เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ 10 ประการของ วิลเลียม เจ โอนีล


เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ 10 ประการของ วิลเลียม เจ โอนีล 
(ผู้ก่อตั้ง นสพ. Investor's Business Daily, 
สมาชิกตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กที่มีอายุน้อยที่สุด, 
ผู้คิดค้นกลยุทธ์การลงทุนแนว CANSLIM)

1. วิธีคิดของคุณคือทุกสิ่งทุกอย่าง : 
จงคิดในเชิงบวก คิดถึงความสำเร็จ ไม่ใช่ความล้มเหลว จงตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเชิงลบ

2. กำหนดความฝันและเป้าหมาย : 
เขียนเป้าหมายของคุณลงในกระดาษและออกแบบแผนการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น

3.ลงมือทำ : 
เป้าหมายจะไม่มีประโยชน์ถ้าไม่ลงมือทำ อย่ากลัวที่จะเริ่ม จงลงมือทำ

4.อย่าหยุดเรียนรู้ : 
กลับไปเรียนหนังสือ อ่านหนังสือ หรือเข้ารับการอบรมทักษะใหม่ ๆ

5.ขยันและไม่ยอมแพ้ : 
ความสำเร็จเป็นเหมือนการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งเร็ว เพราะฉะนั้นจงอย่ายอมแพ้

6. เรียนรู้การวิเคราะห์รายละเอียด : 
ค้นหาความจริง รวบรวมข้อมูล เรียนรู้จากความผิดพลาด

7. จดจ่อกับเวลา และเงินของคุณ : 
อย่าให้ใครหรือสิ่งใดทำให้คุณวอกแวก

8. ไม่กลัวที่จะทำสิ่งใหม่ กล้าที่จะแตกต่าง : 
การเดินทางตามผู้อื่น คือหนทางสู่การเป็นอะไรที่ธรรมดาหรือ "งั้นๆ"

9. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ : 
คนเราไม่สามารถอยู่คนเดียว จงเรียนรู้ที่จะเข้าใจและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น

10. จงซื่อสัตย์ เชื่อใจได้ รับผิดชอบ : 
มิฉะนั้นแล้ว ข้อ 1-9 ก็ไร้ความหมาย

ที่มา : หนังสือ Frobes BEST BUSINESS MISTAKES


วิลเลี่ยม เจ โอนีล
ประวัติส่วนตัว
บิล โอนีล เรียนจบด้านการบริหารจาก Southern Methodist University 
ในปี 1955 และ ในปี 1958 หลังจากที่เขาได้ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว 
เขาเริ่มต้นชีวิตการทำงานด้วยการเป็น นักเล่นหุ้น ให้กับบริษัท Hayden, Stone & Company และได้พัฒนารูปแบบการเล่นหุ้นที่มีชื่อว่า CANSLIM 
และด้วยรูปแบบการเล่นนี้ ทำให้เขากลายเป็นนักเล่นหุ้นที่ประสบความสำเร็จที่สุดในบริษัทในเวลานั้น

จากความสำเร็จด้านการงานและการเงินทำให้เขาริเริ่มก่อตั้งบริษัทของตัวเอง ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า William O'Neil & Co., Inc, ในปี 1963 และตอนเขาอายุได้ 30 ปี เขาก็กลายเป็นบุคคลที่มีอายุน้อยที่สุดที่สามารถซื้อที่นั่งใน New York Stock Exchange ได้

ในปี 1983 เขาเริ่มทำหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการเงินและใช้ชื่อว่า Investor's Daily ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น Investor's Business Daily ในปี 1991 และในปี 2007 ที่ผ่านมา เขารับทำหน้าที่ในตำแหน่ง CEO ให้กับ William O'Neil & Co. และยังคงทำหน้าที่เป็นบอร์ดบริหารและผู้ผลิต Investor's Business Daily รวมไปถึงเป็นคุณครูและเขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุน

รูปแบบการลงทุน
โอนีล ได้ทำการผสมผสานรูปแบบการลงทุนของตัวเอง โดยใช้ quantitative และ qualitative strategies ผสมกันและนำมาปรับใช้ หรือจะพูดง่ายๆก็คือ รูปแบบการลงทุนของเขาคือการค้นหาหุ้นที่มีความน่าจะเป็นที่จะขึ้นทันที่ ที่มีการซื้อขาย

โอนิล การลงทุนแบบนี้ ทำให้ภายในหนึ่งปีผ่านไปเขาสามารถทำเงินจาก 5,000 เหรียญ เป็น 200,000 เหรียญ 
How to Make Money in Stocks by Bill O'Neil
บิล โอนีล มักจะพูดเสมอว่า จงซื้อหุ้นที่ดี และ ขายหุ้นที่ไม่ดี และ รูปแบบการเล่นของเขาก็คือการใช้หลัก CANSLIM ที่เขาคิดขึ้นมาเอง
C – Current quarterly earnings per share 
ผลกำไรไตรมาสก่อน
รายได้ของหุ้นตัวนั้นๆในไตรมาสต่างๆเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25%

A – Annual earnings 
กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น
รายได้ต่อปีจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25% ในช่วง 5 ปีหลัง 

N – New products, new management, and new highs. 
หุ้นตัวใหม่ที่มีรูปแบบและการบริหารที่แตกต่าง

S – Supply and demand
อุปสงค์ และ อุปทาน
ยิ่งที่ปริมาณหุ้นน้อย ยิ่งทำให้ราคาสูง ดังนั้นลงมองหาหุ้นที่มี 10 ถึง 12 ล้านหุ้น

L – Leaders and laggards.
ผู้นำ และ ผู้ตาม
เลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของกลุ่มนั้นๆ สัก 2-3 บริษัท 
หุ้นพวกนี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆในหมวดเดียวกันในอัตรา 80-90% ใน 12 เดือน อยู่ให้ห่างหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน

I – Institutional ownership. 
ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบัน
บริษัทที่ได้รับการสนับสนุน เราสามารถนำมาเป็นตัวเลือกได้

M – Market direction. 
ทิศทางการตลาด
ศึกษาตลาดเพื่ิอหาสัญญาณการเพิ่ม และปรับตัวลงของตลาด

หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์

"How To Make Money In Stocks" by William J. O'Neil(1988).
"24 Essential Lessons For Investment Success" by William J. O'Neil (1999).
"The Successful Investor" by William J. O'Neil(2003).

Quotes
“ถ้าตลาดเดินไปคนละทางกับที่คนส่วนใหญ่คิด ผมมั่นใจว่า 95% ของคนเหล่านั้นพูดจากความรู้สึก และ ความรู้สึกมักจะไม่ค่อยมีความหมาย ความจริงกับรูปแบบของตลาดนั้นมีความน่าเชื่อถือกว่ามาก”
“การที่จะประสบความสำเร็จในการเล่นหุ้นนั้น เวลาคุณเล่นเสีย ให้เล่นเสียในจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้”
“อะไรที่ดูเหมือนจะดีแต่เสี่ยงมักจะดีกว่าที่คุณคิดไว้ และ อะไรที่ดูไม่ดีแต่ง่ายก็มักจะดูแย่กว่าที่คิดไว้เช่นกัน”