Happinessss
1
2
ทำเงินบนโลกไอที : 13 เคล็ดรวยด้วย Community
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ตามไปดูสิ่งที่ควรรู้สำหรับใครก็ตามที่สนใจเรื่องการเริ่มธุรกิจด้วยการสร้างชุมชนคนออนไลน์หรือ Community อ่านจบแล้วคุณรู้ทันทีว่า อะไรคือบุญที่ควรทำ และบาปที่ควรละเว้น หากคุณจะสร้างธุรกิจจากชุมชนออนไลน์ของตัวเอง
***เริ่มธุรกิจจากการเป็นคนกลาง ด้วย Community
(บทความโดย สุทธิพงศ์ ชลวิไล www.WeddingSquare.com)
หากเราไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้า ไม่มีทำเลที่ยอดเยี่ยม ไม่มีสายสัมพันธ์ใดๆ ไม่มียี่ห้อ ซ้ำไปกว่านั้น ยังไม่มีแหล่งเงินทุนก้อนโต การเริ่มต้นธุรกิจเว็บไซต์จะเป็นไปได้อย่างไร คำตอบคือเป็นไปได้ เพราะเว็บไซต์ WeddingSquare.com และอีกหลายเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ล้วนแต่มีคุณสมบัติครบทุกข้อที่กล่าวมา
ผมได้รวบรวมหลักการณ์ แง่คิด รวมถึงประสบการณ์ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ให้บริการและบริหารเว็บไซต์ community มาเป็นบทความนี้ ซึ่งหวังว่าคุณผู้อ่านจะสามารถเลือกใช้และต่อยอดได้อย่างเต็มที่
1. มองหากลุ่มธุรกิจที่เล็กชัดเจนและมีมูลค่ามากพอ :
หลากหลายกลุ่มสังคมที่ยังมีว่างพร้อมให้ผู้ที่มุ่งมั่น ลงมือทำ พิจารณาศักยภาพในอนาคต สินค้าและบริการที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นหมายถึง มูลค่าของเว็บที่จะเติบโตและหยั่งยืนต่อไป
แม้จะเป็นกลุ่มสังคมเล็กๆ แต่หากมีอำนาจใช้จ่ายสูง ก็ย่อมเป็นที่ปราถนาของบรรดาเจ้าของสินค้า ผิดกับเว็บที่มีสารพัดแต่กลายเป็นจับฉ่ายราคาถูกไป
ที่สำคัญ อย่าฆ่าตัวตายด้วยการทำตามๆ กันไป หรือทำเพราะตามกระแส ขอยืนยันว่าหนทางสู่ความสำเร็จนั้นไม่มีสูตรตายตัว
2. เข้าใจความเป็นไปและธรรมชาติของเครือข่าย :
เพราะว่า 1 + 1 อาจไม่เท่ากับ 2 การเพิ่มขึ้นของลูกค้าหรือสมาชิกเว็บไซต์ 1 ราย จะสร้างคุณูปการณอย่างทวีคูณให้กับเว็บไซต์ ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ของ network effect (ดูเพิ่มเติมได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Network_effect
สิ่งที่คุณควรทำคือ จงให้ความสำคัญลงลึกถึงจิตใจ ต่อสมาชิกให้มากเข้าไว้
3. เข้าใจความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ :
ถึงแม้ CyberSpace จะเป็นโลกออนไลน์ แต่ประชากรในนั้น ยังคงเป็นมนุษย์แบบเรา ๆ ท่าน ๆ กฎความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (ดูรายละเอียดท้ายบทความ) จึงยังคงเป็นจริงอยู่เสมอ
เว็บชุมชนนั้นจะถูกขับเคลื่อนไปได้เองเมื่อสมาชิกได้รับการตอบสนอง จากความต้องการของมนุษย์ในขั้นที่ 3
“ความต้องการความรัก และการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม”
และขั้นที่ 4
“ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น”
ดังนั้นการวางโครงสร้าง และรูปแบบเว็บไซต์ ควรเอื้อต่อการแสดงความเป็นตัวตน การเชื่อมความสัมพันธ์ และการยกย่องเพื่อนสมาชิกด้วยกัน
ยกตัวอย่างเช่น ระบบสามารถแสดง Avatar “icon ประจำตัว”, Signature เมื่อตั้งหรือตอบกระทู้ ฯลฯ
4. เรียนรู้จากผู้นำในตลาดอื่นๆ :
โดยธรรมชาติ หลักการของเว็บ community ไม่มีอะไรแตกต่างกัน อยู่ที่วิธีการยึดเหนี่ยวสมาชิก ให้อยากเข้าแล้วเข้าอีก
คุณสามารถเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้จากเว็บใหญ่ ที่เป็นผู้นำในตลาด แล้วเอามาปรับใช้ดู
5. ระยะเริ่มต้น ควบคุมต้นทุนให้ต่ำเข้
าไว้ :
ในความหมายนี้คือการใช้เงินในการดำเนินการในส่วนที่จำเป็นจริงๆ เพราะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว
ขณะเดียวกัน การที่รายรับยังไม่มีเข้ามา การควบคุมรายจ่ายย่อมเป็นสิ่งสำคัญ
ธุรกิจคุณอยู่บนหน้า
จอคอมพิวเตอร์
อย่าหลงไปกับการตกแต่งสำนักงานใหญ่โต หรือจ้างพนักงาน ที่ไม่ได้ช่วยก่อให้เกิดมูลค่ากับธุรกิจจริงๆ
6. คุ้มค่าคุ้มเวลา ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างก่อน :
การเกี่ยวข้องกับสมาชิกเว็บจำนวนมาก หลาย ๆ ครั้งเราไม่รู้ว่า ความต้องการของคนกลุ่มใหญ่มีอะไรบ้าง เมื่อจะมีสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาในเว็บไซต์ ควรพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาชิกที่จงรักภักดี ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยกับเราก่อน
การแลกเปลี่ยนหลายครั้งอาจจะทำให้ได้ไอเดียดีๆ เพิ่มเติม และเมื่อกลุ่มย่อยยอมรับ ย่อมเป็นสัญญาณที่ดี ให้ลงมือทำต่อได้
7. ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง :
คิดถึงผู้ชมเว็บเป้าหมาย ก่อนเป็นอันดับแรก คุณควรทำสิ่งที่สมาชิกต้องการ ด้วยการจินตนาการว่าตัวเองเป็นสมาชิกและกำลังเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาดู
คุณควรตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ อยากเห็นอะไร อยากอ่านอะไร คลิกตรงไหน
จง
พร้อมที่จะเปลี่ยนแม้ตัวเองไม่เห็นด้วย หากการเปลี่ยนนั้นเป็นผลดีกับชุมชนในเว็บไซต์
8. มองรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ :
สำรวจเว็บไซต์ในธุรกิจประเภทเดียวกัน มองหาข้อดี เพื่อนำมาปรับปรุง และมองหาข้อเสีย เพื่อไม่เอาเป็นแบบอย่าง
ตรงนี้มีกฎอยู่ 3 ข้อ คือทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้เสมอ จงพร้อมที่จะปรับตัวให้ทัน และคิดไปข้างหน้าก่อนคนอื่น
9. แสวงหาความรู้ :
เพราะการขยายตัวของชุมชน ย่อมเกิดปัญหาใหม่ ๆ ตามมาเสมอ การที่จะรับมือกับสิ่งเหล่านี้ได้ ผู้บริหารเว็บไซต์จะต้องไม่หยุดนิ่งในการที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ
ความรู้หลาย ๆ อย่างหาได้ง่าย ๆ จากอินเตอร์เน็ต จงเรียนรู้แล้วนำไปประยุกต์ใช้ จะประหยัดเวลาลองผิดลองถูกไปได้มาก
10. อย่าเห็นแก่ของฟรี :
เมื่อทราบแล้วว่าจะเข้าสู่การสร้าง community กลุ่มใด นอกจากความตั้งมั่น ตั้งใจแล้ว หัวใจของเว็บประเภทนี้คือ ผู้คนที่จะมาทำให้เว็บเกิดความมีชีวิตชีวา ความคึกคัก ซึ่งจะอยู่บนระบบการสื่อสารโต้ตอบ ที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า webboard หรือ forum และในโลกของอินเตอร์เน็ต มีโปรแกรมประเภทที่ว่านี้มากมาย จงเลือกอันที่เหมาะกับกลุ่มมากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงสมาชิกที่จะเข้ามาใช้งานเป็นหลัก
อย่าลืมว่าสิ่งนี้เป็นหัวใจของเว็บไซต์ จงยอมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้โปรแกรมที่เหมาะที่สุด ดีกว่าเลือกใช้ของฟรีแต่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ
11. ปรับแต่งพร้อมเสริฟ :
การทำธุรกิจใดๆก็ตาม ย่อมเหมือนกับการทำอาหารสักจานให้อร่อยจนติดปลายลิ้น คนชิมเอ่ยปากขอซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ดังนั้น สถิติวัดจำนวนผู้เข้าชม หน้าติดต่อกลับ อัตราค่าโฆษณา ระบบแจ้งลบ ล้วนแล้วแต่เป็นเหมือนเครื่องปรุง ที่ละเลยไม่ได้
อีกทั้งยังบ่งบอกได้ถึงความเป็นมืออาชีพความตั้งใจ ทุ่มเทให้กับเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี
12. อย่ากังวลเรื่องรายได้ :
ประมาณกันว่า ระยะเวลาสร้างรายได้ของเว็บไซต์ community ในไทยนั้น อย่างเร็วที่สุดอยู่ที่ 1 ปี และอย่างช้าไม่ควรเกิน 2 ปี ดังนั้นช่วงเวลา 1-2 ปีแรก
อย่าพะวงกับการไม่มีโฆษณา จงมุ่งมั่นสร้างชุมชนให้มาก เสริมจุดที่ขาด เอาใจใส่สมาชิก สอดแทรกเนื้อหา อย่างสม่ำเสมอ และ คอยตามข่าวคราวในวงการ จนแน่ใจได้ว่า ทุกอย่างที่ทำ จะมุ่งไปสู่จุดหมาย
คือเว็บสังคมออนไลน์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ใหญ่ที่สุดของไทย
อย่าลืมว่า ในแต่ละประเทศจะมีเว็บ community ในแต่ละประเภทธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ถ้าตำแหน่งที่ 1 ไม่ได้เป็นของคุณแล้วละก็ โอกาสที่รายได้จากการโฆษณามากพอที่จะอยู่รอด กับการทำเว็บนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย
หลายคนพอใจกับการทำเป็นอาชีพเสริม เพียงมีรายได้เล็กน้อยๆ เสริมจากงานประจำ สิ่งนี้ไม่ใช่สำหรับผู้เล่นมืออาชีพ เพราะสุดท้ายแล้ว จะต้องมีผู้เล่นมืออาชีพ เข้ามากวาดส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มที่คุณทำอยู่ ไปเกือบทั้งหมด นั่นเป็นคำถามว่า ทำไมคุณถึงไม่เป็นผู้เล่นมืออาชีพซะเอง เพราะรายรับจากการรับลงโฆษณาของเว็บที่เป็นอันดับ 1 ของกลุ่มมากพอเพียงที่คุณจะใช้ชีวิตได้แบบสบาย ๆ มากกว่า ชีวิตมนุษย์เงินเดือนหลายเท่านัก
13. สุดท้ายคือจุดสมดุล :
การถ่วงดุลอำนาจระหว่าง สมาชิก และผู้ให้การสนับสนุน ควรต้องอยู่ในขอบเขตที่พอเหมาะพอสม ในฐานะที่เป็นเว็บตัวกลาง จะมีความอึดอัดบ้างเป็นเรื่องธรรมดาสุดท้ายต้องเอาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
อย่าให้สูญเสียความเป็นกลาง เพราะนั่นคือจุดจบของเว็บไซต์ประเภทนี้ที่เคยเกิดขึ้นหลายครั้ง
มาถึงจุดนี้แล้ว ถึงแม้หลักชัยที่วาดฝันไว้จะเป็นผลตอบแทนมากมาย สวยหรู แต่หนทางที่จะไปถึงนั้นไม่ง่ายนัก ใครๆ ก็อยากจะไปถึงก่อน
อย่าลืมว่า ความอดทนต่ออุปสรรค, การคิดในแง่บวก และการไม่เข้าข้างตัวเอง จะเป็นเครื่องนำทางสู่ความสำเร็จจนได้
***ความต้องการ 5 ขั้นตามแนวความคิดของ Maslow
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย
(Physiological Needs)
คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
(Safety and Security Needs)
คือความต้องการที่จะมีชีวิตที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม
(Love and Belonging Needs)
มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น
(Self -Esteem Needs)
เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง
(Self-Actualization Needs)
รูปที่ 1 ปรากฎการณ์ Network Effect
คุณค่าของการที่มีโทรศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้นแต่ละเครื่อง จะทำให้การติดต่อสื่อสารเพิ่มเป็นทวีคูณ
ความต้องการ 5 ขั้นตามแนวความคิดของ Maslow
ภาพจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/File:Maslow's_hierarchy_of_needs.svg
LadySquare.com
ตัวอย่างเว็บ Community ผู้หญิงที่ เจาะกลุ่มสังคมผู้หญิงอย่างเดียว
สถิติ + ระยะเวลาของ LadySquare.com
ตั้งแต่ ก่อตั้งจน เริ่มมีรายรับ จะเห็นว่า ใช้เวลา ประมาณหนึ่งปีครึ่ง
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับมือถือ
1
2
Wish You Happinessss
Success is not the key to happiness.
Happiness is the key to success.
If you love what you are doing,
you will be successful.
~ Albert Schweitzer ~
Wish You Happinessss