คู่แข่งที่แท้จริง


Extreme - More Than Words (Official Music Video) 


คู่แข่งที่แท้จริง

ทุกปีในสหรัฐอเมริกาจะมีการประกวดแข่งขันสะกดคำ โดยจำกัดเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี งานนี้เป็นงานระดับชาติ มีเด็กมาร่วมแข่งขันถึง 10 ล้านคน และมีการถ่ายทอดสดทั่วประเทศในรอบสุดท้าย

ในปีนั้นผู้ที่ฝ่ามาถึงรอบสุดท้ายมีเพียง 13 คน ซามีร์ ปาเตล วัย 12 ขวบ ซึ่งปีที่แล้วได้อันดับ 2 เป็นตัวเต็งอันดับ 1 ส่วนอันดับ 2 คือ ราชีพ ทาริโกพูลา ซึ่งได้ที่ 4 เมื่อปีที่แล้ว ชัยชนะน่าจะเป็นของซามีร์ แต่แล้วเขาก็พลาดเมื่อเจอคำว่า eremacausis ( แปลว่าอะไร โปรดหาจากพจนานุกรมเล่มใหญ่ๆ เอาเอง) 



การตกรอบของซามีร์ทำให้ราชีพเป็นตัวเต็งอันดับ 1 ทันที 
มีนักข่าวคนหนึ่งถามราชีพว่า ... ดีใจไหมที่คู่ปรับตกรอบไป 
คำตอบของราชีพก็คือ ... "ไม่ครับ นี่เป็นการแข่งขันกับคำ ไม่ใช่กับคน ครับ" 
ไม่ทันขาดคำ เสียงตบมือก็ดังก้องห้องประชุม

คำตอบของราชีพคงทำให้ผู้ใหญ่หลายคนได้คิด 
ใช่หรือไม่ว่าเวลาเราแข่งขันเรื่องอะไรก็ตาม 
เรามักจะมองเห็นผู้ร่วมแข่งขันเป็นปรปักษ์หรือฝ่ายตรงข้าม 
ในใจจึงอยากให้เขามีอันเป็นไป เพื่อเราจะได้เป็นผู้ชนะแต่ผู้เดียว 
หารู้ไม่ว่าลึกๆ แล้วความอิจฉาและพยาบาทกำลังก่อตัวขึ้น 
ดังนั้นแข่งไปจึงทุกข์ไป แข่งเสร็จแล้วก็ยังทุกข์อีกที่เห็นคนอื่นเก่งกว่าตน    
   
แม้ว่าในที่สุดราชีพจะได้เป็นที่ 4 ( เพราะแพ้คำว่า Heiligenschein) แต่อย่างน้อยเขาก็ไม่ได้ทุกข์เพราะเกลียดหรืออิจฉาคนที่เก่งกว่าเขา คงมีแต่ความมุ่งมั่นที่จะศึกษาค้นคว้าให้หนักขึ้นเพื่อพิชิตคำยากๆ ในปีหน้า ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปีหน้าเขาต้องเก่งกว่าปีนี้แน่ มองในแง่นี้ 

แม้เขาจะ "แพ้" แต่เขาไม่ขาดทุนเลย กลับมีกำไรด้วยซ้ำ 
มุมมองของราชีพนั้นไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะในยามแข่งขันเท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าสำหรับการดำเนินชีวิตและสัมพันธ์กับผู้คนด้วย




ข้อคิดสำหรับคนทำงาน
ใช่หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวันเมื่อเราถูกวิพากษ์วิจารณ์ใจเรามักจะพุ่งตรงไปยังคนวิพากษ์วิจารณ์ แต่ไม่ค่อยสนใจคำวิพากษ์วิจารณ์เท่าใดนัก 

ดังนั้น แม้ว่าคำวิพากษ์วิจารณ์จะถูกต้องให้แง่คิดที่ดีเพียงใดก็ตาม แต่เราไม่สนใจที่จะไตร่ตรองเสียแล้ว เพราะใจนั้นเต็มไปด้วยความเกลียดและโกรธคนที่วิพากษ์วิจารณ์เรา 

ถ้าเราหันมาใส่ใจกับคำวิพากษ์วิจารณ์กันให้มากขึ้น และสนใจให้น้อยลงกับการตอบโต้เพื่อเอาชนะคะคานคนที่วิพากษ์วิจารณ์ นอกจากเราจะทุกข์หรือโกรธเกลียดน้อยลงแล้ว เรายังมีโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากคำวิพากษ์วิจารณ์นั้นด้วย 

โดยเฉพาะหากเป็นคำวิพากษ์วิจารณ์ที่ถูกต้องด้วยท่าทีเช่นนี้ เราจะได้กำไรสถานเดียว เวลาทำงานก็เช่นกัน ถ้าเรามองว่านี้เป็นการต่อสู้ปลุกปล้ำกับงาน เราจะไม่เดือดร้อนที่คนอื่นทำได้ดีกว่าเรา ใครจะดีจะเก่งก็เป็นเรื่องของเขา เพราะในใจนั้นนึกอยู่เสมอว่า "ฉันกำลังแข่งขันกับงาน ไม่ใช่แข่งขันกับคนอื่น" 

นอกจากจะไม่อิจฉาเขาแล้ว ยังพยายามเรียนรู้จากเขาว่ามีวิธีการอย่างไร เพื่อเอาไปใช้ในการพิชิตงานที่กำลังทำอยู่ หรือทำให้งานนั้นดีขึ้น

ถึงที่สุดแล้ว แม้แต่คนที่คิดร้ายต่อเรา เขาก็ไม่ได้เป็นศัตรูของเรา ความโกรธความเกลียดหรือความเห็นแก่ตัวในใจเขาต่างหากที่เป็นศัตรูของเรา 

สิ่งที่เราควรจัดการคือความชั่วร้ายในใจของเขา มิใช่จัดการตัวเขา ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่เราจะปลอดภัยและมีชีวิตที่สงบสุขอย่างแท้จริง 

เพราะการขจัดศัตรูที่ดีที่สุดคือ เปลี่ยนเขามาเป็นมิตร
แล้วอะไรล่ะที่จะเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตรได้ หากมิใช่การใช้ความดีเอาชนะใจเขา


The National Spelling Bee
Struggling towards Ursprache
A peculiarly North American entertainment
Jun 8th 2006 | WASHINGTON, DC | from the print edition
IN BASEBALL, you get three strikes. But at a spelling bee, one misplaced letter means you are O-U-T. That makes for a gripping contest, which is why two movies—“Spellbound” and “Akeelah and the Bee”—have been made about this all-American institution. And last week, for the first time in its 81-year history, the final rounds of the Scripps National Spelling Bee were broadcast live on prime-time network television.

The struggle began with 10m spellers, all under the age of 16. Regional bees, mostly sponsored by local newspapers, whittled the number down to 275. This battle-hardened group came to a posh hotel in Washington, DC, for the final. By the time ABC started broadcasting, only 13 Uber-spellers remained. The pressure was excruciating, and not just for the parents.

At a press conference before the broadcast, the children sat on the stage and discussed nerves, training regimens and the shock of seeing the favourite ejected in round seven. Samir Patel, a 12-year-old home-schooler from Texas (under “school”, his biography lists the “Patel Achievement Academy”), came second last year. But this year he stumbled on “eremacausis”. As probably none of the adults in the audience knew, this means: “gradual oxidation from exposure to air and moisture, as in the decay of old trees or of dead animals.” Any word in Webster's “Third New International Dictionary” may come up, which explains why, as the contest goes on, the testing terms tend to get more foreign.

With Samir eliminated, the new favourite was Rajiv Tarigopula, a son of two doctors who came fourth last year. (Asian-Americans tend to do particularly well in the Bee; in 2005, they took the top four places.) Was Rajiv happy to see his rival eliminated, asked a callous journalist? “No,” said Rajiv, “it's a competition against the words, not the people.” This noble sentiment won him a round of applause.

Striding up to the microphone and coolly rattling off words that would baffle a polymath, Rajiv looked like a winner. But he tripped on Heiligenschein and came fourth again. The final duel was between two girls. Finola Mei Hwa Hackett, a Canadian, was perhaps lucky to be given so many French words, but her nerve failed her on Weltschmerz, which she began with a “v”.

Thirteen-year-old Kerry Close of New Jersey then had to spell kundalini and Ursprache to win. When the pronouncer pronounced the last word, the look on Kerry's face told 8.5m viewers that this was one she had revised. She nailed it. The crowd, especially her mother, were ecstatic.

It was a great show. Which makes one wonder, as with so many North American sports: why do only North Americans play it?
Fwd.



Your Words Have Power, Use Them Wisely.
คำพูดของมีคุณพลัง จงใช้อย่างชาญฉลาด