อัญมณี นพเก้า หรือ นพรัตน์




ระบำนพรัตน์๑

ระบำนพรัตน์๒

ระบำนพรัตน์อยู่ในละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์ ตอนสุวรรณหงส์พาพราหมณ์เกศสุริยงไปชมถ้ำแก้ว ซึ่งกรมศิลปากรจัดแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๒ ปัจจุบันระบำชุดนี้นิยมนำมาแสดงเป็นชุดระบำเอกเทศ เพราะบทร้องและทำนองเพลงไพเราะ ท่ารำและเครื่องแต่งกายงาม ผู้แต่งบทร้องและทำนองเพลงนพรัตน์ คือ ครูมนตรี ตราโมทผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแหงชาติ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชื่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ครูมัลลิ คงประภัศร์ และครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมครูต่วน)
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นวงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า หรือเครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ทำนองเพลงนพรัตน์ เพลงสุรินทราหู เพลงเร็วท้ายสมเด็จ
ผู้แสดงแต่งชุดพระราชนิยมไทยจักรี หรือไทยจักรพรรดิ หรือแต่งกายแบบเบ็ดเตล็ดห่มสไบเฉียงตามสีอัญมณีทั้งเก้าชนิด พร้อมถนิมพิมพาภรณ์ ศิราภรณ์เกี้ยวดอกไม้ไหว รำท่าตามบทร้องของอัญมณีแต่ละชนิดในเพลงนพรัตน์ และเพลงสุรินทราหู แล้วรำรวมพร้อมกันในเพลงเร็วท้ายสมเด็จ
คำร้อง: ครูมนตรี ตราโมท
รัตนคูหากายสิทธิ์ ล้วนวิจิตรนวรัตน์จรัสฉาย แสงมณีสีวามอร่ามพราย เป็นเลื่อมลายแลสลับระยับตา
๑...อันเพชรดีสีขาวรุ้งพราวเพริศ สุดประเสริฐแสงสีวิเลขา ใครประดับเพชรดีมีราคา เรืองเดชานุภาพด้วยดวงมณี
๒.ทับทิมแท้แลดูแดงอร่าม แสงแวววามแจ่มจรัสรัศมี กำจัดปวงโรคาพยาธี พูนทวีสินทรัพย์นับอนันต์
๓.มรกตสดขจีสีเขียวขำ แสงงามล้ำเลอเลิศประเสริฐสรรพ์ ประดับกันเขี้ยวงาสารพัน คุ้มภยันตรายถ้วนมวลพาลา
๔.อันมณีสีเหลืองเรืองวิรุจน์ นี้คือบุษราคัมเลิศล้ำค่า เป็นอาภรณ์พูนสวัสดิ์วัฒนา ชนม์พรรษายืนดำรงคงนิรันดร์
๕.แก้วโกเมนแดงก่ำน้ำใสสด แสนงามงดรูจีแสงสีสรรพ์ ผู้ประดับรับเคารพอภิวันทน์ ประชานันต์นับถือเลื่องลือนาม
๖.นิลกาฬน้ำเงินก่ำล้ำหมอกเมฆ รุจิเรขรุ่งโรจน์โชติอร่าม อำนวยสรรพ์สุขารมณ์อภิราม สิ่งดีงามหลามหลั่งสะพรั่งมา
๗.สีขาวหม่นหมอกมัวสลัวแสง บอกแสดงมุกดาหารตระการสง่า ดลขจัดสัตว์ร้ายพ่ายเดชา อสรพิษนานาล่าหลีกไกล
๘.แก้วเพทายพรายแสงสีแดงเรื่อ พรรณอะเคื้อลำยองผุดผ่องใส นำศิริมงคลดลโชคชัย กำจัดภัยผองอุบาทว์ให้คลาดคลาย
๙.แก้วไพฑูรย์ขุ่นฉวีสีไม้ไผ่สังวาล ไหมสาแหรกผ่านประสานสาย บันดาลชัยชนะหมู่ศัตรูร้าย แผ่กำจายเสน่ห์ติดจับจิตเอย
.....สีขาวผ่อง เพชรดี ทับทิมสี มณีแดง เขียวใสแสง มรกต เหลืองใสสด บุษราคัม
แดงแก่ก่ำ โกเมนเอก สีหมอกเมฆ นิลกาฬ มุกดาหาร หมอกมัว แดงสลัว เพทาย
สังวาลสาย ไพฑูรย์ เจิดจำรูญ นพรัตน์ อวยสวัสดิ ภาพล้น ปวงวิบัติ ขจัดพ้น ผ่านร้ายกลายดี



แหวนนพเก้า เป็นแหวนสูงค่าที่รู้จักกันดีมานานนับร้อยปี โดยทำขึ้นจากอัญมณี
หรือรัตนชาติ 9 ชนิดรวมอยู่ในแหวนวงเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย
........เพชรดีมณีแดง (ทับทิม)
.......เขียวใสแสงมรกต
.......เหลืองใสสดบุษราคัม
......แดงแก่ก่ำโกเมนเอก
.......สีหมอกเมฆนิลกาฬ (ไพลิน)
........มุกดาหารหมอกมัว
.......แดงสลัวเพทาย
.......สังวาลย์สายไพฑูรย์

ตามความเชื่อที่ว่า อัญมณีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในทางมงคล ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ และขจัดความไม่เป็นมงคลทั้งหลายให้สิ้นไปได้ หากผู้ใดมีไว้ในครอบครองก็เท่ากับมีมงคลไว้ติดตัว ทำสิ่งใดย่อมมีความสำเร็จ ด้วยเหตุที่แหวนนพเก้ามีทั้ง ความงามและคุณค่าในตัวเอง โดยแทบไม่ต้องปรุงแต่ง

นับแต่โบราณมาแล้ว คนไทยได้รับอิทธิพลความเชื่อของอัญมณี 9 ชนิดนี้มาจากอินเดีย แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเข้ามามีอิทธิพลเมื่อไร ด้วยเหตุที่คนอินเดียมีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันยาวนาน เขาจึงรู้คุณค่าและความสวยงามของอัญมณี 9 ชนิดนี้เป็นอย่างดี ทั้งยังนำไปเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันกับดวงดาว ซึ่งมีอำนาจและพลัง เป็นคุณวิเศษที่จะนำพาความเจริญรุ่งเรืองและสิริมงคลทั้งหลายมาสู่ผู้สวมใส่ นอกจากนี้ยังมีพลังแห่งการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ ชาวตะวันตก ชาวอียิปต์โบราณ ชาวจีนหรือแม้แต่ชาวป่าเผ่าต่าง ๆ ก็มีความเชื่อถือในพลังของอัญมณีเหล่านี้เช่นกัน


คุณค่าของนพเก้าหรือนพรัตน์
เพชรยิ่งใหญ่ ไพรี ไม่มีกล้ำ
ทับทิมนำ อายุยืน เพิ่มพูนผล
อุดมลาภ ยศศักดิ์ ประจักษ์ดล
มรกต กันภัยพ้น ผองเล็บงา
บุษราคัม ฉาบเสน่ห์ ไม่เสแสร้ง
โกเมนแจ้ง แคล้วพาลภัย ใจสุขา
ไพลินย้ำ ความร่ำรวย ช่วยนำพา
มุกดาหาร เสน่หา น่าเมียงมอง
อันเพทาย ช่วยกันโทษ ที่โฉดเขลา
ไพฑูรย์เล่า กันฟอนไฟ ภัยทั้งผอง
ดลบันดาล ให้เทวา มาคุ้มครอง
สบสนองคุณค่าแจ้ง แห่งนพรัตน์

เพชร เป็นผลึกบริสุทธิ์ของธาตุคาร์บอน มนุษย์รู้จักและนำมาใช้กว่า 2,800 ปีมาแล้วจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า อินเดียเป็นประเทศแรกที่ขุดพบเพชร ต่อมาได้ขยายไปสู่บราซิล อัฟริกา รัสเซีย และตามที่ต่าง ๆ ของโลก ปัจจุบันเหมืองขนาดใหญ่และสำคัญอยู่ที่อัฟริกา และประเทศออสเตรเลีย ลักษณะของเพชรจะเป็นผลึก 8 เหลี่ยมหรือ 12 เหลี่ยม มีความแข็งสูงสุดคือ อันดับ 10 ซึ่งมากกว่าอัญมณีอื่น ๆ มีความโปร่งใสและกึ่งโปร่งแสง ยามต้องแสงไฟประกายของเพชรจะสวยงามและเป็นมันวาวสูง น่าดูยิ่งนัก ในวงการของเพชรพลอยถือว่าเพชรน้ำดีจริง ๆ นั้น จะต้องใสบริสุทธิ์ ไม่มีสีอื่นปน มีรูปร่างในการเจียระไนสวยงามและไม่มีมลทิ
ในด้านของความรัก การใช้แหวนเพชรสวมใส่ที่นิ้วนางข้างซ้ายนั้นเชื่อกันว่าตำแหน่งดังกล่าว เส้นโลหิตจะชี้พุ่งตรงสู่หัวใจพอดี อันหมายถึงเส้นชีวิตแห่งความรัก เพชรเป็นพลอยประจำเดือนเมษายน

ทับทิม.......ชาวอินเดียเรียกรัตนราช ถือกันว่าเป็นราชาแห่งอัญมณี ด้วยเหตุที่มีสีแดงเป็นที่ต้องตาแก่ผู้พบเห็นทับทิมที่สูงค่านั้น มักพบในประเทศพม่า ซึ่งมีสีแดงดุจเลือดนกพิราบ สำหรับไทย ความงามของทับทิมพบได้ที่จังหวัดตราด ประมาณ 75% ของโลกเป็นทับทิม มาจากไทย นอกนั้น พบจากศรีลังกา กัมพูชา เวียดนาม เคนยาและอัฟริกา

ทับทิม จัดอยู่ในแร่จำพวก.........คอรันดัม เกิดจากธาตุ 2 ชนิดคือ อลูมินัมและออกไซด์ จะพบเห็นเป็นรูปผลึก 6 เหลี่ยม มีความแข็งเป็น 9 มีความวาวเป็นประกายคล้ายเพชรไปจนถึงคล้ายแก้ว สำหรับคนดังที่โปรดปราน......ทับทิมเป็นพิเศษนั้นเห็นจะได้แก่ ซาร่าห์ชายาแห่งปรินซ์เอ็ดเวิร์ด ทับทิม เป็นพลอยประจำเดือนกรกฎาคม

มรกต........จัดเป็นอัญมณีเลอค่าในตระกูลเบอริล มีผลึกเป็นรูป 6 เหลี่ยม มรกตที่จัดว่างาม ต้องมีสีเขียวบริสุทธิ์หรือมีสีน้ำเงินเจือเพียงเล็กน้อย มีความเข้มของสีในระดับปานกลาง จนถึงอ่อนเล็กน้อย มีความอิ่มตัวของสีและความบริสุทธิ์สูง มรกตที่ไร้รอยตำหนินั้นไม่มีในธรรมชาติ เพราะการเกิดมรกตในธรรมชาตินั้น สายแร่ที่เกิดผลึกมรกตจะถูกธรรมชาติกดดันให้เกิดการแตกร้าวอยู่เสมอ

ความงามของมรกตนั้นเป็นที่เลื่องลือกันมาก โดยเฉพาะโคลัมเบีย ถือเป็นแหล่งที่ผู้แสวงหานิยมกันมาก การมีมรกตไว้ในครอบครองจะทำให้คู่รักเห็นถึงความซื่อสัตย์ซึ่งกันและกัน มรกตเป็นสัญลักษณ์แห่งความเชื่อมั่น ความกรุณา และความดีงาม มรกต เป็นพลอยประจำเดือนพฤษภาคม

บุษราคัม...... เป็นพลอยแวฟไฟร์อีกประเภทหนึ่ง เดิมเข้าใจว่าเป็น Oriental Topaz หรือ Imperial Topaz บุษราคัมมีความแข็งและความถ่วงจำเพาะ หรือคุณสมบัติอื่นเหมือนทับทิมและไพลิน ความงามของบุษราคัมอยู่ที่สีเหลืองสดดุจดังเปลวไฟ แต่มักพบน้อยมากในธรรมชาติ แหล่งสำคัญที่พบได้ในประเทศไทยและศรีลังกา ส่วนของประเทศออสเตรเลีย สีของบุษราคัมจะค่อนข้างอ่อน ในด้านของราคาบุษราคัม ไทยจะสุงกว่าศรีลังกาเป็น 2 เท่า

เชื่อกันว่า......... เมื่อป่นบุษราคัมเป็นผง สามารถรักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ได้ รักษาโรคหืดหอบ โรคนอนไม่หลับ และการตกเลือดได้ นอกจากนี้ยังนำความรื่นเริงมาสู่ผู้สวมใส่ บุษราคัม เป็นพลอยประจำเดือนพฤศจิกายน

โกเมน.......เป็นอัญมณีที่พบได้มากตามที่ต่าง ๆ มีเกือบทุกสียกเว้นสีฟ้าและน้ำเงิน การนำโกเมนมาประดับประดามีมาหลายพันปีแล้ว ชาวเปอร์เซียถือว่า โกเมนเป็นอัญมณีของกษัตริย์โดยนำมาแกะสลักเป็นตราพระเจ้าแผ่นดิน

โกเมนในไทยจะมีสีแดง มักเกิดร่วมกับพลอยไพลิน พบมากที่บางกะจะ เขาพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรี และที่บ่อหนองบอน จังหวัดตราด โกเมน เป็นพลอยประจำเดือนมกราคม



นิลกาฬ ...........หรือไพลิน อัยมณีไพลินสีฟ้าหรือสีน้ำเงินเป้นพลอยแซฟไฟร์อีกประเภทหนึ่ง การนำไพลินมาประดับ มีมาแต่สมัยโบราณกว่า 2,000 ปี แหล่งสำคัญที่พบคือ พม่า ศรีลังกา และไทย ไพลินที่จัดว่างามต้องมีสีน้ำเงินแก่จัดคล้ายสีดอกอัญชัน เนื้อใส และดูมีน้ำเด่น เป็นประกาย อย่างที่เรียกกันว่า “กำมะหยี่” จะเป็นที่นิยมมาก คนดังอย่างเลดี้ไดอาน่า ก็โปรดปรานไพลินเป็นที่สุด ไพลิน เป็นพลอยประจำเดือนกันยายน




มุกดาหาร........ จัดเป็นอัญมณีอีกประเภทหนึ่ง ที่นิยมนำมาประดับเรือนกาย พบมากในอินเดีย มุกดาหารที่งดงาม ควรออกสีขาวและทอแสงสีฟ้า นอกจากนี้ยังเชื่อว่า อัญมณีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนำมาชมต้องห่อด้วยผ้าสีเหลืองซึ่งเป็นสีแห่งความศักดิ์สิทธิ์ มุกดาหาร เป็นพลอยประจำเดือนมิถุนายน






เพทาย....... พบได้หลายสี แต่ที่สำคัญคือ สีแดงออกน้ำตาลและสีฟ้าใส ๆ แหล่งที่พบมีตั้งแต่ไทย ศรีลังกา กัมพูชา


เพทายเป็นรัตนชาติที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งที่รู้จักกันดี เพราะความมีน้ำเป็นประกายสดใสดุจเพชร แต่มีเนื้อเปราะไม่ทนต่อแรงกระทบหรือแรงกด หรือแม้แต่การเสียดสีของพลอยซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ขอบมุมของพลอยที่เจียระไนแล้วยังแตกได้ง่าย เพทาย เป็นพลอยประจำเดือนธันวาคม


ไพฑูรย์.......หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า เพชรตาแมว เป็นอัญมณีที่แปลกกว่าอัญมณีอื่น ๆ เพราะมีเส้นคาดกลางเม็ด เมื่อได้รับการเจียระไนได้เป็นรูปหลังเบี้ย พบมากที่ศรีลังกา จัดเป็นแร่ที่สวยงาม มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่ง ไพฑูรย์เม็ดงามมีราคาสูง จะมีสีน้ำผึ้ง สีเหลืองอมเขียวหรือน้ำตาลและมีขา (Star) ที่สวยเป็นเงางาม



แหวนพลอยนพเก้า
“นพเก้า” หรือ “นพรัตน์”
เป็นอัญมณี 9 ชนิด
ที่ถือกันว่าถ้าผู้ใดมีไว้ครบทั้งหมดก็จะเป็นสิริมงคลอย่างสูงสุด
ประดับด้วยเพชร และพลอยสำคัญอีก 8 ชนิด คือ ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน
นิลกาฬ (ไพลิน) มุกดาหาร เพทายและไพฑูรย์ ครบทุกชนิดตามโบราณราชประเพณี

“ความเชื่อ” ของผู้คนที่มีมาแต่โบราณกาลว่า อัญมณีหรือเพชรพลอยทั้ง 9 ชนิดที่เรียกว่า “นพรัตน์” นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ของดาวนพเคราะห์ ถือเป็นของสูง เป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ ใครมีไว้ก็ล้วนแต่เจริญรุ่งเรืองด้วยประการทั้งปวง เลิศด้วยความดีงามทั้งปวง อัญมณีทั้ง ๙ ชนิดนี้ ประเทศไทยมีเกือบครบ ยกเว้น มรกตและไพฑูรย์ ซึ่งยังไม่พบ ชนิดที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งในอดีตและปัจจุบันคือ ทับทิมสยาม รองลงมาคือ ไพลินหรือนิลกาฬนั่นเอง เรื่องของอัญมณีโดยเฉพาะแก้วเก้าประการ คนไทยโดยทั่วไปนิยมเลื่อมใสนับถือเป็นของมีค่าสูงและเป็นสิริมงคล นำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านศาสนา และในสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ทำเป็นพระพุทธ รูปต่าง ๆ ตลอดจนใช้ประดับเครื่องทรงและที่ประทับ ใช้เป็นเครื่องประดับแสดงถึงตำแหน่งและเกียรติยศ เครื่องราชูปโภคในพระราชพิธีสำคัญ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ของที่เป็นบำเหน็จรางวัล เครื่องประดับต่าง ๆ ของพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการชั้นสูง ประชาชนโดยทั่วไปทุกระดับชั้น ก็สามารถหามาใช้ได้ตามกำลังฐานะ นอกจากเพื่อความสวยงาม และความเป็นสิริมงคลต่าง ๆ แล้ว ก็ยังใช้เป็นหลักทรัพย์ที่ถือเป็นมรดกสืบทอดแก่ทายาทในวงศ์ตระกูล
เป็นของกำนัลตอบแทนผู้มีน้ำใจช่วยเหลือยามที่เคยตก ความหมายอันเป็นสิริมงคล


1. เพชร สิริมงคลคือ เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ มีชัยแก่ศัตรู ร่ำรวย
2. มณี (ทับทิม) สิริมงคลคือ ความสำเร็จ ลาภยศ อายุยืน
3. มรกต สิริมงคลคือ ความศรัทธา กล้าหาญ ป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง
4. บุษราคัม สิริมงคลคือ มีเสน่ห์เป็นที่รัก
5. โกเมน สิริมงคลคือ สุขภาพดี อายุยืนนาน
6. นิลกาฬ (ไพลิน) สิริมงคลคือ ความรัก ความเมตตากรุณา ความร่ำรวย
7. มุกดาหาร สิริมงคลคือ ความบริสุทธิ์ ร่มเย็น และชนะแก่ศัตรู
8.เพทาย สิริมงคลคือ ความร่ำรวย ชนะคดีความ
9. ไพฑูรย์ สิริมงคลคือ เทวดาคุ้มครอง ป้องกันฟืนไฟ


แหวนนพเก้า คนโบราณมักนิยมนำพลอยนพเก้ามาทำเป็นแหวน โดยเรียกว่า
“แหวนนพเก้า” หรือ (แหวนนพรัตน์) แหวนนพเก้า
เป็นแหวนสูงค่าที่รู้จักกันดีมานานนับร้อยปี ตามความเชื่อที่ว่า อัญมณีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในทางมงคล ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ และขจัดความไม่เป็น มงคลทั้งหลายให้สิ้นไปได้ หากผู้ใดมีไว้ในครอบครอง
ก็เท่ากับมีมงคลไว้ติดตัว ทำสิ่งใดย่อมมี ความสำเร็จ ด้วยเหตุที่แหวนนพเก้ามีทั้ง ความงามและคุณค่าในตัวเอง โดยแทบไม่ต้องปรุงแต่ง นับแต่ โบราณมาแล้ว คนไทยได้รับอิทธิพลความเชื่อของอัญมณี 9 ชนิดนี้มาจากอินเดีย แต่ไม่ ปรากฏแน่ชัดว่า เข้ามามีอิทธิพลเมื่อไร ด้วยเหตุที่คนอินเดียมี วัฒนธรรม
และขนบธรรมเนียมประเพณีอันยาวนาน เขาจึงรู้ คุณค่า และความสวยงาม ของอัญมณี 9 ชนิดนี้เป็นอย่างดี ทั้งยังนำไปเกี่ยวข้องและเกี่ยวพันกับดวงดาว ในระบบสุริยะจักรวาลและเทพ ประจำดวงดาว ซึ่งมีอำนาจและพลังเป็นคุณวิเศษ ที่จะนำพาความเจริญ รุ่งเรือง และสิริมงคลทั้งหลาย มาสู่ผู้สวม ใส่
นอกจากนี้ยังมีพลังแห่งการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วย ไม่เพียง เท่านี้ ชาวตะวันตก ชาวอียิปต์โบราณ ชาวจีน หรือแม้แต่ชาวป่าเผ่าต่างๆ ก็มีความเชื่อถือในพลังของอัญมณี เหล่านี้เช่นกัน
Taladploy.com
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=rouenrarai&month=07-2010&date=10&group=6&gblog=32