1
2

9 จุดในบ้านที่ควรระวัง หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้


ภูมิแพ้กรุงเทพ (Feat. ตั๊กแตน ชลดา) - ป้าง นครินทร์



9 จุดในบ้านที่ควรระวัง หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          ฝุ่นเป็นสสารที่มีความสามารถพิเศษในการแฝงตัวอยู่ตามซอกตามหลืบ แม้เราจะทำความสะอาดบ้านจนแน่ใจแล้วว่าสะอาดหมดจด แต่จริง ๆ แล้วอาจจะมีฝุ่นเกาะฝังแน่นอยู่ตามจุดต่าง ๆ ภายในบ้านก็ได้ จุดสำคัญที่ฝุ่นมักจะใช้เป็นที่แฝงตัวนั้นจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ



  1. เฟอร์นิเจอร์ที่เป็นเบาะหรือผ้า

          ไม่ว่าจะเป็นโซฟา เก้าอี้ หรือเบาะนั่งที่ทำมาจากวัสดุประเภทผ้าหรือบุนวม มักจะเป็นที่สิงสถิตของบรรดาฝุ่นทั้งหลาย และยังเสี่ยงต่อการอับชื้น เพราะฉะนั้นอย่าละเลยการทำความสะอาดจุดนี้เป็นพิเศษ ด้วยการดูดฝุ่นบ่อย ๆ และระวังอย่าให้เฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เปียกน้ำหรือโดนความชื้น เพราะอาจจะเสี่ยงให้เกิดเชื้อราขึ้นได้ หรือถ้าคุณมีงบประมาณหน่อย ก็อาจจะใช้เครื่องดูดความชื้นช่วย หรือทางที่ดีก็เลี่ยงใช้เฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ แล้วเลือกใช้ประเภทที่เป็นหนัง ไวนิลหรือวัสดุอื่นที่สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่าย เพื่อลดการเกาะตัวของฝุ่นทั้งหลายดีกว่าค่ะ



  2. ผ้าปูที่นอนและผ้าคลุมเตียง

          รู้ไหมว่า 6-8 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำที่เราหลับพักผ่อนบนที่นอนนั้น เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วบนร่างกายจะหลุดออกมา กระจายอยู่บนที่นอน แล้วก็จะดูดเอาไรฝุ่นทั้งหลายให้มาเกาะรวมกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมบางที เราจึงรู้สึกระคายเคืองที่ผิวหนัง เพราะฉะนั้นการดูแลความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน รวมถึงผ้าคลุมเตียงทุกสัปดาห์จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อปกป้องตัวเองจากโรคภูมิแพ้ และเพื่อที่เราจะได้นอนหลับพักผ่อนแบบสบายตัวด้วยนะ



  3. ห้องน้ำ
          
          ราดำ ๆ ที่ขึ้นตามร่องกระเบื้องหรือบนผนังห้องน้ำ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคภูมิแพ้ ทำความสะอาดห้องน้ำบ่อย ๆ และอย่าละเลยที่จะขัดตามร่องกระเบื้องทั้งบริเวณพื้นห้องน้ำและบนผนัง เพื่อกำจัดเชื้อราและเชื้อโรคอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณป่วยได้นะคะ




  4. ของเล่นเด็กจำพวกตุ๊กตา

          ตุ๊กตาหมีหรือของเล่นที่ผลิตจากผ้าและวัสดุที่สามารถดูดเก็บฝุ่นได้นั้นก็อันตรายไม่น้อย ยิ่งกับเด็ก ๆ ด้วยแล้ว ผิวหนังเขาจะบางและระคายเคืองได้ง่ายมาก ดูแลคุณหนู ๆ ด้วยการรักษาของเล่นของเขาให้สะอาดอยู่เสมอ และเก็บให้พ้นจากความชื้น ทีนี้ก็ปล่อยให้เขากอดรัดฟัดเหวี่ยงกับของเล่นอย่างสบายใจได้เลย



  5. ห้องครัว

          ครัวที่เปียกชื้นและสกปรกจะเป็นแหล่งรวมของบรรดาเชื้อราและเชื้อโรคทั้งหลาย ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดครัวและเช็ดเครื่องครัวให้แห้งทุกครั้งหลังการใช้งาน เพื่อลดโอกาสที่เชื้อราจะมาอาศัยและเจริญเติบโต เสร็จแล้วก็อย่าลืมกำจัดอาหารที่ใกล้จะหมดอายุในตู้เย็นด้วยนะคะ เชื้อโรคจะได้ไม่สะสมอยู่ในตู้เย็นของคุณ




  6. กระถางต้นไม้

          บ้านหลังที่สองของเชื้อราก็คือ กระถางต้นไม้ที่อยู่ในบ้านเรานี่ล่ะ และคงไม่ดีแน่หากเราจะปล่อยให้เหล่าเชื้อรามีโอกาสแพร่ขยายลามมาถึงพื้น เพราะฉะนั้นสกัดกั้นเชื้อราก่อนด้วยการเก็บไม้ใบที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้น หรือจะใช้จานรองกระถางต้นไม้ แล้วหมั่นเทน้ำจากกระถางต้นไม้ทิ้งก็ช่วยได้เช่นกันค่ะ



  7. สัตว์เลี้ยง

          หลายคนมีอาการแพ้ขนสัตว์ ซึ่งเหตุผลจริง ๆ ที่ทำให้คุณแพ้นั้นไม่ใช่ขนสัตว์ แต่เป็นโปรตีนสัตว์ ที่พบในปัสสาวะ น้ำลาย และสะเก็ดผิวหนังของสัตว์เลี้ยงต่างหาก เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจากสัตว์มักจะปลิวไปติดตามพรมเช็ดเท้า โซฟา และหล่นกระจายอยู่ตามพื้น เพราะฉะนั้นหลีกเลี่ยงที่จะเอาน้องหมาน้องแมวไปนอนด้วยจะดีกว่านะคะ เพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ในระดับหนึ่ง หรือถ้าจะให้ดีอาจต้องหลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ไปเลย



  8. พรมปูพื้นและพรมเช็ดเท้า

          พรมปูพื้นและพรมเช็ดเท้าเป็นแหล่งสะสมไรฝุ่นชั้นดี เพราะทุกครั้งที่เราเช็ดเท้า เราก็จะพาเอาฝุ่นจากเท้าให้ย้ายไปอยู่ที่พรมเช็ดเท้าแทน หมั่นซักพรมหรือดูดฝุ่นบ่อย ๆ  เพื่อลดโอกาสสะสมฝุ่นในพรม หรือเลี่ยงไปใช้ผ้าแทนจะดีกว่าค่ะ เพราะซักและดูแลความสะอาดง่ายกว่าวัสดุประเภทพรมเยอะเลย



  9. หนังสือ

          หนังสือที่ไม่ได้อ่านบ่อย ๆ คงจะมีฝุ่นเกาะเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นหมั่นดูแลชั้นหนังสือของคุณให้ปราศจากฝุ่นอยู่เสมอ หรือจัดเก็บไว้ในที่ที่จะปลอดฝุ่นได้มากที่สุด เพื่อเป็นการคงสภาพหนังสือของคุณให้ดูน่าอ่าน และดูแลตัวคุณเองจากอาการแพ้ฝุ่นด้วยค่ะ

         
ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคภูมิแพ้ หรือเป็นคนปกติธรรมดาที่แข็งแรงอยู่แล้ว แต่อยู่ให้ห่างจากฝุ่นและเชื้อโรคไว้ ยังไงก็ดีกว่า เพื่อสุขภาพและพลานามัยที่ดีนะคะ

ใจดีสู้เสือ

อย่ากลัวเลยนะ - ภัคม์



ใจดีสู้เสือ
ภาวัน




ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากหนังสือเรื่อง เดินสู่อิสรภาพ อันเป็นบันทึกการเดินเท้าจากเชียงใหม่ไปยังเกาะสมุยบ้านเกิดเยี่ยงนักจาริกแสวงบุญจนค้นพบความหมายของชีวิตในมิติทางจิตวิญญาณ ชีวิตและมุมมองที่เปลี่ยนไปของเขาเมื่อเกือบสิบปีที่แล้วได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนมากมายจนทุกวันนี้






เขาเคยเล่าประสบการณ์บางช่วงในวัยหนุ่มให้แก่นิตยสาร Way เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า วันหนึ่งเขากับเพื่อนเดินผ่านตลาด จู่ ๆ ก็ได้ยินเสียง “แชะ” ดังจากซอกตึก เมื่อมองไปยังต้นเสียงก็พบว่ามีคนยืนถือปืนจ้องมายังทั้งคู่  เสียงนั้นคือเสียงลั่นไกปืนนั้นเอง  เขาตกใจมาก วิ่งหนีสุดชีวิตด้วยความกลัวตาย  แต่เพื่อนเขาไม่ได้วิ่งตามมาด้วย  

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว เขาได้พบเพื่อนคนนั้นอีกครั้ง  แทนที่จะแสดงความดีใจ เขากลับชี้หน้าด่าว่า
“มึงอย่าทำแบบนั้นอีกเป็นอันขาด”  เพื่อนเล่าว่า แทนที่เขาจะวิ่งหนี กลับกระโจนเข้าไปหามือปืนจนหมอนั่นตกใจวิ่งหนีไป

คำพูดของเพื่อนผู้นั้น ได้สอนเขาว่า “เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความกลัว อย่าวิ่งหนี ต้องกระโจนเข้าหา เพื่อจะได้รู้ว่าความกลัวไม่ได้น่ากลัวอีกต่อไป”

ไม่ว่าเรากลัวอะไรก็ตาม  หากเราวิ่งหนีสิ่งนั้นอยู่ร่ำไป มันก็จะตามมาหลอกหลอนเราไม่หยุดหย่อน 




นักธุรกิจที่กลัวความล้มเหลว ไม่ว่าทำอะไร ก็กลัวว่าจะล้มเหลวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมักเลือกสิ่งจำเจหรือย่ำเท้าอยู่กับที่มากกว่าที่จะกล้าริเริ่มสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน  ไม่ต้องบอกก็คงรู้ว่าชีวิตแบบนี้ย่อมน่าเบื่อ  



คนที่กลัวความแก่ ก็จะประหวั่นทุกครั้งที่พินิจใบหน้าของตนในกระจก เพราะกลัวว่าจะเห็นรอยย่น ที่ร้ายก็คือ หลายอย่างที่เรากลัวนั้นไม่ว่าจะหนีอย่างไร ก็หนีไม่พ้น สักวันหนึ่งก็ต้องเจอเข้ากับตัว  ความล้มเหลวและความแก่คือส่วนเสี้ยวของความจริงที่เราต้องเจอทุกคน  ถ้ายังกลัวมันอยู่  ถึงตอนนั้นก็จะทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่ง



ดังนั้นแทนที่จะคิดหนีมัน  ไม่ดีกว่าหรือที่จะหันหน้ามาเผชิญกับมัน   เพียงเท่านี้ก็ทำให้มันลดความน่ากลัวลงไปทันที   พิษสงที่เคยคิดว่ามันมีอยู่มากมาย กลับละลายหายไป ถึงตอนนั้นก็จะพบว่า  แท้จริงแล้วมันไม่น่ากลัวเลย สิ่งที่น่ากลัวกว่าคือความกลัวในใจเราต่างหาก

มีคำกล่าวว่า “ไม่มีอะไรน่ากลัวเท่ากับความกลัว”   หลายคนพบว่า มะเร็งไม่น่ากลัวเท่ากับความกลัวมะเร็ง   มะเร็งนั้นทำร้ายได้แต่ร่างกาย แต่ถ้ากลัวมะเร็งแล้ว มันสามารถบั่นทอนทั้งจิตใจและร่างกาย ทำให้กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไร้ชีวิตชีวา เหมือนคนตายทั้งเป็น  มีบางคนที่ร่างกายปกติ แต่หมอวินิจฉัยผิดว่าเป็นมะเร็ง ทันทีที่รู้ข่าวก็ทรุดทันที ตรงข้ามกับผู้ป่วยมะเร็งหลายคนที่ยอมรับความจริงได้  กลับมีสีหน้ายิ้มแย้ม ดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข



เมื่อกลัวอะไรก็ตาม พึงรู้ว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ความกลัวในใจเรา   ดังนั้นสิ่งที่ควรจัดการเป็นอย่างแรกคือความกลัวในใจ  อย่าปล่อยให้มันครอบงำใจหรือบงการชีวิตเรา แต่ควรรู้ทันมัน และถอนพิษสงของมัน ด้วยการทำตรงข้ามกับที่มันสั่ง  เมื่อมันสั่งให้หนีสิ่งใด ก็ควรเดินหน้าเข้าหาสิ่งนั้น  วิธีนี้นอกจากทำให้มันมีอำนาจเหนือจิตใจของเราน้อยลงแล้ว เรายังจะพบว่าสิ่งที่เรากลัวนั้น แท้จริงไม่น่ากลัวแต่อย่างใด  เอาเข้าจริง ๆ  มันกลับกลัวเราด้วยซ้ำ จนต้องล่าถอยไป เช่นเดียวกับมือปืนที่กระโจนหนีไปทันทีเมื่อเห็นเหยื่อกระโดดเข้าหา

ใช่หรือไม่ว่า ที่คนโบราณสอนว่า “ใจดีสู้เสือ” ก็คงเพราะเสือจะเป็นฝ่ายกลัวเราทันทีที่เราไม่กลัวมัน 







จงฉลาด พอที่จะอ่าน





จงฉลาด พอที่จะอ่าน 
จง…เข้มแข็ง พอที่จะเผชิญหน้ากับความจริง
จง...อ่อนแอ พอที่จะรับรู้ว่าลำพังเรานั้นทำอะไรไม่ได้ทุกอย่าง
จง...ฟุ่มเฟือยน้ำใจ เมื่อมีใครต้องการความช่วยเหลือ
จง…คิดก่อน ทุกครั้งที่จะปล่อยเงินออกจากมือ
จง...ฉลาด พอที่จะรู้ว่าเราไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
จง...โง่ พอที่จะเชื่อในปาฏิหาริย์
จง...เต็มใจจะแบ่งปันความสุข ของตัวเอง
จง...เต็มใจที่จะแบ่งรับความทุกข์ ของผู้อื่น
จง...เป็นผู้นำ หากทางที่ผู้อื่นทิ้งไว้ให้นั้นเลือนราง
จง...เป็นผู้ตาม หากตกอยู่ในวงล้อมแห่งความไม่แน่นอน
จง...เป็นคนแรก  ที่แสดงความยินดีต่อความสำเร็จของคู่แข่ง
จง...เป็นคนสุดท้าย ที่จะวิจารณ์ความผิดพลาดของเพื่อน
จง...มองเพียงแค่ก้าวถัดไป เพราะมันจะทำให้เราไม่ล้ม
จง...มองไปยังจุดหมายปลายทาง ให้แน่ใจว่าไม่ได้กำลังเดินผิดทาง
จง...ใช้เวลามอง หรือให้โอกาสกับตัวเอง ที่จะเรียนรู้คนที่เขาบอกรักคุณ
จง...รักคนที่รักคุณ แม้อีก 5 ปี 10 ปี หรือ 50 ปีเขาก็ยังรักคุณ
จง...รักคนที่ไม่รักคุณแล้ว... สักวันนึงเค้าอาจจะเปลี่ยนใจมารักคุณ
จง...อย่าปล่อย ให้คนที่รักคุณหลุดลอยไป
สุดท้าย จง...อย่าหลอกตัวเอง




สว่างตา ด้วยแสงไฟ สว่างใจ ด้วยแสงธรรม



พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ขอบคุณบทความจากธรรมะสวัสดี





วันเข้าพรรษา



ประวัติวันเข้าพรรษา
Rain-Retreat Sub. 中文 Eng



วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม

การเข้าพรรษา ตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

ความหมายของวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา
1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษา 3 เดือนแรกแห่งฤดูฝน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในปีปกติและอธิกวาร .ส่วนในปีอธิกมาสจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 88 หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม
2. ปัจฉิมพรรษา คือ การอนุโลมเข้าพรรษาอีกอย่างหนึ่งตามพระวินัยสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มีเหตุจำพรรษาไม่ทัน เป็นต้น โดยนับเอา 3 เดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน เรียกว่าเข้าพรรษาหลัง คือ มีวันเข้าพรรษาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 หรือราวเดือนสิงหาคมและจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ อันเป็นสิ้นสุดฤดูฝน หรือราวเดือนพฤศจิกายน. การจำพรรษาหลังนี้ ทางประเพณีไม่เป็นที่นิยม.

ประวัติความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน
โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย

พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษา ให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า
"วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์ การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา

โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด
บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา
ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนมีประเพณีสำคัญ ดังนี้

ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูปเทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสวตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

ประเพณีตักบาตรดอกไม้
เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ความชุ่มชื้น บนเชิงเขาสุวรรณบรรพต จรดเทือกเขาวงใกล้รอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นจุดเริ่มต้นความสวยงาม ของมวลหมู่พันธุ์ไม้ หลากสีสัน เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงวันเข้าพรรษาของทุกปี ดอกไม้ชนิดหนึ่ง จะบานสะพรั่งขาวนวลบริสุทธิ์ ท่ามกลางความเหลืองอร่ามปะปนสีม่วง แลดูสบายตาเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพตและเทือกเขาวง ชาวบ้าน เรียกดอกไม้ชนิดนี้ ว่า "ดอกเข้าพรรษา" ซึ่งเป็นสื่อกลางระหว่าง พุทธศาสนิกชนเพื่อส่งพุทธบูชา ศรัทธา แก่พระพุทธองค์ผ่านประเพณีตักบาตรดอกไม้ เนื่องในวันเข้าพรรษา ประเพณีตักบาตรดอกไม้ของชาวพุทธจะถือเอาวันเข้าพรรษาของทุกปี (ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) เป็นวันตักบาตรดอกไม้ พุทธศาสนิกชน ทุกเพศ ทุกวัย จากทั่วประเทศ เข้าร่วมงานประเพณี "ตักบาตรดอกไม้" ด้วยความศรัทธา และร่วมสืบสานอีกหนึ่งวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของคนไทย

"ดอกเข้าพรรษา" เป็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายๆ ต้นกระชาย หรือ ขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศา ส่วนสีสันของดอกไม้เข้าพรรษานี้ บางต้นก็ผลิดอกสีเหลือง บางต้นก็สีขาว และบางต้นก็สีน้ำเงินม่วง ซึ่งหาได้ยาก ถือกันว่าถ้าใครออกไปเก็บดอกไม้เข้าพรรษาสีม่วงมาใส่บาตรได้ คนนั้นจะได้รับบุญกุศลมามายกว่าการนำดอกไม้สีอื่นๆ มาใส่บาตร ต้นดอกไม้เข้าพรรษานี้จะขึ้นตาม ไหล่เขาโพธิ์ลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวงและ เขาพุใกล้ๆ กับพระพุทธบาทที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่ง สำหรับต้นดอกไม้ชนิดนี้ก็คือการผลิดอก ถ้ามิใช่ฤดูกาลเริ่มเข้าพรรษา เช่น หน้าร้อน หน้าหนาว อย่างนี้ ต้นเข้าพรรษา จะไม่ผลิดอกออกมาให้เห็น จนชาวบ้านขนานนามให้เป็นที่เหมาะสมว่า "ต้นเข้าพรรษา"

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
1. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
2. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
3. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
4. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

http://www.panyathai.or.th/wiki/




1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss