1
2

ศปพ. กรณีศึกษา "เอสซีจีโมเดล" ศูนย์ปฏิบัติการน้ำท่วม กู้ภัยพนักงาน 6,000 ชีวิต



Friday - เธอยังมีฉัน


เอสซีจี รวมพลพนักงานจิตอาสา ส่งทีม Rescue ช่วยเหลือเพื่อนพนักงานในพื้นที่ประสบอุทกภัย
วันที่ : 28 ตุลาคม 2554

ภิญโญ หาญศีลวัต (ที่ 3 จากขวา แถวยืน) กรรมการผู้จัดการ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ในเอสซีจี ซิเมนต์ และหัวหน้าทีม Rescue ของเอสซีจี พร้อมกิติ มาดิลกโกวิท (ที่ 5 จากขวา แถวยืน) ผู้อำนวยการสำนักงานการบุคคลกลาง เอสซีจี และวีนัส อัศวสิทธิถาวร (ขวา แถวยืน) ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจี นำทีมพนักงานจิตอาสา “ทีม Rescue” เข้าไปให้ความช่วยเหลือเพื่อนพนักงานเอสซีจีที่ประสบอุทกภัย โดยทีม Rescue เป็นกลุ่มพนักงานจิตอาสาที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ว่ายน้ำเป็น รู้เส้นทาง และออกตระเวนช่วยเหลือเพื่อนพนักงานที่ประสบภัยน้ำท่วมตามพื้นที่ประสบภัยต่างๆ รวมทั้งช่วยเหลือชาวบ้านระหว่างทางอีกด้วย


ทีม Rescue ของเอสซีจี เป็นหนึ่งในทีมงานจิตอาสา ใน “ศูนย์ประสานงานการให้ความช่วยเหลือเพื่อนพนักงานเอสซีจี” เพื่อช่วยเหลือเพื่อนพนักงานด้วยกันที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ โดยมีการแบ่งงานอย่างรอบคอบและเป็นระบบ เช่น ทีม Call Center ทีม Rescue ทีมจัดหาที่จอดรถ ทีมจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราวและอาหาร เป็นต้น

นู๋อยากกลับบ้าน 

กรณีศึกษา "เอสซีจีโมเดล" 
ศูนย์ปฏิบัติการน้ำท่วม กู้ภัยพนักงาน 6,000 ชีวิต

คงไม่มีภัยพิบัติครั้งไหนที่เลวร้ายทรมานใจคนกรุงและคนไทยครึ่งค่อนประเทศได้เท่ากับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้อีกแล้ว จนบางคนเปรียบเทียบประเทศไทยกำลังถูก "สึนามิน้ำจืด" โจมตี !


ตั้ง ศปพ.สำนักงานบางซื่อ

ที่ผ่านมาจึงเริ่มเห็นองค์กรขนาดใหญ่ทำแผนตั้งรับอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ความช่วยเหลือพนักงานในองค์กรที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม 


หนึ่งในนั้นคือ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย หรือ "เอสซีจี" ยักษ์ใหญ่วงการวัสดุก่อสร้าง ที่มี "กานต์ ตระกูลฮุน" นั่งเก้าอี้ซีอีโอ ขับเคลื่อนบริษัท


ล่าสุดได้จัดตั้ง "ศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือพนักงานเอสซีจี" บนชั้น 5 อาคารสำนักงานใหญ่บางซื่อ มีชื่อย่อที่มวลหมู่พนักงานเอสซีจีเรียกขานกันเองว่า "ศปพ."


โครงสร้างองค์กรมีหลายหน่วยงาน แต่ "เจ้าภาพ" สำหรับ ศปพ.ครั้งนี้ถูกมอบหมายให้กับฝ่ายพัฒนาบุคลากร หรือเอชอาร์โดยตรง


ทั้งนี้ ศปพ.เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่าน โดยมีพนักงานระดับซีเนียร์-จูเนียร์หลายร้อยชีวิต สลับสับเปลี่ยนกันเข้ามาร่วมกู้วิกฤตช่วยเหลือคนในชายคาเดียวกัน พร้อมเปิดให้ พนักงานสามารถทำงานที่บ้าน โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ


"เนื่องจากเอสซีจีมีพนักงานจำนวนมาก รวมแล้วประมาณ 35,000 คน ซึ่ง 6,000 คน อยู่ในต่างประเทศ อีก 29,000 คน อยู่ในประเทศไทย ในจำนวนนี้คาดว่ามีประมาณ 6,000 คน ที่บ้านน้ำท่วม หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม นโยบายคุณกานต์จึงให้ตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือพนักงานฯขึ้นมา" วีนัส อัศวสิทธิถาวร หรือ "พี่ตู่" ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจีให้ข้อมูล


จุดเน้น คือถ้าเอสซีจีช่วยตัวเองด้วยการช่วยเหลือพนักงาน 6,000 คน เท่ากับลดภาระรัฐบาลโดยตรง


10 สถานีปฏิบัติการ
ปฏิบัติการเปิด ศปพ.เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 10.39 น. วันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากเอสซีจีและทีม Business Continuity Management (BCM) ที่มีภารกิจคอยบริหารจัดการธุรกิจ ให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องได้ในทุกสภาวะ ได้วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯคราวนี้ว่า...ไม่ธรรมดา ! แม้แต่สำนักงานใหญ่บางซื่อก็อาจมีน้ำท่วม นำมาสู่การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือพนักงานฯเป็นครั้งแรก นับ จากก่อตั้งบริษัทมา 98 ปี


ในวันเดียวกับที่สถานการณ์น้ำท่วมขยายวงเข้าโจมตีพื้นที่ฝั่งธนบุรีในย่านบางพลัดและปิ่นเกล้า "ประชาชาติธุรกิจ" ได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศการทำงานภายในศูนย์ พบว่าภายในการทำงานมีเวลาจำกัด แต่เอสซีจีสามารถวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ


แบ่งการทำงานออกเป็น 10 สถานีย่อย เริ่มจาก 
1) คอลเซ็นเตอร์ 
2) จัดหาทราย 
3) จัดหาที่พักชั่วคราว 
4) rescue (ทีมช่วยเหลือ) 
5) การขนส่ง 
6) อาสาสมัคร (เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง) 
7) อาหาร 
8) จัดหาที่จอดรถ 
9) จัดหา ทำหน้าจัดเตรียมอุปกรณ์ ถุงยังชีพ 
10) สื่อสาร และสุดท้าย คือหน่วยพยาบาล 


โดยมี "พี่นวย-อำนวยอภิชัยนันท์" Head OF Customer Support สำนักงานการบุคคลกลาง เอสซีจี รับหน้าที่เป็นหัวหน้าศูนย์


เฉพาะการทำงานของส่วน ทีม rescue ในแต่ละวันจะมีรถคาราวานช่วยเหลือพนักงานที่ประสบภัยทั้งหมด 12 ทีม รถกระบะโฟร์วีล 12 คัน กระจายไปตามจุดที่ได้รับแจ้ง โดยใช้ ทีมงานจากตัวแทนของ 5 กลุ่มธุรกิจ เอสซีจี ประกอบด้วยเอสซีจีเปเปอร์ เอสซีจีเคมิคอล เอสซีจีซีเมนต์ เอสซีจี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และเอสซีจีจัดจำหน่าย ทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 3 วัน สลับหมุนเวียนกันไป


ด่านแรกเริ่มที่ "คอลเซ็นเตอร์"
กระบวนการทำงานในแต่ละวัน เอสซีจีได้เรียนรู้และพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เริ่มจาก "คอลเซ็นเตอร์" 5 คู่สาย เป็นด่านแรกในการรับเรื่องร้องทุกข์ขอความช่วยเหลือ ที่ผ่านมามีโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเข้ามาเฉลี่ยวันละกว่า 30 ราย


งานแรกสุดไม่ใช่สอบถามข้อมูล แต่เป็นการลดภาวะเครียดของพนักงานที่ร้องทุกข์เข้ามา เพราะบางคนโทร.เข้ามาตอนวิกฤตจู่โจม อาจจะร้องไห้ตกใจ พูดคุยไม่รู้เรื่อง การทำงานด่านนี้จะต้องมีจิตวิทยา ทำให้อารมณ์คู่สนทนาปลายสายสงบลง (calm down) เพื่อจะได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง


ปัญหาที่ผ่านเข้ามาทางคอลเซ็นเตอร์มีหลากหลาย ทั้งขอทราย ขออาหาร ที่พัก ที่จอดรถ ช่วยเหลือสัตว์เลี้ยง ก่อนหน้านี้ เอสซีจีได้เตรียมที่พักในกรุงเทพฯไว้ให้พนักงานที่บ้านถูกน้ำท่วมกว่า 500 ห้อง ปัจจุบันมีกว่า 300 ห้อง ที่พนักงานย้ายเข้ามาอยู่ เหลือสำรองประมาณ 200 ห้อง


ยังไม่หยุดเพียงเท่านั้น ภายใต้สมมติฐานที่เป็นกรณีร้ายแรงสุด (worse case) คือน้ำท่วมทั้งกรุงเทพฯ เอสซีจีได้เหมาจองห้องพักโรงแรมแอมบาส ซาเดอร์ ซิตี้จอมเทียน พัทยา 500 ห้อง เกลี่ยให้พักห้องละไม่เกิน 3 คน


ขณะที่กระบวนการทำงานก็ถูกพัฒนาไปเรื่อย ๆ คอลเซ็นเตอร์วันแรกทำงานแล้วจดข้อมูลบนกระดาษเปล่า วันที่สองพัฒนาเป็นแบบฟอร์มขึ้นมา วันที่สามเติมข้อมูลที่จำเป็นในการเข้าไปช่วยเหลือได้ถูกต้อง เช่น เลขที่บ้าน สีเสื้อ สิ่งที่ช่วยเหลือ ฯลฯ เพื่อให้ทีมช่วยเหลือเข้าถึงได้เร็วที่สุด


จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งต่อทีม Rescue ซึ่งในวันนั้นมี "พี่โอ๋-พลชม จันทร์อุไร" เอ็มดีบริษัทระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง ในเครือเอสซีจีเคมิคอล รับหน้าที่หัวหน้าทีม Rescue เพื่อวิเคราะห์เส้นทางจากแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมค้นหาตำแหน่ง กำหนดแผน การเข้าไปให้ความช่วยเหลือ



12 ทีมช่วยเหลือภาคสนาม
โปรแกรมทำงาน ทุกวัน ทีม Rescue กำหนดกติกาว่า 12 ทีม คาราวานรถโฟร์วีลจะต้อง "ล้อหมุน" เวลา 9 โมงเช้า เพื่อกระจายรถออกไปตามพื้นที่ที่ได้รับแจ้งเหตุ หรือถ้ายังไม่มีภารกิจ ก็จะต้องออกไปสแตนด์บายในจุดที่เริ่มมีปัญหาน้ำท่วม เพื่อให้เข้าถึงพื้นที่ได้เร็ว


คีย์ซักเซสจะอยู่ที่ดาต้าเบส ถามว่าแต่ละทีมบรรจุอะไรไปบ้าง คำตอบ คือถุงยังชีพ เรือพาย ยารักษาโรคเฉพาะทางบางชนิดที่จำเป็น จำนวนคน ฯลฯ


ปฏิบัติการมาได้สัปดาห์เศษ ๆ ตอนนี้รอเรือที่มีเครื่องยนต์ เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งจะมีปัญหาบอกสถานที่ไม่ชัดเจน ต้องพายเรือระยะทาง 6 ก.ม. กว่าจะเข้าถึงเป้าหมาย ถ้าเป็นเคสปกติ งานของทีม Rescue ควรจะแล้วเสร็จตอนเย็น แต่ของจริง เลิกงาน 6 ทุ่มบ้าง หรือ ดึกสุด คือออกตอนเช้า กลับมา ตี 2


ข้อที่ต้องคำนึงคือ "ความปลอดภัย" แน่นอนว่าไม่เฉพาะพนักงานเอสซีจีที่ร้องขอความช่วยเหลือเข้ามาเท่านั้น หากแต่ยังต้องรวมถึงความปลอดภัย ของทีม Rescue ด้วย เพราะไม่ใช่ ทีมมืออาชีพ ปฏิบัติการช่วยเหลือจะให้เข้มข้นยังไง ขีดความสามารถก็ยังมี ข้อจำกัดอยู่


เผชิญ 2 จุดเสี่ยง "ไฟฟ้า-สัตว์"
เมื่อต้องกลับดึก ปัญหาที่ตามมาคือความปลอดภัย ประสบการณ์คือน้ำท่วมมีจุดเสี่ยงต่อทีมงานภาคสนาม 2 เรื่อง 1.ไฟฟ้า 2.สัตว์


กรณี "ไฟฟ้า" วิธีดู คือบ้านหรือโซนที่ไม่มีคนอยู่เลย หรือมีไก่มีปลาตาย ลอยน้ำมา สันนิษฐานได้ว่ามีกระแสไฟฟ้าดูด ส่วนเรื่อง "สัตว์" มีเสี่ยง 4 ประเภท คืองู แมงป่อง ตะขาบ และจระเข้ การ เตรียมความพร้อมเบื้องต้น คือชุดที่สวมใส่จะต้องป้องกันตัวเองได้ระดับหนึ่ง


"ปภังกร เข็มแดง" วิศวกรจากกลุ่มธุรกิจเอสซีจีเคมิคอล หนึ่งในทีมรถคาราวาน บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กำลังเตรียมมุ่งหน้าไปแถวบางพลัดที่น้ำกำลังท่วมเข้ามา เพื่อสแตนด์บายให้ความช่วยเหลือ สิ่งที่ติดรถไปด้วย นอกจากเรือพายและถุงยังชีพ มีเครื่องกรองน้ำ ถุงดำ สุขากระดาษ ฯลฯ อย่างถุงยังชีพ ข้างในจะมีครบ ทั้งทิสชู ขนมแครกเกอร์ ถุงดำ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสาร ยาแก้ปวด กันยุง น้ำกัดเท้า และไฟฉาย พร้อมถ่าน


"ถึงเราจะติดถุงยังชีพไปแจกจ่าย แต่ภารกิจจริง ๆ ของเรา คือพาคนที่ ติดอยู่ในบ้านออกมาเลย เพราะถ้าน้ำท่วมสูง การเข้าถึงยิ่งลำบาก"


ทุกครั้งที่ทีมช่วยเหลือกลับมาสำนักงานใหญ่ ไม่เพียงแต่ได้ช่วยเหลือพนักงานเอสซีจีเท่านั้น หากแต่ระหว่างทางยังได้ "ของแถม" คือช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยบุคคลภายนอกออก มาด้วยเสมอ


"นโยบายคุณกานต์ย้ำชัดเจนว่า ความปลอดภัย ชีวิตมาเป็นอันดับแรก" พี่นวย หัวหน้าศูนย์กล่าวย้ำ


จัดที่จอดรถรองรับ 1,000 คัน
สถานีที่น่าสนใจและได้รับคำชมเชยจากพนักงานเอสซีจีมากที่สุดอีกสถานีหนึ่งคือ "จัดหาที่จอดรถ"


ภายใต้การดูแลของ "น้องก้อง- ภูริพงศ์ มงคลหัตถี" ฝ่ายเอชอาร์จากเอสซีจีเปเปอร์ แจ้งว่า เป็นเรื่องใหม่ที่ทีมงานมานั่งคิดโจทย์กันว่า น้ำท่วมครั้งนี้ พนักงานน่าจะมีความต้องการเรื่องอะไรอีก คำตอบสุดท้ายคือที่จอดรถที่ปลอดภัย


ศปพ.เริ่มจัดเตรียมที่จอดรถ โดยส่งข้อมูลความต้องการออกไป ปรากฏว่ามีบริษัทในเครือยื่นเสนอสถานที่เข้ามามากมาย แต่ทีมงานเลือกไว้ 4 จังหวัด ได้แก่โรงงานใน จ.ชลบุรี ระยอง ราชบุรี และกาญจนบุรี จอดได้ 1,000 คัน


วิธีคัดเลือกสถานที่คือ 
1.ปลอดภัย จากน้ำท่วม 100% 
2.ระยะการเดินทางจากกรุงเทพฯ 100 ก.ม.เศษ ภายใต้กติกาว่าจะต้องจอดนานตั้งแต่ 5 วันขึ้นไป พ่วงบริการรถรับส่งพนักงานระหว่างจุดจอดรถ-สำนักงานใหญ่บางซื่อ สถิติ ณ 25 ต.ค.มีพนักงานนำรถมาฝากไว้กับทีมงาน ศปพ.123 คัน


เพราะถ้าต้องทิ้งบ้านออกมาแล้ว ทรัพย์สินมีค่าชิ้นที่เหลือ ก็หนีไม่พ้นรถยนต์นี่เอง

 * จากผลสำรวจ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย หรือ "เอสซีจี" มักจะติดอยู่ใน TOP 10 ลำดับต้นๆ ขององค์กรยอดนิยม ที่น่าทำงานด้วยอยู่เสมอ





แต่งตัวแฟนซี "ฮาโลวีน" แบบประหยัด...Masks made from Fashion Magazines




Monster Mash




แต่งตัวแฟนซี "ฮาโลวีน" แบบประหยัด...
Masks made from Fashion Magazines



ไอเดียเก๋แต่งตัวแฟนซี "ฮาโลวีน" แบบประหยัดด้วยหน้ากากทำจากแม็กกาซี
Creative photo series by Frederique Daubal, a talented French artist, features models wearing masks created out of pages from fashion magazines.


ออโรรา (Aurora) แสงเหนือแสงใต้


  
แสง (Aurora) - ดร.ป๊อบ


Teaching glossary แสงเหนือแสงใต้


 
แสงเหนือ คืออะไร


 

ออโรรา (Aurora) 
(ดาราศาสตร์)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด


ปรากฏการออโรรา เป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 200 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ

ความหมายของชื่อ
แสงเหนือ ตามประวัตินั้นมีชื่อมากมายหลายชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์นี้ คือ ออโรรา บอเรลลีส (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ ซึ่งตั้งชื่อโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) (ค.ศ. 1564 – 1642) 
คำว่า "Aurora Borealis" แปลว่า "แสงเหนือ" (Northern Light) 
ส่วน "Aurora Australis" แปลว่า "แสงใต้" (Southern Light) 
และคำว่า "Aurora Polaris" แปลว่า "แสงขั้วโลก" ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้


สถานที่และโอกาสการเกิดออโรรา
ในเขตที่มีการปรากฏของออโรรา สามารถสังเกตออโรราได้ทุกคืนที่ฟ้าโล่งในฤดูหนาว โดยมีข้อสังเกตดังนี้
* ออโรราจะปรากฏบ่อยครั้ง ตั้งแต่เวลา 22.00 น ถึง เที่ยงคืน
ออโรราจะสว่างจ้าในช่วง 27 วันที่ดวงอาทิตย์หันด้านแอคทีฟ (Active Area) มายังโลก
ช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงจนถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ ในเดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ และ มีนาคม เป็นเดือนที่เหมาะสำหรับการชมออโรราทางซีกโลกเหนือ
ออโรรามีความสัมพันธ์กับจุดสุริยะ (Sun Spot) บนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวัฎจักรประมาณ 11 ปี แต่ดูเหมือนว่า จะมีการล่าช้าไป 1 ปีสำหรับการเกิดจุดดับมากที่สุดกับการเกิดออโรรามากที่สุด


ตารางที่ 1 แสดงความถี่ในการปรากฏออโรราในสถานที่ต่างๆทั่วโลก
ออโรราจะปรากฏลดลง 20-30% กว่าตอนที่เกิดจุดสุริยะมากที่สุด เมื่อเกิดจุดสุริยะบนดวงอาทิตย์น้อยที่สุด
ออโรราจะปรากฏในแถบประเทศเมดิเตอเรเนียนเมื่อเกิดจุดสุริยะหรือมีลมสุริยะมากๆ อาจถึง 10 ปีต่อครั้ง โดยเฉลี่ยแล้วเกิด 100 ปีต่อครั้ง
สถานที่ความถี่ในการปรากฏ
เมือง Andenes ประเทศนอร์เวย์เกือบทุกคืนที่ฟ้าโล่ง
เมือง Fairbanks รัฐอลาสกา5 – 10 ครั้งต่อเดือน
เมือง Oslo ประเทศนอร์เวย์3 คืนต่อเดือน
สกอตแลนด์เหนือเดือนละครั้ง
พรมแดนสหรัฐ/แคนาดา2 – 4 ครั้งต่อปี
เม็กซิโก และ เมดิเตอเรเนียน1 – 2 ครั้งใน 10 ปี
ประเทศตอนใต้ทะเลเมดิเตอเรเนียน1 – 2 ครั้งในศตวรรษ
แถบศูนย์สูตร1 ครั้งในรอบ 2000 ปี

สถานที่ปรากฏออโรรา
บริเวณที่เกิดออโรราเป็นบริเวณรูปไข่ (Oval-shape region) รอบๆ ขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก เมื่อออโรราสงบ รูปไข่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3000 กิโลเมตร แต่เมื่อเกิดออโรรารุนแรงขึ้น รูปไข่จะกว้างขึ้นกว่า 4000 หรือ 5000 กิโลเมตร 


เนื่องจากขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา ออโรรา โบเรลลีส (Aurora Borealis) จึงพบมากที่เส้นรุ้ง (Latitude) ที่มีประชากรอาศัยมากในซีกโลก (hemisphere) ตะวันตก ส่วนออโรราออลเตรลีส (Aurora Australis) สามารถมองเห็นได้จากเกาะทัชมาเนีย (Tasmania) และทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์

เสียงของออโรรา
มีข้อโต้เถียงกันมานานเกี่ยวกับเสียงของออโรราว่ามันสามารถได้ยินโดยผู้สำรวจบนพื้นโลกหรือไม่ คลื่นเสียงนั้นมีความถี่ประมาณ 340 เมตรต่อวินาทีในอากาศบนระดับพื้นโลก แต่ที่ความสูง 80 ถึง 500 กิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่ออโรราปรากฏนั้นอยู่ใกล้สุญญากาศมาก ทำให้เป็นเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดเสียงขึ้น กระนั้น ก็มีรายงานมากมายว่าได้ยินเสียงระหว่างเกิดออโรรา เสียงที่ได้ฟังนั้น ไม่ใช่เป็นเสียงที่บันทึกจากออโรราโดยตรง แต่เป็นเสียงที่บันทึกจาก แมกนีโตมิเตอร์ (Magnetometer) เสียงที่เปลี่ยนไปคือการเปลี่ยนไปของสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดจากอนุภาคสุริยะ (Solar Particles)


แหล่งที่มาและระดับพลังงานของอนุภาค
ออโรราที่ปรากฏนั้นเกิดจากอนุภาคมีพลังงานเคลื่อนที่ตามเส้นสนามแม่เหล็กมาจากเมกนีโตเทล (Magnetotail) มาสู่บรรยากาศชั้นบน อนุภาคส่วนใหญ่คืออิเล็กตรอน แต่โปรตอนและไอออนอื่น ก็อาจพบได้ เมื่ออนุภาคมีประจุ (Charged Particles) พุ่งมาจาก แมกนีโทสเฟียร์ (Magnetosphere) มาสู่บรรยากาศชั้นบน จะเกิดการชนกับแก๊สที่ไม่มีความสำคัญอะไรที่นั่น
อนุภาคออโรราเป็นเพียงหนึ่งในหลายอนุภาคมีประจุที่กระหน่ำมายังโลก รวมถึงอนุภาคที่มีพลังงานฟลักซ์มหาศาลในช่วง พันล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) หรือล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) อย่างเช่น รังสีคอสมิค (Cosmic Rays) อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสี (Radiation Belt) พลังงานสูง และอนุภาคสุริยะ (Solar Energetic Particles) ส่วนอนุภาคออโรรานั้นเกิดขึ้นในแผ่นพลาสมาแม่เหล็ก (Magnetospheric Plasma Sheet) และมีพลังงานอยู่ในช่วง 1 ถึง 10 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) แต่บางทีอาจมีพลังงานมากถึง 100 พันอิเล็กตรอนโวลต์ (keV) และอนุภาคพลังงานต่ำ เช่น ลมสุริยะที่เข้าสู่แมกนีโตสเฟียร์ทาง ซีกโลกกลางวัน (Dayside Cusp ) ใกล้กับขั้วแม่เหล็กโลก เป็นต้น ความลึกที่อนุภาคเหล่านี้จะเจาะเข้าไปในชั้นบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับพลังงานของมัน ยิ่งพลังงานมากยิ่งเข้าได้ลึก รังสีคอสมิค สามารถเดินทางไปถึงชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) หรืออาจลึกไปถึงพื้นโลก อนุภาคจากแถบกัมมันตรังสีและอนุภาคสุริยะพลังงานสูง เข้ามาได้ถึงชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) และชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) ส่วนออโรรานั้นมาได้แค่ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) ซึ่งสูงประมาณ 100 กิโลเมตร นั่นทำให้ออโรราเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศนี้


สีของออโรรา
ดวงอาทิตย์ปล่อยแสงทุกสีที่มองเห็นได้ออกมาก ทำให้เราเห็นแสงอาทิตย์เป็นสีขาว ส่วนสเปคตรัมของออโรรา ก่อนจะศึกษารายละเอียด เราต้องรู้เรื่อง สาเหตุการเกิดแสงก่อน
ในบรรยากาศประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก อนุภาคของแก๊สเหล่านี้จะปลดปล่อยโฟตอนซึ่งมีความยาวคลื่นคงที่ เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้า กระตุ้นแก๊สในบรรยากาศ อิเล็กตรอนจะเริ่มเคลื่อนที่รูปนิวเคลียสในวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีพลังงานเหลือเฟือ อนุภาคที่ถูกกระตุ้นจะไม่เสถียรและจะปลดปล่อย พลังงานออกมาในรูปของแสง เรียกว่าแสงนี้ว่า ออโรรา


แสงสีเขียวเข้ม เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กิโลเมตร แสงเหนือสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า ส่วนสีฟ้า และม่วงปรากฏที่ความสูงต่ำกว่า 120 กิโลเมตร เมื่อเกิดพายุสุริยะ 000 แสงสีแดงจะปรากฏที่ความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กิโลเมตร
เมื่อออโรราจางลง มันจะปรากฏเป็นสีขาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า เมื่อมันสว่างขึ้น สีจึงมองเห็นขึ้นมา และสีเขียวซีดที่เป็นเอกลักษณ์ของมันจะมองเห็นขึ้นมา
เมื่อมีความหนาแน่นมากขึ้น ในบริเวณที่ต่ำลงมาจะมองเห็นเป็นสีเขียวสด และ สีแดงจางๆ จะมองเห็นที่ความสูงมากๆ


เหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป 100 กิโลเมตร ประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ไนโตเจนจะมีมากที่ความสูง 10 กิโลเมตร และออกซิเจน มีมากที่ 200 กิโลเมตร เส้นกราฟสีเขียวแสดงความหนาแน่นของก๊าซออกซิเจนและสีม่วงแสดงความหนาแน่นของก๊าซไนโตรเจน ณ ความสูงต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเทอโมสเฟียร์ เมื่ออะตอมออกซิเจนถูกกระตุ้น มันจะปล่อยแสงมากมายหลายสีออกมาก แต่สีที่ที่ส ว่างที่สุดคือที่แดงและสีเขียว


ที่ระดับความสูง 200 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว อิเล็กตรอนที่พุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลกจะชนกับอะตอมออกซิเจนจะให้แสงสีแดง (Red)

เมื่อชนกับไนโตรเจนจะให้แสงสีน้ำเงิน (Blue) พร้อมทั้งอิเลคตรอนทุติยภูมิ (secondary electron) ซึ่งเมื่อชนกับอะตอมออกซิเจนก็จะให้แสงสีเขียว

ไนโตรเจนโมเลกุลที่ความสูง 100 กิโลเมตรเมื่อถูกชนจะปลดปล่อยแสงเรืองเป็นสีแดงเข้ม (crimson)
Image Credit: “Space Update”


ความสูงของออโรรา (จากพื้นโลก)
ตั้งแต่ปี 1915 เป็นต้นมา ความสูงของออโรราเป็นที่โต้เถียงกันในวงการวิทยาศาสตร์ จนในปี ค.ศ. 1910 – 1940 คาร์ล สตอร์เมอร์ (Carl Størmer) ได้ใช้หลักการพาราแล็กซ์ (Parallax) ในการวัดขนาด นักสำรวจ 2 คนที่ความสูง 50 ถึง 100 กิโลเมตรโดยใช้ภาพออโรรา 2 ภาพที่ถ่ายในเวลาเดียวกัน และใช้แผนที่ดวงดาว อ่านขนาดมุม และคำนวณหาความสูง
ภาพพาราแล็กซ์กว่า 20000 ภาพ ทำให้สตอร์เมอร์คำนวณความสูงของออโรราอย่างแม่นยำ ออโรราในยามค่ำคืนจะพบที่ความสูง 90 ถึง 150 กิโลเมตร มีบางส่วนที่อาจแผ่กว้างถึง 500 กิโลเมตร แต่โดยเฉลี่ย มีความสูงที่ 100 ถึง 120 กิโลเมตร
เราใช้เครื่องวัดแสง ที่เรียกว่า ออโรรา โฟโตมิเตอร์ (Aurora Photometre)


นอกจากโลกแล้วบนดาวเคราะห์ดวงอื่นอย่างเช่นดาวเสาร์ก็สามารถเกิดออโรร่าได้เช่นกัน 
Image credit: NASA/ESA/J. Clarke (Boston University)

ออโรราในดาวดวงอื่น
นอกจากออโรราจะปรากฏในโลกแล้ว ยังปรากฏในดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก ทั้งออโรราของดาวพฤหัสและดาวเสาร์ปล่อยอะตอมในบรรยากาศที่ถูกกระตุ้นโดยพลังงาน อนุภาคมีประจุล้วนเกิดจากแมกนีโตสเฟียร์ของดาวนั้นๆ แมกนีโตสเฟียร์จึงต่างจากโลกมาก รวมทั้งสีและการปรากฏของออโรราก็ไม่เหมือนกับในโลก แต่รูปไข่ยังเหมือนกับโลกอยู่ การเกิดออโรราจึงเหมือนกันทั้งระบบสุริยะจักรวาล
นอกจากนี้ ยังมีออโรราของดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวอังคารอีกด้วย


ดวงอาทิตย์ กับ ออโรรา
ดวงอาทิตย์ ก็มีชั้นบรรยากาศ และ สนามแม่เหล็กเช่นกัน ชั้นบรรยากาศประกอบด้วยไฮโดรเจน ซึ่งตัวมันเองก็ประกอบด้วยอนุภาคย่อย: โปรตอน กับ อิเล็กตรอน อนุภาคเหล่านี้ ถูกเผาไหม้โดยดวงอาทิตย์ 


ลมเหล่านี้มักจะถูกผลักเมื่อมาชนกับสนามแม่เหล็กโลก และเปลี่ยนรูปร่าง เหมือนกับเราเปลี่ยนรูปร่างของฟองสบู่เมื่อเราเป่าบนพื้นผิวมัน เราเรียกบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า เม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) โดยปรากฏการณ์จะเกิดในด้านกลางวันของโลก ซึ่งลมสุริยะจะพัดมาเฉพาะทางนี้ และจะเรียวตรงเป็นหางเหมือนรอยน้ำหลังเรือแล่น เราเรียกมันว่า เม็กนีโทเทล (Magneto tail) และแน่นอน มันชี้ไปด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์


เมื่อเกิดการบีบอัดกับสนามแม่เหล็กโลกต้องใช้พลังงาน เหมือนกับเราต้องใช้พลังงานในการกดลูกโป่งที่มีลมอยู่ข้างใน กระบวนการทั้งหมดยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด 


ตอนนี้เรามีชั้นเม็กนีโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นที่ที่ลมสุริยะถูกบีบอัด และ อนุภาคมีประจุก็แผ่ไปทุกที่ในสนามแล้ว อนุภาคสุริยะจากลมสุริยะ มักจะกลับเข้าสู่หางของ เม็กนีโทสเฟียร์และพุ่งตรงไปยังดวงอาทิตย์ และจากนั้น ถ้าเงื่อนไขนี้ถูกต้อง ความกดดันจากลมสุริยะก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า ระ โวลต์ ความต่างศักย์นี้ จะผลักอิเล็กตรอน (ซึ่งมีแสงสว่าง) พุ่งสู่ขั้วแม่เหล็กโลก ด้วยความเร็วที่สูง เหมือนอิเล็กตรอนในโทรทัศน์ ที่พุ่งตรงมาชนกับจอภาพ มันเคลื่อนไปตามสนามอย่างเร็วสู่พื้นโลก ทั้งเหนือและใต้ จนกระทั่งอิเล็กตรอนจำนวนมหาศาลถูกผลักลงสู่ชั้นบรรยากาศข้างบน คือ ชั้น ไอโนโนสเฟียร์ (Ionosphere) ในชั้นนี้ อิเล็กตรอนจะพุ่งเข้าชนกับอะตอม ซึ่งทำให้อะตอมของแก๊สเกิดพลังงาน และปล่อยทั้งแสง และ อิเล็กตรอนตัวอื่นอีก และทำให้เกิดแสงในชั้นบรรยากาศนี้และชักนำให้กรมือนตอนที่มันพุ่งเข้ามา เพราพลังงานเหล่านี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของออโรรา ออโรรา มีลักษณะคล้ายกับ นีออน เว้นแต่ออโรรา เกิดกับแก๊สในชั้น ไอโอโนสเฟียร์ แทนที่จะเกิดในหลอดแก้ว และกระแสวิ่งกลับเข้าออกระหว่างสนามแม่เหล็ก แทนที่จะเป็น ลวดตะกั่ว


ปรากฏการณ์สำคัญบนดวงอาทิตย์


*  การปล่อยก้อนมวลจากดวงอาทิตย์ (CME) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์มีการปลดปล่อยมวลออกมา อนุภาคไฟฟ้าพลังงานสูงจะถูกปลดปล่อยออกมาด้วความเร็วสูงนับพัน กิโลเมตรต่อวินาที ปรากฏการณ์ CME นี้มักจะเกิดร่วมกับ Solar Flare หรือ Prominence (เป็นปรากฏการณ์คล้ายเปลว)


* การประทุที่ดวงอาทิตย์ (Solar Flare) เป็นการระเบิดรุนแรงบนชั้น Chromospheres เกิดขึ้นบริเวณที่มี Sun Spot ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นขั้วของสนามแม่เหล็กแบบคู่ขั้ว Solar Flare ให้พลังงานสูงมาก (ประมาณว่าเท่ากับระเบิดไฮโดรเจนขนาด 100 เมกกะตันจำนวน 1 ล้านลูกรวมกัน) เนื่องจาก Solar Flare มีพลังงานสูงมาก การส่งพลังงานออกมามักอยู่ในย่านความถี่ของอัลตราไวโอเลตและรังสีเอกซ์ จึงสังเกตได้ยากภายใต้ย่านความถี่ของแสงขาว แต่เห็นได้ชัดเจนในย่านความยาวคลื่นที่ได้กล่าวมาแล้ว อุณหภูมิของ Solar Flare จะสูงหลายล้านเคลวิน และส่งอนุภาคประจุไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงกว่าปรกติออกมาอย่างมากมาย เกิดเป็นลมสุริยะที่มี
กำลังแรงผิดปรกติ จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นพายุสุริยะ (Solar Storm)


ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ที่มีมากที่สุด (Solar Maximum) เป็นคาบของปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์ที่ทุก 11 ปี เมื่อจุดบนดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งมีจุดสุริยะมากเพียงใด อนุภาคสุริยะยิ่งถูกปลดปล่อยมามากเท่านั้น ปรากฏการณ์นี้เกิดล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2544 – 2545 และจะเกิดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 - 2555


จุดสุริยะ (Sunspot) เป็นจุดที่เกิดจากสนามแม่เหล็กบนผิวดวงอาทิตย์ที่หนาแน่นมาก อุณหภูมิบริเวณนี้จะเย็นกว่าบริเวณใกล้เคียง (เย็นกว่าประมาณ 1000 องศา) และมีสีดำกว่า จุดสุริยะนี่เองเมื่อถูกส่งออกมาสู่อวกาศ อนุภาคจะถูกสนามแม่เหล็กโลกดึงไว้และเกิดเป็นออโรรา


ลมสุริยะ (Solar Wind) เป็นแก๊สของอิเล็กตรอนและไอออนที่วิ่งมาด้วยความเร็วเหนือเสียง (Supersonic) ยิ่งมีลมสุริยะมากเท่าไร ออโรราก็เข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้นเท่านั้น


ออโรรากับวิถีชีวิต
การศึกษาพายุสุริยะในเวลาต่อมาได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่า พายุนี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าสะพรึงกลัวยิ่ง เพราะเมื่อเรารู้ว่า เปลวก๊าซร้อนที่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์นั้น นำอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าออกมากมายด้วย ดังนั้น เมื่ออนุภาคเหล่านี้พุ่งถึงชั้นบรรยากาศ เบื้องบนของโลก ถ้าขณะนั้นมีนักบินอวกาศ ร่างกายของนักบินอวกาศคนนั้นก็จะได้รับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าและรังสีต่างๆ มากเกินปกติ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ พายุอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าอาจพุ่งชนดาวเทียมที่กำลังโคจรอยู่รอบโลกจนทำให้ดาวเทียมหลุดกระเด็นออกจากวงโคจรได้ และถ้าอนุภาคเหล่านี้พุ่งชนสายไฟฟ้าบนโลก ไฟฟ้าในเมืองทั้งเมืองก็อาจจะดับ ดังเช่นเหตุการณ์ไฟฟ้าดับที่เมืองควิเบก ในประเทศแคนาดาเป็นเวลานาน 9 ชั่วโมง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532 เพราะโลกถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำอย่างรุนแรง


ความจริงเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 11 ปีมาแล้ว แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์รู้อีกว่า ทุกๆ 11 ปีจะเกิดเหตุการณ์พายุสุริยะ ที่รุนแรงบนดวงอาทิตย์อีก ดังนั้นปี พ.ศ. 2543 จึงเป็นปีที่นักวิทยาศาสตร์คาดหวังจะเห็นโลกถูกดวงอาทิตย์คุกคามอย่างหนักอีก ครั้งหนึ่ง และเมื่อขณะนี้โลกมีดาวเทียมที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ประมาณ 800 ดวงและสหรัฐอเมริกาเองก็มีโครงการจะส่งนักบินอวกาศ ขึ้นไปสร้างสถานีอวกาศนานาชาติในปีนั้นอีกเช่นกัน บุคลากรและดาวเทียมเหล่านี้จึงมีโอกาสถูกพายุสุริยะจากดวงอาทิตย์พัดกระหน่ำ จนเป็นอันตรายได้ ก็ในเมื่อเวลาพายุไต้ฝุ่นหรือทอร์นาโดจะพัด เรามีสัญญาณเตือนภัยห้ามเรือเดินทะเลและให้ทุกคนหลบลงไปอยู่ห้อง ใต้ดิน จนกระทั่งพายุพัดผ่านไป การเตือนภัยพายุสุริยะก็เป็นเรื่องที่จำเป็นเช่นกัน เพราะถ้าเรารู้ว่าพายุสุริยะกำลังจะมาถึงโลก โรงไฟฟ้า ก็ต้องลดการผลิตกระแสไฟฟ้า คือไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกจากเครื่องเต็มกำลังเพราะถ้าไฟฟ้าเกิดช็อต ภัยเสียหายก็จะไม่มาก ดังนั้น การแก้ไขล่วงหน้าก็จะสามารถทำให้ความหายนะลดน้อยลง แต่ความสามารถของผู้เชี่ยวชาญสภาวะของอวกาศ วันนี้ก็ดีพอๆ ความสามารถของนักอุตุนิยมวิทยาที่สามารถทำนายสภาพของอากาศ บนโลก เมื่อ 40 ปีมาแล้ว ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์สภาวะแวดล้อมของอวกาศ (Space Environment Center) ขึ้นมา โดยให้นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ทำนายสภาพของอวกาศล่วงหน้า และผลงานการพยากรณ์เท่าที่ผ่านมาได้ทำให้เรารู้ว่า คำพยากรณ์นี้มี เปอร์เซ็นต์ถูกถึง 90% ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดในหนึ่งชั่วโมง แต่เปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดก็จะสูง ถ้าเป็นกรณีการทำนายล่วงหน้า หลายวัน


เพื่อให้คำทำพยากรณ์ต่างๆ มีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องมากขึ้น องค์การนาซาของสหรัฐฯ จึงได้วางแผนส่งดาวเทียมดวงใหม่ขึ้น อวกาศเพื่อสำรวจสถานภาพของพายุสุริยะทุกลูกที่จะพัดจากดวงอาทิตย์สู่โลกในอีก 11 ปี ข้างหน้านี้


ความรู้ปัจจุบันที่เรามีอยู่ขณะนี้คือ ผลกระทบของพายุสุริยะจะรุนแรงอย่างไร และเช่นไร ขึ้นกับ 3 เหตุการณ์ต่อไปนี้ คือ


เหตุการณ์แรก เกี่ยวข้องกับจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งเป็นบริเวณผิวดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณส่วนอื่น และเป็น บริเวณที่สนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์สามารถทะลุออกจากดวงอาทิตย์ออกมาสู่อวกาศภายนอกได้ ดังนั้น เมื่อเกิดการระเบิดที่ผิวดวงอาทิตย์ในบริเวณนี้ กระแสอนุภาคจะถูกผลักดันออกมาตามแนวเส้นแรงแม่เหล็กนี้มาสู่โลก และเมื่อกระแสอนุภาคจากจุดดับพุ่งชนบรรยากาศเบื้องบนของโลก มันจะปะทะอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก (Ionosphere) การชนกันเช่นนี้จะทำให้เกิดกระแสประจุซึ่งมีอิทธิพลมากมายต่อการสื่อสารทางวิทยุ


เหตุการณ์สอง ที่มีอิทธิพลทำให้สภาวะของอวกาศระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ปรวนแปร ในกรณีมีพายุสุริยะที่รุนแรงคือ ชั้นบรรยากาศ ของโลกอาจจะได้รับรังสีเอกซ์มากกว่าปกติถึง 1,000 เท่า รังสีเอกซ์นี้ จะทำให้อิเล็กตรอนที่กำลังโคจรอยู่รอบอะตอม กระเด็นหลุดออก จากอะตอม และถ้าอิเล็กตรอนเหล่านี้ชนยานอวกาศ ยานอวกาศก็จะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง ซึ่งจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในยานเสีย และนั่นก็หมายถึงจุดจบของนักบินอวกาศ


ส่วนเหตุการณ์สาม ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุด เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มก๊าซร้อนหลุดลอยมาถึงโลก และเมื่อมันพุ่งมาถึงโลก สนามแม่เหล็กในก๊าซร้อนนั้นจะบิดเบนสนามแม่เหล็กโลก ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในชั้นบรรยากาศของโลกอย่างมากมาย กระแสไฟฟ้านี้ จะทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น มันจึงขยายตัว ทำให้ยานอวกาศที่เคยโคจรอยู่เหนือบรรยากาศ ต้องเผชิญแรงต้านของอากาศ ซึ่งจะมีผลทำให้ยานมีความเร็วลดลงแล้วตกลงสู่วงโคจรระดับต่ำ และตกลงโลกเร็วกว่ากำหนด










1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss