Dhamma Motion - เมื่อใจเรามีทุกข์


Dhamma Motion - เมื่อใจเรามีทุกข์




Dhamma Motion - เมื่อใจเรามีทุกข์
สื่อศิลปะนี้มอบให้ทุกท่านผู้มีทุกข์ และผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ โดยได้นำหลักธรรมะและการเจริญสติมาอธิบายด้วยรูปและสัญลักษณ์ คำอธิบายเพิ่มเติมต่อไปนี้จำเป็นต่อความครบถ้วนในการสื่อสาร



๑. เมื่อมีทุกข์ เราจะคิดปรุงแต่ง กังวลอดีต และอนาคต เสมือนว่าปัจจุบันกำลังเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นจริง เปรียบเหมือนคนที่สร้างภาพจรเข้กระโดดเข้าหาอยู่ตลอดเวลา หากสติระลึกรู้ว่าจิตหลงคิดฟุ้ง ความคิดนั้นจะดับลง



๒. ส่วนใหญ่ที่เรารู้ว่าคิด เรามักคิดต่ออีกเพราะเราพยายามดิ้นรนหนีความทุกข์ หากเราผ่อนคลายและใช้จิตที่เบาสบาย เฝ้าดูความไม่พอใจในทุกข์ จะพบว่าสภาวะทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่จิตระลึกรู้ เหมือนเมฆฝนที่บดบังจิตใจ




๓. การเจริญสติคือการเฝ้ารู้สภาวะที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เฉยบ้าง ไม่รู้ชัดบ้าง ไม่จำเป็นต้องแยกแยะว่าคืออะไร เปรียบเหมือนปรากณการณ์ธรรมชาติคือแสงแดดและสายฝนที่หมุนวนเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา




๔. ชีวิตเราอาจมีภัยหรือปลอดภัย เราก็หลีกเลี่ยงภัยตามหน้าที่ โดยไม่เก็บเรื่องต่างๆ มาคิดให้วุ่นวาย เปรียบเหมือนเสือและงูที่ผ่านเข้ามาในเส้นทางการเดินเรือ แต่อยู่คนละระดับ ไม่เกี่ยวข้องกับคนพายเรือ




๕. เมื่อสติระลึกรู้สภาวะความไม่เที่ยงซ้ำแล้วซ้ำอีก จิตจะเป็นกลาง เห็นทุกข์สุขเสมอกัน ไม่ดิ้นรนหนีทุกข์ และเกิดปัญญาที่แท้จริงว่าทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง ปัญญานี้จะคลายความหลงยึดมั่นว่ากายนี้ จิตนี้เป็นตัวตนของเรา




๖. การปฏิบัติธรรมเหมือนการออกเรือเดินทาง จะถึงฝั่งหรือไม่นั้น อยู่เหนือการควบคุมของเรา แต่เมื่อเราแจวเรืออย่างไม่ย่อท้อ เราก็อิ่มใจได้เพราะเราอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์ เมื่อธรรมะคือเรือที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ เรือนั้นก็สืบทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป




๗. จากผู้ที่จมอยู่กับทุกข์ กลายเป็นผู้รู้ทุกข์แจ่มแจ้ง พระพุทธองค์ก็เกิดมาบนกองทุกข์และกิเลศ เมื่อได้ลงมือเพียรปฏิบัติธรรม ย่อมอยู่ในเส้นทางของมรรคผล




๘. ศิลปะเองก็เป็นเพียงเส้นและสีที่รวมกัน ดังกายและจิตอันเป็นที่ชุมนุมของกระดูก และธาตุขันธ์



Dhamma Motion - When We Live In Grief
 



Dhamma Motion - When We Live In Grief
This motion art is a gift for those who are in grief, and those who desire to be free from suffering. The narrative uses symbols to explain Dhamma and the practice of awareness meditation. For a thorough explanation, please read the following:



1. When we live in grief, we always worry about the past and the future, as if they are happening in the present. This is like the person who keeps thinking of crocodiles approaching him. Whenever we notice the mind that thinks, the thinking process stops.




2. The more we try to avoid and block negative thoughts, the more we dwell on them. If we find a way to relax and become aware of the uneasiness with compassion, we will discover that it is just a state that the mind holds on to. This is comparable to a cloud concealing the mind.




3. To practice awareness meditation, we frequently observe the state we currently experience. We may feel happy, sad, neutral or not knowing what the feeling is. It is not important to know what they are called. All states are natural phenomena occurring in cycles like the sun and the rain.




4. There are times of troubles and times of peace. We need to think to avoid dangers and to function in life, but there is no need to dwell on unchangeable past and delusional future. This is compared to the tiger and snake passing by. They are on another level, signifying the mind that is not obsessed with daily occurrences.




5. When the mind sees the impermanence over and over, it will feel neutral to changes and no longer try to avoid suffering. Once the mind deeply realizes that the cycle of feelings is impermanent, it would lead to the realization that all things, including our body and mind, are impermanent.




6. Practicing awareness meditation is like set sailing. Whether we reach the shore or not is beyond our control. However, we have control of every present moment, and we should feel fulfilled each time we row the boat, as we are on the path to end suffering. The boat is similar to Dhamma. It saves us and passes on to the next generations.




7. The person living in grief becomes the person who embraces the impermanence. The Buddha himself was born with suffering not different from us.




8. Art is a combination of lines and colors, not different from the body and mind, which are masses of elements.