แทนซาไนท์ พลอยสีไพลิน TANZANITE






นิตยสาร พลอย
ปี 2535 - 2538


แทนซาไนท์ พลอยสีไพลิน
เปิดโลกอัญมณี - อนุรักษ์ พันธุรักษ์


นอกเหนือไปจากความเหนื่อยล้าไปกับการเดินทาง ความยากลำบากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น และอุปสรรคนานัปการ ในการสำรวจหาแหล่งแทนซาไนท์แล้ว สิ่งที่คอยรบกวนหมู่นักสำรวจและบรรดานักทัศนศึกษาทั้งหลาย ให้เกิดความรำคาญเป็นอย่างยิ่ง อีกอย่างเห็นจะไม่มีอะไรเกิน เจ้าแมลงตัวแสบนิรนามทั้งหลายแหล่เป็นแน่ นอกจากมันจะเดินฉวัดเฉวียนไปมาจนหูอื้อแล้ว มันยังชอบแสดงความตะกละจนน่าเกลียดอีกด้วย มันจ้องที่จะเกาะทุกๆส่วนของร่างกายที่อุดมไปด้วยความชุ่มชื้น โดยเฉพาะตามหัวตาและมุมปาก จะเป็นที่ที่มันโปรดปรานมากที่สุด แม้กระทั่งเหงื่อไคล มันก็มิได้แสดงอาการรังเกียจแต่อย่างใด เล่นเอาบรรดานักสำรวจและนักทัศนศึกษาทั้งหลาย ต้องออกแรงปัดจนหมดแรงไปตามๆกัน แถมยังฝากอาการระคายเคืองให้เป็นของฝากอีกต่างหาก ก็นับว่าโชคยังดีอยู่ที่นักสำรวจจอมอดทนทั้งหลาย ไม่ยอมย่อท้อเสียแต่เนิ่นๆ ไม่เช่นนั้นก็คงไม่มีแทนซาไนท์สวยๆ มาให้พวกเราได้ชื่นชมกันหรอก

พูดถึงเจ้าตัวแสบที่ว่านี้ ทำให้นึกไปถึงเพื่อนคนหนึ่งที่เคยไปทัศนศึกษายังเหมืองทับทิม ใกล้เมืองลอนจอโดในแทนซาเนีย เขาเล่าให้ฟังว่าเจ้าตัวแสบของเรานี้ไม่เท่าไรหรอก แสบสู้ไอ้ตัวแสบเทส์ทซีของเขาไม่ได้แน่ นอกจากจะสร้างความรำคาญตอมโน่นทีตอมนี่ทีแล้ว ไอ้ตัวแสบของเขายังชอบที่จะฝังพิษปวดแสบปวดคันไว้ให้อีกด้วย ก็น่าเห็นใจเพื่อนคนนี้อยู่หรอก เพราะเขาเป็นโรคขี้แพ้ตัวยงเลยล่ะ แพ้ทุกอย่างแม้กระทั่งเครื่องบิน เพราะเขาเป็นโรคแพ้ความสูง เครื่องบินลำจิ๋วที่พาเขาไปยังเหมือง ก็เกือบจะทำให้เขาหัวใจวายอยู่หลายหน ตกหลุมอากาศก็กลัว บินสูงก็กลัว บินต่ำก็กลัว ยิ่งถ้าบินต่ำจนเห็นหลังคาบ้านด้วยแล้ว เพื่อนคนนี้จะออกอาการช็อกอย่างไม่ต้องสงสัย เพื่อนคนนี้ยังเล่าต่อให้ฟังว่า ตอนที่อยู่บนเครื่องบิน อยู่ๆไอ้ตัวแสบเทส์ทซีก็กัดเข้าให้ที่ต้นคอ เขาจึงตบมันเข้าอย่างเต็มแรง และในทันทีทันใดเครื่องบินก็สั่นสะเทือนอย่างแรง เล่นเอาเพื่อนผู้น่าสงสารคนนี้แทบหัวใจวาย นักบินจึงถือโอกาศเลคเชอร์สั่งสอนเสียนิดหน่อยว่า การเคลื่อนไหวแรงๆอย่างฉับพลัน ในขณะที่เครื่องบินลำจิ๋วกำลังบินในระดับที่ต่ำ จะทำให้เครื่องบินเสียการทรงตัวได้ อันตรายมาก! อย่างไรก็ตาม เครื่องบินลำจิ๋วก็สามารถนำเขาร่อนลงสู่พื้นดินได้อย่างปลอดภัย แผนการเยี่ยมชมเหมืองพลอยของเขา จึงไม่เป็นแค่ความฝัน.....สาธยายมาซะมาก เห็นทีจะต้องเข้าเรื่องแล้ว ประเดี๋ยวคอลัมน์นี้จะจุน้ำมากกว่าเนื้อ ไม่อยากถูกต่อว่าไงล่ะ


คุณทราบไหมว่า แทนซาไนท์มีแหล่งกำเนิดอยู่เพียงแหล่งเดียว คือ ที่ประเทศแทนซาเนีย เท่าที่ทราบก็มีเพียงสองแห่งในแทนซาเนีย คือ ที่เลลาทีมาและเหมืองเมียร์ลานี แต่เหมืองเมียร์ลานีเห็นจะเป็นแห่งเดียวที่มีชื่อเสียงมาก เพราะแทนซาไนท์ที่นี่มีสีที่สวยสดงดงามและมีมากสีด้วย เมือที่อยู่ใกล้กับเหมืองเมียร์ลานีมากที่สุด คือ เมืองอรูชา ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 50 กิโลเมตร ใครก็ตามที่จะเดินทางมายังเหมือง จะต้องมาตั้งต้นที่เมืองอรูชาด้วยกันทั้งนั้น เหมืองเมียร์ลานีนี้ ตั้งอยู่ในเทือกเขาอูซูมบูรูทางตอนเหนือของประเทศ อยู่ระหว่างหุบเขาโอลดูไว กอร์จและคิลิมันจาโรที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นที่ราบกว้างและแห้งแล้ง มีเทือกเขาขนาดเล็กพาดผ่านไปมา และเป็นที่ตั้งรกรากของเผ่ามาไซ ภาพที่นักทัศนศึกษาจะพบเป็นอยู่บ่อยๆ ระหว่างการเดินทาง คงจะเป็นภาพเด็กชายผิวดำตัวเล็กๆ คนสองคนเดินทอดน่องเลี้ยงวัวฝูงใหญ่ ช่างต่างกับต้นไม้ที่ทีอยู่น้อยนิดหย่อมละต้นสองต้นเสียเหลือเกิน แห้งแล้งอย่างนี้ไม่รู้ฝูงวัวมันกินอะไรกันหนอ เพื่อพยุงร่างที่ผอมเกร็งพอๆกับคนเลี้ยงของมัน สงสัยจัง !

ที่เหมืองเมียร์ลานีจะมีผู้รักษาความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจุดสำคัญๆภายในเหมือง ผู้รักษาการณ์แต่ละคนพกทั้งปืนสั้นและปืนยาว เพื่อคอยดูแลความเป็นไปภายในเหมือง เพราะคนงานที่นี่แต่ละคนมีสารพัดกลเม็ดเด็ดพราย ที่จะขโมยพลอย คือ ถ้าไม่กลืนลงท้องก็จะโยนเข้าไปในพุ่มไม้ แล้วค่อยไปเก็บเอาที่หลัง..... ก็ทั้งแพงทั้งสวยอย่างนี้ ใครจะไปห้ามใจไหว

มีพลอยสีน้ำเงินอยู่หลายชนิดที่ดูคล้ายกับไพลิน แต่ที่ดูเหมือนกันมากจนแยกแยะไม่ออก เห็นจะเป็นแทนซาไนท์นี่เอง คิดดูก็แล้วกันว่าในสมัยที่พบแทนซาไนท์เป็นครั้งแรกนั้น ยังคิดกันว่ามันเป็นไพลินด้วยซ้ำไป ถึงขนาดตั้งชื่อให้กับมันว่า
”ไพลินเมรู” เสียดื้อๆอย่างนั้นแหละ ที่พ่วงคำว่า “เมรู” ไว้ด้วยนั้น ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าหมายถึงอะไร ยอมรับว่าไปค้นหาคำตอบแล้ว แต่ก็ไร้ผล แล้วก็ไม่อยากจะเดาด้วยว่ามันหมายถึงอะไร

แทนซาไนท์ เป็นพลอยสีน้ำเงินที่จัดอยู่ในกลุ่ม “ซอยไซท์” ซึ่งรวมเอาพลอยสีต่างๆไว้ด้วยในกลุ่มเดียวกัน เช่น เทา เขียว น้ำตาล น้ำเงิน ม่วง ม่วงแดง หรือที่เรียกว่า “แทนซาไนท์” ที่ไร้สี หรือที่มีสีชมพูหรือเหลือง จะเรียกว่า “ทูไลท์” และที่เรียกว่า “มาสซิฟกรีน ซอยไซท์” คือ ซอยไซท์สีเขียวที่มีทับทิมปนอยู่

คำว่า
“ซอยไซท์” ได้มาจากชื่อของนักสะสมพลอยชาวเช็คโก ชื่อ “บารอนซอยส์ วอน อีเดลสไตน์” ผู้ ซึ่งนำซอยไซท์ก้อนแรกที่ได้มาจากเขาซอเอลป์ในออสเตรีย ปี 1805 ไปให้ อับราฮัม กอทท์ลอบ เวอร์เนอร์ นักธรณีวิทยาชื่อดังชาวเยอรมันคนหนึ่งทำการตรวจสอบ จึงทราบว่าเป็นซอยไซท์ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ไพลินอย่างที่คาดคิด คำว่า “ทูไลท์” ได้มาจากคำว่า “ทูล” ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบซอยไซท์สีชมพู ในประเทศนอร์เวย์ ส่วน “แทนซาไนท์” คงเดากันออกว่า ได้มาจากชื่อประเทศ “แทนซาเนีย”

ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าบุคคลแรกที่พบแทนซาเนียเป็นใครกันแน่ บ้างก็ว่าเป็นคนเลี้ยงแกะ บ้างก็ว่าเป็นนายเซาซา หรืออาจเป็นได้ว่า นายเซาซาได้แทนซาไนท์ก้อนแรกมาจากคนเลี้ยงแกะ กล่าวกันว่าในเดือนมีนาคมของปี 1966 นายเซาซา ช่างเจียระไนพลอย ชาวอรูชา (บ้างก็ว่าเป็นช่างตัดเสื้อ) ได้ส่งแทนซาไนท์ก้อนแรกนั้นไปตรวจสอบ ซึ่งก็ทราบภายหลังว่าเป็นซอยไซท์ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ไพลินอย่างที่สงสัยกัน แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่นายเซาซา ต้องมาประสบกับอุบัติเหตุจนเสียชีวิต โดยที่ยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากแทนซาไนท์ก้อนแรกแต่อย่างใด ในทางการค้านั้น ไม่มีใครยอมเรียกมันว่าซอยไซท์สีน้ำเงิน เพราะเชื่อกันว่าเป็นชื่ออัปมงคล และในขณะเดียวกันกับชื่อบริษัท ทิฟฟานี กำลังจะผลักดันพลอนชนิดใหม่นี้ออกสู่ตลาดอยู่พอดี จึงได้โปรโมทพลอยชนิดใหม่นี้อย่างเต็มที่ ทำให้เป็นข่าวใหญ่ทางหน้าหนังสือพิมพ์จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในอเมริกาเองและในยุโรป

นอกจากจะมีสีน้ำเงินที่สวยงามคล้ายไพลินแล้ว แทนซาไนท์ก็ยังปรากฏให้เห็นเหลือบสีต่างๆ อีกด้วย ถ้าพลิกไปมาในหลายทิศทาง เช่น อาจปรากฏเป็นสีน้ำเงิน ม่วงอมแดง ม่วงเข้ม เหลืองอมเขียว น้ำตาล น้ำตาลอมแดง หรืออาจมีสีอมเทา แทนซาไนท์ที่มีช่วงสีน้ำทะเลแบบอะคัวมารีนจนถึงสีน้ำเงินเข้มแบบไพลิน จะมีค่ามากที่สุด และถ้าส่องดูใต้ดวงไฟจะมีสีออกม่วงแบบอะมิทิสต์

การหุงอาจทำให้แทนซาไนท์เปลี่ยนสีได้ และอาจมีสีน้ำเงินเข้มขึ้น แต่เหลือบสีต่างๆที่เคยปรากฏอาจเลือนหายไป เช่น ถ้านำแทนซาไนท์ที่มีสีออกเหลืองและน้ำตาลไปหุงที่อุณหภูมิ 400-500 C ทั้งสั้หลืองและสีน้ำตาลจะหายไป แต่กลับจะทำให้มันมีสีน้ำเงินเข้มขึ้น และถ้านำผลึกแทนซาไนท์ที่มีสีม่วงอมแดง ไปหุงที่ 620 C มันก็อาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินม่วงสดหรือน้ำเงินเข้มอย่างไพลินได้

ข้อพึงระวังประการหนึ่งสำหรับแทนซาไนท์ ก็คือ มันค่อนข้างอ่อน (6-6.5) และเปราะ ทำให้แตกง่าย ไม่ควรทำเป็นแหวนเพราะอาจเกิดการกระทบกระแทกได้ง่าย น่าจะทำเป็นตุ้มหู จี้หรือเข็มกลัดจะปลอดภัยกว่า อย่างไรก็ตามถ้าเปรียบเทียบกับซอยไซท์สีอื่นๆแล้ว แทนซาไนท์จะมีความแข็งมากที่สุด มันมีความวาวแบบแก้วและโปร่งใส และที่ต้องระวังเป็นพิเศษก็คือ ห้าทนำแทนซาไนท์ไปทำความสะอาดในเครื่องอุลตร้าโซนิค เพราะแรงสั่นสะเทือนอาจทำให้แทนซาไนท์แตกได้

โดยปกติแล้วจะมีพลอยสีน้ำเงินอยู่อย่างมากมายในท้องตลาด ความสับสนจึงอาจเกิดขึ้นได้ แต่การตรวจสอบคุณสมบัติเพียงบางประการก็ทราบถึงข้อแตกต่างได้แล้ว เช่น ถ้าเปรียบเทียบกับคอร์ไดไรท์แล้ว มันจะมีค่าดัชนีหักเหของแสง และค่าความถ่วงจำเพาะสูงกว่าคอร์ไดไรท์อยู่มาก หรือถ้าจะเปรียบเทียบกับไพลินละก็ แทนซาไนท์จะวาวน้อยกว่าและอ่อนกว่ามาก ค้าดัชนีหักเหของแสงของพลอยทั้งสองชนิดก็ต่างกันมากด้วย และเมื่อพลิกพลอยทั้งสองชนิดไปมาในหลายทิศทางแล้ว มันก็จะปรากฏมีเหลือบสีที่ต่างกันอีกด้วย ทั้งนี้มิได้หมายความว่าแทนซาไนท์ไม่งดงามเท่าไพลิน ในทางตรงกันข้าม เมื่อพลิกแทนซาไนท์ไปมา มันจะปรากฏให้เห็นเหลือบสีต่างๆตั้งหลายสี ซึ่งไม่ปรากฏในไพลิน

นอกจากจะเกดความสับสนกับพลอยชนิดอื่นแล้ว ก็อาจเกิดความสับสนกับแทนซาไนท์ปลอมหรือแทนซาไนท์เลียนแบบได้ ของเทียมที่ว่าอาจเป็นแก้วสีน้ำเงิน หรืออาจเป็นดับเบล็ทส์ที่มีส่วนบนเป็นแทนซาไนท์จริง แต่ส่วนล่างเป็นแก้วหรือเป็นสปิเนลสังเคราะห์ทั้งเม็ดก็ได้

ก็ทราบกันอยู่แล้วว่า ตำหนิภายในถือเป็นเรื่องธรรมดาของพลอยแทนซาไนท์ที่มีตำหนิ จึงถือเป็นเป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน แต่ก็นับได้ว่าแทนซาไนท์เป็นพลอยที่ค่อนข้างสะอาดและสะอาดกว่าไพลิน แอคติโนไลท์ กราไฟท์ และสะทอโรไลท์ คือตำหนิที่อาจปรากฏอยู่ในแทนซาไนท์เม้ดใดก็ได้ และเมื่อมีตำหนิแบบเส้นใยปนอยู่ แทนซาไนท์จะปรากฏเป็นตาแมว แต่ก็หาได้ยากมาก ใครที่อยากเห็นและหาดูไหนๆไม่มี ก็อย่าเพิ่งท้อ ที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน เขาก็มีให้ดู ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ประมาณ 18.2 กะรัต

ถ้าเปรียบเทียบกันพลอยในกลุ่มเดียวกันแล้ว แทนซาไนท์จะเจียระไนได้ขนาดที่ใหญ่กว่า ในปัจจุบันเม็ดที่สะอาดและเจียระไนแล้วและมีขนาดตั้งแต่ 2 กะรัตขึ้นไปก็หาได้ยากมากแล้ว ซึ่งต่างจากช่วงแรกที่เพิ่งมีการค้นพบ ในช่วงนั้นที่สะอาดและมีขนาดตั้งแต่ 20 ถึง 50 กะรัตก็ไม่ใช่เรื่องแปลก และส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือของนักสะสมและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ก็ไม่เคยน้อยหน้าใครอยู่แล้ว แทนซาไนท์ขนาด 122.7 กะรัต จึงตกไปอยู่ที่นั่น ใครที่แวะไปดูแทนซาไนท์ตาแมวแล้ว ก็อย่าลืมเหลือบดูเม็ด 122.7 กะรัตด้วยก็แล้วกัน ไปทั้งทีดูแค่เม็ดเดียวมันก็กระไรอยู่นะ





ในช่วงแรกที่พบนั้น สามารถหาซื้อแทนซาไนท์ได้ในราคาที่ถูกมาก กะรัตละ 500 บาท ก็หาซื้อได้ง่ายทั้งในแทนซาเนียเอง ในเคนยา และในสหรัฐอเมริกา แต่ในปี 1984 ราคาของแทนซาไนท์เริ่มถีบตัวสูงขึ้น ราคาขายส่งตกกะรัตละ 25,000 บาท หรือแพงกว่า เนื่องจากปริมาณของแทนซาไนท์ในท้องตลาดเริ่มลดน้อยลงทุกที โดยเฉพาะในปี 1978 อหิวาตกโรคได้แพร่ระบาดไปทั่วแทนซาเนียตอนเหนือ ทำให้การทำเหมืองพลอยต่างๆ เช่น ทับทิม โกเมน ซัฟไฟร์ ทัวมาลีน คริโซเพรส และแทนซาไนท์ ต้องประสบกับปัญหาจนส่งผลให้การผลิตลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นเหมืองมีชื่อต่างๆ ต้องหยุดชะงักลงเพราะปริมาณพลอยที่เคยขุดได้เป็นกอบเป็นกำ ก็ร่อยหรอลงจนไม่มีเหลือให้ขุดอีก

ในปัจจุบันราคาของแทนซาไนท์สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มว่าจะแพงขึ้นเรื่อยๆ เพราะแหล่งแทนซาไนท์ที่มีอยูเพียงแห่งเดียว คือ ที่แทนซาเนียก็ทำท่าว่าจะหมดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนแหล่งใหม่ๆก็ไม่มีทีท่าว่าจะพบ ฉะนั้นแทนซาไนท์ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดในขณะนี้ กำลังรอคอยการจับจองอยู่ ใครที่มีสตางค์ก็น่าจะรีบซื้อเก็บเอาไว้ ประเดี๋ยวนักสะสมมือดีจะมาคว้าเอาไปเสียก่อน....แล้วจะเสียดาย









รายละเอียด: แทนซาไนต์ (Tanzanite)
มีสีน้ำเงินอมเขียว อมน้ำตาล โดยสีเปลี่ยนตามทิศทางผลึก
แทนซาไนต์ (Tanzanite) มีลักษณะคล้ายกับไพลิน (Blue sapphire) มาก แต่แสดงสีแฝดที่เด่นชัดกว่า มีค่าดัชนีหักเห และ ความถ่วงจำเพาะที่ต่ำกว่า อัญมณีที่มีสีเหมือน Tanzanite อีกชนิด คือ Iolite แสดงสีแฝดเด่นชัดเช่นกัน แต่แยกได้โดยมีค่าดัชนีหักเห และ ความถ่วงจำเพาะต่ำกว่า Tanzanite

อยู่ในกลุ่มของ ซอยไซต์ (Zoisite) ซึ่งเป็นแร่ที่มีหลายชนิด ที่จัดเป็นอัญมณี มีสีคล้ายไพลิน โดยสีเกิดจากธาตุ V เป็นอัญมณีที่แสดงสีแฝด (pleochroism) เด่นชัด เกิดในหินแปร โดย แทนซาไนต์ (Tanzanite) พบในหินที่แปรสภาพมาจากหินปูนบริเวณที่แทรกสลับกับหิน Schist
มีความแข็ง (Hardness) = 6.5-7 โมฮส์ (Mohs)
ส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Formula) = Ca2Al3O(SiO4)(Si2O7)(OH), Calcium Aluminum Silicate Hydroxide
ดัชนีหักเหของแสง (Refractive Index) = 1.696-1.718
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) = 3.3


TANZANITEDecember's birthstone
OriginsTanzania
Colors FoundShades of lilac, blue & purple as well as fancy colors
FamilyZoisite
Hardness6.50 - 7.00
Refractive Index1.69 - 1.70
Relative Density3.35


Displaying an aurora of stunning blues and violets, Tanzanite's popularity is well deserved. Demand for Tanzanite has rocketed in recent years, outstripping sales of all other colored gemstones, with the exception of Sapphire. A thousand times rarer than Diamonds and with a little over a decade of mine life remaining, Tanzanite is the fashion gem of the millennium.


Legends and lore

While Tanzanite might not yet be the stuff of legends, being discovered a mere 40 years ago, this gorgeous gem has already attracted more attention and gossip than any modern-day celebrity.

Named for Czechoslovakian Baron Zois von Edelstein, before Tanzanite, Zoisite (Tanzanite's gemological name) never really amounted to much. Sure, opaque pink and apple-green varieties were used in jewelry, but these were never going to make Zoisite hugely popular. All this changed in 1967 at the arid foothills of Mount Kilimanjaro in Merelani, Tanzania. Legend has it that a short lived grass fire caused by a lightening strike was the catalyst that turned burgundy violet surface pebbles of Zoisite into the vibrant blues spotted by Tanzania's nomadic Masai herdsmen. While wonderfully romantic, it is unlikely a grass fire could affect such a dramatic transformation.

In reality, the story of Tanzanite's discovery is as fascinating as the gem. While it is not known exactly who first found Tanzanite, the most popular story is that a local tribesman, Ali Juuyawatu discovered a translucent Tanzanite crystal at the base of Mount Kilimanjaro, sharing his find with a local prospector named Manuel D'Souza. D'Souza was actually searching for Rubies in the region and initially thought he'd discovered a new source of Sapphires. However, their multitude of blues and complex composition soon revealed Tanzanite's true identity to gemologists. Interestingly, the legendary Scottish geologist, Campbell R. Bridges, first discovered Tsavorite in Tanzania in 1967 during some Tanzanite consulting work for Tiffany & Co. and was the first person to bring Tanzanite to the US for identification by the GIA (Gemological Institute of America) Gem Trade Laboratory. Tanzanite quickly found its way to American jewelers, arriving at the New York-based jewelers Tiffany & Co.

Henry B. Platt, great grandson of Louis Comfort Tiffany and later President and Chairman of Tiffany & Co., was immediately enraptured by its beauty, but disturbed by its gemological name "Blue Zoisite." To him the name echoed "blue suicide." As with everything, it's all in the name, so this rare and exotic African gemstone was christened Tanzanite. At Tanzanite's official launch in October 1968, Platt remarked that it "was the most beautiful blue gemstone discovered in over 2,000 years." Heralded as "the gemstone of the 20th century," Tanzanite's blue-purple fire soon took the world by storm and demand for Tanzanite jewelry grew dramatically, until in 1998 and 1999 Tanzanite was proclaimed the world's best selling colored gemstone. Today, the demand for Tanzanite continues, outstripping sales of all other colored gemstones, with the exception of Sapphire.

In recognition of its popularity, in 2002 Tanzanite was added to the jewelry industry's official birthstone list. This saw Tanzanite join Turquoise and Zircon as accepted birthstones for December. Not a small thing, especially when you consider this was the first time the list had been changed since 1912! Now an official birthstone, Tanzanite is increasingly regarded as the ideal gem to celebrate new life and new beginnings. This belief has its roots in Masai tradition, where blue is believed to be a sacred spiritual color and bestowed in the form of blue beads and robes to women who have borne children. Today, this tradition has evolved, with Masai chiefs giving Tanzanite to wives on the birth of a baby. This gift is believed to bless their child with a healthy, positive and successful life.

Tanzanite continues to be all the rage in contemporary jewelry. Tom Ford, formerly "enfant terrible" of the Paris and Milan fashion house Gucci, once dominated the catwalks with a collection modeling exotic blue gems, including Tanzanite.

At the 2004 Oscars, Eileen Penn, mother of OSCAR® winner Sean Penn, stole the limelight from her son with a stunning Tanzanite and Diamond cross pendant.


Just the facts

A key ingredient in Tanzanite's success is that it exhibits more shades of blue than a clear midnight sky due to a phenomenon called pleochroism, whereby different colors are seen in different directions of the gemstone. Tanzanite is extremely light sensitive, frequently exhibiting a color shift from more bluish hues under daylight, to pinkish violets under incandescent lighting (candlelight). While the best examples show an intense blue under any light, most of the time, you can actually see both colors simultaneously. As an allochromatic (other colored) gemstone, color saturation in Tanzanite is determined by the amount and ratio of chromium and vanadium trace elements. Whether you choose a pastel or richer colored Tanzanite is down to your preference and budget, but please be aware that Tanzanite's colorful brilliance intensifies in larger sizes - you're generally not going to find deeper colors in smaller sizes.

As Tanzanite crystals occur with reasonably few inclusions, the standard is eye-clean (no visible inclusions when the gem is examined approximately 6 inches from the naked eye).

Tanzanite is found in a variety of shapes and cuts. Ovals and Cushions are the most common, but Rounds and other shapes are also seen. Regardless of the cut, look for good brilliance. While intense blues are favored, overly large or poorly cut examples can loose brilliance, making them appear too dark. Tanzanite can sometimes occur in extremely large sizes, but the most popular sizes for jewelry are below 20 carats. Tanzanite's wonderful colors, clarity and range of imaginative cuts lend itself to prominent display. While fashionable drop-earrings and pendants accentuate Tanzanite's inherent characteristics, it's also popularly featured as large carat-sized solitaires mounted into prominent ring settings that show off its scintillating colors to full effect.

Exclusively mined in one deposit in East Africa in an area of Tanzania known as Merelani, Tanzanite is also coveted because of its rarity. The conditions involved in Tanzanite's formation 585 million years ago saw the random incorporation of vanadium during an event so unique that experts believe the chance of Tanzanite occurring elsewhere is one in a million. The Tanzanite deposits are hosted in metamorphic rocks, marbles and schists that belong to the Mozambique Belt (Rift Valley). The deposits run through the low hills of Merelani that rise from the hot Sanya plains, close to Mount Kilimanjaro. Running at an angle of 41 degrees to the surface, the deposit line or horizon periodically folds over itself, creating pockets of Tanzanite. Barely covering 8 square miles, the Tanzanite mining area has been divided into four different sections known as "blocks" (lettered A, B, C and D) that have been allotted to different mining groups. Even at the largest and most sophisticated mine in operation in C block, the yield for raw Tanzanite crystals average only 22 carats (4.4 grams) per processed ton! Tanzanite production is slowly, but surely decreasing and many experts believe Tanzanite will disappear in years to come. Understandably, this has led to Tanzanite gaining considerable notoriety. After all, the desire to own something beautiful and rare is irresistible.

Although there are several Tanzanite grading systems available, they are all primarily concerned with judging color quality. This is because compared to Ruby, Sapphire and Emerald, Tanzanite is typically free from inclusions, making color the single most important factor when evaluating Tanzanite. Representing less than 1% of all Tanzanite mined, AAA Tanzanite is characterized by intensely deep purple blues and can be likened to an old French wine of an impossibly hard to obtain vintage. Interestingly, the D block section has earned the reputation for supplying the majority of AAA Tanzanite. AAA Tanzanite is the very best quality Tanzanite sold at GemsTV.

As Tanzanite typically starts its life as bluish burgundy crystals, virtually all Tanzanite has been heated to enhance their color. This is an accepted and permanent treatment that actually makes Tanzanite's color-causing element, vanadium, more stable. Occasionally, this process produces highly coveted and extremely rare fancy colors (Pink Tanzanite, Green Tanzanite, Multi Color Tanzanite etc.). Possessing all the qualities of regular Tanzanite, these colored varieties are far less common and are highly coveted by collectors. In gemology, the technically correct name for these gems is "(Color Prefix) Zoisite." However, "(Color Prefix) Tanzanite" is generally accepted in the marketplace due to the gem's popularity and because this name specifies an origin.

Tanzanite exudes sophistication, individuality and self confidence. Tanzanite jewelry is suited to all ages, emphasizing the nonconformity of the young and the sophistication of the mature. However, Tanzanite is rare and growing rarer by the moment. Apart from the sheer pleasure of owning one of the 20th century's most spectacular gemstones, those fortunate to already own a Tanzanite, or to purchase one before the only known deposit is depleted, truly are custodians of a gem whose legacy will be to pass it on as an heirloom to future generations.
















THANKS ; GEMS TV