ล่า - เสาวลักษณ์ ลีละบุตร
สุดยอดนัก พรางตัว ของ สรรพสัตว์ ทั้งหลาย
(Find Me If You Can)
" ผู้ปรับตัวได้เท่านั้นจึงจะอยู่รอด "
Charles Darwin เจ้าทฤษฎีแห่งการวิวัฒนาการได้กล่าวไว้ประมาณนี้
การพรางตัว (camouflage) เป็นการซ่อนตัว โดยปกปิดตัวมันเองให้รอดพ้น รวมถึง การเลียนแบบ (mimic) ซึ่งเป็นพฤติกรรมการเลียนแบบให้ตัวมันเหมือนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเพื่อตบตาสัตว์ต่างๆให้เข้าใจมันผิดไป นับเป็นความสามารถทางวิวัฒนาการ ที่พวกมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างแนบเนียน เพราะผู้ที่แข็งแกร่งและปรับตัวเองได้เท่านั้นจึงจะสามารถอยู่รอด สิ่งเหล่านี้ Charles Darwin ได้อธิบายไว้ในกระบวนการที่เรียกว่า “การคัดเลือกโดยธรรมชาติ” (Natural selection)
การพรางกายของสัตว์ มันทำเพื่อเป็นทั้งการซ่อนตัวเพื่อรักษาชีวิตจากเหล่านักล่า หรือบ้างก็ทำเพื่อตบตาเหยื่อในฐานะนักล่าเสียเอง เพราะผู้ล่าก็ใช่ว่าจะต้องเล่นเกมรุกเข้าหาเหยื่อเสมอไป นักล่าบางตัวจึงเลือกที่จะทำตัวกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมเพื่อซุ่มรอเหยื่อที่เข้ามาหามันเองอย่างสงบนิ่ง
เสน่ห์แห่งการพรางตัวของสัตว์แต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันไป เราลองมารู้ทันการเล่นซ่อนหากับเหล่าสัตว์นักนินจาเหล่านี้กันดู
เริ่มกันที่ ตั๊กแตนใบไม้ จัดอยู่ในอันดับ Phasmatodea วงศ์ Phylliidae ด้วยเทคนิคการพรางตัว ที่ปีกคู่หน้าของมันมีสีสันและเก็บรายละเอียดจุดเล็กจุดน้อย ลอกเลียนกิ่งไม้ได้อย่างแนบเนียนมาก เบื้องหลังการเปลี่ยนสีของเจ้าตั๊กแตนใบไม้จะขึ้นอยู่กับขึ้นกับอุณหภูมิ ความชื้น และความเข้มของแสงในสภาพแวดล้อมท่อาศัยอยู่ โดยการทำงานของเซลล์ epidermis ที่อยู่เหนือผิว cuticle ซึ่งจะมีเม็ดสี (pigment granules) คอยเคลื่อนที่เข้าในเซลล์เพื่อตอบสนองกับสิ่งแวดล้อม
ภาพ Phasmida family Phylliidae
ที่มา www.insect-mall.idv.tw
หนอนคืบ ในระยะการเป็นตัวหนอนมันจะต้องระวังภัยจากนกที่คอยสอดสายตาหาหนอนตัวอ้วนเป็นอาหาร โดยสังเกตจากร่องรอยการแทะใบไม้ของหนอนนั้นเอง เจ้าหนอนผีเสื้อจึงเอาตัวรอดด้วยการกินใบไม้แบบใหม่ไม่ก้มหน้าก้มตากินอย่างเดียว แต่จะค่อยๆ แทะเล็มซิกแซ็กไปตามขอบของใบไม้ เมื่อจัดการเสร็จใบไม้แต่ละใบก็จะมีรูปรางคล้ายแบบเดิมแค่ขนาดเล็กลงเท่านั้นเอง
หนอนคืบ
เจ้าแมงมุมกระโดดคล้ายมดแดง (Ant-Mimicking Jumping Spider) จัดออยู่ในสกุล Myrmarachne พวกมันปลอมตัวเป็นมด (ant mimicry) โดยจำลองรูปร่าง ทั้งพฤติกรรมและสีสัน ให้ คล้ายกับมดมากที่สุด ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า myrmecomorphy ในตัวเมียนั้น จะเลียนแบบพฤติกรรมและท่าทางของมดงานธรรมดาๆ แต่ตัวผู้ที่จะต้องอวดระยางค์จับเหยื่อ (chicerae) ที่ยื่นยาวออกมา เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์ ทำให้การพรางตัวไม่แนบเนียนเท่าตัวเมีย มันจึงต้องเลียนแบบมดงานที่กำลังขนสัมภาระไว้ในขาจึงเรียกการเลียนแบบนี้ว่า compound mimicry
ภาพ Myrmarachne (ant mimic jumping spider), a female and a male.
ที่มา cellar.org
ปลาหมึกยักษ์นักเลียนแบบ (mimic octopus) มันอยู่ในสายพันธุ์หนึ่งของปลาหมึกสาย มันคือนักปลอมตัวชั้นยอด เมื่อต้องเจอกับปลาสลิดหิน (damselfish) หรือปลาตัวตลก (clownfish) มันกลายร่างเป็นงูทะเลชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "banded sea snake" ซึ่งจับเจ้าปลาชนิดนี้กินเป็นประจำ โดยจะซ่อนหนวดไว้ 6 เส้นและทำตัวเป็นเส้นโค้งยาวๆ บางสถานการณ์มันจะแผ่หนวดออกไปรอบๆ ทุกทิศทุกทาง เพื่อเลียนแบบครีบของปลาสิงโตที่มีพิษ หรือหุบหนวดให้ไปทางเดียวกันเพื่อเลียนแบบปลาลิ้นหมา (flatfish) ซึ่งเป็นปลามีพิษ
ภาพ The Mimic Octopus
ที่มา spluch.blogspot.com
ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้ (Orchid mantis) อยู่ในวงศ์ Hymenopodidae จัดเป็นตั๊กแตนตำข้าวขนาดใหญ่ เลียนแบบสีสันของดอกไม้ ในแต่ละระยะของการเจริญเติบโต สีของตัวอ่อนจะเปลี่ยนไป ตามวัย เวลา อุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม และพันธุกรรมของแต่ละตัว ที่ทำให้มันมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีแดง สีดำ สีขาว สีชมพู และ สีน้ำตาล ด้วยการพรางตัวของมันแทบจะแยกไม่ออกว่าไหนตั๊กแตน ไหนกล้วยไม้ จึงทำให้มันซุ่มตัวอย่างสงบนิ่งอยู่ท่ามกลางมวลดอกไม้ เพื่อรอให้แมลงที่หลงเข้ามาไต่ตอมดอกไม้กลายเป็นอาหารของมัน
ภาพ Pink orchid mantis
ที่มา pantherkut.com
มังกรทะเลใบไม้ (Leafy Sea Dragon) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Phycodurus eques ถูกจัดอยู่ในวงศ์ Syngnathidae เป็นสมาชิกเพียงชนิดเดียวที่เหลืออยู่ในสกุล Phycodurus พบได้เฉพาะทะเลทะเลด้านใต้ และด้านตะวันตกของออสเตรเลียเท่านั้น ชื่อของมันได้มาจากลักษณะร่างกายที่ภูคล้ายกับมังกร ครีบลักษณะคล้ายใบไม้ไม่ได้มีไว้เพื่อการว่ายน้ำ แต่มีไว้เพื่อพรางตัวให้กลมกลืนไปกับสาหร่ายทะเลที่ลอยล่องอยู่ในน้ำนั่นเอง ลักษณะการพรางตัวของมังกรทะเลไม่ได้มีไว้ใช้เพียงหลีกเลี่ยงศัตรู แต่ยังใช้อำพรางในการหาเหยื่อ มังกรทะเลใบไม้จึงกินอาหารพวกแพลงตอน กุ้งตัวเล็ก และ crustacea เล็กๆอย่างอื่น ว่ายน้ำและเคลื่อนที่ได้ช้ามาก กว่าจะไปไหนได้ก็ต้องใช้เวลามากมายทีเดียวส่วนใหญ่มันจึงจะลอยน้ำอยู่กับที่เพื่ออำพรางตัวเอง ปัจจุบันมังกรทะเลถูกคุ้มครองโดยกฎหมายออสเตรเลีย
ภาพ Leafy Sea Dragon
ที่มา a.abcnews.com
งู แอดเดอร์ทะเลทรายในทะเลทรายนามิบ (desart death adder) เป็นงูในตระกูลเก่าแก่ วงศ์ Elapidae สายพันธ์งูเห่า (Cobra) เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรงเป็นอันดับสองของ อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่แห้งแล้งมีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ทะเลทรายในออสเตรเลียตอนกลางโลก มีสีแดง ส้ม เหลือง ลักษณะลำตัวป้อม สั้น หางเล็ก ส่วนหัวใหญ่ ถ้าไม่จำเป็นมันจะไม่ใช้พิษ มีบุคลิกที่แสนเชื่องช้า อยู่นิ่งๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหว เพื่อรอคอยเหยื่อที่มีเบาบางนักในดินแดนทะเลทราย มันต้องอดทนนอนนิ่งๆ พรางตัวให้กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมเป็นเวลาเนิ่นนาน โดยพรางตัวอยู่ใต้ผืนทราย ทำตัวให้เข้ากับสีหินหรือสิ่งแวดล้อม เพื่อรอคอยเจ้ากระต่าย หนู นก หรือกิ้งก่า
ภาพ Desert Death Adder
ที่มา www.animalpicturesarchive.com
ปลาปากแตร (Trumpetfish) อยู่ใน Family Aulostomidae มันมีลำตัวยาวเรียว ปากของมันจะยาวยื่นออกมาคล้ายลักษณะของแตรพบได้ในทะเลเขตร้อน เป็นนักล่าที่ว่ายน้ำได้ค่อนข้างช้า ในการหาเหยื่อมันจึงอาศัยวิธีแฝงตัวอยู่กับปลาอื่นๆ เช่น ปลานกขุนทอง ปลานกแก้วหรือปลาแพะ โดยการ หลบอยู่ด้านหลังของปลาอีกตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเพื่อใช้เป็นที่กำบัง และคอยแย่งเหยื่อจากปลาเหล่านั้น บางครั้งมันก็เลือกที่จะอาศัยไปกับปลาชนิดที่กินพืช เพราะมีโอกาศในการเข้าถึงเหยื่อดีกว่าซ่อนอยู่หลังปลากินเนื้อ
ภาพ Trumpetfish and Rope
ที่มา montgomerycollege.edu
ปลากบ (Frogfish) อยู่ใน Order Lophiformes มันมีนิสัยชอบเกาะนิ่ง ๆ อยู่ตามพื้นมากกว่าที่จะชอบว่ายน้ำ ครีบของมันจึงไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะแก่การว่ายน้ำ แต่จะยื่นออกมาคล้ายกับขาของกบมันจึงมักจะเคลื่อนที่ด้วยการก้าวเดิน แทนที่จะว่ายน้ำไป มันจึงถูกขนานนามว่าปลากบ นอกจากนี้มันยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มของปลานักตกเบ็ด (Anglerfish) ลักษณะเด่นของปลาในกลุ่มนี้ก็คือ จะมีก้านครีบด้านบนหัวที่พัฒนาขึ้นมาเป็นก้านเล็ก ๆ ยาวใสคล้าย ๆ คันเบ็ด และ ที่ปลายก้านครีบนี้จะมีพู่เล็ก ๆ ติดอยู่ส่วนบนของหัว เพื่อให้ปลาที่เป็นเหยื่อหลงกล คิดว่าเป็นเหยื่อจำพวกกุ้ง หรือปลาตัวเล็ก เจ้าปลากบยังมีพิเศษคือมีขนยาวรุงรังคล้ายกับกอสาหร่ายเพื่อเป็นการพรางตัว เมื่อปลาตัวเล็กๆหลงกลว่ายเข้ามา ก็ตกเป็นเหยื่อของเจ้าปลากบไปอย่างย่างง่ายดาย
ภาพ Frogfish rely on camouflage for protection and to hunt.
ที่มา www.scubaduba.com
แมงมุมดอกไม้ (flower spiders) มีมากมายหลายชนิดมาก สีของมันจะมีสีแดง ชมพู ม่วง เหลือง หรือขาว ก็ขึ้นอยู่กับดอกไม้ที่มันอาศัยเป็นแหล่งล่าเหยื่อ แมงมุมพวกนี้ไม่ชักใยแต่จะรอจังหวะอยู่นิ่งๆ โดย พรางตัวให้เป็นสีเดียวกับบริเวณของดอกไม้ที่มันเกาะอยู่ พวกมัน เมื่อเหล่าแมลงหรือผีเสื้อเคราะห์ร้ายโฉบเข้ามาตอมดอกไม้ มันก็จะถูกเจ้าแมงมุมตัวงามเข้าไปฝังเขี้ยวพิษใส่ในทันที
ภาพ Yellow Spider on Yellow Flower
ที่มา www.thelensflare.com
กลยุทธ์การพรางตัวของสัตว์แต่ละชนิด มันย่อมเลือกให้เหมาะสมว่าตอนนั้นจะเป็นนักล่าหรือผู้ถูกล่า สิ่งแวดล้อมและเป้าหมายของมันย่อมเป็นตัวกำหนดรูปแบบการพรางตัว ว่าจะเลือกใช้กลิ่นลวงหลอก ตบตาด้วยรูปลักษณ์ที่โดเด่น พรางกายในหายไปกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งสร้างเสียงเพื่อให้สับสน
ความพยายามของนักพรางกายทั้งหลายสมควรจะได้รางวัลหรือไม่
การรักษาชีวิตให้คงอยู่คงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
Find Me If You Can
Mother nature has got a wicked sense of humor. She’s also fiercely protective of her creatures as famed wildlife photographer Alex Hyde discovered on his voyage into the world of animals that utilize camouflage for survival. The pictures are awesome and will have you wishing upon a silver star for the ability to blend in.
There is a frog in this picture, but you probably won’t find it.
This camouflage is impressive!
The answer is below:
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
*
A leaf-tailed gecko
A long-spinnered bark spider
A terrestrial frog
A platypelis grandis frog
A stump-tailed chameleon
A common blenny
Malaysian Orchid Mantis
A lined leaf-tailed gecko
A brown mantella frog
A sea scorpion
A violin mantis
A peppered moth
http://www.vcharkarn.com/varticle/39248
http://play.kapook.com/photo/show-62903
http://izismile.com/