chamber | ||
4. ใช้น้ำตาเทียม น้ำตาเทียมคือ ยาหยอดตาที่ใช้เพื่อหล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นกับผู้ที่ตาแห้ง น้ำตาเทียมมี 2 ชนิดคือ 4.1 น้ำตาเทียมชนิดน้ำ - เหมาะที่จะใช้ในเวลากลางวัน เพราะไม่เหนียวเหนอะหนะ และไม่ทำให้ตามัว แต่มีข้อจำกัดคือ ต้องหยอดตาบ่อย 4.2 น้ำตาเทียมชนิดเจลและขี้ผึ้ง- มีลักษณะเหนียวหนืด หล่อลื่นและคงความชุ่มชื้นได้นานกว่าชนิดน้ำ แต่จะทำให้ตามัวชั่วขณะหลังป้ายยา จึงควรใช้ป้ายตาแต่น้อยก่อนเข้านอน การรักษาด้วยวิธีใช้น้ำตาเทียม เวลาในการหยอดตาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการตาแห้ง หากวันใดไม่ถูกลม แล้วรู้สึกสบายตาก็ไม่จำเป็นต้องหยอด แต่ถ้ารู้สึกเคืองตามาก ก็หยอดบ่อยๆ ได้ตามต้องการ
|
ข้อควรระวังในการใช้น้ำตาเทียม ผู้ป่วยที่ตาแห้งน้อย หยอดตาไม่กินวันละ 4 - 5 ครั้ง สามารถใช้ยาหยอดตาชนิกขวดที่มีสารกันบูดได้ กรณีผู้ป่วยที่ตาแห้งมาก และหยอดตามากกว่าวันละ 6 ครั้ง จักษุแพทย์จะสั่งน้ำตาเทียมชนิดพิเศษที่ไม่มีสารกันบูด (Preservative-Free Tear) ให้ใช้แทน ซึ่งมีข้อจำกัดก็คือ ยาจะบรรจุในหลอดเล็ก เมื่อเปิดใช้แล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 16 ชั่วโมง หากใช้นานกว่านี้ อาจะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค | |
5. การอุดรูระบายน้ำตา สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งอย่างรุนแรง จักษุแพทย์จะใช้วิธีอุดรูระบายน้ำตาเพื่อขังน้ำตาที่มีอยู่ให้หล่อเลี้ยงตาอยู่ได้นานๆ ไม่ปล่อยให้ไหลทิ้งไป เหมือนกับการสร้างเขื่อนกั้นเก็บกักน้ำไว้ใช้ วิธีและขั้นตอนในการอุดรูระบายน้ำตามี 2 วิธี คือ การอุดแบบชั่วคราว และการอุดแบบถาวร --- สำหรับการอุดแบบชั่วคราว จักษุแพทย์จะสอดคอลลาเจนขนาดเล็กเข้าไปในรูท่อน้ำตา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตาขึ้น โดยคอลลาเจนจะสลายไปเอง ภายใน 3 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาแห้งมาก จักษุแพทย์จะอุดรูระบายน้ำตาแบบถาวรให้ ทั้งนี้ จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย |
(ที่มา: เอกสารเผยแพร่ ศูนย์เลสิคและรักษาสายตารัตนิน - กิมเบล (โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน) http://www.rutningimbel.com)