นกแตกฝูง…เส้นทางบินสู่อิสรภาพ

Neil Diamond "Be" - "Jonathan Livingston Seagull" 1973


< } BE { >
Lost ...... 
On a painted sky 
Where the clouds are hung 
For the poet's eye, 
You may find him. 
If you may find him.

There..... 
On a distant shore, 
By the wings of dreams. 
Through an open door. 
You may know him, 
If you may

Be..... 
As a page that aches for a word 
Which speaks on a theme that is timeless 
And the one God will make for your day 
Sing.... As a song in search of a voice that is silent 
While the Sun God will make for your way



And we dance 
To a whispered voice 
Overheard by the soul 
Undertook by the heart 
And you may know it 
If you may know it

While the sand 
Would become the stone 
Which begat the spark 
Turned to living bone 
Holy, holy Sanctus, sanctus

Be.... 
As a page that aches for a word 
Which speaks on a theme that is timeless 
And the one God will make for your day 
Sing..... As a song in search of a voice that is silent


นกแตกฝูง…เส้นทางบินสู่อิสรภาพ

คุณรู้จัก “โจนาธาน ลิฟวิงสตัน” หรือเปล่า? เคยได้ยินชื่อของเขาบ้างไหม? ถ้าคุณย้อนถามกลับมาว่าเขาเป็นใคร หรือตอบว่าไม่เคยได้ยิน หรือแค่คุ้นหู หรือว่าผ่านตามาแล้วแต่จำไม่ได้ หรืออยากรู้ว่าฉันจะเขียนอะไรเกี่ยวกับเขา

เอาล่ะ ลองมาอ่านบทความนี้กัน



อันดับแรก สิ่งที่คุณควรรู้คือข้อมูลที่ชัดเจนจริงๆ เกี่ยวกับนกอพยพ
ฉันค้นข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับปักษีวิทยาหลายฉบับ และทั้งหมดก็ให้ข้อมูลตรงกันว่า การอพยพย้ายถิ่นของนก เป็นการอพยพระหว่างพื้นที่ซึ่งใช้สร้างรังและวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์ที่อยู่ในเขตซีกโลกเหนือ กับพื้นที่ซึ่งใช้เป็นแหล่งหากินนอกฤดูผสมพันธุ์ในเขตซีกโลกใต้ และเหตุผลในการอพยพก็คือในฤดูหนาวซีกโลกเหนือมีอุณหภูมิลดต่ำลง สภาพที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม อาหารขาดแคลน นกจึงต้องอพยพไปยังซีกโลกใต้ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าและอยู่ที่นั่นตลอดฤดูหนาว และจะอพยพกลับมายังซีกโลกเหนืออีกครั้งเมื่อถึงช่วงฤดูร้อน เพื่อผสมพันธุ์ สร้างรัง วางไข่ รอจนลูกนกเติบโต แล้วจึงอพยพไปยังซีกโลกใต้อีกครั้ง เป็นอย่างนี้ซ้ำๆ วนเวียนเป็นวัฏจักร

ดังนั้นฉันขอสรุปว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอพยพของนกคือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต นี่คือข้อสังเกตที่น่าสนใจ


นกเลือกที่จะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เมื่อพบว่าสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่เหมาะสมกับชีวิตตนเอง

นกแต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมและรูปแบบของการอพยพย้ายถิ่น ช่วงเวลา รวมถึงเส้นทางในการอพยพแตกต่างกันออกไปตามชนิดพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่นั้นรูปแบบการอพยพ จะเป็นในแนวเหนือ-ใต้ มากกว่าตะวันตก-ตะวันออก ช่วงเวลาในการอพยพจะเป็นปีละ 2 ครั้ง คืออพยพหนีหนาวและอพยพกลับไปทำรัง

การอพยพของนก นอกจากจะต้องบินไกลแล้ว นกยังจะต้องบินทน ต้องพยายามหาสิ่งที่ช่วยผ่อนแรงในการบินด้วย โดยสิ่งที่สามารถช่วยในการผ่อนแรงคือการอาศัยบินไปตามลม tail wind และรูปแบบลักษณะการจัดฝูงบิน

ลม tail wind จะเกิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายวันในแต่ละครั้ง และอยู่สูงหลายร้อยเมตรจากแผ่นดิน นกจะมีสัญชาตญาณในการหาลมชนิดนี้เสมอ ส่วนรูปแบบของการจัดฝูงบินนั้น มักเป็นไปเพื่อความปลอดภัยของสมาชิกทุกตัวในฝูง โดยรูปแบบที่โด่งดังและได้รับการหยิบยกมาแสดงตัวอย่างเสมอคือรูปแบบการบินเป็นฝูงของห่านป่า




ข้อมูลลำดับที่สอง รูปแบบการบินของฝูงห่าน
ถ้าคุณค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ หรือจิตวิทยาองค์กร หรือเคยผ่านการอบรมอะไรทำนองนี้มาบ้าง หนึ่งในทฤษฎีที่โด่งดังจนกลายมาเป็นรูปแบบการนำเสนอและอ้างอิงถึงอย่างบ่อยครั้ง ก็คือรูปแบบการบินแบบ V shape ของฝูงห่านป่าไซบีเรียขณะอพยพหนีหนาว

รูปแบบการบินชนิดนี้ของฝูงห่านป่า มีลักษณะที่สำคัญคือ ห่านตัวที่เป็นผู้นำหรือตัวที่แข็งแรงที่สุด จะบินอยู่ตรงปลายแหลมของตัว V เป็นตัวนำสมาชิกในฝูง แล้วสมาชิกที่เหลือจะบินตามต่อๆ กันเป็นรูปตัว V 

ดังนั้นตัวที่บินอยู่ตรงปลายแหลมตัว V จึงต้องบินต้านลมและเหนื่อยที่สุด แต่ในขณะเดียวกันห่านจ่าฝูงตัวนี้ก็เป็นตัวกำหนดว่า ควรจะบินด้วยความเร็วเท่าไร รวมถึงจะบินในทิศทางใด การบินในรูปแบบนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับห่านตัวที่อยู่ด้านหลังมาก เนื่องจากมันจะได้รับแรงพยุงจากลมซึ่งเกิดจากการกระพือปีกของตัวด้านหน้า ลดแรงปะทะลง จึงเพิ่มความเร็วได้มากถึง 71% 

และเมื่อตัวที่เป็นผู้นำเหนื่อย ห่านตัวนั้นจะสลับตำแหน่ง เปลี่ยนไปอยู่ด้านหลังที่ปลายปีกตัว V และปล่อยให้ห่านตัวอื่นขึ้นมารับหน้าที่ต่อ นอกจากนี้ระหว่างการบิน ห่านที่เป็นสมาชิกในกลุ่มจะส่งเสียงร้องเพื่อให้กำลังใจห่านตัวที่อยู่ด้านหน้า 

เมื่อมีสมาชิกตัวใดในฝูงหลุดออกจากฝูงหรือบาดเจ็บ  จะมีห่านจำนวนหนึ่งละออกจากฝูงเพื่อดูแล ช่วยเหลือ และบินเคียงคู่ไปกับห่านตัวนั้นตลอดทาง จนกว่าห่านตัวนั้นตายจากไปหรือการบาดเจ็บหายและบินได้อีกครั้ง พวกมันจึงจะบินเข้าฝูงกลับเป็นรูปตัว V เช่นเดิม

ขอให้คุณจำเกี่ยวกับรูปแบบการบินของห่านเอาไว้ให้แม่นยำ
1.ผู้นำอยู่ด้านหน้าเป็นตัวต้านลม
2.ถ้าผู้นำต้านลมไม่ไหว จะเลี่ยงหลบไปอยู่ด้านหลัง และปล่อยให้ลูกฝูงออกมาทำหน้าที่แทน
3.สมาชิกในฝูงจะส่งเสียงร้องให้กำลังใจฝูงเสมอ
4.เมื่อสมาชิกในฝูงบาดเจ็บจะมีเพื่อนในฝูงมาบินเคียงกัน พวกมันละจากฝูงอย่างตั้งใจ และจะกลับไปเมื่ออาการบาดเจ็บหายดี



ข้อมูลลำดับที่สาม อัตราการรอดชีวิตของนกแตกฝูง
คำว่านกแตกฝูง หรือนกพลัดฝูง เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาก ทั้งหมดล้วนกล่าวถึงสถานการณ์ที่นกกลุ่มหนึ่งหรือตัวใดตัวหนึ่งแยกออกมาจากฝูงเดิม อาจจะหลงไปรวมกับนกอีกฝูงหนึ่งหรือไม่ก็ได้ สาเหตุอาจจะมาจากอุบัติเหตุหรือการหลุดจากฝูงอย่างตั้งใจ (เพราะต้องการจะดูแลเพื่อนที่ป่วย ดังรูปแบบการบินของห่านป่า) 

ซึ่งทั้งหมดนี้นักปักษีวิทยาได้ให้ความเห็นว่า อัตราการรอดชีวิตของนกแตกฝูงต่ำมาก ทั้งจากการอพยพไม่ทันฤดูกาล การหลงทิศ และการตกเป็นเหยื่อของผู้ล่าสายพันธุ์ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยที่กล่าวถึงความเร็วในการบินเอาไว้ว่า ห่านป่าที่อพยพด้วยฝูงใหญ่จะมีความเร็วในการบินต่ำกว่าห่านป่าฝูงเล็ก

จากข้อมูลทั้งหมด ดังที่กล่าวมาข้างต้น คุณคงสงสัยว่าเกี่ยวอะไรกับ โจนาธาน ลิฟวิงสตัน ฉันขออนุญาตชี้แจงว่า สิ่งที่เขียนมาเพื่อปูพื้นความเข้าใจและจะได้วิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของ โจนาธาน ลิฟวิงสตัน ได้มากและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

  

โจนาธาน ลิฟวิงสตัน คือใคร?
โจนาธาน ลิฟวิงสตัน เป็นตัวละครหนึ่ง ในหนังสือเรื่อง JONATHAN LIVINGSTON SEAGULL ของ Richard Bach ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1972 และผ่านการแปลเป็นภาษาไทยมาแล้ว 2 ครั้ง โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ



โจนาธาน ลิฟวิงสตัน เป็นนกนางนวล แต่เป็นนกนางนวลที่ไม่เหมือนใคร 
(ฉันลืมบอกไปว่า นกนางนวลก็เป็นนกอพยพชนิดหนึ่งนะ ในประเทศไทยเราจะเห็นนกนางนวลอพยพได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน)

ฉันขอเรียกว่า มันเป็นนกนอกคอกที่ขยันแต่จะแหกคอกเสมอ เพราะโจนาธานเป็นนกนางนวลเพียงตัวเดียวในฝูงที่พยายามฝึกบิน ในขณะที่ฝูงนกนางนวลบอกว่าการบินจะต้องเป็นไปเพื่อการหาอาหารเท่านั้น มันไม่ยอมทำตัวเหมือนนกนางนวลตัวอื่นๆ ไม่แย่งเศษปลา ไม่แย่งขนมปัง ไม่เตรียมตัวที่จะอพยพในหน้าหนาว




         มันเอาแต่ฝึกบิน!!

แต่โจนาธานก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากการฝึก และเมื่อมันอยากรู้อะไรมันก็ทดลองทำทุกอย่าง ทั้งการบินแนวดิ่ง การบินในความมืด การบินแบบควงสว่าน การบินแบบเพิ่มความเร็ว มันทดลองทำทุกอย่างด้วยความอยากรู้อันบริสุทธิ์

แต่ผลตอบแทนนั้นคือ…

โจนาธานจะถูกขับออกจากฝูง ด้วยข้อหาสร้างความอับอายในฐานะการเป็นนกนางนวล

ต่อมา โจนาธานได้พบกับนกนางนวลฝูงใหม่ ที่สนใจเรียนรู้ในสิ่งเดียวกัน โจนาธานเรียกนกนางนวลเหล่านั้นว่าเพื่อน ผู้ซึ่งเข้าใจในกันและกัน



ตะกอนความคิด
จะเห็นได้ว่าโจนาธานเป็นนกแตกฝูง มันเป็นนกที่ถูกขับออกมาจากฝูงที่กำลังเตรียมตัวจะอพยพ ด้วยเหตุผลของความแปลกแยกในพฤติกรรม และทัศนคติส่วนตัวที่แตกต่างจนไม่สามารถหลอมรวมเข้ากับกลุ่มได้

การอพยพย้ายถิ่นของนก เป็นด้วยเหตุผลที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม นกจึงเลือกที่จะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ ให้เหมาะสมกับรูปแบบการดำรงชีวิตของตน แต่โจนาธานไม่ได้อพยพ ไม่ต้องการเข้าฝูง เขาแยกตัวออกมาและเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีทางการดำรงชีวิตใหม่ กำหนดชีวิตของตัวเอง ด้วยการเปลี่ยนวิธีการบิน ไม่ต้องให้ฤดูกาลหรือสภาพแวดล้อมเป็นตัวบังคับ

น่าเสียดายที่ในกรณีนี้ เมื่อโจนาธานเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง กลับไม่มีสมาชิกจากฝูงตัวใด บินเคียงข้าง ร่วมเดินทางไปด้วยกันแม้สักตัวเดียว เอาแต่ร้องประนามและขับโจนาธานออกจากฝูงอย่างน่าละอายเท่านั้น ยังไม่รวมถึงการเรียกโจนาธานว่าปีศาจ และตั้งใจจะบดขยี้เขาไม่ให้เหลือชิ้นดี

แม้จะไม่มีฉากของการอพยพย้ายถิ่นในเรื่องนี้ แต่ฉันเชื่อประการหนึ่งว่า…

ต่อให้มีฉากของการอพยพย้ายถิ่น โจนาธานก็จะฉีกกฎการบินรวมกลุ่มออกไป
ไม่สนใจต่อการเรียกของจ่าฝูง
ไม่สนใจแรงต้านของลม
ไม่สนใจต่อเสียงเชียร์ (และประนาม) ของสมาชิกในฝูง
เพราะมันรู้เหตุผลและเข้าใจตัวเองได้อย่างถ่องแท้ว่า “การบิน” มีความหมายต่อมันอย่างไร

“กฎที่แท้จริงสิ่งเดียวคือ กฎที่นำไปสู่อิสระเสรีภาพ” บทสรุปสั้นๆ จากโจนาธาน ลิฟวิงสตัน นกนางนวล อุทิศแด่ เส้นทางบินสู่อิสรภาพ…สำหรับ…นกแตกฝูงผู้กล้าหาญของพวกเรา




 ".....สิ่งที่ทำให้ นางนวล โด่งดังขึ้นมาคงจะเป็นความง่ายของหนังสือเป็นประการแรก หนังสือเล่มนี้ง่ายในความหมายที่ว่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่อ่านได้สบายๆ ในขณะเดียวกันก็แฝงปรัชญาความคิดเอาไว้ด้วย ลักษณะของหนังสือเป็นเรื่องผสมผสานกันระหว่างความเก่าและความใหม่ ความใหม่ที่แทรกเข้ามาก็คือ ความทันสมัยและวิทยาศาสตร์ในรูปของ Science Fiction คือ เรื่องของการบินเร็วและสามารถจะ บินได้เร็วเท่าความคิด นอกเหนือไปจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ประทับใจคนอ่านก็คือ อิสระเสรีภาพ  คนอ่านไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามมีอิสระที่จะตีความหนังสือเล่มนี้ได้ตามใจชอบดังนั้นจึงไม่น่าสงสัยอะไรเลย ที่มีคนตีความว่าปรัชญาของนางนวล เป็นฮินดูบ้างเป็นพุทธศาสนาบ้าง เป็นคริสตศาสนานิกาย Christian Science บ้าง หรือแม้กระทั่งว่าเป็นปรัชญาเก๊ๆ ก็มี ..."


       

       ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เขียนไว้ใน"คำตาม"
       หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงโจนาธาน นกนางนวลที่ชอบ "แหกคอก" ด้วยการ "ฝึกบิน"
       เพราะสำหรับนกนางนวลนั้น พวกมันบินเพื่อหาอาหาร

       "ทำไมนะ จอน ทำไม" แม่ถามขึ้น "ทำไม่มันยากนักรึที่จะทำตัวให้เหมือนนกอื่นๆ ในฝูง หือ จอน ทำไมแกไม่ปล่อยให้การบินระดับต่ำเป็นเรื่องของนกเพลิแกน หรือนกอัลบาทรอส แล้วทำไมแกไม่กินซะบ้าง จอน แกน่ะเหลือแต่กระดูกและขน!"  

       "แม่ ฉันไม่กลัวที่จะเหลือแต่กระดูกและขนฉันเพียงแต่อยากรู้ว่าเมื่อฉันอยู่ในอากาศ ฉันจะทำอะไรได้หรือทำไม่ได้ ฉันเพียงแต่อยากรู้เท่านั้นเอง" 

       "นี่นะโจนาธาน" พ่อพูดขึ้นอย่างไม่ไร้ความปรานี "หน้าหนาวก็ไม่ไกลนัก แล้วเรือหาปลาเหลือไม่กี่ลำ และปลาผิวน้ำก็จะว่ายลงสู่น้ำลึก ถ้าแกจะต้องเรียนรู้ แกก็ต้องเรียนรู้เรื่องอาหาร และก็หาอาหารกินให้ได้ เรื่องการบินนี่นะดีอยู่หรอก แต่แกก็น่าจะรู้ว่าการบินการร่อนกินเข้าไปไม่ได้ อย่าลืมว่าเหตุที่แกบินก็เพื่อเอาไว้หากิน" โจนาธานพยักหน้ารับอย่างเชื่อฟัง

       อย่างไรก็ตาม เมื่อ ลับหลังพ่อและแม่...โจนาธานก็แหกคอก หลังจาก(พยายาม)ทำตัวเหมือนนกนางนวลตัวอื่นๆ นั่นคือส่งเสียงร้อง สู้ ร่อนลงแย่งเศษปลาและขนมปังกับฝูงนกที่ท่าน้ำและเรือตกปลา 


       โจนาธานคิดว่าการทำเช่นนั้น ไม่มีจุดหมาย บ่อยครั้งที่มันยอมทิ้งปลาแห้ง(ซึ่งหามาได้อย่างยากเย็น)ให้กับนกนางนวลแก่ๆที่หิวโหย

       โจนาธานคิดว่ามันควรจะใช้เวลาทั้งหมดในการฝึกบิน เพราะมีอะไรมากมายที่จะต้องเรียนรู้ '

       ไม่นานต่อมา โจนาธาน สามารถบินได้เร็วถึง 90 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งนั่นเป็นการทำลายสถิติความเร็วในหมู่นกนางนวล!!!

       สิ่งที่โจนาธาน "เรียนรู้" หลังฝึกบินก็คือ นกนางนวลไม่บินยามค่ำและบินเร็ว เพราะหากเป็นเช่นนั้น ธรรมชาติก็จะต้องให้มีตาเหมือนนกฮูก และมีปีกสั้นเหมือนนกเหยี่ยว


       แต่เมื่อต้องการเรียนรู้...โจนาธาน จึงทดลองทำ...ทุกอย่าง

       จึงไม่น่าเชื่อว่า โจนาธานสามารถบินได้เร็วถึง 210 ไมล์ต่อชั่วโมง และขยับเป็น 214 ไมล์ต่อชั่วโมงในเวลาต่อมา!!!

       สุดท้าย โจนาธานถูกขับออกจากฝูง...เพราะถือว่าเป็นการสร้าง"ความอับอาย"ในการเป็นนกนางนวล

       "…สักวันหนึ่ง โจนาธาน ลิฟวิงสตัน : นางนวล แกจะรู้ว่าการไร้ความรับผิดชอบไม่มีประโยชน์อะไร ชีวิตเป็นเรื่องลี้ลับ และจะเรียนรู้ไม่ได้ เรามาอยู่ในโลกนี้เพียงเพื่อกิน และพยายามมีชีวิตอยู่ให้ยืนยาวเท่าที่เราจะทำได้"  นางนวลผู้เป็นใหญ่พูด


       ต่อมา...โจนาธาน พบกับนางนวลฝูงใหม่ 
       ซึ่งที่นี่ โจนาธาน พบกับ"เจียง" นางนวลเฒ่า ที่บอกโจนาธานด้วยความเมตตา "ว่าไงลูก..เธอกำลังเรียนรู้อีกแล้วนางนวลโจนาธาน" 


       รวมทั้งได้พบ นางนวลซัลลิแวน นางนวลเฟลทเชอร์ ลินด์ นางนวลเมย์นาร์ด นางนวลโลเวล นางนวลชาลส์-โรแลนด์

       ทั้งหมดคือ"เพื่อน"...ในการเรียนรู้ของโจนาธาน

       "กฎที่แท้จริงอันเดียวคือ กฎที่นำไปสู่อิสระเสรีภาพ" บทสรุปของโจนาธาน
       และถือว่าเป็นบทสรุปที่"สุดยอด" ...สำหรับการอ่านหนังสือเล่มนี้


จิตวิญญาณแห่งโจนาธาน ลิฟวิงสตัน : นางนวล
จิตวิญญาณแห่งการฝึกฝนตนเอง เรียนรู้สู่ความอิสระ
เรียนรู้การฝึกบิน มากกว่าการหาปลากินไปวัน ๆ
แม้ว่าโจนาธานจะโดดเดี่ยวถูกขับไล่ออกจากฝูง
แต่ก็ค้นพบตนเองในที่สุด จากการฝึกบินนั่นเอง

บินสู่อิสระภาพ...
...นั่นแหละคือการศึกษาตลอดชีวิตที่แท้จริง..