ข้อคิด ธรรมะ + “คาถา” ระงับโกรธ + เสือ สิงห์ กระทิง แรด




MV เพลง นักสู้หัวใจสิงห์



ข้อคิด ธรรมะ 
“คาถา” ระงับโกรธ
เสือ สิงห์ กระทิง แรด


ข้อคิด ธรรมะ

สิ่งไหนที่ไม่ได้คิดมักจะสำเร็จ(เสมอ)

ปัญหาเรื่องไม่ได้กินนั้นเรื่องเล็ก แต่ไม่ได้ “ฉัน” (กิน) เรื่องใหญ่กว่า

ใจเราก็เปรียบเหมือน “แอ่งน้ำ” และกิเลส (ความโลภ โกรธ หลง) ก็เปรียบเสมือน “ตอไม้” ภายใต้แอ่งน้ำก็จะมีตอไม้อยู่เสมอ แต่เมื่อใดที่น้ำแห้ง ตอไม้ก็จะผุดขึ้นมา เพราะ ฉะนั้นเราต้องให้แอ่งน้ำนั้นเต็มอยู่เสมอ สุดท้าย “ตอไม้”ก็จะสลายไปเอง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องฝึกฝนจิตใจเรา อย่าให้ตอ(กิเลส)ผุด

ไม่ มีอะไรที่สบายที่สุด (ทุกอย่างต้องอยู่ในความพอดี) หากเรานั่งอยู่นาน ๆ เราก็มักจะบอกว่า การนอน สบายที่สุด แต่ลองถามคนป่วยที่นอนในโรงพยาบาลดูสิ เขาก็อยากลุกขึ้นนั่ง หรือเดินเล่นเหมือนกัน

คนในสังคมมี 3 ประเภท
1. ตาเดียว นั่นคือ มีตาโลก หรือตาธรรม เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาโลกจะมีความโลภ อยากได้ อาฆาต โกรธ รู้เรื่องโลกแต่ไม่รู้เรื่องธรรม หรือรู้เรื่องธรรมอย่างเดียวแต่ไม่เข้าใจโลกก็ดำเนินชีวิตยาก
2. สองตา มีทั้งตาโลกและตาธรรม คนผู้นี้จะใช้ชีวิตอย่างเข้าใจ และมีศิลปะในการครองชีพ
3. ตาบอด คนประเภทนี้อันตรายมาก มืดทั้งความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรม

คน บางคนจะเข้าวัดต่อเมื่อ ไปสะเดาะเคราะห์ ดวงไม่ดี เป็นต้น แต่ก็มีอีกหลายคนไม่เข้าวัดเพราะ ตัดบ่วงไม่ขาด ภาระมากมายไม่สามารถไปวัดได้ ฉลาดกว่าพระเทศน์ เศรษฐกิจไม่อำนวย สังขารไม่อำนวย พระบอกหวยไม่ถูก (หวย = ห –หายนะ, ว-วินาศ, และย – ยับเยิน) และวัดไม่ผูกศรัทธา

"คาถา" ระงับ "ความโกรธ"

นั่นก็คือ สูดหายใจยาว ๆ ลึก ๆ ท่องในใจว่า
“ มีอะไรน่าโกรธ อย่าโทษเขา ต้องโทษที่ใจเราไม่เข้มแข็ง
เรื่องน่าโกรธ ไม่ว่าจะมาแรง ถ้าใจแข็งเหนือกว่า ชนะมัน”

ถ้ายังโกรธอีก ให้หายใจยาว ๆ ลึก ๆ ท่องในใจต่ออีกว่า
“ เขาว่าเรา เราอย่าโกรธ ลงโทษเขา ในเมื่อเรานี้ไม่เป็นเช่นเขาว่า
หากเราเป็นจริงจัง ดังวาจา เมื่อเขาว่า อย่าโกรธเขา เราเป็นจริง”

เสือ สิงห์ กระทิง แรด


คุณลักษณะที่เหมาะสมของทุก ๆ คน นั่นคือ "เสือ สิงห์ กระทิง แรด"

เสือ ไม่กินของเสีย กินของที่สะอาด ไม่ฉ้อโกง

สิงห์ ภาวะความเป็นผู้นำ สง่างาม (จ้าวป่า)

กระทิง ต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ

แรด มีความอดทน ไม่ท้อถอย

สรุปว่า “ต้องกินอย่างเสือ อยู่อย่างสิงห์ สู้อย่างกระทิง อดทนอย่างแรด”
(เอาเป็นว่าใครว่าเรา "แรด" เราต้องขอบคุณเพราะนั่นเป็น “คำชม” ต่างหาก)
Fwd.