ชีวประวัติท่านติช นัท ฮันห์, สิ่งธรรมดาคือสิ่งพิเศษ...



Happiness is here and now

ชีวประวัติ ท่าน ติช นัท ฮันห์

ติช นัท ฮันห์ กำเนิดในปี พ.ศ. 2469 ที่จังหวัดกวงสี ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ท่านมีชื่อเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า ( Nguyen Xuan Bao)
"ติช นัท ฮันห์" เป็นฉายา เมื่อท่านได้รับ การอุปสมบทแล้ว คำว่า "ติช" ในเวียดนามใช้เรียกพระ มีความหมายว่าเป็นผู้สืบทอดพุทธศาสนา ส่วน "นัท ฮันห์" เป็นนามทางธรรมของท่าน มีความหมายว่า "การกระทำเพียงหนึ่ง" (One Action) หมู่ศิษย์ในทางตะวันตก เรียกท่านว่า "Thay" (ไถ่) ซึ่งในภาษาเวียดนามมีความหมายว่า "ท่านอาจารย์"

ในปี พ.ศ. 2485 เมื่ออายุได้ 16 ปี ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu) วิถีชีวิต ในวัดเซนแห่งนี้ เป็นรากฐานอันสำคัญ ต่อชีวิตนักบวชของท่าน สามเณรต้องเรียนรู้ การมีชีวิตอยู่ ในปัจจุบันขณะ ในทุกการกระทำ อาจารย์ได้มอบหนังสือเล่มเล็กๆ กำชับให้ศึกษาหนังสือนั้น จนกว่าจะเข้าใจ
"การนำสารัตถะแห่งพระวินัย มาประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจำวัน"
เป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น กล่าวถึงอากัปกิริยาของพระฝึกหัด จะต้องเกิดขึ้นพร้อมไปกับ สัมมาสติ หรือการกำหนดรู้ในปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2492 ติช นัท ฮันห์ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ท่านได้เดินทางไปไซ่ง่อน เพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา และเขียนบทความ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างมาก จากผู้นำองค์กรชาวพุทธ และจากรัฐบาล

ในปี พ.ศ. 2505 เมื่อท่านได้รับการเสนอทุนจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เพื่อ ศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา จากนั้น 1 ปี ท่านได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจเดินทางกลับเวียดนาม เพื่อกลับมาทำงานด้านความ ร่วมมือ ระหว่างพุทธมหายานและหินยานในประเทศ และตั้งรร.ยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคม ที่เสียหายจากสงคราม สานต่อแนวคิดเรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์กับสังคม และพัฒนาวงการ สงฆ์ ด้วยการสอนและเขียน ในสถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่า

การกระทำและปัญญา ต้องก้าวไปด้วยกัน (action and wisdom must go together)
และจัดตั้ง คณะเทียบหิน ในปี 2509

ท่านตระหนักว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลง วิธีการการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ หยุดการสนับสนุนสงครามและมุ่งเน้นสันติภาพ โดยปลุกจิตสำนึกต่อคนทั่วโลก จนกระทั่ง



มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ( Martin Luther King, Jr.)

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ( Martin Luther King, Jr.) (เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง และหมอสอนศาสนานิกายแบปติสคิง มีชื่อเสียงในเรื่องการพูดต่อสาธารณชน สุนทรพจน์ "I Have a Dream" ที่เขากล่าวในการเดินขบวนปี พ.ศ. 2506 ได้รับการยกย่องอย่างสูง ว่าทรงพลังและเป็นแบบอย่างของการพูดในที่สาธารณะ คำสุนทรพจน์นี้ มีในเพลงของวง ลินคินพาร์ก คือเพลง Wisdom , Justice and Love) เสนอนาม ท่านติช นัท ฮันห์ เพื่อรับ รางวัลโนเบลเพื่อสันติภาพ โดยกล่าวว่า
"ข้าพเจ้าไม่รู้จักใครเป็นการส่วนตัวอีกที่จะมีคุณค่าพอสำหรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นอกเหนือไปจากพระผู้มีเมตตาจากเวียดนามผู้นี้"

Martin Luther King Jr - I Have a Dream

Linkin Park - Wisdom, Justice and Love + Iridescent (lyrics)
Connie Talbot- I Have a Dream

การทำงานเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลเวียดนามใต้ ปฏิเสธการกลับประเทศของท่าน จนแม้ รวมประเทศแล้วก็ตาม ท่านจึงลี้ภัยอย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส โดยสอน ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนาม ที่มหาวิทยาลัย และสร้างอาศรมแห่งหนึ่งนอกเมืองปารีส เพื่อเขียนหนังสือ และปลูกพืชผักสมุนไพร

ซึ่งท่านติดต่อลับๆ กับพระภิกษุที่ถูกจำคุกในเวียดนาม เพราะไม่เห็นด้วย กับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงาน เพื่อสันติภาพและผู้ลี้ภัย จากประสบการณ์ ของท่าน ที่ได้พบเห็นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยด้วยตนเอง จนสามารถช่วยเหลือ ผู้คนได้อีกมาก


ในปี พ.ศ. 2525 เมื่อผู้มาปฏิบัติธรรมที่อาศรมของท่านทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเริ่ม ก่อตั้งชุมชนแห่งใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ให้ชื่อว่า
หมู่บ้านพลัม (Plum Village) ซึ่งถือเป็นบ้านของท่านจนทุกวันนี้ ช่วงแรกหมู่บ้านพลัมเป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย เพื่อปรับตัว ก่อนเข้าสู่สังคมใหม่ในประเทศใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านพลัมได้ต้อนรับผู้คนมากมาย ในการปฏิบัติ สมาธิภาวนา และได้เริ่มมีสมาชิก เป็นนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในปี พ.ศ. 2549 มีสมาชิก นักบวชกว่าห้าร้อยคน มาจากยี่สิบกว่าประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ที่หมู่บ้านพลัมในฝรั่งเศส ที่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และ วัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2548 เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของเวียดนามเข้าสู่ภาวะปกติ ติช นัท ฮันห์ ได้เดินทางกลับไปเยือนประเทศเวียดนาม บ้านเกิดของท่านอย่างเป็นทางการ หลังการจากมา เป็นเวลา 39 ปี และได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวเวียดนามอย่างอบอุ่น



ปัจจุบัน ท่าน ติช นัท ฮันห์ ยังคงพำนักอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส และยังเดินทาง ไปนำการภาวนาในประเทศต่างๆ ท่านเป็นชาวเวียดนาม ที่เป็นพระมหาเถระ ในพุทธศาสนา และมีอุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์อันเป็นพระที่เลื่อมใส แห่งสากลโลก เป็นอย่างยิ่ง



ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นผู้ประพันธ์หนังสือธรรมะชื่อดังระดับโลกหลายเล่ม ดังนี้
ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ
สันติภาพทุกย่างก้าว
ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุด
ศานติในเรือนใจ
เดิน วิถีแห่งสติ [Walking Meditation]
ดวงตะวัน ดวงใจฉัน
ทางกลับคือการเดินทางต่อ
กุญแจเซน
สายน้ำแห่งความกรุณา
วิถีแห่งบัวบาน
คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ วรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ เล่ม 1-2 / Old Path White Clouds : Walking in the Footsteps of the Buddha
ด้วยปัญญาและความรัก
เธอคือศานติ : ลำนำแห่งลมหายใจและรอยยิ้ม [Being Peace]
ศาสตร์แห่งความเข้าใจ
พุทธศาสนาในอนาคต
อานาปนสติศาสตร์
พระสูตรธรรมแปดประการสำหรับมหาบุรุษ
เพชรตัดทำลายมายา [The Diamond That Cuts Through Illusion]
กุหลาบประดับดวงใจ
ไผ่พระจันทร์
ดอกบัวในทะเลเพลิง
เสียงร้องของชาวเวียดนาม
จุดยืนพระพุทธศาสนาท่ามกลางสงครามและการปฏิวัติ
เมตตาภาวนา : คำสอนว่าด้วยรัก [Teaching on Love]
เรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง
ปลูกรัก
เริ่มต้นใหม่
และหนังสือเล่มอื่นๆ อีกมากมาย...


ในรูปเป็น ท่าน ติช นัท ฮันห์ และ ท่าน ว.วชิรเมธี
ที่ให้ความเคารพท่านด้วยการคุกเข่า
ไม่ใช่ยืนถ่ายรูปข้างท่าน


สิ่งธรรมดาคือสิ่งพิเศษ...
ท่าน ติช นัท ฮันท์ พูดเรื่องนี้ไว้ดีมากในหนังสือ "ขอบคุณสรรพสิ่ง" 
"ปาฏิหารย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ
แต่ปาฏิหารย์คือการเดินอยู่บนผืนดิน และมีความสุขในทุกย่างก้าว" 
ชีวิตเราเต็มไปด้วยเรื่อง "ธรรมดา" เช่น ตื่นมาอาบน้ำ แปรงฟัน ขับรถไปทำงาน

กินอาหารเที่ยงกับเพื่อนในที่เดิมๆ ตอนเย็นกลับมาก็เห็นหน้าภรรยาหรือสามีคนเดิมๆ ใส่ชุดธรรมดาๆ...หน้าตาเราหรือก็ธรรมดาๆ...
เราส่วนใหญ่แล้วก็เป็นคนธรรมดาๆ มีชีวิตธรรมดาๆ กันทั้งนั้น
แต่ถ้าความ "ธรรมดา" นี้หมดไปล่ะ

เช่น อยู่ดีๆ ลูกเราเกิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือสามีเราถูกรถชนตาย หรือเราถูกไล่ออกจากงานที่เราเบื่อแสนเบื่อ...
เรื่องก็จะ "ไม่ธรรมดา" ไปในทันที
และในเวลานั้นเอง เราจะหวนมาคิดเสียดายความ "ธรรมดา" จนใจแทบจะขาด...ให้เรารีบชื่นชมกับความ"ธรรมดา" ที่เรามี และใช้ชีวิตประหนึ่งว่า
สิ่งนั้นคือสิ่งมหัศจรรย์ของจักรวาล

เพราะสิ่งธรรมดาๆ แท้จริงแล้วคือ สิ่งที่พิเศษที่สุดแล้ว....
สิ่งธรรมดาคือสิ่งพิเศษ


เรื่อง วนิษา เรซ
คัดลอกจาก Post Today

บางครั้งในชีวิตประจำวัน เรารู้สึกว่ามีหน้าที่หลายอย่างที่เรา "ต้อง" ทำ ทั้งๆ ที่ขี้เกียจแสนขี้เกียจ หรือเหนื่อยแสนเหนื่อยแล้วจากการทำงาน เช่น การล้างจาน การท่องหนังสือ การจดจ่ออยู่หน้าคอมพิวเตอร์ แถมพ่อแม่หลายท่านในปัจจุบันนอกจากทำงานเหนื่อยแล้วยังต้องมานั่งรับส่งลูกเรียนพิเศษเสาร์อาทิตย์อีก...

เวลานั่งรอบางครั้งก็เหนื่อยจนลืมชื่นใจความเก่งความน่ารักของลูก
สิ่งของเหล่านี้ดูธรรมดาและดูเหมือนเป็น "หน้าที่" ที่เราต้องกระทำ ทั้งๆ ที่บางครั้งทำให้เราหงุดหงิดพอควรเลย...

ตัวหนูดีเป็นคนเกลียดการล้างจานมาก เพราะไม่ชอบความเหนอะของคราบอาหารและความสากมือหลังจากล้างจานเสร็จ ถึงขนาดมีกฎประจำใจเลยว่า ผู้ชายคนไหนจะมาขอหนูดีแต่งงาน หนูดีจะให้ล้างจานให้ดูก่อน...

แถมอาจมีการเซ็นสัญญากันว่า หนูดียินดีทำอาหารทุกชนิดแต่ฝ่ายชายต้องรับอาสาเป็นผู้ล้างจาน...

จนกระทั่งวันหนึ่งหนูดีได้ไปปฏิบัติธรรมในวิถีเซน การไปอยู่วัดครั้งนั้น ทุกคนต้องล้างจานเอง...

พระสอนว่า เวลาล้างจานเราต้องการอะไรจากการล้างจาน...
คำตอบของพวกหนูดี คือ เราต้องการให้จานสะอาด (แหม ถามอะไรตอบง่ายอย่างนี้ ก็มันชัดเจนอยู่แล้วใช่ไหมคะ)...

แต่ท่านบอกว่า ตอบผิดค่ะ ...
อ้าว ถ้าไม่อยากให้จานสะอาดแล้วจะล้างไปทำไมคะ หนูดีงงมาก...

ท่านตอบว่า จากนี้ไป ขอให้ล้างจานเพื่อล้างจานได้ไหม...
ทำไมต้อง "ล้างจานเพื่อล้างจาน" กว่าหนูดีจะเข้าใจและทำได้ก็ผ่านไปจากนั้นนานแสนนาน และทุกวันนี้หนูดีก็ยังฝึกเป็นประจำ...

เคล็ดอยู่ตรงนี้เองค่ะ หากเราล้างจานเพื่อต้องการให้จานสะอาด ก็เหมือนกับเราโยนทิ้งปัจจุบันแล้วรอให้ความสุขเกิดขึ้นในอนาคต แต่ปัจจุบันคือความทุกข์ที่ต้องอยู่กับจานสกปรก เราจะมีความสุขก็ต่อเมื่อจานสะอาดแล้วเท่านั้น ...

สรุปว่าใช้ชีวิตแค่กับเป้าหมาย รอให้เป้าหมายเป็นผลแล้วค่อยยอมปล่อยใจให้เป็นสุข แต่หากเราเปลี่ยนมาเป็นทำใจให้สุขในขณะล้างจาน จิตจดจ่ออยู่กับน้ำ ฟองน้ำและจาน...เป็นสุขอยู่ตรงนั้น

ซึ่งหลังจากครั้งแรก พระท่านก็สอนที่สูงขึ้นไปอีกว่า จินตนาการดูสิว่า จานเป็นพระพุทธรูปและเรากำลังชำระล้างท่านให้สะอาดอยู่...

น่ารักมากเลยค่ะ ไม่เห็นต้องรอวันสงกรานต์แล้วค่อยสรงน้ำพระ ถ้าคิดอย่างนี้ได้ ความสุขเล็กๆ ก็เกิดขึ้นได้ตลอดวัน

ในการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและมีความสุข...
หนูดีคิดว่า เราต้องแยกให้ออกระหว่างวิถีและเป้าหมายก่อน ...
คนส่วนใหญ่มักเอาความสุขไปผูกไว้กับ "เป้าหมาย" แต่หลงลืมว่า เวลาเกือบทั้งหมดในชีวิตอยู่ที่ "วิถี" ในการไปถึงเป้าหมายนั้น เหมือนเมื่อก่อนหนูดีตั้งเป้าไว้ว่า จะเรียนให้ได้คะแนนดีๆ ให้ได้เกียรตินิยม...

และระหว่างภาคเรียนจะต้องทนทุกข์ทรมานขนาดไหนหนูดีไม่มีหวั่น เพราะเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนมาก...

พอสอบเสร็จโล่งอกสบายใจ ได้เกรดดีๆ ก็ดีใจอยู่แผล็บเดียวเดี๋ยวก็เปิดเทอมอีกแล้ว...
จะเป็นจะตายต่อไปอีกเทอม...

พอมาดูจริงๆ แล้วเรียนปริญญาตรีเราจะได้เห็นเกรดตัวเองหลักๆ ก็ 8 ครั้ง โอ้โห เวลา 4 ปี จะยอมให้ตัวเองมีความสุขใหญ่ๆ แค่ 8 ครั้ง ก็ดูเป็นชีวิตที่เศร้าสร้อยไปหน่อยนะคะ

ดังนั้น การกลับมาปรับ "วิถี" ให้เรามีสุขขึ้นในระหว่างทางกลับทำให้ดัชนีความสุขมวลรวมของชีวิตเราพุ่งสูงขึ้นอีกมาก เมื่อหารเฉลี่ยแล้วทั้งชีวิตเราน่าจะมีความสุขขึ้นอีกมากนะคะ ...

เดี๋ยวนี้หนูดีเลยมีกฎในการใช้ชีวิตว่า "วิถีคือเป้าหมาย" พูดง่ายๆ ว่า การทำใจให้สุขเป็นประจำวัน มีสุขในวิถี นั่นแหละคือเป้าหมายของหนูดี ส่วนเป้าหมายใหญ่ๆ ภายนอกก็ยังมีอยู่ค่ะ ไม่ได้ทิ้งหายไปไหน หนูดียังคงวางแผนชีวิตและมีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่เช่นเดิม...

อาจจะดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะเป้าหมายเหล่านั้นไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะตัวหนูดีคนเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่ยังรวมคนอื่นๆ ในสังคมเข้ามาอีกด้วย และหนูดีไม่รอให้ "เป้าหมายสำเร็จ" แล้วค่อยเป็นสุข...

ไม่มีกฎอะไรกำหนดนี่คะว่าต้องรอ ก็เลยขอเป็นสุขเรื่อยๆ ดีกว่า

ท่าน ติช นัท ฮันท์ พูดเรื่องนี้ไว้ดีมาก...หนูดีเอามาเขียนเตือนใจตัวเองหน้าหนังสือ "ขอบคุณสรรพสิ่ง" ที่เขียนก่อนนอนเลยค่ะว่า

"ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่ปาฏิหาริย์คือการเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
หนูดีเห็นด้วยอย่างมาก เพราะชีวิตเราเต็มไปด้วยเรื่อง "ธรรมดา" เช่น ตื่นมาอาบน้ำ แปรงฟัน ขับรถไปทำงาน กินอาหารเที่ยงกับเพื่อนในที่เดิมๆ ตอนเย็นกลับมาก็เห็นหน้าภรรยาหรือสามีคนเดิมๆ ใส่ชุดธรรมดาๆ...หน้าตาเราหรือก็ธรรมดาๆ...ใช่ค่ะ เราส่วนใหญ่แล้วก็เป็นคนธรรมดาๆ มีชีวิตธรรมดาๆ กันทั้งนั้น
แต่ถ้าความ "ธรรมดา" นี้หมดไปล่ะคะ
เช่น อยู่ดีๆ ลูกเราเกิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือสามีเราถูกรถชนตาย หรือเราถูกไล่ออกจากงานที่เราเบื่อแสนเบื่อ...

เรื่องก็จะ "ไม่ธรรมดา" ไปในทันที และในเวลานั้นเอง
เราจะหวนมาคิดเสียดายความ "ธรรมดา" จนใจแทบจะขาด...หนูดีไม่ได้พูดเองเออเองนะคะ

แต่เพราะหนูดีอยู่ในอาชีพที่ได้เห็นความพลัดพรากสูญเสียในครอบครัวมาเยอะมาก จนเกิดเป็นกฎประจำใจเลยว่า ให้เรารีบชื่นชมกับความ "ธรรมดา" ที่เรามีและใช้ชีวิตประหนึ่งว่า

สิ่งนั้นคือสิ่งมหัศจรรย์ของจักรวาล เพราะสิ่งธรรมดาๆ แท้จริงแล้วคือสิ่งที่พิเศษที่สุดแล้วค่ะ

วันนี้ หนูดีขอชวนแฟนๆ คอลัมน์ลองมองหาสิ่งธรรมดาๆ สักสองสามสิ่งที่เรามองข้ามไปแล้วลองคิดขอบคุณเขาไหมคะ เช่น วันนี้เราไม่ปวดฟันเลย ขอบคุณฟันที่อยู่อย่างปกติ หรือวันนี้ลูกของเรายังคงมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้า เรามีความสุขจัง หรือแม้แต่ วันนี้รถของเรายังไม่ถูกชน โชคดีจังเลย...

เรื่องสุดท้ายนี่หนูดีคิดเป็นประจำเลยค่ะ เพราะในโลกนี้ หนูดีเป็นหนึ่งในคนที่รถชอบโดนชนประจำขนาดขับช้าเหมือนเต่าคลาน ดังนั้น หากวันไหนรถหนูดีอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แค่ได้มองเห็น ก็เป็นสุขแล้วค่ะ