จนกระทั่งถึงเวลากลางคืนนับรวมเวลาแล้วก็หลายสิบชั่วโมง คงจะต้องหมดแรง
และเมื่อได้หลับไปนอนหลับพักผ่อน
พอตื่นเช้าขึ้นมาก็พบว่าตัวเองยังคงอ่อนเพลียและอิดโดย
แต่ต้องออกไปทำงานตามเติมแล้วคุณจะจัดการกับเจ้าความอิดโดยนี้ได้อย่างไร
ถ้าคุณยังไม่มีเคล็ดลับดีๆ ลองอ่านตรงนี้ดูสิคะเพื่อว่าจะได้วิธีการเด็ดๆ
ให้ลองไปปฏิบัติกันดู
วิธีที่ 1: คุณต้องเข้าใจถึงวงจรการนอน และตื่นของตัวเองก่อน
เพราะการพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญ
แต่ทำไมบางคนที่นอนเต็มอิ่มแล้วยังรู้สึกอ่อนเพลียได้
ทั้งนี้เพราะคนเรามีวงจรการนอนและตื่นที่แตกต่างกัน
จึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่จะรู้สึกเหนื่อย
ดังนั้นวิธีแก้ไขความอ่อนเพลียเมื่อวงจรร่างกายเวียนมาถึงช่วงง่วงเหงาหาวนอนที่
ดีที่สุดคือ
จัดกิจกรรมในแต่ละวันให้สอดคล้องกับจังหวะหมุนเวียนของร่างกาย
เช่นเก็บงานที่ต้องวิ่งเต้นไปมาไว้ทำในตอนบ่าย
วิธีที่ 2: อาหารที่คุณกินก็มีส่วนอย่างมากต่อพละกำลังของคุณในวันนั้นๆ
คุณเคยได้ยินไหมว่า You are what you eat
คุณกินอะไรเข้าไปคุณก็จะเป็นอย่างนั้นอย่างเช่น
คาร์โบไฮเดรตทำให้ร่างกายผลิตสารเซโรโทนินเพิ่มขึ้น
สารชนิดนี้หลั่งจากสมองกระตุ้นให้เกิดการนอน
ซึ่งหมายความว่าการกินอาหารกลางวันที่มีแห้งมากๆ
จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยในตอนบ่าย ดังนั้นคุณควรกินผักและผลไม้ให้มาก
แต่หากคุณไม่ขอบกินคุณก็จะขาดวิตามินและแร่ธาติต่างๆ ซึ่งทำให้คุณอ่อนแรงลงได้
แร่ธาตุอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ เกลือแร่โบรอนที่มีอยู่ในผักบร็อคโคลี แครอท
แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ลูกพีช องุ่น และถั่วต่างๆ
หากคุณได้รับแร่ธาตุชนิดนี้ในบริมาณที่ต่ำจะทำให้สมองทำงานช้าลงและสมาธิสั้นลง
ส่วนระยะเวลาการกินอาหารควรกินอาหารมื้อย่อยๆ วันละ 5 มือจะเป็นการดีกว่า
และควรหลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักก่อนเวลาที่ต้องการความกระปรี้กระเปร่า
หรือจะลองดื่มกาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะ คือประมาณ 128 กรัม หรือ 0.15-0.24
ลิตร เพราะสารชนิดนี้จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางสมอง
แต่ถ้ามากกว่านี้ก็ไม่ช่วยให้สมองตื่นตัวมากขืนแต่อย่างใด
วิธีที่ 3: ออกกำลังกายเพื่อสร้างพละกำลัง
เคยไหมที่คุณออกกำลังกายอย่างหมดเรี่ยวหมดแรง
แต่พอหายเหนื่อยก็กลับมามีชีวิตชีวาเหมือนเดิม
แสดงว่าการออกกำลังช่วยสร้างพละกำลังให้คุณได้ บางครั้งเพียงเดินรอบๆ
อาคารเป็นเวลาสั้นๆ ก็ช่วยให้กระฉับกระเฉงขึ้นได้
เนื่องจากสารอะดรีนาลินในร่างกายมีระดับสูงขึ้น
เพื่อสุขภาพคุณควรออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญแคลอรี 700 ถึง 2,000 หน่วยต่อสัปดาห์
ซึ่งหมายถึงการเดินก้าวฉับๆ นาน 30 ถึง 45 นาที หรือประมาณ 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์
หรือการออกกำลังหนักๆ นาน 30 นาที
วิธีที่ 4: คือลองค้นหาปัญหาด้านจิตใจ
ความอ่อนเพลียนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องทางกาย
แต่บ่อยครั้งที่กลายเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเครียด
โดยเฉพาะความเศร้าซึมและความโกรธ การเก็บความรู้สึกไว้ต้องอาศัยพลังงานอย่างมาก
ดังนั้นคุณควรเลิกกังวลซะเถิด
วิธีที่ 5: ศึกษาเคล็ดลับจากพวกนักกีฬา
คนพวกนี้แรงตกไม่ได้เด็ดขาดระหว่างการแข่งขัน ซึ่งวิธีที่นิยมกันคือหายใจลึกๆ
เข้าทางจมูกจนช่องท้องตอนล่างขยายตัวเต็มที่แล้วกลั้นหายใจพลางนับหนึ่งถึงแปด
เพื่อให้อากาศหมุนเวียน
จากนั้นปล่อยลมหายใจออกช้าๆ จนท้องยุบ
เพียงเท่านี้แหละค่ะ 5 วิธีง่ายๆ
ที่คุณอาจจะเลือกสักหนึ่งวิธีที่เหมาะกับคุณมาใช้
แล้วอาการอิดโรยที่แสนน่าเบื่อก็จะหมดไป