กอด - พิจิกา จิตตะปุตตะ
รักกันกอดกัน ตอน วันนี้...ครอบครัวฉันกอดกันหรือยัง? ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์
เมื่อกระทำผิด อะไรช่วยให้คนในครอบครัวกลับใจ ได้มากกว่ากัน ระหว่าง การให้ชดใช้ กับ การให้อภัย คมคิด: จงรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง
Q: คุณหมอครับ บางครอบครัวเลี้ยงลูกแบบตามใจ บางครอบครัวก็เลี้ยงแบบเข้มงวดมาก แล้วอย่างไหนดีกว่ากันล่ะครับ
ดร.นพ.ยุทธนา ภาระนันท์ : หากเป็นไปได้เลี้ยงลูกแบบรักสนับสนุน ก็จะดีนะครับ เพราะหากตามใจมากเกินไป ลูกก็จะขาดวินัยในชีวิต แต่หากเข้มงวดเกินไป ลูกก็จะขาดความเข้าใจคน ขาดความยืดหยุ่น (ยึดแต่กฎระเบียบ) จะเครียดง่ายและไม่มีความสุข การเลี้ยงลูกแบบรักสนับสนุนเป็นอย่างไร ผมขอยกตัวอย่างครอบครัวนี้ (กรุณาดูจาก Clip VDO: Father daughter preg)
ไทยประกันชีวิต - My Girl
เมื่อปุยฝ้ายเกิด พ่อสัญญาว่าจะดูแลลูกปุยฝ้ายด้วยความรัก พ่อทำอย่างไรบ้าง เมื่อลูกปุยฝ้ายได้ทำผิดพลาดเรื่องเพศสัมพันธ์ แวบหนึ่งพ่อโกรธ อยากจะลงโทษให้หลาบจำ แต่พ่อตัดสินใจเลือกทำบางอย่างที่ทำให้ได้ลูกกลับคืนมาตลอดไป พ่อทำอะไร แล้วอะไรทำให้พ่อทำอย่างนั้น
เพื่อปลูกและรดน้ำต้นรักในครอบครัว วันนี้ผมขอเสนอ
ทักษะรักกันกอดกัน (Love Hug) ซึ่งเป็นการแสดงออกของความรักที่มีต่อกันในครอบครัวได้อย่างเป็นธรรมชาติและได้ทุกวัน โดยอาศัยปัจจัยเอื้อได้แก่
ความเข้าใจร่วมรู้สึก (Empathy) การใช้เวลาร่วมกัน
การเห็นคุณค่าของกันและกัน (Gratefulness) ผลก็คือความสุข ความผูกพันทางอารมณ์ และการร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคอย่างได้ผล
อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้น ย่อว่า 3H ทำต่อเนื่องกัน ดังนี้ 1. Hug กอดกัน โดยสัมผัสโอบกอดกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่ม ขณะกอดให้สัมผัสความรู้สึกของกันและกัน ส่งผ่านความรู้สึกรักห่วงใย ปรารถนาดีให้กันและกัน ทำได้ตั้งแต่ตื่นนอน ก่อนออกจากบ้าน เมื่อกลับถึงบ้าน ก่อนนอน และเผลอๆ เดินไปเดินมาในบ้าน ก็กอดกัน หรือในโอกาสสำคัญเพื่อแสดงความยินดี เช่น วันเกิด วันได้แชมป์ เป็นต้น
2. Hi ทักทายบอกรัก ขณะกอด ก็พูดจากใจสื่อถึงความรัก ความประทับใจ การขอบคุณ การอวยพรแก่กันและกัน เช่น สามีบอกภรรยา “พี่รักดาร์ลิงที่สุดในโลกเลย”, พ่อบอกลูก “ลูกทำได้ดีมาก พ่อรักลูก” เป็นต้น
3. How are you ไต่ถามทุกข์สุข เพื่อจะได้พูดเล่าเรื่องต่างๆ ให้กันและกันฟัง ทำให้สนิทสนมและช่วยเหลือกันและกันได้มากยิ่งขึ้น ก็อาจถามขณะกอดด้วยว่า “วันนี้เหนื่อยมั้ย” “เล่นกีฬาชนะ รู้สึกอย่างไร” หรือเราเป็นห่วงเขาบางเรื่องก็ถามได้ เช่น “ตอนนี้ สุขภาพเป็นอย่างไรบ้าง” “เรื่องที่หนักใจ ตอนนี้ดีขึ้นหรือยัง” เป็นต้น
“รักคือการให้อภัย...นำมาซึ่งการปลดปล่อย” ท่านว่าจริงหรือไม่? จะนำไปใช้กับ “คนที่เคยทำร้ายจิตใจฉัน” อย่างไร?
ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์ MD., FP., Ed.D. yparanan@gmail.com แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและเวชศาสตร์ครอบครัว |