ความรู้เรื่องโลหะมีค่า


พิพิธภัณฑ์ทองคำ ห้างทองตั้งโต๊ะกัง

ความรู้เรื่องโลหะมีค่า

หลายพันปีล่วงมาแล้วที่โลหะมีค่าเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ที่มีอารยธรรม เพราะนอกจากจะมีความสวยงาม แล้วยังเป็นสัญลักษณ์ของความมีเสน่ห์ และความมั่งมี จากปริมาณที่มีอยู่น้อยและสมบัติทางกายภาพจึงทำให้โลหะกลุ่มนี้มีมูลค่าและเป็นที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โลหะ มี ค่าที่นิยมใช้ในกลุ่มนี้มี 3 ชนิด คือ ทอง เงิน และแพลททินั่ม ซึ่งจุดเด่นของโลหะทั้งสามชนิดนี้ คือ มีความเหนียว สามารถตีเป็นแผ่นบาง และดัดโค้งเป็น รูปร่างต่าง ๆ ได้ง่าย

ทองบริสุทธิ์ มีสีเหลือง และแวววาว ความบริสุทธิ์ของทองจะขึ้นกับปริมาณธาตุผสมมีหน่วยเป็นกะรัต โดย 1 กะรัตมีค่าประมาณ 4.17 เปอร์เซ็นต์ ของ โลหะผสมทั้งหมด หมายความว่า ทองบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ คือ ทอง 24 กะรัต หรือ ทอง 24 เคนั่นเอง โดยทั่วไปเครื่องประดับที่ทำจากทองจะไม่ใช้ทองบริสุทธิ์ เนื่องจากขาดความแข็งแรง จึงมีการเติมธาตุผสม เช่น ทองแดง นิกเกิล ลงไป สามารถแบลงชนิดของทองตามสีที่มองเห็นได้ 4 ชนิด คือ ทองชมพู มีส่วนผสมของ ทองแดงต่อทองบริสุทธิ์เท่ากับ 1 : 3 ส่วนทองขาวที่ผู้คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดว่า คือ แพลททินั่ม แต่แท้จริงแล้วทองชนิดนี้จะมีเงิน นิกเกิล สังกะสี หรือแพลททินั่ม เป็นธาตุผสม ทองเขียว มีทองแดงและเงินเป็นธาตุผสม และชนิดสุดท้าย คือ ทองน้ำเงิน มีเหล็กเป็นธาตุผสม

เงินบริสุทธิ์ มีสีขาว เป็นมันเงา และมีความอ่อนตัวสูง แต่ผลิตภัณฑ์เงินในอุตสาหกรรมเครื่องประดับยังมีมูลค่าและได้รับความนิยมน้อยกว่าทอง เนื่องจากเกิดความหมองได้ง่าย โดยเฉพาะในบรรยากาศที่มีซัลเฟอร์หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ โดยทั่วไป เครื่องประดับที่ทำจากเงิน หรือเงินสเตอร์ลิง จะมีส่วนผสม ของเนื้อเงินอย่างน้อย 92.5 % อีก 7.5 % เป็นสารเจือซึ่งมักใช้โลหะทองแดงเป็นธาตุผสมเพื่อเพิ่มสมบัติทางกล

แพลททินั่ม มีสีขาวและเป็นโลหะที่หายากที่สุดในบรรดาโลหะมีค่า กล่าวกันว่าปริมาณแร่ 10 ตัน จะพบแพลททินั่มเพียง 1 ออนซ์ แหล่งผู้ผลิตที่สำคัญ คือ ประเทศแอฟริกาใต้และรัสเซีย คุณสมบัติเด่นของแพลททินั่ม คือ ต้านทานความหมองได้ดี ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังของผู้สวมใส่ และมีความทนทานมากกว่าทอง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในรูปบริสุทธิ์ได้ แต่ในบางครั้งก็มีการผสมธาตุอินเดียม หรือ รูทริเรียม เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

การดูแลเครื่องประดับที่ทำจากโลหะมีค่า ควรเก็บรักษาในกล่องผ้าโดยไม่ให้สัมผัสกับโลหะอื่นเพื่อป้องกันการขีดข่วน และหลีกเลี่ยงการ สัมผัสกับสารเคมี สำหรับเครื่องประดับที่ทำจากเงินต้องเก็บในที่เย็น แห้ง ไม่ให้สัมผัสกับอากาศเพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น และหลีกเลียงการ ใช้งานในที่ที่มีแสงไฟ หรือ แสงอาทิตย์เป็นเวลานาน ซึ่งการเก็บรักษาและดูแลอย่างถูกวิธีก็จะทำให้เครื่องประดับ ของท่านมีความคงทน และสวยงามอยู่เสมอ

ทองคำ
ทองคำมีสูตรเคมี Au มักเกิดเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ แต่อาจจะเกิดผสมกับธาตุอื่น เช่น เงิน ทองแดง เหล็ก เทลรูไลน์ เป็นต้น

ความแข็ง 2.5 – 3.0 ค่า ถ.พ. 15.6 – 19.3 แล้วแต่มลทินปะปนในเนื้อ มีสีเหลือง วาวโลหะ หนักมาก อ่อนและทุบเป็นแผ่นบางได้ ดัดและดึงเป็นเส้นได้ ละลายในกรดกัดทองเท่านั้น ความบริสุทธิ์ของทองคำจะคิดเป็นกะรัต หรือไฟน์เนส (karat or fineness) โดย ทองคำบริสุทธิ์จะเท่ากับ 24 กะรัตหรือ 1,000 ไฟน์ ดังนั้นทองคำ 18 กะรัต หมายถึงโลหะที่มีทองคำ 18 ส่วน อีก 6 ส่วนเป็นโลหะชนิดอื่น (เช่น เงิน ทองแดง นิกเกิล) หรือมีทองคำ 750 ไฟน์ หรือ 75 เปอร์เซ็นต์

    การกำเนิด แหล่งแร่ทองคำแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบปฐมภูมิ และ แบบทุติยภูมิ
    • แบบปฐมภูมิ มักพบในสายแร่ควอรตซ์ (รูปที่ 12.26) ปะปนกับแร่ไพไรต์ คาลโคไพไรต์ หรือฝังประในเนื้อหินที่มีการเปลี่ยนสภาพ (alteration) หรือ การแปรสภาพ โดยการแทนที่ (metasomatism) จากกระบวนการทางธรณีวิทยา ทองคำที่พบส่วนใหญ่มักจะมีขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือต้องใช้แว่นขยายส่องดู เป็นส่วนน้อยที่จะมีขนาดโตพอที่จะเห็นได้ชัดเจน แหล่งแร่ทองคำแบบนี้มักจะมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ หากมีปริมาณทองคำ มากกว่า 3 กรัมต่อหินหนัก 1 ตัน
    • แบบทุติยภูมิ มักจะพบเป็นเม็ดกลม เกล็ดหรือไร(<0.5 มิลลิเมตร)เล็กๆ และพบใกล้เคียงกับแหล่งแร่แบบปฐมภูมิ จะเกิดจากการผุพังของหินที่มีแร่ทองคำ แบบปฐมภูมิ แล้วสะสมตัวในที่เดิมหรือถูกน้ำชะล้างพัดพาไปสะสมตัวใหม่ใน บริเวณ ต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น เชิงเขา ลำห้วย หรือในตะกอนกรวดทราย ใน ลำน้ำใหญ่

      แหล่งในประเทศ

      บริเวณที่มีแร่ทองคำกระจายตัวอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัด ยกเว้นพื้นที่ส่วนที่เป็นที่ราบสูงโคราชและพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง (รูปที่ 12.24) พื้นที่ที่มีศักยภาพของแร่ทองคำสูงจะมี 2 บริเวณ คือ ขอบตะวันตกของที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่จังหวัดเลย หนองคาย เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และระยอง และทางภาคเหนือตั้งแต่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก ส่วนพื้นที่อื่นๆ พบทองคำ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น บริเวณบ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งโต๊ะโมะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนและอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น

      ประโยชน์

      ทองคำเป็นโลหะที่มีค่าสูง ใช้ทำเครื่องประดับ เป็นหลักประกันในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ใช้หุ้มเครื่องเคลือบและเครื่องแก้ว ใช้ในวงการ ทันตแพทย์ ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ในยานอวกาศ เป็นต้น

      ผลผลิต

      หลักฐานเกี่ยวกับการทำเหมืองทองคำในประเทศไทยนั้นมีมากตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ส่งทองคำ ไปประเทศ ฝรั่งเศสถึง 46 หีบ โดยแหล่งแร่ทองคำที่มีการผลิตหรือร่อนแร่กันในสมัยนั้นคือ แหล่งแร่ทองคำบ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีการค้นพบและทำเหมืองมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2283 และมีหลักฐานว่าในปี พ.ศ. 2293 ในประเทศไทยมีการทำเหมืองแร่ทองคำ มาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีบันทึกว่าในระหว่างฤดูแล้งของปี พ.ศ. 2293 ที่บ้านป่าร่อน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถผลิตทองคำได้ถึง 90 ชั่ง หรือ 109.5 กิโลกรัม หลังจากนั้น ไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับการผลิตอีกเลย จนกระทั่งในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลได้ให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ แก่บริษัทจากประเทศ อังกฤษและฝรั่งเศสหลายแห่ง แต่มีบันทึกเฉพาะการผลิตของบริษัท Soci?t? des Mine d?Or de Litcho จากประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น บริษัทดังกล่าว ทำ เหมือง ที่แหล่งโต๊ะโมะ จังหวัดนราธิวาส ในระหว่างปี พ.ศ. 2479 ถึง พ.ศ. 2483 ได้ทองคำ ถึง 1,851.44 กิโลกรัม
      ระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2500 กรมโลหกิจ (กรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบัน) ได้ทำเหมืองทองคำที่แหล่งบ้านบ่อทอง จังหวัดปราจีนบุรี ผลิตทองคำได้ถึง 54.67 กิโลกรัม ต่อมาบริษัท ชลสิน จำกัด ได้เปิดทำเหมืองแร่ทองคำในแหล่งโต๊ะโมะ จังหวัดนราธิวาส ระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง 2539 ผลิตทองคำ ได้ทั้งสิ้น 230 กิโลกรัม ในปัจจุบันประเทศไทยไม่มีการผลิตแร่ทองคำ
      จากผลการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องของกรมทรัพยากรธรณี ทำให้บริษัทเอกชนสำรวจพบแหล่งแร่ทองคำสองแห่งในจังหวัดเลย และบริเวณ รอยต่อของจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ โดยประเมินว่าจะผลิตโลหะทองคำได้จำนวน 5 ตัน และ 21.5 ตัน มูลค่า 1,500 และ 6,500 ล้านบาทตามลำดับ

เงิน

เงินมีสัญลักษณ์ Ag ส่วนใหญ่แล้วเงินมักจะเป็นแร่พลอยได้จากการทำเหมืองตะกั่ว ทองคำ หรือทองแดง โลหะเงินจะอ่อนทุบเป็นแผ่นบางได้ วาวโลหะ หากทิ้งไว้นานผิว มักมัวหมองและจะมีสีดำ

    การกำเนิด เงินมักเกิดแบบปฐมภูมิปะปนกับแร่อื่น เช่น ทองคำ ทองแดง ตะกั่ว-สังกะสี เป็นต้น โดยเฉพาะแหล่งแร่ตะกั่วจะมีเงินปนอยู่ด้วยเกือบทุกแห่ง แหล่งในประเทศ ในประเทศไทยไม่มีการผลิตแร่เงิน แต่จะเป็นแร่พลอยได้จากการทำเหมืองแร่ตะกั่วที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยพบว่าจะมีเงินปะปนประมาณ 0.12 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่ามีแร่เงินเกิดร่วมกับแร่ทองคำที่บริเวณรอยต่อของจังหวัดพิจิตร-เพชรบูรณ์ โดยมีประมาณ 5 เท่าของปริมาณทองคำ และพบว่ามีแร่เงินปะปนอยู่ประมาณ 27 กรัมต่อตัน ในแหล่งแร่โลหะซัลไฟด์ที่บ้านยางเกี๋ยง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประโยชน์ ใช้ทำน้ำยาล้างและอัดรูปในอุตสาหกรรมถ่ายภาพ ใช้ทำภาชนะต่างๆ โลหะผสม เครื่องประดับ เหรียญเงินตรา ใช้ในงานบัดกรี เป็นส่วนประกอบในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากเงินเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีมาก

ทองคำขาว
ทองคำขาวมีสัญลักษณ์ Pt (Platinum) หากพบในแหล่งแร่แบบทุติยภูมิจะเป็นเม็ดกลม หรือเกล็ดเล็กๆ ความแข็ง 4.0 – 4.5 ถ.พ.14 – 19 สีเทาเงิน วาวโลหะ ทุบเป็นแผ่นบางได้ มักติดแม่เหล็กเพราะมีเหล็กเกิดร่วมด้วย และมักเกิดผสมกับโลหะชนิดอื่น เช่นเหล็ก ทองแดง ทองคำ นิกเกิล อิริเดียม แพเลเดียม โรเดียม เป็นต้น


    การกำเนิด

    แหล่งแร่ทองคำขาวซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจมักเกิดเป็นโลหะธรรมชาติในหินอัคนีชนิดเมฟิกและอัลตราเมฟิก และเกิดร่วมกับสายแร่นิกเกิล-ทองแดง แหล่งในประเทศ ในประเทศไทยพบแหล่งทองคำขาวเกิดแบบ ทุติยภูมิเป็นแหล่งลานแร่สะสมตัวอยู่ในตะกอนกรวดทรายตามลำน้ำ พบแหล่งเดียวที่บ้านคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี กรมทรัพยากรธรณีได้ดำเนินการเจาะสำรวจด้วยเครื่องเจาะบังก้าแล้วพบว่ามีความสมบูรณ์ต่ำและไม่สม่ำเสมอ โดยหลุมที่มีค่าความสมบูรณ์สูงสุดมีทองคำขาว 0.02643 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร จึงไม่สามารถทำเหมืองได้ (อมร เมธีกุลและอกนิษฐ์ สุวรรณสิงห์, 2524) อย่างไรก็ตามบริเวณที่พบหินอัคนีชนิดหินอัลตราเมฟิกซึ่งเป็นหินต้นกำเนิดของทองคำขาวที่อาจนับเป็นพื้นที่ ศักยภาพของแหล่งแร่นี้ด้วย เช่น พื้นที่ที่พบในจังหวัดอุตรดิตถ์-น่าน ปราจีนบุรี-สระแก้ว เลย และเชียงราย เป็นต้น ประโยชน์ ทองคำขาวเป็นโลหะที่ทนความร้อนสูง ทนต่อปฏิกิริยาทางเคมี และมีความแข็งแรงทนทาน จึงใช้ทำเป็นเครื่องมือในห้องปฏิบัติการเคมี (เป็นเบ้าหลอม) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ทำเครื่องประดับ เครื่องมือผ่าตัดและทันตกรรม นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องประดับอีกด้วย
คการวิเคราะห์โลหะมีค่า
การวิเคราะห์โลหะมีค่าโดยใช้วิธีที่เราได้เลือกเพียง 3 เทคนิคที่ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์อย่างแม่นยำและละเอียดมากที่สุด คือ
  • Fire Assay
  • Atomic Absorption Spectroscopy (AAS)
  • Inductive Coupled Plasma Spectroscopy (ICP)

  • Fire Assay
    เป็นวิธีการวิเคราะห์ค่าความบริสุทธิ์ของทองคำโดยใช้เตาหลอมไฟฟ้าและวิธีทางเคมี (Cupellation Furnaces,Chemical Method) ซึ่งจะทำการแยกทองคำออกจากโลหะมีค่า (เงิน , Palladium , Platinum) และธาตุต่างๆจนเหลือเฉพาะน้ำหนักของทองคำบริสุทธิ่ ซึ่งหลังจากนั้นจะนำไปชั่งด้วยเครื่องชั่งไฟฟ้า ที่สามารถอ่านค่าได้ละเอียดถึง 0.00001 กรัม เพื่อนำไปคำนวณค่า ความบริสุทธิ์ต่อไป

    Atomic Absorption Spectroscopy (AAS)
    เทคนิคทาง AAS เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ธาตุอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในเชิงคุณภาพ (Quantitative Analysis) และปริมาณวิเคราะห์ (Qualitative Analysis) ที่ได้รับความนิยมอย่างมากวิธีหนึ่ง เพราะเป็นเทคนิคที่ให้ความเที่ยงตรง ความแม่นยำ และมีสภาพไวสูง
    Atomic Absorption Spectroscopy (AAS) เป็นกระบวนการที่เกิดจากอะตอมอิสระของธาตุดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น อันหนึ่ง โดยเฉพาะ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของธาตุ ธาตุแต่ละชนิดจะมีระดับของพลังงานแตกต่างกัน จึงมีการดูดกลืนพลังงาน ที่แตกต่างกันอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของธาตุแต่ละชนิด วิเคราะห์ดี แต่ผู้วิเคราะห์จำเป็นจะต้องมีประสบการณ์ และ ความ ชำนาญ พอสมควร อัตราค่าวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับจำนวนของธาตุที่ต้องการวิเคราะห์

    Inductive Coupled Plasma Spectroscopy (ICP)
    ICP สามารถวิเคราะห์ธาตุได้ทั้งในเชิงคุณภาพ (Quantitative Analysis) และปริมาณวิเคราะห์ (Qualitative Analysis) ซึ่งได้รับความนิยมมาก เพราะให้ความแม่นยำสูง และสามารถวิเคราะห์สารในปริมาณต่ำๆได้และยังสามารถวิเคราะห์ธาตุ ได้พร้อมกันหลายชนิดต่อตัวอย่าง (Simultaneous ICP) จึงใช้เวลาในการวิเคราะห์น้อยมาก

    หลักการของ Inductive Coupled Plasma Spectroscopy (ICP)
    อาศัยหลักการการทำให้สารที่วิเคราะห์เปลี่ยนสภาพจากสถานะพื้นไปยังสถานะกระตุ้นด้วย กระบวนการที่เหมาะสม ทำให้สารที่จะวิเคราะห์นั้นสามารถเปล่งแสง หรือรังสี หรือสเปกตรัมออกมา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ตัวเรียกเทคนิคนี้ว่า Emission Spectroscopy เช่น ICP (RF Plasma), DC arc, AC spark ฯลฯ เทคนิค ICP เป็นเทคนิคที่ใช้ผลิต plasma โดยไม่ต้องมีขั้วไฟฟ้า โดยสารละลายที่จะทำการวิเคราะห์จะถูกส่งเข้าเครื่อง และเปลี่ยน ให้เป็นละอองลอย (aerosol) โดยกระบวนการ nebulization ซึ่งจะถูกพาเข้า plasma ของ ICP torch ซึ่งจะทำให้ ตัวอย่างแห้งกลายเป็นไอ กลายเป็นอะตอมแล้วเกิดการกระตุ้นหรือไอออนไนส์ อะตอมหรือไอออนไนส์ที่ถูกกระตุ้นจะ เปล่งแสงซึ่งมีลักษณะเฉพาะออกมา แสงที่เกิดขึ้นนี้จะผ่านเข้าไปในเครื่อง spectrometer เพื่อแยกเอา เฉพาะแสงที่ ต้องการวัดที่ความยาวคลื่นที่ต้องการ แล้วให้แสงดังกล่าวตกลงบนดีเทคเตอร์ เพื่อวัดออกมาเป็นสัญญาณซึ่งสามารถ เปลี่ยนเป็นความเข้มข้นได้ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและเทคโนโลยีชั้นสูงที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี






    ทองคำ (Au)
    • ทองคำ (Au)

    ทองคำ (Gold)
    เป็นโลหะมีค่า ที่อยู่ในกลุ่มโลหะประเภทเดียวกับเงิน แพลทินัม แพลเลเดียม โรเดียม อิริเดียม รูธินั่ม และออสเมียมที่หายาก ทองคำเป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในปริมาณน้อยมาก (~ 0.007 ppm) มีความคงทนต่อการเกิดปฏิกิริยาสูง จึงทนต่อการผุกร่อนไม่เกิดออกซิไดซ์กับอากาศ สามารถเก็บรักษาโดยคงรูปลักษณ์ดั้งเดิมอันสวยงามไว้ได้นานไม่มัวหมอง จึงนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ วัสดุทางทันตกรรม บางส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และทองคำบริสุทธิ์ (99.999%) เป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ

    ทองคำ (Gold)
    โดยมีสัญลักษณ์ทองเคมี คือ Au มาจากภาษากรีกว่า Aurum
    มีน้ำหนักอะตอม 196.966 amu
    ความถ่วงจำเพาะ 19.33 g/cc
    มีจุดหลอมเหลว 1064 องศาเซลเซียส
    จุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส
    เป็นโลหะอ่อนสามารถตีเป็นแผ่นบางๆ หรือดึงเป็นเส้นได้
    โดยทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์ สามารถดึงเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 35 ไมล์
    มีค่าความแข็ง (Hardness) ~ 2-2.5 (เพชร = 10)
    หน่วยของน้ำหนักทองคำที่ใช้ทั่วไปคือ กรัม
    สำหรับประเทศไทยนิยมใช้หน่วยเป็นบาท มีค่าเท่ากับ 15.2 กรัม

    ทองคำมักนำมาทำเป็นโลหะผสม (Alloy) กับโลหะชนิดอื่น เช่น เงิน นิกเกิล ทองแดง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานและ/หรือปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ (เช่น สี จุดหลอมเหลว เป็นต้น) เช่น ทองกะรัต (Karat Gold)ได้จากการผสมทองคำบริสุทธิ์กับเงินและทองแดง ทองคำขาว (White Gold) ได้จากการผสมทองคำบริสุทธิ์กับพัลลาเดียม นิกเกิลและสังกะสี และทองสีชมพู (Pink Gold) ได้จากการผสมทองคำบริสุทธิ์ กับเงินและทองแดง (ในสัดส่วนทองแดงที่มากขึ้น) ปริมาณทองคำหรือความบริสุทธิ์ของทองคำนี้จะแตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้งาน และความต้องการของแต่ละประเทศ ดังตารางที่ 1.1

    Copyright © 2008 The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization). All rights reserved.


    โลหะวิทยาของทองกะรัต (ตอนที่ 1)
    • โลหะวิทยาของทองกะรัต (ตอนที่ 1)

    โลหะทองถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประดับโดยมีเหตุผลหลายประการ อาทิ ความสวยงาม ความทนทานต่อการมัวหมอง ความสามารถในการขึ้นรูปได้ง่าย และความมีค่าของทองเอง ทองที่มีความบริสุทธิ์สูงจะมีลักษณะที่นิ่มไม่ทนต่อแรงเสียดสี จึงมีการเติมธาตุผสมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกล โดยเฉพาะความแข็งแรง ความแข็ง หรือเพื่อเปลี่ยนสีของโลหะให้สวยงามและเหมาะสมกับการใช้งาน ธาตุผสมที่นิยมใช้เดิมนี้คือ ธาตุเงินและทองแดง

    คุณสมบัติทั่วไปของธาตุทอง ทองแดง และเงิน
    สมบัติทั่วไปของธาตุทอง ทองแดงและเงิน ซึ่งเป็นธาตุที่เป็นส่วนผสมหลักของโลหะผสมระบบ ทอง-ทองแดง-เงิน แสดงดังในตารางที่ 1


    พฤติกรรมของโลหะทองผสม
    ที่สถานะของแข็ง ทอง เงิน และทองแดง จะมีโครงสร้างการเรียงตัวของอะตอมในผลึกแบบลูกบาศก์ที่มีอะตอมอยู่ตรงกลางทุกด้านของลูกบาศก์และทุกมุมของลูกบาศก์และทุกมุมของลูกบาศก์ (Face Centered Cubic : FCC) โดยจะมีการเชื่อมต่อของแต่ละโครงสร้างผลึกในทั้งสามทิศทาง ซึ่งจะมีการใช้อะตอมร่วมกันที่มุมและกึ่งกลางด้านของลูกบาศก์ที่อยู่ติดกัน เซลหนึ่งหน่วย (Unit Cell) ของโลหะกลุ่มนี้จะมีจำนวนอะตอมคือ 4 อะตอม อะตอมจะมีค่ารัศมีทองกลมที่แตกต่างกันในแต่ละชนิดของโลหะ มีผลทำให้ขนาดของโครงสร้างผลึกมีขนาดต่างๆ กัน โดยความยาวด้านของโครงสร้างจะมีค่าเฉพาะที่เรียกว่า Lattice Parameter

    เมื่อมีการผสมกันของโลหะตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป กลายเป็นโลหะผสมจะมีผลทำให้ประเภทหรือขนาดโครงสร้างผลึกเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น เกิดการแทนที่ซึ่งกันและกันของอะตอมในโครงสร้างผลึกจากอะตอมโลหะอีกชนิดหนึ่งที่ผสมอยู่ การแทนของอะตอมดังกล่าวจะมีผลทำให้ขนาดของโครงสร้างเดิมเปลี่ยนแปลงไป โดย Lattice Parameter อาจจะมีค่ามากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดอะตอมของโลหะแต่ละชนิด การผสมกันในลักษณะดังกล่าวจะเรียกว่า สารละลายของแข็งแบบแทนที่ (Substitutional Solid Solution) ที่จะเกิดกับโลหะผสมระหว่างทองกับเงิน และสารละลายที่เกิดจากการผสมของโลหะผสมระหว่างทองกับเงินนี้จะมีคุณสมบัติที่เรียกว่า สารละลายของแข็งแบบละลายได้ทุกส่วนผสมอย่างสมบูรณ์ (Complete Solid Solutions) ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตลอดช่วงอุณหภูมิจนถึงจุดหลอมเหลวของโลหะผสมทุกส่วนผสมปริมาณ ดังรูปที่ 1 และปรากฏการณ์นี้ก็ยังเห็นได้ในโลหะผสมระหว่างทองกับทองแดง ซึ่งจะเกิดในช่วงอุณหภูมิที่สูงกว่า 410oC

    รูปที่ 1: แสดงแผนภูมิเฟส 2 ธาตุ (Binary Phase Diagram) ของระบบทอง-เงิน (Au-Ag)

    พฤติกรรมต่างๆ ของโลหะผสมนี้สามารถที่จะอธิบายได้โดยดูจากแผนภูมิเฟสที่สภาวะสมดุล รู้จักกันดีในทางโลหะวิทยาว่า แผนภูมิสมดุลของเฟส หรือ Phase Equilibrium Diagram ในแผนภูมิดังกล่าว ค่าที่แสดงไว้ในแนวนอนคือค่าส่วนผสมของโลหะ ในหน่วยของปริมาณน้ำหนักหรืออะตอม ตั้งแต่ 0-100 เปอร์เซ็นต์ และค่าแนวตั้งจะบอกระดับของอุณหภูมิ เส้นที่ลากขวางบนสุดระหว่างค่าส่วนผสมโลหะ จะเรียกว่าเส้นหลอมเหลวสมบูรณ์ (Liquidus Line) โดยเส้นนี้จะบ่งบอกขอบเขตระหว่างการเกิดของแข็งกับการเกิดของเหลวสมบูรณ์ ส่วนผสมของโลหะที่มีอุณหภูมิเหนือเส้นนี้จะมีสถานะเป็นของเหลวโดยสมบูรณ์ และเส้นที่อยู่ถัดลงมาจะเรียกว่าเส้นของแข็งสมบูรณ์ (Solidus Line) โดยส่วนผสมของโลหะมี่มีอุณหภูมิต่ำกว่าเส้นดังกล่าวจะมีสถานะเป็นของแข็งโดยสมบูรณ์ ดังนั้นถ้าส่วนผสมและระดับอุณหภูมิของโลหะผสมอยู่ระหว่างเส้นทั้ง 2 ก็จะมีสถานะเป็นของแข็งบางส่วนและของเหลวบางส่วน

    จากแผนภูมิของเฟส บริเวณที่ต่ำกว่าเส้นของแข็งสมบูรณ์และมีเฟสเดียวตลอดช่วงส่วนผสมและอุณหภูมิอย่างต่อเนื่องจะถูกระบุด้วยอักษรกรีกที่เรียกว่า อัลฟา (alpha; ) และบริเวณที่อยู่ระหว่างเส้นของเหลวและของแข็งสมบูรณ์จะเกิดเป็น 2 เฟส ระหว่างของเหลว (L) และของแข็ง () อยู่ปะปนกันที่สภาวะสมดุล

    แผนภูมิสมดุลของเฟสในโลหะผสม 2 ชนิด (Binary Equilibrium Diagram) ของทองและทองแดงแสดงดังรูปที่ 2 สารละลายของแข็งแบบสมบูรณ์ ( - phase) จะสามารถพบได้ที่บริเวณอุณหภูมิสูงกว่า 410 oC โดยอุณหภูมิต่ำกว่า 410oC นั้นจะเกิดการแปรสภาพเฟสกลายเป็น AuCu ที่ส่วนผสมของโลหะ 50 เปอร์เซ็นต์อะตอมทองแดง (Cu% At.) หรือที่ส่วนผสมทอง (Au) 75.6% โดยน้ำหนัก ซึ่งมีส่วนผสมใกล้กับทอง 18K ที่มีทองแดงเป็นธาตุผสม และเกิดการแปรสภาพของเฟสกลายเป็น AuCu3 ที่ส่วนผสมของโลหะ 75 เปอร์เซ็นต์อะตอมทองแดง (Cu% at.) ณ อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 390 oC

    รูปที่ 2: แสดงแผนภูมิเฟส 2 ธาตุ (Binary Phase Diagram) ของระบบทอง-ทองแดง (Au-Cu)

    ของแข็งที่เกิดขึ้นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 410 oC เหล่านี้เป็นสารละลายของแข็งที่มีการแยกตำแหน่งของอะตอมในแต่ละธาตุ ซึ่งเกิดสัมพันธ์ตามอัตราส่วนโดยอะตอมระหว่าง Au:Cu เป็น 1:1 และ 1:3 โดยมีการแสดงตำแหน่งของอะตอมแต่ละอะตอมดังรูป 3 โดยรูปทางซ้ายลักษณะการละลายกันของอะตอมในสถานะของแข็งที่อุณหภูมิสูงกว่า 4100C การเรียงตัวของอะตอมในแต่ละธาตุเป็นไปอย่างไม่มีระเบียบและตำแหน่งที่แน่นอน (ระนาบที่มีอะตอมทองแดง 4 อะตอมหรือระนาบกึ่งกลางของลูกบาศก์) ส่วนรูปกลางแสดงลักษณะ AuCu3 โดยในระนาบหนึ่งจะประกอบด้วยอะตอมของทองแดงเท่านั้น ส่วนชั้นที่อยู่ติดกันจะประกอบด้วยอะตอมของทั้งทองและทองแดง เรียงสลับกันเป็นชั้นๆ ส่วนรูปทางขวาแสดงลักษณะของ AuCu ซึ่งเกิดขึ้นในส่วนผสมระหว่างทองและทองแดงเป็น 1:1 จะมีการเรียงตัวของอะตอมทองและทองแดงแยกกันอยู่คนละระนาบ ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้จะทำให้ค่าระยะห่างของค่า Lattice Parameter (C) มีค่าน้อยลง จึงกลายกลายเป็นโครงสร้างผลึกแบบ Face Centered Tetragonal (FCT) เราอาจเรียกเฟสที่เป็นสารละลายของแข็งที่มีการจัดเรียงตำแหน่งของแต่ละอะตอมอย่างเป็นระเบียบนี้ว่า Ordered Solid Solution หรือ Superlattice

    การแปรสภาพของเฟสของแข็งที่อุณหภูมิดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อคุณสมบัติความแข็งแรงของโลหะทองผสม

    รูปที่ 3: แสดงการจัดเรียงตัวของอะตอมทองและทองแดงในโครงสร้างผลึก

    แผนภูมิสมดุลของเฟสในโลหะผสม 2 ชนิด อีกชนิดหนึ่งที่ต้องทราบ เพื่อเข้าใจระบบทอง-เงิน-ทองแดง ก็คือ การผสมกันระหว่างโลหะเงินและโลหะทองแดง แสดงดังรูปที่ 3 ในโลหะผสมทั้งสองนี้จะไม่สามารถเกิดการละลายในสภาวะของแข็งแบบสมบูรณ์ แม้ว่าโลหะทั้งสองจะมีระบบโครงสร้างผลึกเป็นแบบเดียวกัน (FCC) โดยที่โครงสร้างผลึกของเงินสามารถรองรับอะตอมของทองแดงได้ในประมาณที่น้อยหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ มีอะตอมเงินปริมาณที่น้อยถูกแทนที่ด้วยอะตอมทองแดง และในขณะเดียวกัน ความสามารถในการละลายก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ โดยที่อุณหภูมิห้องจนถึงอุณหภูมิ 779 oC ปริมาณของทองแดงที่สามารถละลายในเงินจะเพิ่มขึ้นสูงมีค่าเท่ากับทองแดง 8.8 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก (Cu% wt.) ในขณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นกับการละลายเงินในทองแดงโดยจะเกิดขึ้นสูงสุดที่เงิน 7.9 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก (Ag% wt.)

    สารละลายของแข็งที่มีเงินอยู่มาก (Ag-rich) และสารละลายของแข็งที่มีทองแดงอยู่มาก (Cu-rich) สารละลายของแข็งทั้ง 2 ดังกล่าวจะถูกจัดว่าเป็นสารละลายของแข็งชนิดละลายได้บางส่วน (Partial Solid Solution) โดยกำหนดสัญลักษณ์เป็นอัลฟา () และเบตา ( ) อยู่ด้วยกันและในบริเวณระหว่างเส้นของแข็งสมบูรณ์ (สารละลายของแข็งทั้ง 2 เฟส) นี้กับเส้นของเหลวสมบูรณ์จะมีส่วนประกอบของของเหลวกับอัลฟา ( ) และของเหลวกับเบตา ( ) และสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งของแผนภูมิระหว่างทองแดงและเงินก็คือ ณ จุดที่เกิดการบรรจบกันของเส้นของเหลวสมบูรณ์กับเส้นของแข็งสมบูรณ์ที่ส่วนผสมทองแดง 28.1 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก (Cu% wt.) ณ อุณหภูมิ 780oC โลหะผสมที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งนี้จะเรียกว่ายูเทคติก (Eutectic) ซึ่งในภาษากรีกจะหมายถึงสิ่งที่หลอมเหลวและแข็งตัวง่ายที่อุณหภูมิเดียว

    รูปที่ 4: แสดงแผนภูมิเฟส 2 ธาตุ (Binary Phase Diagram) ของระบบเงิน-ทองแดง (Ag-Cu)

    สภาวะของโลหะผสมที่เกิดจาการผสมโลหะทอง เงิน และทองแดง ทั้ง 3 ชนิดสามารถแสดงในแผนภูมิเฟส โดยแผนภูมิจะมีลักษณะเป็นปริซึม ฐานสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มีแต่ละด้านเป็นแผนภูมิเฟสของโลหะผสม 2 ชนิด คือระหว่างทองกับเงิน ทองกับทองแดง และทองแดงกับเงิน หรือที่เรียว่าแผนภูมิสมดุลเฟสของระบบโลหะผสม 3 ธาตุ (Ternary Phase Diagram) ดังแสดงในรูปที่ 5

    รูปที่ 5: แผนภูมิสมดุล 3 ธาตุในระบบทอง-เงิน-ทองแดง ในรูป 3 มิติ

    เส้นปะในรูปเป็นเส้นที่แบ่งระหว่างพื้นที่ของสารละลายของแข็ง (Au-Cu-Ag) กับพื้นที่ที่เกิดการแยกเฟสเป็น 2 เฟส (immiscibility) คือ (Au-Ag rich) และ (Au-Cu rich) จากรูปจะเห็นว่าพื้นที่ที่ประกอบด้วย 2 เฟส จะมีพื้นที่กว้างขี้นเมื่ออุณหภูมิลดลง

    รูปที่ 6: แสดงแผนภูมิสมดุลเฟสของระบบ Au-Cu-Ag ที่ส่วนผสม 18, 14 และ 10 กะรัต

    รูปที่ 6 แสดงภาพตัดแนวดิ่งเสมือนสองธาตุ (Quasi-Binary Vertical Section) ของแผนภูมิสมดุลเฟส ของระบบ Au-Cu-Ag ที่ส่วนผสม 18 กะรัต (75%Au), 14 กะรัต (58.3%Au) และ 10 กะรัต (41.7%Au) จากรูปแสดงให้เห็นว่าในระบบ Au-Cu-Ag ทอง 14 กะรัต และ 10 กะรัต จะปรากฏ Immiscibility gap ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดการแยกเฟสเป็น 2 เฟส คือ (Cu-Au) และ (Ag-Au) โดยที่อุณหภูมิเหนือ Immiscibility gap จะเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยสารละลายของแข็งเฟสเดียว นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า โลหะผสม 10 กะรัต มีบริเวณที่ประกอบด้วยสารละลายของแข็งเฟสเดียวในช่วงแคบกว่าโลหะผสม 14 กะรัต เนื่องจากอุณหภูมิของ Immiscibility gap ของโลหะผสม 10 กะรัต มีค่าสูงกว่า ส่วนในโลหะผสม 18 กะรัต นอกจากจะประกอบด้วย Immiscibility gap แล้วยังประกอบด้วยบริเวณที่มีโครงสร้างเป็นระเบียบชนิด AuCu อีกด้วย ความแตกต่างดังกล่าวนี้เองจึงทำให้โลหะผสม 18 กะรัต มีพฤติกรรมความแข็งต่างออกไปโลหะผสม 10 กะรัต และ 14 กะรัต

    โลหะทองผสม 10 กะรัต และ 14 กะรัต จะต้องมีประมาณเงิน 12-47% และ 10-32% โดยน้ำหนักตามลำดับ เพื่อให้โลหะทองผสมดังกล่าวสามารถเพิ่มความแข็งได้จากการตกตะกอน (Precipitation hardening) ที่อุณหภูมิในช่วง Immiscibility gap ดังแสดงในแผนภูมิสมดุลเฟส แต่สำหรับทองผสม 18 กะรัต โดยเฉพาะที่ปริมาณทองแดงสูงๆ สามารถเพิ่มความแข็งได้ด้วยการเปลี่ยนเฟสจากสารละลายของแข็ง ซึ่งมีโครงสร้างแบบไม่เป็นระเบียบไปเป็นโครงสร้างที่เป็นระเบียบ ด้วยการบ่มที่อุณหภูมิวิกฤต

    Copyright © 2008 The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization). All rights reserved.



    โลหะวิทยาของทองกะรัต (ตอนที่ 2)
    • โลหะวิทยาของทองกะรัต (ตอนที่ 2)

    ความสำคัญของค่า Ag'
    การกำหนดจุดค่าปริมาณเงินหรือทองแดงเพื่อบอกส่วนผสมทางเคมีในแผนภูมิภาคตัดแนวดิ่งเสมือนสองธาตุ (Quasi-Binary Vertical Section) แต่เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สะดวกในการเปรียบเทียบทองกะรัตต่างๆ จึงมีการคิดค่าความเข้มข้นของธาตุผสมเงินและทองแดง ในรูปของการแปรผันตามอัตราส่วน โดยมีการนำค่า Ag' มาใช้แทน ซึ่งคำนวณได้จาก


    ซึ่งผสม Au-Ag-Cu และ Au-Ag-Cu-Zn สามารถจำแนกเป็นกลุ่มต่างๆ ด้วยค่าตัวแปรเพียง 2 ตัว คือ จำนวนกะรัต (%Au) และค่า Ag' โดยใช้หลักการเกี่ยวกับช่วงบริเวณที่สภานภาพของแข็งไม่สามารถละลายเข้าด้วยกันได้ (Solid-State Immiscibility Gap) และค่า Ag' โลหะผสมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
    1. มีค่า Ag' อยู่ในช่วง 0-10% และ 90-100% ส่วนผสมช่วงนี้ทุกๆ อุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดหลอมเหลวจะเกิดเป็นเฟสที่อยู่ในสารละลายของแข็งเนื้อเดียว
    (Homogeneous) ซึ่งจะมีคุณสมบัติทางกลอ่อนเมื่อผ่านการอบอ่อน (Annealing) และไม่สามารถทำให้แข็งขึ้นได้

    2. มีค่า Ag' อยู่ในช่วง 10-25% และ 75-90% โลหะผสมกลุ่มนี้จะเป็นสารละลายของแข็งเนื้อเดียวที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลวลงมา จนกระทั่งถึงช่วงที่
    เรียกว่า Immiscibility Gap แต่ถ้าปล่อยให้เย็นตัวอย่างช้าๆ จนกระทั่งถึงอุณหภูมิห้องเฟสที่จะได้คือ เฟส (Ag-Au) ตกตะกอนในโลหะผสมที่มีทองแดง
    สูง (Copper-rich Alloys) และจะได้ (Cu-Au) ตกตะกอนในโลหะทองผสมที่มีเงินสูง (Silver-rich Alloys) โลหะผสมชนิดที่ 2 นี้จะมีความอ่อน
    ปานกลางในสภาพที่ผ่านการอบอ่อนมา แต่สามารถปรับเพิ่มความแข็งขึ้นได้โดยวิธีการบ่มเพิ่มความแข็งด้วยความร้อน

    3. มีค่า Ag' อยู่ในช่วง 25-75% โลหะผสมชนิดนี้จะมีช่วงที่เป็นสารละลายของแข็งเนื้อเดียวในช่วงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลวและสูงกว่าอุณหภูมิที่เกิดช่วง
    Immiscibility Gap แต่ถ้าปล่อยให้เย็นตัวอย่างสมดุลลงมาถึงอุณหภูมิห้อง เฟสของแข็งเนื้อเดียวนี้จะสลายตัวไปเป็น เฟส (Ag-Au) และ (Cu-Au)
    โลหะผสมนี้จะมีความแข็งสูงในสภาพอบอ่อน ดังนั้นการอบอ่อนจึงลดความแข็งไม่ได้มากนัก โลหะนี้มีความแข็งเพิ่มขึ้นได้ถ้าปล่อยให้เย็นตัวในอากาศและ
    ยากที่จะนำมาทำการชุบเย็น (Quenching) นอกจากนี้ยังสามารถทำให้แข็งขึ้นได้โดยกรรมวิธีการบ่มเพิ่มความแข็ง (Age-Hardening)

    สีของโลหะทองบริสุทธิ์และทองผสม
    สีของโลหะทองบริสุทธิ์และทองผสมมีมากมายหลายสีตั้งแต่สีขาว เหลือง จนกระทั่งสีชมพูหรือสีแดง ขึ้นอยู่กับส่วนผสมทางเคมีของธาตุต่างๆ โดยปกติในโลหะผสมกลุ่มทอง-เงิน-ทองแดง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการผลิตเครื่องประดับจะให้สีต่างๆ รูปที่ 1 แสดงถึงแผนภูมิสมดุลของโลหะผสมทอง-เงิน-ทองแดง ที่บ่งบอกถึงสีต่างๆ ของโลหะผสม

    รูปที่ 1 แสดงสีต่างๆ ของโลหะผสมเกรดต่างๆ

    โลหะทองที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยจะเป็นทองที่มีส่วนผสมของธาตุทองสูงถึง 90% ขึ้นไป ถ้าดูจากแผนภูมิสมดุลแล้วพบว่าจะมีอยู่ 2 สี คือ สีเหลืองแดงและสีเหลือง ขณะที่ทองที่นิยมในต่างประเทศจะมีเกรดตั้งแต่ 9K ถึง 18K ซึ่งจะให้สีแตกต่างกันออกไป ตามส่วนผสมของธาตุเงินและทองแดง ถ้ามีปริมาณเงินอยู่มากก็จะให้สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว ขณะที่ถ้าผสมทองแดงมากขึ้นก็จะให้สีเหลืองหรือแดง ส่วนทองเกรดต่ำกว่า 9K ลงมาไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ เพราะสีเหลืองของทองจะหมดไป ทำให้เหมือนไม่มีทองผสมอยู่ ดังนั้น ผู้ซื้อจึงนิยมใช้โลหะเงินผสมทองแดงแทน จากรูปที่ 1 จะเห็นเส้นปะ 3 เส้น ณ ส่วนผสมของทอง 18K, 14K และ 10K ซึ่งเป็นส่วนผสมที่นิยมผลิตขึ้นเป็นเครื่องประดับที่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ จากรูปจะเห็นได้ว่าในระบบทอง-เงิน-ทองแดง ส่วนผสม 18K จะให้สีได้ 3 กลุ่มสี คือ สีเหลืองอมเขียว สีเหลือง และสีแดง ขณะที่ 10K สามารถผลิตขึ้นได้ถึง 5 กลุ่มสี คือ สีขาวเหมือนเงิน สีเหลืองจางอมเขียว สีเหลืองอ่อน สีแดงอ่อน และสีแดงของทองแดง

    ผู้ประกอบการผลิตเครื่องประดับในไทย มีอยู่ 2 กลุ่ม คือผลิตเพื่อขายในประเทศ กับผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศ การผลิตในประเทศผู้ประกอบการนิยมที่จะผลิตให้ได้ปริมาณเนื้อทองสูง เพราะค่านิยมของคนไทยชอบเครื่องประดับทองที่มีเนื้อทองสูง ดังนั้นผู้ผลิตจะผลิตทองที่มีเนื้อทอง 90% สำหรับงานผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการหล่อ ในกรณีงานผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นรูปจะมีเนื้อทองสูงถึง 96.5% ถ้าเติมเนื้อทองมากกว่านี้ทองที่ได้จะมีความแข็งแรงต่ำ และทนต่อการเสียดสีในช่วงใช้งานได้ไม่ดี อย่างไรก็ตามในบ้านเราก็มีการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้ ทำให้สามารถผลิตทองที่มีเนื้อทองที่มีเนื้อทองสูงถึง 99% และยังคงความแข็งแรงอยู่ได้ หรือมิฉะนั้นก็อาศัยการออกแบบที่สวยงาม ทันสมัยและการบริการหลังการขายที่ดี มีคุณภาพ เป็นส่วนช่วยในการจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า ในกลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตเพื่อส่งออกต่างประเทศ มีการผลิตทองทุกประเภทและทุกสี แต่จะเน้นทองที่มีกะรัต ตั้งแต่ 9-18 กะรัต สีที่สามารถทำได้ในประเทศ มีสีอยู่ในระบบทอง-เงิน-ทองแดง ตามแผนภูมิรูปที่ 1 และยังผลิตทองสีอื่นๆ อาทิ ทองสีขาว ทั้งประเภทที่ผสมนิกเกิลและปราศจากนิกเกิล (Nickel - free white gold) โดยใช้ธาตุพาลาเดียมมาผสมแทน หรือในปัจจุบันจะใช้ทองผสมแมงกานีส แทนธาตุพาลาเดียม เนื่องจากธาตุพาลาเดียมมีราคาสูงมาก

    ทองเกรด 18K ที่นิยมใช้ในประเทศส่วนใหญ่มีเนื้อเงิน 5-15% และ ทองแดง 5-10% ทองเกรด 14K จะมีสีเหลืองแกมแดง ซึ่งจะมีส่วนผสม 58.5%Au - 16.5%Ag - 25%Cu ในขณะที่ต่างประเทศนิยมใช้ทอง 14K สีเหลืองแกมเขียว ส่วนผสมเป็น 58.5%Au - 30%Ag - 11.5Cu

    Copyright © 2008 The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization). All rights reserved.


    เราจะเลือกซื้อทองคำและทองรูปพรรณอย่างไร
    • เราจะเลือกซื้อทองคำและทองรูปพรรณอย่างไร


    หากคุณเป็นผู้นิยมในการซื้อทองรูปพรรณ คุณจะรู้มันเป็นเรื่องยากในการจ่ายเงินออกไปเพื่อชื้อทองรูปพรรณที่ชื่นชอบ หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่าแล้วมีองค์ประกอบใดบ้างที่นำมาใช้ในการพิจารณาในการเลือกซื้อทองรูปพรรณแล้วองค์ประกอบอะไรที่มีผลทำให้ราคาทองรูปพรรณมีความแตกต่างกัน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้นก็ได้แก่ ขนาดกะรัต , น้ำหนัก ,การออกแบบ , ความประณีตและคุณภาพของทองรูปพรรณ


    ขนาดกะรัตของทองรูปพรรณ
    เป็นที่ทราบกันดีว่าทองรูปพรรณจะอยู่ในรูปของทองกะรัตไม่ว่าจะเป็น 10 k , 14 k , 18 k และอื่นๆอีกมากมายซึ่งทั้งหมดก็จะมีคุณสมบัติของสีแตกต่างกันไปและด้านราคาก็จะเพิ่มขึ้นตามขนาดกะรัตของทองรูปพรรณเช่นกัน โดยราคาของทองรูปพรรณ 10 k อยู่ในช่วงประมาณ 14-20 $ ต่อกรัม , ทองรูปพรรณ 14 k อยู่ที่ 20-30 $ ต่อกรัม และทองรูปพรรณ 18 k อยู่ที่ 27-37 $ ต่อกรัม โดยเราสามารถสังเกตกะรัตของทองรูปพรรณนั้นได้จากตราประทับบนตัวทองรูปพรรณชิ้นนั้นได้เลย


    น้ำหนักของทองรูปพรรณ
    คุณรู้บ้างไหมทำไมน้ำหนักจึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาเลือกทองรูปพรรณนั้นก็เพาระว่าน้ำหนักนี้และจะเป็นตัวบอกถึงปริมาณของทองคำที่ใส่ลงไปในทองกะรัตต่างๆ ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาและความแข็งแรงของทองรูปพรรณสูงตามไปด้วยเช่นกันนั้นก็เพราะว่าน้ำหนักทองที่เพิ่มขึ้นจะไปช่วยลดการโค้งงอและการหักได้


    ลักษณะการออกแบบ
    การออกแบบทองรูปพรรณนั้นจะเน้นถึงความพิเศษ, ความประณีต, การสลักลวดลายและความเรียบร้อยอีกทั้งยังมีการเพิ่มลักษณะของพื้นผิวเข้าไปอีกไม่ว่าจะเป็นแบบผิวเงา, แบบผิวด้านและแบบผิวซาติน ซึ่งจากลักษณะการออกแบบที่แตกต่างกันออกไปทำให้ท่านต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นตามการออกแบบ, ตามสีต่างๆ ของทอง และรูปแบบใหม่ๆ ที่ผู้ผลิตใส่เข้าไป โดยเฉพาะงานฝีมือจะมีราคาที่สูงกว่างานทั่วๆไป


    ความประณีตและคุณภาพ
    ปัจจุบันการผลิตทองรูปพรรณส่วนใหญ่จะผลิตด้วยเครื่องจักรเพราะจะได้ทองรูปพรรณที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานแต่ก็มีการฝีมือที่ผลิตออกมาให้เราได้เลือกซื้อกันอย่างมากมายเช่นกันเนื่องจากงานฝีมือเป็นที่นิยมของท้องตลาดเพราะมีลวดลายที่สวยงามกว่าทองรูปพรรณที่ผลิตโดยใช้เครื่องจักร ดังนั้นเราควรสังเกตให้ดีเวลาเลือกซื้อทองรูปพรรณจุดแรกที่ควรสังเกตคือบริเวณจุดเชื้อมต่อ , ข้อต่อ และตัวสลักเพราะว่าทั้งสามจุดนี้มักจะแตกหักได้ง่ายดังนั้นควรตรวจสอบดูให้แน่ใจว่ามีความแข็งแรงทนทานรวมทั้งตรวจสอบแหล่งที่มาของทองที่นำมาผลิตทองรูปพรรณซึ่งอาจมีการประทับตราบนตัวทองรูปพรรณซึ่งแหล่งที่มาต่างกันราคาก็จะต่างกันไปด้วย

    Copyright © 2008 The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization). All rights reserved.


    จริง หรือ ปลอม ตอนที่ 1
    • จริง หรือ ปลอม ตอนที่ 1

    คุณลองจินตนาการดูซิว่าถ้ามีกล่องสมบัติใบใหญ่มาวางอยู่ตรงหน้าของคุณแล้วภายในกล่องเต็มไปด้วยเครื่องประดับทองและแพลทินัม คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องประดับเหล่านั้นเป็นของจริงหรือของปลอม วันนี้เรามีวิธีทดสอบเครื่องประดับเหล่านั้นว่าเป็นของจริงหรือของปลอม โดยการทดสอบมีอยู่ 2 วิธีการด้วยกันคือ การทดสอบแบบไม่ใช้กรดและการทดสอบแบบใช้กรด

    การทดสอบแบบไม่ใช้กรด


    การทดสอบด้วยแม่เหล็ก
    ถ้าคุณลองเอาแม่เหล็กไปวางไว้ใกล้ๆ กับเครื่องประดับทองและแพลทินัมแล้วสังเกตแรงดึงดูดที่เกิดขึ้น หากเป็นเครื่องประดับทองหรือแพลทินัม จะไม่เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็กแต่ถ้าเป็นเหล็กและสแตนเลตส รวมทั้งโคบอล และแพลทินัมจะเกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก การทดสอบด้วยแม่เหล็กนี้เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลอย่างรวดเร็วเหมาะกับการทดสอบเครื่องประดับที่เป็นงานชุบ ข้อควรระวังวิธีการนี้ใช้ทดสอบงานชุบที่มีการใช้เงินและทองแดงเป็นตัวชุบไม่ได้เพราะไม่เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็กเหมือนทองและแพลทินัม

    แม่เหล็กที่ใช้ในการทดสอบสามารถหาได้โดยทั่วไปเช่น จากลำโพง ตุ๊กตา ของเล่นต่าง ซึ่งให้แรงดึงดูดที่มากพอสมควร

    การทดสอบน้ำหนัก
    การทดสอบวิธีนี้ใช้การชั่งเครื่องประดับด้วยมือหากเครื่องประดับมีน้ำหนักเบาหรือผิดปกติไปให้สันนิษฐานว่าอาจไม่ใช่ทองหรือแพลทินัม การทดสอบทำได้โดยวางเครื่องประดับที่สงสัยในมือข้างหนึ่งแล้วมืออีกข้างหนึ่งวางเครื่องประดับที่เป็นของจริงไว้ทำการชั่งเปรียบเทียบกัน ถ้าน้ำหนักแตกต่างกันก็แสดงอาจเป็นของปลอมหรือเป็นการชุบตีโป่งมาหลอกได้

    การทดสอบอีกวิธีหนึ่งคืออาศัยค่าความถ่วงจำเพาะของเครื่องประดับทองและแพลทินัม (ข้อมูลจาก The Retail Jeweller's Guide, p.398, by Kenneth Blakemore) ใช้เครื่องชั่งความถ่วงจำเพาะในการทดสอบ

    ตราประทับกะรัตและความบริสุทธิ์
    เป็นตราประทับที่บอกความบริสุทธิ์ของทองและแพลทินัมที่มีอยู่ในเครื่องประดับนั้น ซึ่งตราประทับนั้นสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ หากคุณสังเกตเห็นว่าไม่มีตราประทับเหล่านี้แล้วเครื่องประดับนั้นอาจไม่ใช่ของจริงก็ได้ ข้อควรระวังในการสังเกตตราประทับระหว่าง 18K และ 10K หากมีการประทับไม่ดีอาจทำให้เกิดการสับสนได้เพราะรูปร่างของตัวเลขใกล้เคียงกัน

    การประทับตรากะรัตและความบริสุทธิ์บนเครื่องประดับประเภทสร้อย ส่วนใหญ่จะประทับไว้บริเวณบนตะขอเกี่ยว สลัก หรือข้อต่อ ถ้าเป็นพวกต่างหูจำเป็นต้องใช้แว่นขยายในการสังเกต ห่างเป็นแหวนหรือกำไลจะประทับไว้บริเวณใต้ท้องของแหวนและกำไลต่างๆ

    การมีตราประทับกะรัตหรือความบริสุทธิ์บนเครื่องประดับไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าเครื่องประดับเหล่านั้นเป็นของจริงเพราะอาจมีการเลียนแบบได้แต่เครื่องประดับที่เป็นทองและแพลทินัมจำเป็นต้องมีตราประทับกะรัตและความบริสุทธิ์ทุกชิ้น เพื่อง่ายต่อผู้บริโภคในการสังเกต


    ตราประทับผู้ผลิต
    ตราประทับผู้ผลิตก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับตราประทับกะรัตและความบริสุทธิ์เพราะจะเป็นตัวบอกผู้ผลิตซึ่งตราประทับนี้อาจทำให้ราคาของเครื่องประดับแตกต่างกันออกไป เช่น Italy 18K เป็นทองคำของอิตาลีก็จะทำให้ราคาของเครื่องประดับนั้นแพงขึ้นไปอีก แต่ปัจจุบันมีการเลียนแบบกันมาก ดังนั้นควรสังเกตให้ดี

    การทดสอบสี
    การทดสอบสีของเครื่องประดับควรสังเกตความสม่ำเสมอของสีของเครื่องประดับ สีที่สังเกตได้ไม่ควรจะมีสีที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นบริเวณข้อต่อ สลัก ขอเกี่ยว และตัวเรือน หากต้องการทดสอบเพื่อความแน่ใจให้ทำการตะไบเบาๆ ในตำแหน่งที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้แล้วลองเปรียบเทียบสีดูได้

    การทดสอบสีทำให้เราสามารถจำแนกเครื่องประดับเหล่านั้นได้ว่าเป็นเครื่องประดับอะไรเช่น ทองคำสีขาวกับแพลทินัม เพราะทองคำสีขาวจะมีสีเหลืองบางๆ จากการชุบโรเดียม ส่วนสีของเงินจะมีคราบหมองแต่แพลทินัมจะไม่มี

    สีที่แตกต่างกันก็เป็นตัวบ่งบอกถึงส่วนประกอบของโลหะอื่นๆ เครื่องประดับทองกะรัตแต่ละช่วงกะรัตของทองก็จะมีสีที่แตกต่างกันออกไปตามส่วนประกอบเช่น มีส่วนผสมของทองแดงมากสีของเครื่องประดับที่ได้จะมีสีที่เข้มกว่าเครื่องประดับที่มีทองแดงผสมอยู่น้อยกว่า

    การทดสอบเครื่องประดับที่มีอัญมณี
    ถ้าเครื่องประดับที่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วยให้สังเกตข้างหลังของตัวอัญมณี โดยใช้ลูปกำลังขยาย 10 เท่า ซึ่งจะมีตราประทับบอกค่ากะรัตและความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับไว้บนตัวเรือน การสังเกตวิธีนี้ใช้ได้กับอัญมณีที่มีความโปร่งใส่เท่านั้นหากเครื่องประดับที่มีอัญมณีที่ไม่สามารถมองผ่านได้หากจำเป็นต้องทดสอบให้ทำการแกะเอาอัญมณีออกก่อนทำการทดสอบ

    การทดสอบราคา
    ถ้าเป็นเครื่องประดับที่มีการลดราคาให้สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องประดับที่มี่ความบริสทธิ์ของทองและแพลทินัมที่ต่ำหรือเครื่องประดับปลอมและอาจเป็นเครื่องประดับที่เป็นงานชุบ เพราะหากเป็นเครื่องประดับทองและแพลทินัมที่เป็นของจริงจะมีราคาที่คงที่ไม่สามารถนำมาลดราคาได้เนื่องจากส่งผลถึงผลกำไรในการจำหน่ายดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการลดราคาเครื่องประดับทองและแพลทินัมเหล่านั้น

    การทดสอบด้วยการหลอม
    วิธีการนี้ Jurgen Maerz เป็นผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการพิสูจน์ว่าเป็นโลหะแพลทินัมจริงหรือไม่ โดยการแกะเอาเศษโลหะของเครื่องประดับในตำแหน่งที่ไม่สามารมองเห็นได้มาวางบนแผ่นเซรามิกทนความร้อนแล้วทำการหลอมด้วยความร้อนจากหัวแก๊สที่ให้อุณหภูมิ 1,200 oc หากชิ้นโลหะทดสอบเกิดการหลอมเป็นเม็ดโลหะกลมๆ คล้ายลูกบอลแสดงว่าเครื่องประดับชิ้นนั้นไม่ใช่แพลทินัมเพราะหากเป็นโลหะแพลทินัมจะไม่เกิดการหลอมเหลวแต่จะเป็นสีแดงจากความร้อนและคงสภาพเดิมอยู่ อุณหภูมิที่จะทำให้แพลทินัมหลอมเหลวได้ต้องมีอุณหภูมิประมาณตั้งแต่ 1,700 oc ขึ้นไป

    Copyright © 2008 The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization). All rights reserved.


    จริง หรือ ปลอม ตอนจบ
    • จริง หรือ ปลอม ตอนจบ

    การทดสอบในตอนที่ 2 จะเป็นการทดสอบด้วยการใช้กรดไนตริคซึ่งมีความน่าเชื่อถือแต่ฟังดูแล้วค่อนข้างเป็นอันตรายพอสมควร แต่ในตอนที่ 2 เรามีวิธีการทดสอบเครื่องประดับว่าเป็นทองคำและแพลตทินัมของจริงหรือไม่ โดยขั้นตอนในการทดสอบที่ง่ายและเหมาะกับบุคคลทั่วไป

    การทดสอบด้วยกรดสำหรับบุคคลทั่วไป
    การใช้กรดในการทดสอบว่าเครื่องประดับทองคำและแพลตทินัมเป็นของจริงหรือไม่นั้นมาจากหลักการที่ว่า ทองคำและแพลตทินัมนั้นจะทำปฏิกิริยากับกรดไนตริคเพียงเล็กน้อยแต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องประดับ แต่ทองคำและแพลตทินัมนั้นจะทำปฏิกิริยารุนแรงกับกรดกัดทอง (agua regia) ซึ่งได้จากการผสมกันระหว่างกรดไฮโดรคลอริคกับกรดไนตริค ซึ่งทำให้เครื่องประดับเกิดความเสียหาย

    การทดสอบด้วยการใช้กรดไนตริคนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงและยังทำให้เราสามารถแยกเครื่องประดับของจริงและปลอมหรือประมาณค่าความบริสุทธิ์ของโลหะที่เป็นเครื่องประดับได้ ซึ่งกรดไนตริคที่ใช้ในการทดสอบก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์การทำเครื่องประดับทั่วไปราคาประมาณ 200-300 บาท โดยจะบรรจุในขวดพลาสติกทนกรดและป้องกันตกแตก ส่วนเครื่องมืออื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการทดสอบก็มีดังนี้

    สารละลายและอุปกรณ์


    รูปที่ 1 สารละลายและอุปกรณ์ในการทดสอบ

    1. สารละลายกรดไนตริคที่ใช้ทดสอบ

    2. เข็ม, กระดาษชำระ, ผ้ากันเปื้อน, ขันใส่น้ำ, ถุงมือยาง และแว่นตาป้องกันกรดและสารละลายที่เป็นด่าง (baking soda) เพื่อใช้ล้างบริเวณที่โดนกรดจากการทดสอบ

    วิธีการทดสอบ
    1. นำสารละลายและอุปกรณ์ทั้งหมดไปทำการทดสอบในที่โล่งและมีลมถ่ายเทได้สะดวก
    2. สวมเครื่องมือป้องกันได้แก่ ถุงมือยาง, แว่นตา และผ้ากันเปื้อน
    3. ใช้เข็มขูดกับเครื่องประดับที่ต้องการทดสอบบริเวณซอกมุมที่สังเกตได้ง่าย ไม่ควรขูดบริเวณที่เป็นจุดเด่นเพราะการทดสอบอาจทำให้เกิดคราบสกปรกกับเครื่องประดับได้
    4. ทำการหยดกรดไนตริคที่ใช้ในการทดสอบบริเวณที่ใช้เข็มขูดไว้แล้วสังเกตผล
    5. ล้างทำความสะอาดเครื่องประดับที่ใช้ทดสอบ

    การสังเกตผลการทดสอบ

    วิธีการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีในตำแหน่งที่ทำการหยดกรดไนตริคดังตาราง
    รูปที่ 4 การทดสอบด้วยกรดไนตริคกับตัวอย่างที่เป็นเครื่องประดับชนิดอื่น

    จากรูปตัวอย่างในการทดสอบด้วยกรดไนตริค รูปที่ 2 ใช้เครื่องประดับที่เป็นเงินแล้วชุบด้วยทองคำ เมื่อทดสอบแล้วบริเวณที่ทดสอบด้วยกรดไนตริคจะเปลี่ยนสีเป็นสีเทาเข้ม ส่วนในรูปที่ 3 ใช้เครื่องประดับทองคำที่มีตราประทับ 14k เมื่อทำการทดสอบกับกรดไนตริคแล้วสังเกตการเปลี่ยนสีจะเห็นได้ว่าบริเวณที่ทดสอบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและสีเขียว นั้นแสดงว่าเครื่องประดับชิ้นนั้นมีค่าความบริสุทธิ์ของทองคำต่ำกว่าที่มีตราประทับว่าเป็นเครื่องประดับคือ 14k

    Copyright © 2008 The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization). All rights reserved.



    ทองรูปพรรณของไทย : มาตรฐานและหนทางการส่งออกสู่ตลาดโลก
    • ทองรูปพรรณของไทย : มาตรฐานและหนทางการส่งออกสู่ตลาดโลก

    ภาพจาก วารสารทองคำ ปีที่ 6 ฉบับที่ 17
    เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 51

    ทองคำมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ ด้วยมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ที่สำคัญ กล่าวคือ มีความสวยงามในการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ มีความเงางาม คงทนต่อการมัวหมองและการแตกหัก มีความเหนียวและยืดหยุ่นนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ง่าย และยังมีคุณค่าในตัวของมันเอง ซึ่งทำให้ทองคำได้รับบทบาทในการใช้เป็นสินทรัพย์ (asset) รวมถึงทุนสำรองระหว่างประเทศ ควบคู่ไปกับบทบาทของการเป็นเครื่องประดับอีกด้วย

    ภาพจาก วารสารทองคำ ปีที่ 6 ฉบับที่ 17
    เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 51

    ประเทศไทยมีประวัติการผลิตทองคำเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับมายาวนาน โครงสร้างการผลิตเครื่องประดับทองคำในประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมรายย่อยภายในครัวเรือน ร่วมกับผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีโรงงานของตัวเองหรืออาศัยการจ่ายงานให้กับผู้ผลิตรายย่อยเหล่านั้น

    โดยมีตลาดหลักที่รองรับอยู่สองส่วนใหญ่ๆ คือ หนึ่ง เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งการผลิตในส่วนนี้จะเป็นภาคการผลิตตามคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตและรูปแบบของสินค้าตลอดจนมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำ (fineness) ตามเกณฑ์ของประเทศผู้สั่งซื้อ ซึ่งทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีมาตรฐานสูงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

    สำหรับในส่วนที่สองคือภาคการผลิตสำหรับตลาดภายในประเทศ ซึ่งค่อนข้างที่จะมีเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นและแตกต่างจากประเทศอื่นๆ กล่าวคือ ตลาดในประเทศจะนิยมเครื่องประดับทองคำที่มีลักษณะเป็นทองคำล้วนหรือทองรูปพรรณความบริสุทธิ์ 96.5% หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ทองตู้แดง" (ตั้งชื่อตามสีของตู้โชว์ในร้านจำหน่ายทอง) หรือ "ทองเยาวราช" (ตั้งชื่อตามย่านเยาวราชที่เป็นแหล่งจำหน่ายทองรูปพรรณ 96.5% ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด)

    ทองชนิดนี้มีวิวัฒนาการมาจากช่างทองชาวจีนบนพื้นฐานของค่านิยมทองคำที่มีความบริสุทธิ์สูงและมีสีเหลืองสุกสว่างสวยงาม คงทนแข็งแรงพอสมควร จึงมาลงตัวที่ 96.5% ซึ่งเป็นระบบที่แตกต่างไปจากมาตรฐานสากลที่เป็นระบบกะรัตหรือ K (เช่น 18 K = ทอง 75%)

    โครงสร้างการผลิตและจำหน่ายทองรูปพรรณในส่วนนี้จะมีลักษณะของการที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่หรือที่เรียกว่า "ร้านค้าส่ง" จำนวนหนึ่ง นำเข้าทองคำความบริสุทธิ์สูง 99.99% จากต่างประเทศมาแปรรูปให้เป็นทอง 96.5% แล้วแจกจ่ายให้กับผู้ผลิตรายย่อยที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน เมื่อผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำไปกระจายให้กับร้านค้าปลีกที่มีอยู่กว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าต่อไป

    ลักษณะการผลิตทองรูปพรรณชนิดนี้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นงานทำมือ (hand-made) ที่อาศัยฝีมือช่างเป็นหลัก จึงสามารถสร้างสรรค์ลวดลายให้มีความวิจิตรสวยงามและมีรูปแบบหลากหลายได้มากกว่าการใช้เครื่องจักร ประกอบกับการมีกลไกการประกันราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่อยู่ในระดับสูง จึงทำให้ทองรูปพรรณชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงมากภายในประเทศ เพราะผู้บริโภคได้ประโยชน์ทั้งสองด้าน คือ เป็นเครื่องประดับและเป็นสินทรัพย์ไปพร้อมกัน

    ถึงแม้ทองรูปพรรณ 96.5% นี้จะมีความโดดเด่นที่เป็นข้อดีอยู่ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญบางประการซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมให้เป็นที่แพร่หลายและยอมรับกันในวงกว้าง โดยเฉพาะในระดับนานาชาติ

    ประการแรกคือเรื่องของระดับความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5% ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกซึ่งเป็นระบบ K (96.5% เทียบเท่ากับ 23.16 K)

    ประการต่อมาคือการที่ทองรูปพรรณชนิดนี้ใช้ฝีมือคนทำเป็นหลักในการสร้างสรรค์ลวดลายและรูปแบบให้สวยงาม มีชิ้นส่วนปลีกย่อยและรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงทำให้ต้องมีการใช้น้ำประสานทอง (solder) ที่มีความบริสุทธิ์ของทองคำต่ำกว่าเกณฑ์ในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันค่อนข้างมาก ทำให้เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะพบว่าค่าความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ทั้งชิ้นไม่ได้เป็นไปตามค่า 96.5% ตามที่ระบุไว้ที่สินค้า ซึ่งในประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของทองต่ำกว่ามาตรฐานมากในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายการสลักเครื่องหมายรับประกันค่าความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า (hallmarking) หรือกฏหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับทองคำโดยตรงเหมือนในประเทศอื่นๆ แต่ด้วยความร่วมมือของผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานทองรูปพรรณและแก้ปัญหาทองต่ำกว่ามาตรฐานมาได้เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งแล้ว

    ดังนั้น ถ้าถามว่าในขณะนี้ทองคำไทยแข่งขันกับทองคำในตลาดโลกได้หรือไม่ ตอบได้ทันทีเลยว่า ในแง่ของรูปแบบการดีไซน์ ความสวยงาม แข่งขันได้ไม่เป็นรองใคร แต่อาจยังต้องการปัจจัยการส่งเสริมด้านการผลิตและการควบคุมมาตรฐานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค และยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่าระดับสากลโดยเฉพาะในแง่ของการนำระบบ hallmark เข้ามาใช้ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความแตกต่าง ความสวยงามและความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของทองคำไทยในระดับนานาชาติ

    นอกจากนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่สมควรได้รับการสนับสนุนเพื่อยกระดับทองคำไทย ก็คือ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ของเครื่องประดับทองคำ ตัวอย่างเช่น การผลิตโลหะผสมของทองคำ (gold alloy) ให้มีคุณสมบัติที่ดีและมีสีสันสวยงามตรงตามความต้องการของตลาด เพราะปัจจุบัน ผู้ผลิตในประเทศยังขาดความรู้และเทคโนโลยีในส่วนนี้


    การผลิตเครื่องประดับทองคำที่มีสีสันหรือลักษณะพิเศษตามความต้องการของตลาดโลก เช่น ทองสีชมพู (pink gold) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในหลายๆ ประเทศ ในปัจจุบันผู้ผลิตภายในประเทศจะต้องนำเข้า alloy ที่เป็น pink gold ที่มีมาตรฐานและคุณสมบัติตรงตามความต้องการของผู้สั่งซื้อเข้ามาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งมีราคาสูงกว่ามูลค่าจริงมาก โดยในส่วนของผู้ประกอบการจะได้ส่วนต่างเพียงแค่ค่าแรงการผลิต

    ถ้าในทางกลับกัน ผู้ประกอบการของไทยมี know-how ที่สามารถผลิต alloy เหล่านี้ได้เองตรงตามมาตรฐานและความต้องการของคำสั่งซื้อหรือเหนือกว่า ก็จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าและอุตสาหกรรมของประเทศได้อย่างมาก

    ซึ่งในเรื่องนี้ สถาบันก็ได้มีส่วนร่วมในการผลักดันโดยได้เริ่มดำเนินการโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาการผลิตทองคำกะรัตหลากสี (Development of Fancy Colored Karat Gold) เพื่อเฟ้นหาสูตรการผลิตโลหะผสมทองคำให้มีสีสันที่แปลกใหม่ สวยงาม และมีคุณสมบัติที่ดีต่อการนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเครื่องประดับทองคำต่อไป

    Copyright © 2008 The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization). All rights reserved.




    LMBA ฝันให้ไกลไปให้ถูกทาง (ไฟล์ PDF ขนาด 890KB)
    • LMBA ฝันให้ไกลไปให้ถูกทาง (ไฟล์ PDF ขนาด 890KB)


    คลิกเพื่ออ่านต่อ • LMBA ฝันให้ไกลไปให้ถูกทาง (ไฟล์ PDF ขนาด 890KB)

    ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.git.or.th/





    เหล็กไหล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    เหล็กไหล เป็นธาตุศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนื่งในความเชื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ในมาเลเซียมีชื่อเรียกว่า บือซีรีเละ) มีมากมายหลายชนิดแต่ที่เชื่อกันแพร่หลายที่สุดนั้นจะฝังตัวอยู่ในถ้ำมีลักษณะสีดำคล้ายนิล ลนไฟให้ยืดได้ เชื่อกันว่าในการไปเอาเหล็กไหลนั้นจะต้องใช้น้ำผึ้งชะโลมก้อนเหล็กไหลแล้วใช้ไฟลนเหล็กไหลถึงจะยืดออกมากินน้ำผึ้งไปพร้อมกับเล่นไฟด้วย แล้วก็ลนไฟไปกระทั่งทั้งเหล็กไหลยืดออกมาเรื่อยๆจนกระทั่งบางเท่าเส้นด้ายถึงจะตัดขาด (ทั้งนี้ในการไปตัดเหล็กไหลนั้นกล่าวกันว่าคนธรรมดานั้นไม่สามารถตัดเหล็กไหลเองได้เนื่องจากมีเทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา พญานาคหรือยักษ์รักษาอยู่และพร้อมจะเข้าทำร้ายผู้เข้าไปเอาได้ถ้าผู้นั้นไม่ใช่คนดีมีบุญหรือมีวิชาอาคมแกร่งกล้าพอ และตัวเหล็กไหลนั้นก็มีฤทธิ์ขัดขืนคนที่เข้าไปเอาได้ด้วยเช่นกล่าวว่าเคยมีคนเข้าไปตัดเหล็กไหลแล้วเอามือไปจับเหล็กไหลแล้วมีอาการคล้ายถูกฟ้าผ่าหรือถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดเป็นต้น) เหล็กไหลที่ได้นี้กล่าวกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากมักฝังไว้ตามตัวผู้ที่ครอบครองกล่าวกันว่าจะไม่มีอะไรที่ทำร้ายผู้ที่ครอบครองตัวเหล็กไหลได้ทั้งมีด ปืน หรือแม้กระทั่งระเบิด ดินปืนทุกชนิดไม่สามารถจุดติดได้ในอาณาเขตที่มีเหล็กไหลอยู่

    ในความเชื่อนี้กล่าวอีกว่าเหล็กไหลยังแบ่งเป็นสามระดับ คือ
    ระดับแรก ตัวเหล็กไหลเอง แวววาว เป็นส่วนที่ลนไฟให้ยืดได้ เป็นส่วนที่มีอิทฤทธิ์มากที่สุด
    ระดับสอง รังเหล็กไหล มีลักษณะแวววาวรองจากตัวเหล็กไหล ไม่สามารถลนไฟให้ยืดได้ เป็นส่วนที่ห่อหุ้มตัวเหล็กไหลไว้เป็นฐานรองเหล็กไหลแข็งแน่นติดกับผนังถ้ำ
    ระดับสาม ขี้เหล็กไหล มีลักษณะคล้ายน้ำตาเทียน ดำด้าน แข็งแต่ทุบให้แตกได้ง่าย เกิดจากการที่เหล็กไหลเคลื่อนผ่านทางนั้นแล้วเกิดขี้เหล็กไหลขึ้นมากล่าวว่าแทบไม่มีฤทธิ์ใดๆ
    ชนิดของเหล็กไหล

    เหล็กไหลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิด มีดังนี้คือ
    1. เหล็กไหลน้ำหนึ่ง อาทิ เหล็กไหลปีกแมลงทับหรือเหล็กไหลโกฐปี เหล็กไหลเงินยวงหรือเหล็กไหลชีปะขาว เหล็กไหลเพชรดำ เหล็กไหลท้องปลาไหล
    2. เหล็กไหลน้ำรอง อาทิ โคตรเหล็กไหล แร่เกาะล้าน แร่เม็ดมะขาม เหล็กไหลทรหด
    3. ขี้เหล็กไหล
    http://www.jewcat.com/setting.html