ช็อกโกแลต ซีสต์ …ปวดท้องประจำเดือน (Chocolate cyst หรือ Endometriosis)




โรคช็อคโกแลตซีสต์.mp4



ช็อกโกแลต ซีสต์ …ปวดท้องประจำเดือน

ภัยเสี่ยงหญิงตัดมดลูกทิ้ง…มีบุตรยาก!!! (เดลินิวส์)

ผู้หญิงเมื่อประจำเดือนมาทีไร หลายคนมัก มีอาการปวดท้องร่วมด้วยเสมอ แต่หากปวดมากและบ่อยครั้งขึ้น พึงระวัง…อาจเป็น “ช็อกโกแลต ซีสต์” ได้!

นพ.อุดมศักดิ์ ศรีแสงนาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์ เล่าถึงการเกิดของโรคช็อกโกแลต ซีสต์ ให้ฟังว่า โดยปกติในระหว่างรอบประจำเดือน เยื่อบุมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลง คือ ใน 1 รอบประจำเดือน จะยาวประมาณ 28 วัน ซึ่งอาจสั้น หรือยาวกว่านี้ ในแต่ละบุคคล โดยนับวันที่ประจำเดือนหมด คือ ประมาณวันที่ 5 รังไข่จะผลิตฮอร์โมนเพศสตรีมากระตุ้นเยื่อบุมดลูกให้เจริญและหนาตัวขึ้น มีเส้นเลือดนำอาหารมาเลี้ยงมากขึ้นเพื่อเตรียมรับการตั้งครรภ์

ประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน เยื่อบุมดลูกจะหนากว่าระยะเริ่มต้นถึง 10 เท่า และช่วงนี้จะมีการตกไข่ ไข่จะถูกจับเข้าไปในท่อนำไข่ และถ้าได้ปฏิสนธิ กับเชื้ออสุจิ จะเคลื่อนเข้าไปในมดลูกและฝังตัวอยู่ในเยื่อบุมดลูก ถ้าไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ จะสลายตัวไป ระดับฮอร์โมนก็จะลดลงโดยมีการลอกหลุดตัวของเยื่อบุมดลูกกลายเป็นประจำเดือน ออกมาประมาณวันที่ 28 ของรอบเดือนแล้วก็เริ่มต้นรอบเดือนใหม่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในทุกๆ เดือน

แต่สำหรับโรคนี้ เมื่อผู้หญิงมีประจำเดือน ที่เยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งจะมีลักษณะเป็นถุงน้ำที่ภายในมีเลือดเคลื่อนตัวออก จากโพรงมดลูกหลุดไปติดตามท่อนำไข่ แล้วไปเจริญเติบโตในอวัยวะต่างๆ เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ ช่องคลอด มดลูก กระเพาะปัสสาวะ โดยหากมารวมอยู่ที่ รังไข่จะเรียกว่า ช็อกโกแลต ซีสต์ มีลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ เหมือนช็อกโกแลตซึ่งเป็นเลือดเก่า แทนที่จะออกมาทางช่องคลอดตามปกติ โรคนี้ทางการแพทย์เรียกว่า “เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่” (Endometriosis)

“มีอาการปวดท้องน้อย เรื้อรังเมื่อมีประจำเดือน โดยจะปวดด้านหน้า ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกราน ส่วนด้านหลังตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อยปรากฏการณ์นี้จะเป็นเช่นนี้ทุกๆ เดือนและเกิดปฏิกิริยาขึ้นทุกครั้งที่มีเลือดออกพร้อมกับการมีประจำเดือน ทำให้มีเยื่อพังผืดหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ ในอุ้งเชิงกราน บางครั้งถุงเลือดที่มีอยู่เดิมแตกออกมา ทำให้เลือดและเยื่อบุมดลูกกระจายไปเจริญขึ้นในที่อื่น ทำให้เพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การมีพังผืดตามอวัยวะต่างๆ มากเช่นนี้เป็นผลให้การตกไข่ออกจากรังไข่ไปไม่ดีหรือไปไม่ได้ และท่อนำไข่ก็ไม่สามารถทำงานในการจับไข่เข้าไปได้ เพราะมีการยึดรั้งจากพังผืดหรือทำให้ ท่อนำไข่ตีบตันเป็นสาเหตุสำคัญของการมีบุตรยาก”

สิ่งที่จะบ่งชี้ว่า อาการปวดดังกล่าวเป็นอาการปวดท้องธรรมดาหรือเป็นอาการปวดของโรคนี้ คือ อายุ โดยจะพบมากในสตรีที่มีอายุ 30-40 ปี หรือวัยก่อนหมดประจำเดือน ในกรณีที่ไม่เคยปวดมาก่อน แต่พออายุ 30 ปีขึ้นไปแล้วกลับมีอาการปวดและปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน สันนิษฐานได้ว่าอาจปวดจากเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ได้ ฉะนั้น เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีประจำเดือนเท่านั้น โดยก่อนวัยมีประจำเดือนหรือวัยหมดประจำเดือนจะไม่พบโรคนี้

เนื่องจากเป็นโรคที่ ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนมากเป็นทางกรรมพันธุ์ พบประวัติว่า มารดา พี่ น้อง เป็นโรคนี้ แต่โชคดี คือ มีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะกลายเป็นเนื้อร้าย วิธีบรรเทาอาการปวดจึงรักษาตามอาการ หากมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยจะประคบด้วยน้ำร้อน ปวดกลางๆ แต่ทนได้ให้ทานยาแก้ปวด ถ้าปวดมากต้องใช้ยาเฉพาะทาน

พบว่า ประมาณร้อยละ 43 ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์หลัง มีอาการประมาณ 1 ปี การตรวจร่างกายมักไม่พบความผิดปกติ ที่ชัดเจน หลังการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการทำอัลตราซาวด์ อาจจะพบถุงน้ำที่รังไข่ ในบางครั้งอาจต้องใช้วิธีตรวจโดยการใช้กล้องส่องเข้าไปในช่องท้อง

กรณี ถุงน้ำที่รังไข่มีขนาดเล็กอาจจะให้การรักษาด้วยยา ร้อยละ 60 ที่รักษาด้วยยาไม่ดีขึ้นต้องผ่าตัด จากการศึกษาพบว่า การรักษาอาการปวดที่เกิดจากภาวะช็อกโกแลต ซีสต์ แพทย์นิยมให้ผู้ป่วยฉีดยาคุมกำเนิดทุก 3 เดือน เป็นเวลา 12 เดือน หรือให้ทานยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนต่ำ พบว่า ทั้งสองวิธีได้ผลสามารถทำให้ขนาดของช็อกโกแลต ซีสต์ลดลง

ภาวะของโรคช็อกโกแลต ซีสต์ ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดอาการปวดทุกครั้งเมื่อมีประจำเดือน ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข หากปล่อยทิ้งระยะเวลาไว้นานอาจทำให้เกิดการสร้างเยื่อพังผืดขึ้นมาล้อมรอบ ยิ่งถ้าเป็นบริเวณลำไส้ใหญ่จะทำให้ผ่าตัดได้ยาก เนื่องจากขณะทำการผ่าตัดเอาพังผืดออกอาจทำให้มีโอกาสทะลุไปโดนลำไส้ใหญ่ได้ จำต้องผ่าตัดเพื่อเย็บลำไส้ซ้ำอีกครั้ง

นพ.อุดมศักดิ์ กล่าวว่า “สตรีที่เป็นโรคนี้จะมีภาวะมีบุตรยากขึ้นกว่าคนไม่เป็นโรค บางรายแพทย์ตรวจพบโรคนี้จากการตรวจหาสาเหตุของการไม่มีบุตร เมื่อทำการรักษาหรือผ่าตัดช็อกโกแลต ซีสต์ออกไปแล้วอาจทำให้มีลูกได้ แต่ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่มีโอกาสเพิ่มมากขึ้น”

ถ้าเป็นแล้วไม่ต้อง กลัว สามารถรักษาได้ แม้จะไม่หาย ขาดมีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีก แต่ไม่ควรประมาท เพราะ ถ้าปล่อยให้เป็นมากๆ อาจถึงขั้นต้องตัดมดลูกทิ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำใจลำบากในผู้ป่วยบางราย จึงควรหมั่นดูแลสุขภาพ เช็กร่างกายตนเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นจะได้รักษาแก้ไขได้ทัน

เมื่อมีอาการปวดในระหว่างมีประจำเดือนอย่าชะล่าใจ…หากอาการปวดนั้นทวีขึ้นเรื่อยๆ ทุกเดือน!!


ช็อคโกแลต ซีสต์ (Chocolate cyst หรือ Endometriosis)
ผู้หญิงหลายท่านอาจเกิดอาการปวดท้องเวลาเป็นประจำเดือน เพราะ prostaglandin ที่หลั่งออกมาในช่วงเป็นรอบเดือน นอกจากปวดท้องแล้วก็อาจจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน

Prostaglandin : สารชนิดหนึ่งในร่างกายซึ่งคล้ายฮอร์โมน คือ ต้นเหตุที่ทำให้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน และ เป็นสารชนิดที่ทำให้ผู้หญิงเราเกิดอาการปวดท้องตอนจะคลอดลูก... สารนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับประจำเดือนออกมา บางท่านอาจเริ่มวิตกกังวลถึงโรคภัยที่ผู้หญิงมักจะกลัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้องอก มะเร็ง ผังผืด ที่อาจพบในระบบสืบพันธุ์

โรคช๊อกโกแลตซีส (chocolate cyst : one having dark, syrupy contents, resulting from collection of hemosiderin following local)

1. คำจำกัดความของโรคช๊อกโกแลตซีส
ช๊อกโกแลตซีส หมายถึง ''ถุงน้ำที่มีสารของเหลวสีคล้ายกับช๊อกโกแลตอยู่ภายใน'' ความรุนแรงมากพอสมควร

การเรียกตามลักษณะที่เห็นความจริงแล้ว คำเต็มก็คือ..... ''โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ เอ็นโดเมทริโอซิส

ปกติตัวเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ควรจะอยู่เฉพาะภายในโพรงมดลูกเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ตัวเยื่อบุโพรงมดลูกนี้กระจายออกนอกตัวโพรงมดลูกไปเกาะอยู่ที่ใดก็ตามก็จะเป็นโรคของตำแหน่งนั้นเกิดขึ้น

2. ในปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากน้อยแค่ไหน
โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย
เราจะพบมากที่สุดก็คือ พบได้ 10- 20% ในกลุ่มของผู้ที่อยู่ในวัยที่มีประจำเดือน
กลุ่มคนลูกยากจะเป็น 30-45% คำว่าผู้ป่วยที่มีลูกยากก็คือ คู่สมรสที่แต่งงานเกิน 1 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง

3. กลไกที่ก่อให้เกิดโรค
ปัจจุบันนี้เรายังไม่ทราบกลไกที่ทำให้เกิดโรคที่แท้จริง แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อถือคือ ทฤษฎีของแซมซัน จะมีเลือดประจำเดือนส่วนน้อยส่วนหนึ่งไหลกลับเข้าไปในช่องท้อง โดยผ่านท่อรังนำไข่ เลือดประจำเดือนที่ไหลเข้าสู่ช่องท้องก็จะนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกไปด้วย แต่ตำแหน่งของเซลล์นี้ถ้าไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นในอวัยวะนั้น ส่วนมากเราจะพบมากในบริเวณรังไข่

4. นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคอีกหรือไม่
ผู้หญิงปกติทุกคนจะมีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน แต่บางคนเป็นโรค, บางคนไม่เป็นโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยง คือ
4.1 มีประวัติครอบครัว โดยเฉพาะทางมารดาหรือว่าพี่สาว, น้องสาวของผู้ป่วย ถ้าเกิดเป็นโรคนี้ตัวผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นโรคที่สูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป 3-10 เท่า
4.2 กลุ่มผู้ป่วยที่มีการทำงานของรังไข่นาน ๆ รังไข่ทำงานนานในกรณีที่เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยหรือประจำเดือนรอบสั้น เดือนหนึ่งมีมากกว่า 2 ครั้ง หรือออกมากหรือออกนานมากกว่า 7 วัน
4.3 กลุ่มที่มีความผิดปกติโดยกำเนิด ของทางออกของประจำเดือน กรณีนี้เราจะเจอได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเยื่อพรหมจารีปิด

5. ปัจจัยลดความเสี่ยงของโรคอยู่ 3 ปัจจัย คือ
5.1 การตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์หลายครั้งโอกาสเป็นโรคก็จะน้อยลง การตั้งครรภ์ผู้หญิงจะไม่มีภาวะของการมีประจำเดือนไปเป็นเวลา 9-10 เดือน หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ซึ่งยาคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โปเตสเซอโรน
5.2 การออกกำลังกายมาก ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังตั้งแต่วัยรุ่นจะต้องออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 7 ชม. อันนี้จะเป็นการลดฮอร์โมนเอสโตเจน เป็นผลทำให้เกิดโรคน้อยลง
5.3 การสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดเอสโตนเจนน้อยลง โอกาสการเกิดโรคก็จะน้อยลง แต่ที่กล่าวมาก็ไม่ ได้หมายความว่าจะสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนต้องสูบบุหรี่

6. ลักษณะอาการผิดปกติเบื้องต้นเป็นอย่างไร
6.1 คนไข้จะมีอาการปวดประจำเดือนทุกเดือน แต่อาการปวดประจำเดือนก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคนี้ ซึ่งลักษณะอาการปวด คือ มีอาการปวดอย่างรุนแรงและจะปวดมากขึ้นมากขึ้นทุกเดือน เป็นอย่างนี้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ
6.2 มีอาการเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
6.3 ผู้ป่วยจะมีบุตรยาก

7. เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือไม่
อาศัยจากประวัติก่อนทำการตรวจร่างกายคนไข้ และจะมีการช่วยวินิจฉัยหลายอย่าง เช่น ....การทำอัลตราซาวด์ ส่องกล้อง ตรวจภายในอุ้งเชิงกราน การเจาะเลือดตรวจทูเมอร์ ....
การวินิจฉัยโรค ถ้าเกินเราอัลตราซาวด์แล้วเราเห็นก้อนชัด ๆ ก็จะสามารถบอกได้ทันที แต่ในกลุ่มที่คนไข้ที่มีผลการตรวจคนไข้ไม่ชัดเจน กลุ่มนี้เรามักจะต้องใช้วิธีส่องกล้องตรวจภายในอุ้งเชิงกราน

8. จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกหรือไม่
ในกรณีที่เราผ่าตัดเอาเฉพาะพยาธิสภาพออก โดยที่เก็บตัวมดลูกและรังไข่ไว้คนไข้ ก็จะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีก

9. อันตรายของโรคนี้มากน้อยแค่ไหน
ในกรณีที่เป็นมาก ๆ คนไข้ก็จะมีพังพืดเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน ผังพืดที่เกิดขึ้นมีการรัดอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง เพราะฉะนั้นการผ่าตัดจำเป็นต้องอาศัยฝีมือขอศัลยแพทย์ที่ดี พอประจำเดือนมาครั้งต่อไป ตัวโรคก็จะโตขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างนั้นหากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนช๊อกโกแลตซีสเกิดแตก สารของเหลวที่อยู่ภายในก็จะออกมากระตุ้นเยื่อบุช่องท้อง ทำให้คนไข้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน

10. การป้องกันควรทำอย่างไร
เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการตรวจภายใน หรือ มีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีประจำเดือน
ในหญิงกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ เราอาจพิจารณณาให้การป้องกันด้วยการกินยาคุมกำเนิด เริ่มตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือนและหยุดยาต่อเมื่อมีบุตร ขอแนะนำให้ผู้หญิงที่แต่งงาน ตั้งครรภ์เร็ว ๆ

1. ทำไมหญิงยุคใหม่เป็นโรคนี้กันมากขึ้น ?
"ถ้าดูในเรื่องงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตผิดที่พบว่า ถ้านำผู้หญิง 100 คนมาทำการส่องกล้องเข้าไปดูในขณะที่มีประจำเดือน ผู้หญิงเกือบทั้ง 100 คน จะมีภาวะลือดระดูไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องทุกคน"

2. ทำไมบางคนเกิดอาการเป็นถุงน้ำซึ่งทำให้ เกิดความเจ็บปวดมากมาย แต่บางคนไม่เป็น ?
คนไข้กลุ่มที่เป็นถุงน้ำมักจะมีปัญหาในเรื่องภูมิคุ้มกันบางอย่างบกพร่องซึ่งไม่สามารถจะทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เติบโตผิดที่นี้ได้ ในขณะที่ผู้หญิงปกติทั่วไปจะมีภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตผิดที่ได้ "ส่วนที่ดูเหมือนกับว่าผู้หญิงในปัจจุบันเป็นโรคนี้กันมาก ก็เพราะความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี

3. อาการที่น่าสงสัยว่า จะเป็นถุงน้ำช็อกโกแลตเกี่ยวกับเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่

ผู้หญิงที่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ จะมีอาการปวดท้องมากเวลาที่มีประจำเดือน
"การที่จะแยกว่าอาการปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนจะเป็นอาการที่บ่งบอกว่าสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องอายุ นั่นคือถ้าอายุยังไม่มาก แล้วปวดท้องเวลาที่มีประจำเดือน ส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดท้องธรรมดา แต่กรณีที่ไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อน พออายุ 30 ปีขึ้นไปอยู่ๆ ก็มีอาการปวดประจำเดือนขึ้นมา และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือนที่ผ่านไป อาการดังกล่าวค่อนข้างบ่งชี้ว่าน่าจะเป็น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่"

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
http://women.kapook.com/health00202/
http://www.healthcorners.com/2007/news/Read.php?id=6021

take care นะจ๊ะ