กลศึกสามก๊ก (อังกฤษ: Thirty-Six Stratagems; จีนตัวเต็ม: 三十六計; จีนตัวย่อ: 三十六计; พินอิน: Sānshíliù Jì) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม[1]
แต่มีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงคราม[1] ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักตำราพิชัยสงคราม เสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้าน รู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารใต้บังคับบัญชา และรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตีจึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ลกซุน ตั๋งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญกลศึกในการทำศึกสงคราม ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำสงครามสามก๊ก
กลยุทธ์ชนะศึก
กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล หรือ หมานเทียนกว้อไห่ (อังกฤษ: Deceive the heavens to cross the ocean; จีนตัวเต็ม: 瞞天過海; จีนตัวย่อ:瞒天过海; พินอิน: Mán tiān guò hǎi) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่คิดหรือมองข้ามสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่คิดว่าตนเองนั้นได้ตระเตรียมการไว้พร้อมสรรพแล้ว ก็มักจะมีความประมาทเลินเล่อและมองข้ามศัตรูไปอย่างง่ายดาย พบเห็นสิ่งใดที่มองเห็นเสมอในยามปกติก็ไม่บังเกิดความสงสัยหรือติดใจในสิ่งนั้น เกิดความชะล่าใจในตนเอง การบุกเข้าโจมตีศัตรูโดยที่ศัตรูไม่ทันรู้ตัวและตั้งระวังทัพได้ทันนับว่าเป็นการได้ชัยชนะในการต่อสู้มาแล้วครึ่งหนึ่ง สามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย การปกปิดอำพรางซ่อนเร้น จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในการทำศึกสงคราม[1]
มรรควิถีแห่งการใช้ยุทธวิธีในการต่อสู้กับศัตรูที่แข็งแกร่งกว่า เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่เข้มแข็งกว่าควรใช้วิธี "นบน้อมถ่อมตน" ปฏิบัติตนอย่างนอบน้อมทำให้ศัตรูเกิดความเหลิงลำพอง หย่อนคลายความระมัดระวัง แล้วจงรอคอยจนกระทั่งได้จังหวะและโอกาสเหมาะสมจึงรุกเข้าโจมตีให้พินาศย่อยยับตำราพิชัยสงครามซุนวูกล่าวไว้ว่า "พึงถ่อมตัวพินอบพิเทาเสริมให้ศัตรูโอหังได้ใจ"[2] ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลไปใช้ได้แก่ลิบองที่ปลอมตนเป็นพ่อค้าเดินเรือสำเภา ลอบบุกเข้าโจมตีเกงจิ๋วโดยที่กวนอูไม่รู้ตัวแม้แต่น้อย[3]
กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยจ้าว
กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว หรือ เหวยเว่ยจิ้วจ้าว (อังกฤษ: Besiege Wèi to rescue Zhào; จีนตัวเต็ม: 圍魏救趙; จีนตัวย่อ: 围魏救赵; พินอิน: Wéi Wèi jiù Zhào) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊กกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูรวบรวมกำลังทหารและไพร่พลไว้เป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้เกิดกำลังและความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการดึงแยกศัตรูให้แตกออกจากกัน เพื่อให้กำลังไพร่พลทหารกระจัดกระจาย คอยระแวดระวังมีความห่วงหน้าพะวงหลังแล้วจึงบุกเข้าโจมตี ตามความหมายของตำราพิชัยสงครามคือ การบุกเข้าโจมตีในจุดที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย โจมตีในจุดที่ศัตรูไม่ได้เตรียมการตั้งรับและคอยระวังป้องกัน ย่อมถือว่าได้เปรียบและได้รับชัยชนะมาแล้วครึ่งหนึ่ง
ในการทำศึกสงคราม การบุกเข้าโจมตีศัตรูจะบุกเข้าทางด้านหน้า ซึ่งเป็นเพียงกลอุบายหลอกล่อให้ศัตรูหลงทิศและนำกำลังบุกเข้าโจมตีทางด้านหลัง การแสร้งบุกโจมตีทางด้านตะวันออกแต่จริงแล้วบุกเข้าโจมตีทางด้านตะวันตก การทำให้ศัตรูคาดเดาแผนการรบไม่ถูก ทำให้เกิดความสับสนในการวางกำลังป้องกันฐานทัพ พึงหักเอาในขณะที่ศัตรูเป็นฝ่ายที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม เข้าจู่โจมในยามที่ศัตรูไม่ได้คาดคิด ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "เมื่อเห็นจุดอ่อนเปราะของศัตรู เราต้องใช้กลยุทธ์พิสดารโจมตี"[1] ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าวไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกให้โจโฉนำทัพไปรบกับซุนกวนและบุกเข้ายึดฮันต๋งจากโจโฉได้สำเร็จ[2]
กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน หรือ เจี้ยเตาซาเหริน (อังกฤษ: Kill with a borrowed knife; จีนตัวเต็ม:借刀殺人; จีนตัวย่อ: 借刀杀人; พินอิน: Jiè dāo shā rén) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็ง ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรู เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋นสองแม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็กระหว่างเล่าปี่และซุนกวน[1]
กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย หรือ อี่อี้ไต้เหลา (อังกฤษ: Substitute leisure for labour;จีนตัวเต็ม: 以逸待勞; จีนตัวย่อ: 以逸待劳; พินอิน: Yǐ yì dài láo) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังคงมีความเข้มแข็ง กำลังไพร่พลทหารยังคงแข็งแกร่งยากจะต่อสู้ ก็ไม่ควรจะเข้าปะทะโดยตรงด้วยแรงและพละกำลังที่มีอยู่ แต่ยามใดที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอในกองทัพต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังบุกเข้าโจมตีโดยเร็ว เพื่อเป็นการข่มขวัญและป้องกันไม่ให้ศัตรูหวนกลับมาแข็งแกร่งดั่งเดิม กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเป็นการใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ให้ระยะเวลาเป็นการบั่นทอนกำลังและจิตใจของศัตรู ฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์จากเดิมที่กลายเป็นรองหรือเสียเปรียบให้กลายเป็นฝ่ายได้เปรียบเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ
ในสามก๊กยามเกิดศึกสงคราม กองทัพทุกกองทัพต่างใช้กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย เพื่อหาโอกาสเหมาะในการบุกเข้าโจมตีศัตรูยามเพลี่ยงพล้ำอยู่ตลอดเวลา ในการทำศึกสงคราม แก่นหลักสำคัญของคำว่า "สถานการณ์" หมายถึงการรู้จักใช้จังหวะหรือสถานการณ์ที่ได้เปรียบให้เป็นประโยชน์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ศัตรูอาจพ่ายแพ้ในการศึก ต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังเข้ากระหน่ำโจมตีกองทัพของศัตรูให้พินาศย่อบยับ สถานการณ์ที่เป็นฝ่ายพลิกผันได้เปรียบ ความสามารถในการจับจังหวะรู้สถานการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำศึกสงคราม ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "จงอาศัยสถานการณ์เข้าทำลายศัตรู"[1] ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยไปใช้ได้แก่ลกซุนที่แนะนำซุนกวนให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนยกทัพไปตีลกเอี๋ยง[2]
กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตามไฟ
กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ หรือ เชิ่นหว่อต่าเจี๋ย (อังกฤษ: Loot a burning house; จีนตัวเต็ม: 趁火打劫; พินอิน: Chèn huǒ dǎ jié) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนแอและย่ำแย่ ควรรีบฉกฉวยโอกาสนำทัพเข้าโจมตีเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือมอบหมายให้แม่ทัพหรือทหารที่มีความเข้มแข็งนำทัพเข้าโจมตี ซึ่งเป็นการฉกฉวยเอาผลประโยชน์จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงและยุ่งเหยิง นำความดีความชอบมาเป็นของตน[1] ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ตีชิงตามไฟไปใช้ได้แก่ตั๋งโต๊ะที่ฉกฉวยโอกาสยึดเอาเมืองหลวงและราชสำนักของพระเจ้าหองจูเหียบมาเป็นของตน และแต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราชและเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าหองจูเปียน[2]
กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า “เมื่อข้าศึกประสบกับความยากลำบากทั้งภายในและภายนอก จักต้องรุกโจมตีอย่างไม่ปรานี ฉวยโอกาสอันดีนี้ กระหน่ำซ้ำเติมอย่างให้ตั้งตัวติดและพิชิตเอาชัยอย่างได้ช้า”
กลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม หรือ เซิงตงจี๋ซี (อังกฤษ: Make a sound in the east, then strike in the west; จีนตัวเต็ม: 聲東擊西; จีนตัวย่อ: 声东击西; พินอิน: Shēng dōng jí xī) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการโจมตีศัตรู จะต้องเตรียมการและบุกโจมตีในจุดที่ศัตรูต่างคาดไม่ถึง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูตั้งรับได้ถูก โดยหลอกล่อศัตรูให้เกิดการหลงทิศกับการบุกโจมตีและนำกำลังทหารไปเฝ้าระวังผิดตำแหน่ง เกิดการหละหลวมต่อกำลังทหารและเปิดโอกาสให้สามารถเอาชนะได้โดยง่าย[1]
มรรควิถีแห่งการใช้ยุทธวิธีสำคัญในการทำศึกสงคราม เมื่อตั้งทัพเผชิญหน้าซึ่งกันและกัน ฝ่ายใดมีเสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์ก็เท่ากับมีโอกาสชนะแล้วครึ่งหนึ่ง การป้องกันรักษาเส้นทางการลำเลียงอาหารต้องทำอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อป้องกันศัตรูลอบทำลาย เข้ายึดหรือปล้นชิง ขณะเดียวกันก็ต้องหายุทธวิธีในการตัดเส้นทางลำเลียงอาหารของศัตรู หากศัตรูสูญเสียเสบียงอาหาร ย่อมต้องถอยทัพด้วยความจำเป็น เมื่อถึงยามนั้นควรบุกเข้าโจมตีไม่ให้ศัตรูตั้งรับได้ทัน ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า"ยามศึกสงครามขาดเสบียงอาหารก็พินาศ"[2] ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิมไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกล่อเฮ็กเจียวให้หลงทิศในการนำกำลังทหารเฝ้าระวังการบุกเข้าโจมตีด่านตันฉองของจูกัดเหลียงและทหารจ๊กก๊ก[3]
กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ที่ว่าส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม ก็คือโดยภายนอก โดยผิวเผิน ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่าจะบุกทางนี้อย่างจริงจัง แต่ที่แท้แล้วกลับบุกอีกด้านหนึ่ง ทำให้ข้าศึกหลงผิด แล้วพิชิตเอาชัยบนความหลงผิดนั้น”
กลยุทธ์เผชิญศึก
แสงสว่างจากมืดน้อยย่อมทวีความมืดไปจนถึงมืดมาก จากมืดมากย่อมแปรเปลี่ยนกลับกลายเป็นสว่าง การใช้ภาพลวงเพื่อเสแสร้งปกปิดภาพจริง การผันผวนคำเท็จจากลวงให้กลายเป็นความจริง ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง ทำให้ในการทำศึกสงครามย่อมมีกลลวงข้อเท็จจริงสลับเป็นฟันปลากันอยู่เสมอ ตัวอย่างการทำเอากลยุทธ์มีในไม่มีไปใช้ได้แก่โจโฉที่วางแผนหลอกลิโป้ให้หลงเชื่อว่าตนเองตายและซุ่มกำลังทหารบุกโจมตีกระหนาบจนลิโป้พ่ายแพ้ยับเยิน[2]
กลยุทธ์นี้สรุปว่า “เมื่อจักสั่นคลอนจิตใจของข้าศึก มิควรวู่วาม ควรใช้ยุทธวิธีจริงเท็จเท็จจริงกลับลวงกันไป ทำให้ข้าศึกเกิดความสับสนวุ่นวาย พึงจับจุดอ่อนของข้าศึก ยืนหยัดจนถึงวาระที่สำคัญที่สุด ครั้นแล้วก็รุกโจมตีอย่างถึงแก่ชีวิต”
กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชาง
กลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง หรือ อั้นตู้เฉินชาง (อังกฤษ: Openly repair the gallery roads, but sneak through the passage of Chencang; จีนตัวเต็ม: 暗渡陳倉; จีนตัวย่อ: 暗渡陈仓; พินอิน: Àn dù chén cāng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ฝ่ายศัตรูตัดสินใจที่จะรักษาพื้นที่เขตแดนของตนไว้ และแสร้งทำเป็นนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีทางด้านหน้า แต่ลอบนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีในพื้นที่เขตแดนที่ฝ่ายศัตรูไม่ทันคาดคิดและสนใจวางแนวกำลังป้องกัน[1]
ในการศึกสงครามการใช้กลวิธีการวกวนลอบเข้าโจมตีย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ สามารถบุกเข้าโจมตีฝ่ายศัตรูได้โดยที่ไม่ทันระวังตัวและเอาชนะได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลอบตีเฉินชางไปใช้ได้แก่ตันฮกที่ให้กวนอูคุมทหารลอบเข้าบุกยึดห้วนเสีย ทำให้โจหยินที่พ่ายแพ้ต้องหนีกลับฮูโต๋[2]
กลยุทธ์นี้สรุปว่า “เมื่อคู่ศึกทั้ง 2 ฝ่ายตั้งประจัญหน้ากัน จงใจสร้างเป้าหมายให้ฝ่ายตรงข้ามเพ่งเล็ง รอจนเมื่อฝ่ายตราข้ามวางกำลังใหญ่ป้องกันไว้ ณ ที่นั้นแล้ว จึงรุกรบโจมตีเอาเป้าหมายอื่น ซึ่งก็คือการใช้จุดอ่อนแห่งภาวะจิตมนุษย์ โจมตีในจุดที่ฝ่ายตรงข้ามมิได้คาดคิดมาก่อนแล้วมิได้ระมัดระวังตัว จึงได้มาซึ่งชัยชนะในการรุกรบ”
กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง
กลยุทธ์ดูไฟชายฝั่ง หรือ เก๋ออั้นกวนหว่อ (อังกฤษ: Watch the fires burning across the river; จีนตัวเต็ม: 隔岸觀火; จีนตัวย่อ: 隔岸观火; พินอิน: Gé àn guān huǒ) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้โอกาสที่ศัตรูเกิดการแตกแยก วุ่นวายและปั่นป่วนอย่างหนักภายในกองทัพ พึงรอจังหวะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ จับตาดูความเคลื่อนไหวของศัตรูทุกฝีก้าว ถ้าศัตรูเกิดความระแวงและใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันเอง เกิดการเข่นฆ่าแย่งชิงความเป็นใหญ่ แนวโน้มความพินาศและวอดวายก็จะเกิดขึ้นภายในกองทัพ ในช่วงระยะเวลานี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของฝ่ายศัตรู เตรียมความพร้อมในกองทัพไว้ล่วงหน้า ช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตนโดยใช้การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของศัตรูให้เป็นประโยชน์
มรรควิถีในการปิดล้อมโจมตีศัตรู เมื่อบุกเข้าล้อมทั้งสี่ด้านจงเปิดช่องทางไว้มุมหนึ่งไว้สำหรับเป็นทางหนีเอาชีวิตรอด เพื่อทำให้ศัตรูเกรงกลัวไม่กล้าต่อสู้ อาศัยจังหวะบุกเข้าโจมตียึดเอาเมืองแลทำลายกองทัพศัตรูได้โดยง่าย ตำราพิชัยสงครามซุนวูกล่าวไว้ว่า "เมื่อล้อมกองทัพศัตรูไว้ ต้องเปิดช่องไว้บ้าง"[1]ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ดูไฟชายฝั่งไปใช้ได้แก่กุยแกที่ให้คำแนะนำแก่โจโฉนำกำลังทหารไปตีกิจิ๋วในขณะที่อ้วนซงขึ้นครองกิจิ๋วแทนอ้วนเสี้ยว[2]
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนภายใน ให้รอดูการเปลี่ยนแปลงโดยสงบ ให้ข้าศึกเกิดความปั่นป่วน ก้าวไปสู่ความพินาศเอง ที่ว่า “ไฟ” ในกลยุทธ์นี้ ก็หมายถึงการบาดหมางภายในฝ่ายข้าศึก เช่นเกิดมีคนทรยศหรือไส้ศึก หรือความปั่นป่วน ในช่วงเวลานี้เอง การคอยสังเกตการณ์อยู่ด้วยความสงบ แล้วค่อยตักตวงเอาในภายหลังจึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด”
กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบในรอยยิ้ม
กลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้ม หรือ เสี้ยวหลี่ฉางเตา (อังกฤษ: Hide a knife behind a smile; จีนตัวเต็ม: 笑裏藏刀; จีนตัวย่อ: 笑里藏刀; พินอิน:Xiào lǐ cáng dāo) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊กกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการหลอกให้ศัตรูหลงเชื่อถึงความสงบ ไม่ให้ล่วงรู้ถึงความเคลื่อนไหวใด ๆ ของกองทัพ ทำให้ฝ่ายศัตรูเกิดความสงสัยและเกิดความสงบไม่เคลื่อนไหวในกองทัพเช่นกัน ทำให้เกิดความคิดที่มึนชาขึ้นและฉวยโอกาสเตรียมการเป็นความลับ
การเฝ้าคอยระวังมิให้ฝ่ายศัตรูล่วงรู้ความลับหรือรู้ตัว รอคอยโอกาสเพื่อจะจู่โจมโดยฉับพลันอันจะทำให้สถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นการแสร้งทำเป็นมิตรแต่แท้จริงจ้องหาโอกาสจะกำจัดศัตรูอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ซ่อนดาบในรอยยิ้มไปใช้ได้แก่ชีฮูหยินภรรยาของซุนเซียง น้องสะใภ้ของซุนกวนที่วางแผนลอบฆ่าอิหลำที่คิดข่มเหงตนเองเป็นภรรยาด้วยรอยยิ้มประดุจยินดีจะมีสามีใหม่[1]
กลยุทธ์นี้สรุปว่า “พยายามทำให้ฝ่ายข้าศึกเข้าใจว่าฝ่ายเรา มิได้มีการตระเตรียมแต่อย่างใดเลย จึงสูญเสียความระมัดระวัง แต่ฝ่ายเรากลับวางแผนอย่างลับๆ เมื่อตระเตรียมพร้อมแล้วก็ให้รวบหัวรวบหางพิชิตเอาชัยในทันที แต่ไม่ควรจะให้ข้าศึกรู้ตัวก่อนเป็นอันขาด อันอาจจะก่อให้เกิดอุปสรรค์ที่ไม่จำเป็นขึ้น ที่ว่า “ซ่อนดาบในยิ้ม” ก็คือ “ปากหวานใจคด” ใบหน้านั้นยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ในใจแฝงไว้ด้วยความเหี้ยมเกรียมที่จะเอาชีวิตกัน”
กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว
กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว หรือ หลี่ไต้เถาเจียง (อังกฤษ: Sacrifice the plum tree to preserve the peach tree; จีน: 李代桃僵; พินอิน: Lǐ dài táo jiāng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊กกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เสียเปรียบในศึกสงคราม ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่ตนเองและกองทัพ เกิดความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อที่จะแปรเปลี่ยนจากสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบให้เป็นการได้เปรียบ จำต้องยินยอมเสีย "มืด" เพื่อที่จะได้ประโยชน์จาก "สว่าง" โดยที่มาของชื่อกลยุทธ์ มาจากกวีนิพนธ์ชื่อ “ไก่ขัน” ใน “ชุมนุมกวีนิพนธ์กู่เล่อฝู่” ที่กล่าวว่า ต้นถาวเกิดที่ปากบ่อ ต้นหลี่โตเคียงมา หนอนบ่อนไชต้นถาว หลี่ตายแทนถาว ต้นไม้ยังตายแทนกัน พี่น้องไฉนไยจึงลืม [1][2] [3]
การเสืยมืดเพื่อให้ได้ประโยชน์จากสว่าง หมายความถึงการจะได้ประโยชน์จากการเสียเปรียบในสถานการณ์ขับคัน จำต้องเสียสละส่วนหนึ่งส่วนใดของกองทัพหรือของตนเอง เสียค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับชัยชนะในทุก ๆ ด้าน ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลี่ตายแทนถาวไปใช้ได้แก่โจโฉที่ยอมเสียหัวของอองเฮานายทหารชั้นผู้น้อย เพื่อแลกกับขวัญและกำลังของทหารทั้งกองทัพ[4]
กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ในขณะที่ 2 ฝ่ายประจันหน้ากันอยู่ ไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องประสบความสูญเสีย จักไม่บาดเจ็บล้มตายเลยหาได้ไม่ ในขณะที่กำลังของทั้งสองฝ่ายทัดเทียมกัน ใครจะอยู่ใครจะไปยังมิอาจรู้ได้ ก็ควรจักยอมเสียคาตอบแทนไปบ้างแต่น้อย เพื่อแลกมาซึ่งผลประโยชน์ใหญ่ที่สุด จึงถูก”
กลยุทธ์จูงแพะติดมือ หรือ ซุ่นโส่วเชียนหยาง (อังกฤษ: Take the opportunity to pilfer a goat; จีนตัวเต็ม: 順手牽羊; จีนตัวย่อ: 顺手牵羊; พินอิน: Shùn shǒu qiān yáng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้ความประมาทเลินเล่อของศัตรูเพียงเล็กน้อยให้เป็นประโยชน์ เมื่อพบเห็นโอกาสให้รีบฉกฉวยมาเป็นของตน แม้จะเป็นเพียงชัยชนะที่เล็กน้อยก็ตาม
ในยามศึกสงครามแม้โอกาสเพียงน้อยนิดที่สามารถเป็นประโยชน์แก่กองทัพจำต้องช่วงชิงมาเป็นของตนให้ได้ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์จูงแพะติดมือไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่หลอกเอาลูกเกาฑัณฑ์จำนวนสิบหมื่นจากโจโฉ ตามคำสั่งของจิวยี่ที่สั่งให้จูกัดเหลียงทำลูกเกาฑัณฑ์จำนวนสิบหมื่นให้เสร็จภายในระยะเวลาสิบวัน เพื่อหาทางกำจัดจูกัดเหลียงด้วยความอิจฉาริษยาที่มีความฉลาดหลักแหลม รู้เท่าทันแผนการณ์ของตนเองตลอดเวลา[1]
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “โอกาสแม้จะน้อยแสนน้อยก็ควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์ ชัยชนะแม้จะเล็กแสนเล็กก็ควรจะช่วงชิงมาให้ได้ “จูงแพะติดมือ” ก็คือการใช้กลอุบายที่อีกฝ่ายหนึ่งมิสำเหนียกหรือมิได้รู้สึกตัว ฉะนั้นจึงย่อมจะตกหลุมพรางถูกบั่นทอนหรือได้รับความสูญเสียอย่างยับเยินโดยมิได้คาดคิด”
กลยุทธ์เข้าตี
กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น
กลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น หรือ ต๋าเฉ่าจิงเสอ (อังกฤษ: Startle the snake by hitting the grass around it; จีนตัวเต็ม: 打草驚蛇; จีนตัวย่อ:打草惊蛇; พินอิน: Dá cǎo jīng shé) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่มีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจักส่งคนไปทำการสอดแนมให้รู้ชัดแจ้งเพื่อเป็นการกุมสภาพของศัตรูเอาไว้ เมื่อได้ข่าวคราวของฝ่ายศัตรูแล้วจึงนำกำลังทหารบุกเข้าโจมตี เรียกว่า "สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน"[1]
คัมภีร์อี้จิงกล่าวไว้ว่า "ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้วจึงเข้าใจสิ่งนั้นได้ หากศัตรูสงบนิ่งก็พึงสร้างสถานการณ์ให้ศัตรูเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดช่องโหว่ จากนั้นจึงหาโอกาสเอาชัย" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่นไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ต้องการดูชั้นเชิงกองกำลังทหารของโจโฉเมื่อคราวเล่าปี่ยกทัพไปตีฮันต๋ง[2]
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อสภาพของข้าศึกยังไม่ชัดแจ้งแก่เรา เราไม่ควรจะปฏิติการอย่างลวกๆ จะต้องหาทางสืบทราบสภาพของข้าศึกให้ถ่องแท้ ครั้งเมื่อทราบเจตนาของฝ่ายตรงข้ามแล้ว จึงออกโจมตี เยี่ยงเดียวกับงูที่ซ่อนอยู่ในหญ้า ควรจะใช้ไม่ตีพงหญ้าไปรอบๆ เพื่อให้งูปรากฏให้เห็น แล้วจึงจับเอาในภายหลัง ไม่จำเป็นต้องบุกเข้าไปจับจนถึงรังงูให้เปลืองแรง
กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ
กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ หรือ เจี้ยซือหวนหุน (อังกฤษ: Borrow a corpse to resurrect the soul; จีนตัวเต็ม: 借屍還魂; จีนตัวย่อ: 借尸还魂; พินอิน: Jiè shī huán hún) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทในหน้าที่ต่าง ๆ จะใช้ความสามารถนั้นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างผลีผลามไม่ได้ ส่วนผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ก็มักจะขอความช่วยเหลืออยู่เป็นนิจ
การที่ใช้ผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ มิใช่เป็นการที่จะมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ หากแต่เป็นเพราะผู้ที่ไร้ซึ่งความสามารถต้องการความพึ่งพายามต้องการความช่วยเหลือ ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมซากคืนชีพไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ให้นำเมล็ดข้าวสารใส่ไว้ในปากเพื่อเป็นการรักษาดาวสำหรับต่ออายุ และหลอกทหารสุมาอี้ให้หลงเชื่อว่ายังมีชีวิตอยู่[1]
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ยืมซากคืนชีพ หมายถึงใช้สิ่งที่ใช้ไม่ได้แล้วในทางเป็นจริง หรือฉวยโอกาสทุกอย่างเท่าที่จะสามารถจักหยิบฉวยได้ ให้เป็นประโยชน์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายบางประการของตน ให้รอดพ้นจากความหายนะ เพื่อที่จะได้ยืนผงาดขึ้นมาใหม่ในวันหน้า หรือไม่วันใดก็วันหนึ่ง
กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ
กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ หรือ เตี้ยวหู่หลีซาน (อังกฤษ: Entice the tiger to leave its mountain lair; จีนตัวเต็ม: 調虎離山; จีนตัวย่อ: 调虎离山;พินอิน: Diào hǔ lí shān) เป็นหนึในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ใช้ภาพลวงที่จงใจสร้างขึ้นเพื่อหลอกล่อให้ศัตรูเกิดความประมาท[1]
การชะล่าใจในการทำศึกสงคราม ละทิ้งแนวฐานการป้องกันของกองทัพซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นโอกาสของการฉกฉวยจังหวะที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอหลงเชื่อในภาพลวงที่สร้างขึ้น นำกำลังบุกเข้าโจมตีหรือทำลายเสียให้สิ้นซากช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตน ดั่งคำกล่าวว่า "อันธรรมดาเสือเมื่ออยู่ในถ้ำย่อมอันตราย จะจับเสือได้ก็ต่อเมื่อล่อให้มาตกในหลุมพรางที่ดักไว้" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำไปใช้ได้แก่อ้องอุ้นที่ใช้กลยุทธ์สาวงามทำให้ตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป้และลวงไปฆ่าในวังหลวง[2]
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อใคร่ทำลายหรือได้ตัวข้าศึกจึงต้องรอโอกาสที่เหมาะสม ประกอบด้วยเงื่อนไขทางธรรมชาติบวกด้วยมาตรการที่คนเราสร้างขึ้น ถ้าแม้นบุ่มบ่ามเข้าไปในอาณาเขตของข้าศึกอย่างพลีพลาม ก็มิอาจเห็นตัวข้าศึก ซ้ำยังอาจจะถูกลอบตีในที่ลับอีกด้วย ได้ไม่เท่าเสีย ดังนั้น การใช้อุบายล่อให้ข้าศึกออกมาจากเขตของตนแล้วบทขยี้เสีย จึงควร”
กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “แสร้งปล่อยเพื่อจับ จุดประสงค์อยู่ที่ “จับ” “ปล่อย” เป็นวิธีการ “จับ” คือจับทาง “ใจ” ให้ยินยอมอ่อนน้อมทั้งกายและใจ ผู้ถูกจับ “ใจ” จักกลายเป็นข้าทาสบริวารของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา จนกว่าจะเกิดความสำนึกใน “ศักดิ์ศรี” ของตนเอง กลยุทธ์นี้ จึงเป็นกลยุทธ์อันชาญฉลาด ในการบั่นทอนจิตใจสู้รบและขวัญของข้าศึก ด้วยวิธีการทั้งแจ้งและลับอย่างหนึ่ง อันได้ผลเกิดความคาดหมาย นั้นแล”
กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก
กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยก หรือ เพาจวนอิ่วอวี้ (อังกฤษ: Tossing out a brick to get a jade gem; จีนตัวเต็ม: 拋磚引玉; จีนตัวย่อ: 抛砖引玉; พินอิน: Pāo zhuān yǐn yù) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการใช้สิ่งใดที่มีความคล้ายคลึงกันในการหลอกล่อศัตรู ให้ศัตรูเกิดความสับสนและต้องกลอุบายแตกพ่ายไป การใช้กลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกนี้ เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของศัตรู ในยามทำศึกสงครามเมื่อได้รบพุ่งกับศัตรู แม่ทัพหรือขุนศึกฝ่ายตรงข้ามมีแต่ความโง่เง่า มิรู้จักการพลิกแพลงกลยุทธ์ในเชิงรบ จักหลอกล่อด้วยผลประโยชน์ อำนาจวาสนา ถ้าศัตรูหลงในลาภยศต่าง ๆ มิรู้ผลร้าย ขาดการไตร่ตรองใคร่ครวญในกลอุบาย ก็สามารถลอบซุ่มทหารโจมตีเอาชนะมาเป็นของตนได้โดยง่าย ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์โยนกระเบื้องล่อหยกไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่พึงพอใจฝีมือเกียงอุยจึงอยากได้ตัวไว้ จึงยอมเสียแฮหัวหลิมซึ่งมีตำแหน่งเป็นถึงบุตรเขยของโจโฉเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งนายทหารที่มีสติปัญญาเป็นเลิศ[1]
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “วิธีหลอกลวงข้าศึกมีมากมาย ที่แยบค่ายที่สุดมิมีใดเกิน ความละม้ายแม้น” หรือ “ความเหมือน” ที่เรียกว่า “กระเบื้อง” หมายถึงสิ่งที่ไม่มีค่างวด ส่วน “หยก” นั้นเป็นจิดาสูงค่าอันพึงปรารถนาของผู้คนทั้งหลาย ที่ว่า “โยนกระเบื้องล่อหยก” ก็คือใช้สิ่งของที่มีค่าน้อยไปล่อสิ่งของที่มีค่าสูง กระเบื้องกับหยกนั้น มองผ่านๆก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่ นักการทหารผู้มีความชำนาญในกลศึก ก็สามารถจะใช้ความ “ละม้ายแม้น” ความ “เหมือน” ความ “คล้ายคลึง” ของทั้งสองสิ่งสร้างความสับสนฉงนใจให้แก่ข้าศึก ฉวยโอกาสที่ข้าศึกกำลังวุ่นวายหรือหลงกลจู่โจมเอาชัยโดยพลัน”
กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ความหมายที่แท้ของกลยุทธ์นี้ คือให้โจมตีส่วนที่สำคัญที่สุดของข้าศึก เพื่อไห้ได้รับชัยชนะอย่างสิ้นเชิง ในการบัญชาการรบ จะต้องสันทัดในการขยายผลของการรบให้ใหญ่หลวงยิ่งขึ้น อย่าได้ปล่อยโอกาสที่จะได้รับชัยชนะให้หลุดลอยไปเป็นอันขาด หากคิดง่ายๆแต่เพียงว่า ขอให้โจมตีข้าศึกถอยไปได้เท่านั้นก็พอใจแล้ว แต่ไม่ทำลายกำลังหลักของข้าศึก จับตัวผู้บัญชาการหรือทลายกองบัญชาการของข้าศึกให้ย่อยยับไปแล้ว ก็จะเหมือนดั่งปล่อยเสือเข้าป่า
กลยุทธ์ติดพัน
กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ในสถานการณ์ศึกซึ่งติดพันชุลมุนเป็นอย่างยิ่งนั้น การรบด้วยภาวะจิตจักเป็นยุทธวิธีที่ดีที่สุด และเป็นโอกาสที่จะรบให้ชนะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อใคร่ประสงค์จะทำลายกำลังของข้าศึก ก็จักต้องทำลายกำลังหลัก ทำลายหัวใจของข้าศึกเป็นเบื้องแรก ในเวลาเช่นนี้ จิตใจของแม่ทัพนายกอง ก็คือ “ฟืน” เมื่อถอน “ฟื้น” ออกแล้ว น้ำใน “กระทะ”ก็จัก “เดือด” ต่อไปมิได้ฉันนั้น
กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ปลาไม่เห็นทิศทางเมื่อน้ำขุ่น คนแยกจริงเท็จไม่ออกยามชุลมุน จึงเกิดช่องว่างอันมากหลายที่จะเอาประโยชน์ได้ “กวนน้ำจับปลา” ย่อมหมายถึงในสงครามชุลมุนแห่งการแก่งแย่งอำนาจกันนั้น ควรฉวยโอกาสใช้กำลังที่อ่อนแอโลเลให้คล้อยตามความประสงค์ของตน ที่สำคัญคือเอาเท็จพรางจริง กวนน้ำให้ขุ่นโดยเจตนา แล้วรีบซ้ำเติมเอาชัยแก่ศึกเสีย ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “จักจั่นรอกคราบ เป็นวิธีสะบัดให้หลุดพ้นจากการเผชิญหน้ากันข้าศึก ด้วยการเคลื่อนย้ายหรือถอยทัพ ที่ว่า “ลอก” มิใช้อย่างตื่นตระหนก อย่างขวัญหนีดีฝ่อ แต่ยังคงไว้ซึ่งรูปโฉมภายนอก ทว่าได้ถอดเนื้อหาออกไปหมดสิ้นแล้ว หนีแสดงว่าไม่หนี ปกปิดข้าศึก เพื่อให้หลุดพ้นจากห้วงอันตราย วิธีการ “ลอกคราบ” มีหลายแบบหลายอย่าง เนื้อแท้ก็คือการใช้เล่ห์กลหลอกลวงข้าศึก เป็นพฤติการณ์ที่ใช้การพรางตา ปลอมปนความจริงเอาตัวรอดนั้นเอง”
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อจักจับโจร พึงตัดทางหนี โอบล้อมไว้ให้แน่นหนา หากโจรเข้าในเมือง จงปิดประตูเมืองให้สนิท มิให้ทางเล็กรอดออกไปได้ จึงจักถูกจับได้โดยละม่อม กลับกัน พบโจรก็ไล่ ไม่ปิดประตูเมือง ไล่เหนือไปใต้ โจรก็พ้นไป โจรที่หนีพ้น ย่อมจักย่ามใจ จักย้อยกลับมาอีกพร้อมด้วยพรรคพวก หากปิดทางหนีโจรจะมิกล้า อู๋จื่อกล่าวไว้ว่า "โจรที่ไม่คำนึงถึงความตาย หากซ่อนตัวตามสุมทุมพุ่งไม้ในป่ากว้าง ก็พอจักทำให้กำลังซึ่งติดตามมาเป็นพ้นคนอกสั่นขวัญแขวน ลมพันใบไม้ไหวก็แตกตื้น เพราะมิรู้ว่า โจรจะปรากฏตัวออกมาจู่โจมเอาชีวิตเมื่อใด จับโจร จึงควรระวังมิให้เป็นปลาลอดร่างแห”
กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “นี้เป็นยุทธศาสตร์ยุทธวิธีแยกสลายหรือป้องกันการร่วมมือกันของฝ่ายตรงข้าม เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายในการตีให้แตกที่ละส่วน ที่คำโบราณจีนเคยกล่าวไว้ ว่า “ญาติไกลมิสู้มิตรใกล้” นั้นตรงกันข้ามกับกลยุทธ์นี้ แท้ที่จริงแล้ว ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ความขัดแย้งกับประเทศไกลมักจะเกิดน้อย กับประเทศใกล้กับจะมากว่า เพราะอาจจะมีการกระทบกระทั้งกันในเรื่องผลประโยชน์และอื่นๆอีกนานาประการ กลยุทธ์นี้จึงเป็นหลักปรัชญาในการแสวงหาประโยชน์พร้อมทั้งป้องกันตัวไปด้วยในขณะเดียวกัน สุดแต่ผู้ใดจักใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน”
กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ปัญหาของกลยุทธ์นี้อยู่ที่คำว่า “ยืมทาง” ถ้ายืมทางได้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใช้กลยุทธ์ยืมทาง จักอ้างเหตุผลในการยืมทางให้ดี เพื่อปกปิดจุดประสงค์ที่แท้จริงของตน ความจริงคำว่า “ศัตรูบังคับให้(อีกฝ่ายหนึ่ง)สยบ เราพึงแสดงท่าที” นั้น ก็คือฉวยโอกาสที่ “อีกฝ่ายหนึ่ง” เพลี่ยงพล้ำ เรายืมมือเข้าไปช่วย แล้วเอาประโยชน์จากนี้ อันที่จริงการกระทำดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ไร้คุณธรรมอย่ายิ่ง แต่ในสงครามหรือการต่อสูงใดๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรามักจะเป็นปรากฏการณ์เช่นนี้อยู่ทั่วไปในชีวิตจริง เพราะเหตุว่า แต่ละฝ่ายย่อมจะเริ่มต้นจากผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หากปราศจากเสียซึ่งการร่วมมืออันถาวร ก็จักไม่มีการช่วยเหลือที่แท้จริง มิตรและศัตรู คำมั่นสัญญากับการปฏิบัติจึงพึงจำแนกให้ชัด พิจารณาให้ถ่องแท้ มิฉะนั้นแล้ว หากเห็นแก่ได้ถ่อยเดียวก็จักสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั้งชีวิตตน”
กลยุทธ์ร่วมรบ
กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “กลยุทธ์นี้มีความหมาย 2 นัย หนึ่งหมายถึงการหาทางสับเปลี่ยนกำลังหลักของพันธมิตรชั่วคราวที่เป็นศัตรูโดยเนื้อแท้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำลายหรือกลืนกินพันธมิตรนั้นเสีย ซึ่งในสมัยศักดินาโบราณ มักจะชอบกระทำกันเป็นนิจ โดยมิได้คำนึงสัจวาจาหรือศิลธรรมแต่ประการใด อีกนัยหนึ่งหมายถึงเป็นกลยุทธ์ในการโยกย้ายกำลังหลักของฝ่ายข้าศึก โดยใช้กลลวงต่างๆนานา ทำให้ข้าศึกต้องเปลี่ยนแนวรบหรือเคลื่อนย้ายกำลังไปตามความประสงค์ของเรา ครั้งแล้วจึงเข้าตีจุดอ่อนข้าศึก เพื่อให้ได้รับชัยชนะ ดังนั้น ผู้บัญชาการทีชาญฉลาดจึงมิใช้แต่จะสันทัดในการใช้กำลังพลของฝ่ายตนเท่านั้น หากยังต้องสันทัดในการเคลื่อนย้ายหรือกระจายกำลังของฝ่ายข้าศึกด้วยกลยุทธ์ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนอีกด้วย”
กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เพื่อที่จะดำเนินตามแผนการที่ได้วางไว้ จักต้องใช้มาตรการเด็ดขาด จึงจะสามารถได้รับผลตามที่ได้กำหนด แต่ความเด็ดขาดนั้น ใช้ว่าจะต้องอาศัยกำลังความรุนแรงเสมอไป อาจดำเนินด้วยวิธีการหนึ่งใด ที่ทำให้ฝ่ายตรงข้างตระหนักในเจตนา ยอมสยบแต่โดยดี เพราะจนปัญญาที่จะต่อตีด้วยเรา นั้นเอง”
กลยุทธ์ที่ 27 แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ยามเมื่อสถานการณ์ไม่เป็นผลดี ควรจะสะกดกลั้นตัวเองไว้ แสร้งทำเป็นโง่เง่า อวดฉลาดยิ่งจะไม่เป็นผลดีแก่ตน นี้เป็นวิธีรู้รักษาตัวรอดอย่างหนึ่งในยามปั่นป่วน คนฉลาดมักจะใช้วิธีการนี้ป้องกันตัวและวางแผนเอาชนะศัตรู คนที่ดูโง่เขลานั้น โดยภายนอกก็อาจจะเห็นเป็นเต่าตุ่น แต่ที่แท้แล้วภายในนั้นคมกริบ รู้เขารู้เรา พึงถอยก็รู้จักถอย มิดันทุรังรุกไปโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ดังนั้นจึงสามารถที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มกระทำในการทั้งปวง เพราะเข้าใจในเหตุการณ์อย่างรู้แจ้งแทงตลอด และรอจังหวะที่จะบุกกระหน่ำมิยอมให้ศัตรูตั้งตัวติดตลอดเวลา กลยุทธ์นี้มักจะพบเห็นบ่อยๆ โดยทั่วไป ผู้ใดใช้เป็นด้วยความสันทัดจัดเจน ผู้นั้นย่อมจะได้รับผลสำเร็จ และเป็นผู้ทีน่ากลัวสำหรับฝ่ายตรงข้ามที่มิรู้แจ้งในกล”
กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ขึ้นบ้านชัดบันได” มีความหมายค่อยข้างกว้าง หนึ่งในนั้นก็คือใช้ผลประโยชน์เล็กน้อย ล่อให้ข้าศึกเข้าปิ้ง แล้วทำลายเสียให้สิ้น ซึ่งก็หมายความว่าเมื่อข้าศึกบุกเข้าในอาณาเขตของเรา เราจงใจจะเปิดทางตันให้กับเขา เมื่อข้าศึกหลงกลตกอยู่ในวงล้อม ก็จะตื่นตระหนกเดินไปตามหนทางที่เราเปิดไว้ให้ เมื่อเราตัดทางรุกและทางถอย ข้าศึกก็จนด้วยเกล้า ถ้าไม่ยอมจำนน ก็เหลืออยู่แต่ทางตายถ่ายเดียว ในกลยุทธ์นี้ ที่สำคัญคือ “บันได้” จงใจให้ข้าศึกเห็นจุดอ่อนและมุ่งมั่นจะใช้จุดอ่อนให้เป็นประโยชน์แต่ตน นี้ก็คือ “บันได” ถ้าไม่มี “บันได้” ดังกล่าว กลยุทธ์นี้ก็ยากที่จะได้รับผล”
กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก
กลบยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า “ทีว่า “ต้นไม้ผลิดอก” ก็คือทำให้ต้นไม้ซึ่งที่แท้ไม่มีดอก สามารถผลิดดอกออกสะพรั่งให้เห็นโดยใช้วิธีเอาดอกไม้ปลอมไปติดไว้ที่ต้นนั้น ซึ่งหากไม่พินิจพิจารณาให้ดี ก็จะไม่รู้ว่าเป็นของปลอม และอาศัยสิ่งนี้ หมุนเปลี่ยนสภาพการณ์ให้กลายมาเป็นผลดีแก่เรา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ยืมสิ่งอื่นมาบังหน้า ให้ข้าศึกเกิดความเข้าใจผิด แล้วฉวยโอกาสเคลื่อนไหวให้เป็นไปตามความประสงค์ นั้นเอง”
กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า "สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน" ก็คือแขกแย่งเป็นเจ้าบ้านเสียเอง เปลี่ยนฐานะจากฝ่ายถูกกระทำ เป็นฝ่ายกุมอำนาจการกระทำ และบงการให้สถานการณ์เป็นไปตามความประสงค์ ในขณะที่ตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ จะต้องยอมเป็น "แขก" ชั่วคราว เพื่อช่วงชิงเวลาสะสมกำลัง อาศัยชัยชนะเล็กๆน้อยๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าโดย "เจ้าบ้าน" จำยอมต้องกลับกลายเป็น "แขก" เพราะมิมีปัญญาที่จะต้านทานได้เลย ฉะนี้
กลยุทธ์ร่วมรบ
กลยุทธ์ที่ 31 สาวงาม
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อข้าศึกมีความเข้มแข็งดุจกำแพงเหล็ก มิมีจุดอ่อนที่จะทะลวงเข้าไปได้ วิธีเอาชนะแต่เพียงหนึ่งเดียว ก็คือจะต้องแทรกซึมเข้าไปภายในของข้าศึก ดุจดั่งหนอนกินลูกแอปเปิ้ลเจาะไซจากภายในออกมายังภายนอก จนเน่าไปทั้งลูกฉะนั้น และขุนทัพย่อมเป็นหัวใจของกองทัพ เป็นประมุขของไพร่พล ถ้าขุนทัพถูกทะลวงจุดอ่อนจนหลงไหนในรูป รส กลิ่น เสียแล้วไซร้ ก็จะมีอันเป็นไป ไร้สมรรถภาพ จังมิพ่ายแพ้หาได้ไม่”
กลยุทธ์ที่ 32 ปิดเมือง
กลยุทธ์ปิดเมือง หรือ คงเฉิงจี้ (อังกฤษ: The empty fort strategy; จีนตัวเต็ม:空城計; จีนตัวย่อ: 空城计; พินอิน: Kōng chéng jì) เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงในยามศึกสงคราม หากกำลังทหารไพร่พลเกิดความอ่อนแอหรือมีกำลังน้อย ยิ่งจงใจแสดงให้ศัตรูเห็นว่าในการศึกมิได้มีการวางแนวป้องกัน ทำให้ศัตรูเกิดความฉงนสนเท่ห์ ไม่กล้าผลีผลามนำกำลังเข้าบุกโจมตี ในสถานการณ์ที่ศัตรูมีกำลังมากกว่า การใช้กลยุทธ์ปิดเมืองเพื่อป้องกันกองทัพตนเองเป็นการเลือกใช้กลยุทธ์ที่มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ
คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ท่ามกลางแข็งกันอ่อน" โดยคำว่า "แก้" ใช้ควบคู่กับคำว่า "พิสดาร ซ่อนพิสดาร" ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ศัตรูมีกองกำลังแข็งแรง หากแต่กองกำลังแลไพร่พลอ่อนแอให้จัดกำลังทหารโดยใช้กลยุทธ์ "กลวงยิ่งทำกลวง" เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ศัตรูคาดการณ์ไม่ถึง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ปิดเมืองไปใช้ได้แก่ขงเบ้งที่ถอยทัพหลบหนีสุมาอี้หลังจากม้าเจ๊กเสียเมืองเกเต๋ง โดยแสร้งทำเป็นวางเฉยไม่สะดุ้งสะเทือนกับกองกำลังทหารสุมาอี้ที่ยกทัพติดตามมา[1]
กลยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า “เท็จเท็จจริงจริง มักมีอยู่ในการศึก ข้าศึกฉวยโอกาสยามเราอ่อนกำลังเราก็จงใจแสร้งทำให้อ่อนปวกเปียกลงไปอีก จนข้าศึกฉุนใจฉวนสงสัย เข้าใจผิดคิดว่าเราพร้อมรบแต่แสร้งลวง เพื่อล่อหลอกให้ตนหลุมพราง นี้ถือเป็นสงครามจิตวิทยา โดยมิได้ใช้กำลังที่แท้เอาชนะข้าศึก แต่ด้วยการพินิจพิจารณาภาวะจิตของแม่ทัพข้าศึก เอาชนะด้วยอุบายอันแยบยล จนข้าศึกหวั่นเกรมถอยทัพกลับไป โดยเรามิต้องพ่ายแพ้เสียทหารไปแม้แต่สักคนในยามคับขัน"
กลยุทธ์ที่ 33 ไส้ศึก
กลยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า “เมื่อฝ่ายตรงข้ามีความระแวงสงสัย พึงทำให้เกิดความระแวงสงสัยเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซื้อคนขายตัว หรือใช้ไส้ศึกให้เป็นประโยชน์แก่เรา ซุนจื่อเคยแนะนำว่า พึงเอาชนะโดยไม่ต้องรบ ทีสำคัญคือใช้วิถีทางการทูต การใช้อุบายบวกกับกลยุทธ์ไส้ศึก ให้ข้าศึกแตกร้าววุ่นวายปั่นป่วนภายนี้เอง จึงจะชนะได้โดยง่าย”
กลยุทธ์ที่ 34 ทุกข์กาย
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “คำโบราณของจีนมีกล่าวไว้ว่า “ร่างกาย เส้นผม และผิวหนัง ได้มาจาก บิดามารดา มิควรทำลาย นี้คืออันดับแรกแห่งความกตัญญู” คำคำนี้เป็นทัศนคติที่ฝังลึกอยู่ในมโนธรรมของชาวจีนมาช้านาน ดั้งนั้นการจะทำร้ายร่างกายของตนเอง ยอมสวามิภักดิ์แก่ศัตรูด้วยอุบาย จึงมักจะได้รับความเห็นใจ ให้ความเชื่อถือซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ล้ำลึกกว่า “กลไส้ศึก” เคยได้รับความสำเร็จอย่างงดงามมามากหลายตั้งแต่โบราณกาล”
กลยุทธ์ที่ 35 ลูกโซ่
กลยุทธ์ลูกโซ่ หรือ เหลียนหวนจี้ (อังกฤษ: Chain stratagems; จีนตัวเต็ม: 連環計;จีนตัวย่อ: 连环计; พินอิน: Lián huán jì) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อกองกำลังศัตรูมีพละกำลังที่เข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยกำลังมิได้โดยเด็ดขาด พึงใช้กลอุบายนานาให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกัน ทำลายความแข็งแกร่งของศัตรูหรือร่วมมือกับพลังต่าง ๆ ร่วมโจมตีเพื่อขจัดความฮึกเหิมของศัตรูให้หมดสิ้นไป
คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์" ซึ่งหมายความว่าแม่ทัพผู้ปรีชาสามารถในการศึก ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกสงครามได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งตามคำ "ความประสงค์ของฟ้า" จักต้องได้รับชัยชนะในการศึกสงครามเป็นมั่นคง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ลูกโซ่ไปใช้ได้แก่โจโฉวางกลอุบายลอบโจมตีอ้วนเสี้ยวด้วยการตัดกำลังเสบียงของอ้วนเสี้ยวจนแตกพ่าย[1]
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “การใช้กลยุทธ์ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเอาชนะศัตรู ซุนจื่อเคยกล่าวไว้ว่า “ผู้ที่ใช้กลอุบาย มิควรใช้เพียงหนึ่งเดียว หากควรประกอบด้วยอุบายนานา ถือ หลายอุบายเป็นหนึ่งกลยุทธ์ หรือร้อยพ้นอุบายเป็นหนึ่งกลยุทธ์ นี้คือกลยุทธ์ที่ดีที่สุด” และดั้งนั้น จึงเป็นดุจดังคำที่ว่า “แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์นั้นเอง”
กลยุทธ์ที่ 36 หลบหนี
กลยุทธ์หลบหนี หรือ โจ่วเหวยซ่าง (อังกฤษ: If everything else fails, retreat; จีนตัวเต็ม: 走為上; จีนตัวย่อ: 走为上; พินอิน: Zǒu wéi shàng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงเมื่อทำการศึกสงครามกับศัตรู หากศัตรูมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่แข็งแกร่ง ชำนาญภูมิศาสตร์ เป็นต่อในทุก ๆ ด้านไม่มีช่องโหว่ให้พลิกเอาชัยชนะแม้แต่น้อย ขึนนำกำลังเข้าต่อสู้ก็มีแต่สูญเสีย การถอยหนีย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม" ซึ่งเป็นการชี้ชัดว่าการถอยหนีในการทำสงครามนั้นมิใช่ความผิดผลาด หากแต่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการทำศึกที่มักจะพบเห็นเสมอ นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวว่า "การพ่ายแพ้หมายถึงความล้มเหลวในทุก ๆ ด้าน การยอมสงบศึกหมายถึงการล้มเหลวในบางด้าน แต่การหนีมิได้หมายความว่าล้มเหลวเลย"[1] ดังนั้นการถอยหนีเป็นการถอยเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงความเสียหาย แลหาโอกาสชิงตอบโต้ในภายหลัง มิใช่เป็นการถอยหนีอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลบหนีไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ลอบหลบหนีจิวยี่ภายหลังจากทำพิธีเรียกลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ลำเขาลำปินสานเพื่อใช้ไฟเผากองทัพเรือโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็ก[2]
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่เป็นผลดี จะต้องหลีกเลี่ยงกับการสู้รบขั้นแตกหักกับข้าศึก ทางออกจึงมีอยู่ 3 ทาง ยอมจำนน เจตจาสงบศึก ถอยหนี เมื่อเปรียบเทียบ กันแล้ว การยอมจำนนคือการพ่ายแพ้อย่างถึงที่สุด การขอเจรจาสงบศึกคือการพ่ายแพ้ครึ่งหนึ่ง ถอยหนีกลับอาจจะแปรเปลี่ยนมาเป็นชัยชนะได้ ดั้งนั้นจึงได้เรียกชื่อกลยุทธ์นี้เป็น “หนีคือยอดกลยุทธ์” ถอยหนีพึงถอยเลี่ยงอย่างมีแผนเป็นฝ่ายกระทำ ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นคุณ มิใช้แต่หนีอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อทัพอ่อนเผชิญทัพแข็ง มักจะใช้วิธีหนี เพื่อกระจายกำลังข้าศึก เพื่อสร้างโอกาสกลับมาสู่ชัยชนะนั้นเอง"
http://th.wikipedia.org/wiki/กลศึกสามก๊ก