"ประเพณีตั้งไข่" วันชุนเฟิน เก่าแก่กว่า 4,000 ปี




ดอกไม้จะบาน อรวี สัจจานนท์



"ประเพณีตั้งไข่" วันชุนเฟิน เก่าแก่กว่า 4,000 ปี


ชาวจีนในเมืองหวยเป่ย มณฑลอันฮุย กำลังพยายามตั้งไข่ให้ตรง
เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2554 (ภาพไชน่า เดลี่)

ประเพณีการตั้งไข่ในวันสันตวิษุวัต หรือวันชุนเฟิน
อันสืบทอดมายาวนานกว่า 4,000 ปี ตรงกับช่วงวันที่ 20-22 มี.ค. ของทุกปี

ซึ่งเป็นช่วงที่ระยะเวลาในตอนกลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน
เล่ากันแต่โบราณกาลว่า ในวันสันตวิษุวัตนี้ จะสามารถตั้งไข่ให้ตรงได้ง่าย
เนื่องจากแกนโลกเอียงทำองศากับวงโคจรโลกได้อย่างพอดี

สำหรับการตั้งไข่ให้ได้ผลสำเร็จ จะต้องใช้ไข่ที่สดใหม่ไม่เกิน 4-5 วัน และหาจุดนูนบนเปลือกไข่ 3 จุด จากนั้นเล็งให้แกนกลางของไข่อยู่ตรงกึ่งกลางพอดี

ทั้งนี้ วันสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ในจีนเรียกว่า "ชุนเฟิน - 春分" หมายถึงช่วงกลางของฤดูใบไม้ผลิ โดยในช่วงนี้ พฤกษานานาพันธุ์และพืชผลจะเจริญงอกงามได้ดี เนื่องจากอากาศจะอบอุ่นมากขึ้น เริ่มมีฝนโปรย อันเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการเพาะปลูกได้อย่างเต็มที่

สำหรับธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงวันดังกล่าว จะมีการกินชุนไช่ "春菜" หรือผักสดที่เพิ่งโตเต็มที่เป็นการต้อนรับฤดูแห่งการเพาะปลูก และการไหว้พระอาทิตย์ เป็นต้น

หมวยน้อยเชยชมไข่ที่สามารถตั้งได้สำเร็จ(ภาพไชน่า เดลี่)

ไข่หลากสีสันและลวดลายตั้งเรียงรายอยู่
ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองเจ่าจวง มณฑลซานตง (ภาพไชน่า เดลี่)

คุณครูและเด็กนักเรียน กำลังพยายามตั้งไข่ให้ตรง
ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองเจ่าจวง มณฑลซานตง (ภาพไชน่า เดลี่)

ทหารจีน 2 นาย ในเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู กำลังพยายามตั้งไข่ (ภาพไชน่าเดลี่)

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000036472