ศิลปะการรู้จักใช้คน (เก่ง)


 
Vo Tac Thien 2009




ศิลปะการรู้จักใช้คน (เก่ง)


 
ถอดวิธีการใช้คนจากนางพญาหงส์เหนือมังกร 
ผู้ชี้นิ้วกำหนดชะตาผู้ชายด้วยวิธีแยบยล
 
ถอดวิธีการใช้คนจากฮ่องเต้อิสตรีองค์เดียวของจีน ที่ใช้เสน่ห์พิศวาสในการกรุยทางสู่อำนาจและวางแผนโค่นล่มราชวงศ์เก่า ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ของตนได้สำเร็จ หญิงงามที่กล่าวถึงคือ "บูเช็คเทียน" พญาหงส์เหนือมังกร ผู้ชี้นิ้วกำหนดชะตาผู้ชายด้วยวิธีแยบยล นุ่มนวล จนประวัติศาสตร์จีนต้องจารึกในความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว


3 ประการโดดเด่นเรื่อง ศิลปะการใช้คน และการบริหารราชการแผ่นดิน มีบทความชิ้นหนึ่งเคยอ่านมาจากเว็บไซต์ SIU ก็ขออนุญาตนำมาสรุปเพียงบางส่วนไว้ ณ ที่นี้


สร้างบุญคุณกับ "คนรากหญ้า" ที่เป็นเบี้ยหมากสำคัญในการช่วงชิงแผ่นดิน 
บูเช็คเทียน นางสนมปลายแถวที่มาจากครอบครัวธรรมดา เธอไม่ได้รับการเหลียวแลจากถังไท่จง มหาราชาผู้สถาปนาราชวังศ์ถัง แต่แล้ววันหนึ่งโอกาสมาถึงเธอหว่านเสน่ห์ใส่เจ้าชายถังไท่จง จนได้เป็นสนมที่พระองค์รักและหลงใหลมากที่สุด


หากแต่การไต่เต้าจากนางสนมระดับล่างขึ้นสู่ตำแหน่งราชินีไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะระบบราชการในวังหลวงไม่เปิดโอกาสให้คนนอกที่เป็นชนชั้นกลางและชนชั้นล่างได้ทะเยอทะยานขึ้นมาโดยสะดวก บูเช็คเทียน จึงเสาะหาช่องทางแทรกตัวสู่วงโคจรแห่งอำนาจ


'คนรับใช้' จึงเป็นหมากสำคัญที่ บูเช็คเทียน ใช้ช่วงชิงอำนาจ เพราะคนรับใช้เป็นกลไกทำงานที่ขาดไม่ได้ในทุกกิจกรรมของวังหลวง เธอใช้วิธีผูกมิตรด้วยน้ำใจ และทรัพย์สินเงินทอง ทำให้คนเหล่านั้นยินดีเป็นหูเป็นตาให้ ผลลัพธ์ครั้งนี้คือการสะสมข้อมูลในการป้องกันตัวเองและรอคอยโอกาสทำร้ายศัตรู ซึ่งเกมแรกที่เธอทำสำเร็จคือการกำจัดราชินีหวางให้หลุดจากตำแหน่งราชินี ด้วยน้ำมือของคนรับใช้แสนต่ำต้อยที่เธอเลี้ยงไว้


คำนวณจังหวะเหมาะสมในการทำร้าย หรือ ช่วงใช้ คนเก่ง 
บูเช็คเทียน มีสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากนักการเมืองทั่วไปคือ
การเห็นความสำคัญของคนเก่ง ทั้งในฝ่ายที่เป็นมิตร และศัตรู


หลังเธอมั่นคง และปลอดภัยในอำนาจแล้ว ก็เริ่มเปิดโอกาสให้คนเก่งที่ถูกเนรเทศและหลงเหลือชีวิตจากการกวาดล้างทางการเมืองให้กลับเข้ามารับใช้บ้านเมืองอีกครั้ง ในขณะที่คนชั่วร้ายซึ่งเคยเป็นแรงหนุนในการก้าวสู่อำนาจก็ถูกกำจัดไปทีละคน ทั้งโดยการเปิดช่องทางให้จัดการกันเอง และการปล่อยให้คนดีที่เคยถูกทำร้ายได้ร่วมกันวางแผนเพื่อโค่นล้มอันธพาลซึ่งหมดประโยชน์แล้วทิ้งไป


แต่มีข้อพึงระวัง!  เพราะช่วงท้ายของรัชกาล บูเช็คเทียนสูญเสียความสามารถในการจัดการคนเก่งไป เพราะเธอไว้ใจคนผิด 


นั่นหมายความว่า คนเก่งไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการทำงาน หากแต่คนเก่งต้องมาพร้อมกับความไว้วางใจ การถ่วงดุลอำนาจจึงจะเกิดขึ้น


เพราะ คนเก่ง เป็นเหมือน ‘อาวุธร้าย’ ที่พาขึ้นสู่อำนาจหรือโค่นล้มตกจากอำนาจก็ได้ การแสวงหาคนเก่งให้มากที่สุดเพื่อตัดโอกาสคู่แข่งในการนำไปใช้สอยเพื่อต่อสู้กับเราจึงเป็นสิ่งควรทำ ด้วยเหตุนี้บูเช็คเทียนเลือกที่จะซื้อใจและสร้างความภักดีให้คนเก่งขึ้นตรงกับเธอ เพื่อใช้เป็นฐานอำนาจ


จุดบกพร่อง อีกอย่างของบูเช็คเทียน คือการคลุกคลีกับชายหนุ่มรูปงามมากเกินไป จนกระทั่งละเลยที่จะแบ่งเวลาน้อยนิดมากระชับสัมพันธ์กับคนเก่งที่เธอเลือกสรรมา ในที่สุดคนเหล่านี้จึงเอาใจออกห่าง โดยหวนกลับไปสวามิภักดิ์ราชวงศ์เก่าที่ล่มสลายไปแล้ว

 
ยอดคน = เก่งในหน้าที่การงาน + เก่งในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์   
บูเช็คเทียนใช้วิธีกวาดล้างคนเก่งที่ไม่ภักดีต่อเธอ แล้วเปิดโอกาสให้คนเก่งที่ฉลาดเอาตัวรอด ได้เข้าแทนที่คนเก่งซึ่งฉลาดเฉพาะหน้าที่การงานเท่านั้น


หัวใจสำคัญทั้ง 3 ประการที่พาบูเช็คเทียนไต่เต้าสู่อำนาจสูงสุดของชีวิตก็ใช่จะสุขสมหวังในบั้นปลาย เพราะสุดท้ายแล้วความล่มสลายก็มาเยือน เมื่อบูเช็คเทียนฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย หาใช่ขาดฝีมือในการบริหารจัดการงาน และคน


บทเรียนของเธอ 'บูเช็คเทียน' จึงเป็นเรื่องน่าศึกษาและจดจำสำหรับผู้นำ ไม่ว่าหญิงหรือชาย


ทีมเดลินิวส์ออนไลน์


 
สมเด็จพระนางเจ้าบูเช็กเทียน หรือ จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน 
อู่เจ๋อเทียน (จีนตัวเต็ม: 武則天; จีนตัวย่อ: 武则天; พินอิน: Wǔ Zétiān) (17 กุมภาพันธ์ 624 – 16 ธันวาคม 705), หรือพระนามส่วนพระองค์ว่า อู่ เจ้า (จีน: 武曌; พินอิน: Wǔ Zhào), 


หรือในราชวงศ์ถังมักออกพระนามว่า นางฟ้า (จีน: 天后; พินอิน: tiān hòu, เทียน โฮ่ว) และในสมัยต่อมาว่า พระนางเจ้าอู่ (จีน: 武后; พินอิน: Wǔ hòu, อู่ โฮ่ว), ทรงเป็นสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ได้เป็นพระจักรพรรดินีนาถ(Empress Regnant) 


มีพระนามเดิมว่าอู่เม่ยเหนียง (武媚娘) พระราชบิดามีตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมโยธาธิการนามว่าอู่ซื่อย้วยและพระ ราชมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์สุย ทรงพระราชสมภพ ณ กรุงฉางอันซึ่งเป็นนครหลวงของราชวงศ์ ถังในขณะนั้น


พระ ราชประวัติ
ในแผ่นดินของพระภัสดาและพระราชบุตรของพระนางระหว่างปี 665 ถึง 690 พระนางทรงผู้ปกครองจีนโดยพฤตินัย ต่อมาในปี 690 ถึง 705 พระนางทรงสถาปนาราชวงศ์ของพระนางเอง คือ ราชวงศ์โจว (จีน: 周; พินอิน: Zhōu) และเฉลิมพระนามพระนางเองว่า "พระจักรพรรดินีนาถอันผู้ใดจะล่วงเกินมิได้และอันทรงเป็นสมมุติเทวะ" (จีน: 聖神皇帝; พินอิน: shèng shén huáng dì) ซึ่งเป็นการละเมิดบรรทัดฐานทั้งปวง และยังให้ราชวงศ์ถังสะดุดหยุดลงระยะหนึ่ง นักประวัติศาสตร์ผู้นิยมลัทธิขงจื๊อประณามพระนางเป็นอันมาก แต่นักประวัติศาสตร์สมัยหลัง โดยเฉพาะหลังคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา มีทัศนคติเป็นธรรมมากขึ้น

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี