ลิลิตพระลอ (พระลอตามไก่), ไก่ฟ้าสีทอง








ลิลิตพระลอ 


ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์

ลิลิตพระลอที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่งลิลิต 

ผู้แต่งและปีที่แต่ง
ทั้งเรื่องผู้แต่งและปีที่แต่ง ไม่ปรากฏหลักการหรือข้อความระบุที่ชัดเจน แต่อาจอาศัยเนื้อเรื่องที่ระบุถึงสงครามระหว่างไทยและเชียงใหม่มาเป็นจุดอ้างอิง ซึ่งเดิมนั้นเชื่อว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันมาจวบจนปัจจุบัน นักจารณ์วรรณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ลิลิตพระลอแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาแน่ แต่ยังมีบางท่านเสนอเวลาที่ใหม่กว่านั้น ว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังมีผู้คล้อยตามไม่มากนัก

นักวรรณคดีมักจะยกโคลงท้ายบทมาเป็นหลักฐานพิจารณาสมัยที่แต่ง ดังนี้
659.จบเสร็จมหาราชเจ้า นิพนธ์
ยอยศพระลอคน หนึ่งแท้
พี่เลี้ยงอาจเอาตน ตายก่อน พระนา
ในโลกนี้สุดแล้ เลิศล้ำคุงสวรรค์ฯ
660.จบเสร็จเยาวราชเจ้า บรรจง
กลอนกล่าวพระลอยง ยิ่งผู้
ใครฟังย่อมใหลหลง ฤๅอิ่ม ฟังนา
ดิเรกแรกรักชู้ เหิ่มแท้รักจริงฯ

จากโคลงข้างบน มีผู้เสนอว่า "มหาราช" คือกษัตริย์ เป็นผู้แต่ง และ "เยาวราช"เป็นผู้เขียน (บันทึก) และสันนิษฐานว่า ผู้แต่งน่าจะเป็น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และผู้เขียน คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 และคาดว่าน่าจะแต่งเมื่อ พ.ศ. 2034-2072

อย่างไรก็ตาม นักวรรณคดีบางท่าน เสนอว่า น่าจะอยู่ในสมัยพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089)เนื่องจากเป็นสมัยที่มีสงครามระหว่างไทยกับเชียงใหม่ และเป็นสมัยแรกที่มีการใช้ปืน (ปืนไฟ) ในการรบ

ภาษาสำนวนในลิลิตพระลอ อ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ ในสมัยอยุธยา แต่ก็ยังมีศัพท์ยาก และศัพท์โบราณอยู่บ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้นักวิจารณ์บางท่านเสนอว่า ลิลิตพระลอแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์

คำประพันธ์
คำประพันธ์ในเรื่องลิลิตพระลอ เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ, ร่ายสอดสร้อย, โคลงสองสุภาพ, โคลงสามสุภาพ และ โคลงสี่สุภาพ สลับกันตามจังหวะ ลีลา และเนื้อหาของเรื่อง

เนื้อหา
ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ

เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแม้นสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร

กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนามว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีสวรรคต เจ้าย่าจึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์(หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก)เพื่อให้พระลอมาที่นี่แล้วให้ ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหา

ปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครอง ราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่า เดิมเพื่อทูลเตือนให้กลับไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันพรุ่งนี้

พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง

เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว 

ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ 

เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด 

เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถึงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด 

ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า "หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี.....ร้อยปีหรือพันปี.... ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง...ไปสู่อีปากหนึ่ง...ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน... แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึกชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! 

ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่าให้อ่าบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี....บางครา....ท่านอาจเห็ใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว" หลังจากข้อความนี้ก็ได้เล่าความเป็นมาทั้งหมด
กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก

จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ

บทร้อยกรองบางตอนจากลิลิตพระลอ
30.เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือฯ
.................. ..................
215..ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น อยู่นา
ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อรักษาฯ
.................. ..................
261.ลางลิงลิงลอดไม้ ลางลิง
แลลูกลิงลงชิง ลูกไม้
ลิงลมไล่ลมติง ลิงโลด หนีนา
แลลูกลิงลางไหล้ ลอดเลี้ยวลางลิง ฯ
.................. ..................
290.ร้อยชู้ฤๅเท่าเนื้อ เมียตน
เมียแล่พันฤๅดล แม่ได้
ทรงครรภ์คลอดเปนคน ฤๅง่าย เลยนา
เลี้ยงยากนักท้าวไท้ ธิราชผู้มีคุณ ฯ
.................. ..................
625.เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทุกเรือน
อกแผ่นดินดูเหมือน จักขว้ำ
บเห็นตะวันเดือน ดาวมืด มัวนา
แลแห่งใดเห็นน้ำ ย่อมน้ำตาคน ฯ
.................. ..................

 
จินตนาการจากเรื่อง ลิลิตพระลอ ตอนพระลอตามไก่ ภาพเขียนโดย นายจักรพันธุ์ โปษยกฤต


พระลอตามไก่
ปู่เจ้าเรียกไก่
พระเพื่อนพระแพงเห็นช้า ให้ไปเร่งปู่ ปู่จึงเรียกผีลงสิงไก่ ใช้ให้ไปล่อนำทางพระลอมาโดยพลัน พระลอตามไก่จนเข้าเขตเมือง พักคืนหนึ่ง จวบรุ่งขึ้นอีกวัน ครันลุสวนร้างไม่ห่างอุทยานของพระเพื่อนพระแพง พระลอปลอมเปนพราหมณ์นาม ศรีเกศ ส่วนนายแก้วแลนายขวัญ เปลี่ยนนามเรียกขานเปน นายราม นายรัตน์


โคลง ๔
o เมื่อนั้นสองราชไท้ ธิดา
สองอยู่คอยหนหา ท่านไท้
พี่นางรื่นโรยรา ช้าไป่ มาเลย
รักเร่งวานไปไหว้ ปู่เจ้าเราเตือน ฯ

o ข้าไปเตือนปู่เจ้า จอมผา แม่ฮา
ปู่ว่าพระลอมา ฝั่งน้ำ
กาหลงฝ่ายแดนรา- ชาคร่ำ ครวญนา
มาจะให้ไปซ้ำ ชักท้าวเสด็จพลัน ฯ

ร่าย
o ปู่กระสัลถึงไก่ไพรพฤกษ์ ปู่ลำฦกไก่ไก่ก็มา บรู้กี่คณากี่หมู่ ปู่เลือกไก่ตัวงาม ทรงทรามไวยทรามแรง สร้อยแสงแดงพพราย ขนเขียวลายยยับ ปีกสลับเบญจรงค์ เลื่อมลายหงส์สิบบาท ขอบตาชาดพพริ้ง สิงคลิ้งหงอนพรายพรรณ ขันขานเสียงเอาใจ เดือยงอนใสสีระรอง สองเท้าเทียมนพมาศ เพียงฉลุชาดทารง ปู่ก็ใช้ผีลงแก่ไก่ ไก่แก้วไซร้บมิกลัว ขุกผกหัวองอาจ ผาดผันตีปีกป้อง ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน เสียงขันขานแจ้วแจ้ว ปู่ก็สั่งแล้วทุกประการ มินานผาดโผนผยอง ลงโดยคลองบหึง ครั้นถับถึงพระเลืองลอ ยกคอขันขานร้อง ตีปีกป้องผายผัน ขันเอื้อยเจื้อยไจ้ไจ้ แล้วไซ้ปีกไซ้หาง โฉมสำอางสำอาจ ท้าวธผาดเห็นเปนตระการ ภูบาลบานหฤไทย งามพอใจพอตา มิทันทาธารทำรง ทรงมงกุฎภูษาสรรพ จับพิไชยอาวุธราชพล บันดลธลุกไล่ หวังได้ไก่ตัวงาม ยกทัพตามรอมราช ครั้นคลาศไก่อยู่ท่า เห็นธช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหวียกตาดู ครั้นภูธรจะทัน ไก่ค่อยผันค่อยผาย ระร่ายรายตีนเดิร ดำเนิรหงส์ยกย่าง ครั้นเห็นห่างไก่หยุด ครั้นจะสุดแดนป่า ครั้นจะผ่าแดนบ้าน ไก่ทำคร้านมารยา เห็นไก่ช้าธก็สราว ไก่เหิรหาวหายเนตร ภูเบตร์ดูอับทิศ บพิตรคิดพระองค์ โอ้กูมาหลงแก่ไก่ ไก่ผีไขว่เอากู ท้าวธเหลียวดูพี่เลี้ยง สองพี่กล่าวคำเกลี้ยง ถี่ถ้วนทั้งมวล ฯ

ร่าย
o แต่นี้ควรระมัด ประหยัดอย่าลืมตน บอกทุกคนทุกผู้ ให้รู้แล้วจึ่งไป คลาไคลถึงบ้านมิตร เขาสกิดกันบอก ชาวบ้านนอกมาไหว้ อันเชิญไท้ธเข้าสู่ อยู่ณที่ควรเสด็จ เสร็จเขาถวายโภชนาหาร เชิญธสำราญคืนหนึ่ง ซึ่งไว้นั้นสิบคน ถึงตำบลบ้านหน้า ไว้คนห้าแลช้าง ฝ่ายข้างโดยเสด็จไท้ นับถ้วนได้สิบห้า หน้าโน้นไว้สิบคน ถึงตำบลหนึ่งเล่า แต่สวนเปล่าบมีคน พฤกษาสนลำเลือน มีเรือนเปล่าสงัด เขาเชิญกษัตริย์อาไศรย บมิไกลสวนอ่อนไท้ เขาประนมมือไหว้ นั่งเฝ้าเรียงรัน ฯ

ร่าย
o เขาถวายคำนัลคำนับ สำรับโภชนาหาร น้ำอบธารสรงเสวย ฟูกผ้าเขนยสอาด ผ้าไหมลาดปูกรอง ถามสองนายทุกประการ เครื่องภูบาลแต่งเสร็จ ส่วนสมเด็จนฤเบศร์ ท่านแปรเพศเปนพราหมณ์ ทรงนามเจ้าสรีเกศ ใคร่เห็นประเทศมาชม มาแต่สยมภูวนาถ สองนายชาติคฤหัสถ์ ชื่อนายรัตน์นายราม ปรามกันทั่วทุกคน อย่าลืมตนลืมปาก เพื่อเหตุฝากความรัก เขาชักเชิญสองนายและไพร่ ไปล่ไปยังเหย้าเรือน เลือนอาหารเล่าเข้า เขาว่าเชญยชาวเจ้า พี่น้องมาเอา ฯ


ในตอนปู่เจ้าสมิงพรายเลือกไก่นี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้ทรงนำโครงเรื่องมานิพนธ์เป็นบทละครพันทาง ให้ชื่อว่า "ระบำไก่" โดย เจ้าจอมมารดาเขียนในรัชกาลที่ 4 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ โดยนำท่าฟ้อนของภาคเหนือมาผสมกับท่ารำของละครหลวง เนื้อร้องดัดแลงมาจากส่วนที่เปนร่ายข้างต้น จับความแต่นางโรย นางรื่น ไปเร่งปู่เจ้าสมิงพราย จนไก่ไปถึงยังพระลอ
แล้วต่อจากนั้น มีอีกชุดหนึ่ง ชื่อ "พระลอตามไก่" ซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องนำมาบรรจุในเพลงเชิดฉิ่ง ซึ่งพระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) เป็นผู้แต่งถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ 4

ระบำไก่ (ปู่เจ้าเรียกไก่)
"มาจะกล่าวเอ๋ยบทไปถึงปู่เจ้าจอมเทวะสิงขร
สงสารเพื่อนแพงน้องสองบังอร เฝ้าอาวรณ์หวั่นคะนึงถึงพระลอ
ให้นางโรยนางรื่นขึ้นมาเร้า จำจะเอาไก่งามไปตามล่อ
ให้รีบมาเหมือนหวังไม่รั้งรอ จะได้พอใจปองสองอนงค์
ตริพลางทางปู่ยุรยาตร จากแท่นทิพวาสเรืองระหง
งามเฉกวชิรราชอาจองค์ เสด็จลงหน้าฉานธารเทวา

ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์ ปู่รำลึกถึงไก่ ไก่ก็มา
บ่ฮู้กี่คณากี่หมู่ ปู่เลือกไก่ตัวงามทรงทรามวัยทรามแรง

(สร้อยแสงแดง)
สร้อยแสงแดงพะพรายขนเขียวลายระยับ ปีกสลับเบ็ญจรงค์ เลื่อมลายยงหงสบาท
ขอบตาชาดพะพริ้ง สิงคลิ้งหงอนพรายพรรณ ขานขันเสียงเอาใจ เดือยอ่อนใสสีลำยอง
สองเท้าเทียมนพมาศ ปานฉลุชาดทารงค์ ปู่กระสันให้ผีลง ผีก็ลงแก่ไก่
ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว ขุกผกหัวองอาจ ผาดผันตีปีกป้อง ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน
เสียงขันขานแจ้วแจ้ว ปู่สั่งแล้วทุกประการ บ่มินานผาดโผนผยอง โลดลำพองคะนองบ่หึง
มุ่งถับถึงพระเลืองลอ ยกคอขันร้อง ตีปีกป้องผายผันลั่นเรื่อยเจื้อยไจ้ไจ้
แล้วไซ้ปีกไซ้หางโฉมสำอางสำอาจ กรีดปีกวาดเวียนเย้าคอยล่อพระลอเจ้าจับต้องดำเนินแลนา"


พระลอตามไก่
"ท้าว ธ ผาดเห็นไก่ตระการ ภูบาลบานหฤทัย
งามพอใจพอตา
มิทันทาธารธำรง มิทันทาธารธำรง
ทรงมงกุฏ ทรงมงกุฏภูษาสรรพ
จับพิชัยอาวุธราชพล บัดดล ธ รุกไล่
หวังได้ไก่ตัวงาม
พี่เลี้ยงตามจอมราช พี่เลี้ยงตามจอมราช
ครั้นคลาด ครั้นคลาดไก่หยุดท่า
เห็น ธ ช้าไก่ขันเรียก ไก่กะเหวียกตาดู
ครั้นภูธระจะทัน
ไก่ค่อยผันค่อยผาย ไก่ค่อยผันค่อยผาย
ระร่าย ระร่ายส่ายตีนเดิน ดำเนินหงส์ยกย่าง
ครั้นเห็นห่างไก่หยุด
ครั้นจะสุดแดนป่า
ครั้นจะผ่าแดนบ้าน ครั้นจะผ่าแดนบ้าน
ไก่แกล้งคร้าน ไก่แกล้งคร้านมารยา
เห็นไก่ช้า ธ ก็สาว ทางยืดยาวย่นสั้น
เหย่าไหย่ไหย่ใกล้กระชั้น เหย่าไหย่ไหย่ใกล้กระชั้น
ไก่แกล้ง ไก่แกล้งกระเจิงโผ
ไก่แกล้ง ไก่แกล้ง กระเจิงโผ

ไก่เอยไก่แก้ว กล้าแกล้วกายสิทธิ์ฤทธิ์ผีสิง
เลี้ยวล่อลอราชฉลาดจริง เพราพริ้งหงอนสร้อยสวยสะอาง
ทำทีแล่นถลาให้คว้าเหมาะ ย่างเหยาะกรีดปีกไซร้หาง
ครั้นพระลอไล่กระชั้นกั้นกาง ไก่ขวัญหันห่างราชา
ฉับเฉียวเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน วนเวียนหลบเวิ้งเซิงพฤกษา
ขันเจื้อยเฉื่อยก้องห้องวนา
ทำท่าเยาะเย้ยภูมี"

:: pralor.blogspot.com :: 



ไก่แก้ว

น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง คือ ไก่ป่า. 
source : อ.เปลื้อง ณ.นคร

ไก่แก้ว : น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง เช่น ไก่แก้วขันไจ้ไจ้. (ลอ). 
source : ราชบัณฑิตยสถาน




ไก่ฟ้าสีทอง ไม่เกี่ยวกับเรื่อง ลิลิตพระลอ นะคะ 
แต่ลิลิตพระลอกล่าวถึงไก่
เลยอยากนำเรื่องไก่ฟ้าที่สวยงามมาลงด้วยเท่านั้นค่ะ


ไก่ฟ้าสีทอง

キンケイの求愛行動 Golden Pheasant spread cape in display


ไก่ฟ้าสีทอง (อังกฤษ: Golden pheasant, Red golden pheasant, Chinese pheasant, จีน: 红腹锦鸡, ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysolophus pictus) เป็นสัตว์ป่าประเภทไก่ฟ้าที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ได้รับความนิยมอย่างมาก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนภูเขาสูง พบมากทางภาคกลางและภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงบางส่วนในปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา มีความสวยงามและทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี


ไก่ฟ้าสีทอง ตัวผู้จะมีหลายสี (5 สี) แต่ถ้าเป็นสีทองส่วนของอกจะมีสีแดง ส่วนหลังมีสีเหลืองและปีกมีสีน้ำเงิน นัยน์ตาจะเป็นวงแหวนนสีน้ำเงิน สำหรับตัวเมียจะมีสีน้ำตาลพื้นธรรมดา นัยน์ตาไม่มีวงแหวน เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 500-700 กรัม มีรูปร่างป้อม และไม่มีหงอน


ไก่ฟ้าสีทอง สามารถแยกแยะเพศออกได้เมื่อมีอายุ 3 เดือน ดูความแตกต่างที่วงแหวนของดวงตา ส่วนสีขนจะค่อย ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งตัวเต็มวัย เฉลี่ยประมาณ 1.5-2 ปี จึงจะมีสีเหมือนกับไก่ตัวเต็มวัย โตเต็มวัยเมื่อมีอายุได้ 2 ปี ออกลูกในช่วงฤดูร้อนเพียงปีละครั้ง ช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ออกไข่ครั้งละ 5-6 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 21-23 วัน


ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นฟาร์มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างเสรี เนื่องจากไม่จัดว่าเป็นสัตว์ที่จะจัดอยู่ในสถานะคุ้มครองตามกฏหมายแต่ประการใด โดยการเลี้ยงในแบบฟาร์ม สามารถทำให้ไก่ออกไข่ได้ตลอดทั้งปี เฉลี่ยแล้วปีละถึง 20-30 ฟอง มีอายุขัยในที่เลี้ยงประมาณ 15 ปี โดยมีราคาขายในฐานะสัตว์เลี้ยงสวยงามถึงราคาคู่ละ 6,000-7,000 บาท (อายุ 1.5 ปีขึ้นไป) ทั้งนี้ราคาจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับอายุของไก่ที่ขายและสายพันธุ์ โดยราคาสูงอาจไปถึงคู่ละ 400,000-500,000 บาท ในอดีตราว 20 ปีก่อน (นับจาก พ.ศ. 2555) ไก่ฟ้าสีทองมีราคาขายเพียงคู่ละไม่เกิน 1,000 บาท เท่านั้น


The Golden Pheasant or "Chinese Pheasant", (Chrysolophus pictus) is a gamebird of the order Galliformes (gallinaceous birds) and the family Phasianidae. It is native to forests in mountainous areas of western China, but feral populations have been established in the United Kingdom and elsewhere.
The adult male is 90–105 cm in length, its tail accounting for two-thirds of the total length. It is unmistakable with its golden crest and rump and bright red body. The deep orange "cape" can be spread in display, appearing as an alternating black and orange fan that covers all of the face except its bright yellow eye with a pinpoint black pupil.


ไก่ฟ้าตัวผู้
Male at Kuala Lumpur Bird Park, Malaysia
Males have a golden-yellow crest with a hint of red at the tip. The face, throat, chin, and the sides of neck are rusty tan. The wattles and orbital skin are both yellow in colour, and the ruff or cape is light orange. The upper back is green and the rest of the back and rump is golden-yellow. The tertiaries are blue whereas the scapulars are dark red. Other characteristics of the male plumage are the central tail feathers, black spotted with cinnamon, as well as the tip of the tail being a cinnamon buff. The upper tail coverts are the same colour as the central tail feathers. The male also has a scarlet breast, and scarlet and light chestnut flanks and underparts. Lower legs and feet are a dull yellow.


ไก่ฟ้าตัวเมีย
The female (hen) is much less showy, with a duller mottled brown plumage similar to that of the female Common Pheasant. She is darker and more slender than the hen of that species, with a proportionately longer tail (half her 60–80 cm length). The female's breast and sides are barred buff and blackish brown, and the abdomen is plain buff. She has a buff face and throat. Some abnormal females may later in their lifetime get some male plumage. Lower legs and feet are a dull yellow.


Both males and females have yellow legs and yellow bills.
Despite the male's showy appearance, these hardy birds are very difficult to see in their natural habitat, which is dense, dark young conifer forests with sparse undergrowth. Consequently, little is known about their behaviour in the wild.
They feed on the ground on grain, leaves and invertebrates, but they roost in trees at night. While they can fly, they prefer to run. If startled, they can suddenly burst upwards at great speed and with a distinctive wing sound.


Although they can fly in short bursts, they are quite clumsy in flight and spend most of their time on the ground. Golden Pheasants lay 8-12 eggs at a time and will then incubate these for around 22–23 days. They tend to eat berries, grubs, seeds and other types of vegetation.


The male has a metallic call in the breeding season.
The Golden Pheasant is commonly found in zoos and aviaries, but often as impure specimens that have the similar Lady Amherst's Pheasant in their lineage.
There are also different mutations of the Golden Pheasant known from birds in captivity, including the Dark-throated, Yellow, Cinnamon, Salmon, Peach, Splash, Mahogony and Silver. In aviculture, the wild type is referred to as "Red Golden" to differentiate it from these mutations.


:: Wikipedia, the free encyclopedia ::