1
2

ว่าด้วย ‘โรค’ ร้อน!





[High Quality]Wonder Girls(원더걸스)
So Hot (With Full Lyrics)




ว่าด้วย ‘โรค’ ร้อน!


ล่วงเข้าสู่ฤดูร้อน สภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ใครต่อใครไม่อยากพาตัวไปออกแดด หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง แต่สำหรับคนบางกลุ่มที่ต้องทำกิจกรรมหรือประกอบอาชีพท่ามกลางแสงแดด พึงรู้ไว้ว่า ร่างกายของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มโรคจากแดด
หรือความร้อน ประกอบด้วย ตะคริวแดด เพลียแดด และลมแดด


เริ่มรู้จักกับ ตะคริวแดด อาการขั้นเบา แต่ก็นำความเจ็บปวดมายังกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง ต้นขา ไหล่ และหลัง โดยเกิดจากการทำกิจกรมหรือออกกำลังกายกลางแดดจ้าเป็นระยะเวลานานจนมีเหงื่อออกมาก แต่ร่างกายกลับไม่ได้รับน้ำหรือเกลือแร่ทดแทนเหงื่อที่เสียไปในปริมาณที่เพียงพอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการเกร็ง และเป็นตะคริว

ส่วนความอันตรายจากภัยร้อนที่หนักกว่าตะคริวแดด คือ เพลียแดด เพราะร่างกายสูญเสียน้ำมาก เหงื่อออกน้อยจนเกิดอาการปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเบาแต่เร็ว ผิวหนังเย็นและชื้น บางรายมีอาการตะคริวแดดร่วมด้วย

และอาการซึ่งอันตรายที่สุด สามารถทำให้เสียชีวิตได้ คือ ลมแดด หรือฮีทสโตรก อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติเกิน 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะรู้สึกกระหายน้ำมาก ตัวร้อนจัด เพ้อหรือหมดสติ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง ช็อค ผิวหนังแห้งและร้อน ระดับความรู้สึกตัวจะลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว กระสับกระส่าย เอะอะ ก้าวร้าว หมดสติ เกร็ง ชัก ไม่มีเหงื่อออก

สาเหตุที่ร่างกายเกิดภาวะฮีทสโตรกเป็นเพราะขาดน้ำ ขาดเกลือแร่ ไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ทัน และส่งน้ำไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้

สำหรับผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเกิด 3 อาการที่มากับสภาพอากาศสุดร้อน นอกจากจะเป็นผู้ที่ออกไปอยู่กลางแจ้งแล้ว คนอ้วน ที่มีไขมัยเป็นฉนวนความร้อนทำให้ร่ายกายระบายความร้อนได้ช้า เด็กและคนชรา ที่ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องกินยาควบคุมความดัน เช่น ยาขับปัสสาวะ และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จัดเป็นกลุ่มที่ควรระมัดระวังไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เกลือแร่ เป็นพิเศษ

takecareDD@gmail.com
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์







หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท



โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท




หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
ชื่ออาการที่ได้ยินกันมานาน แต่สักกี่คนที่จะรู้จักความผิดปกติอันนำมาซึ่งอาการปวดหลัง แขน และขาบ้าง


หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ...

สารพันวันละโรค วันนี้จึงขอเริ่มจากการแนะนำให้คุณผู้อ่านรู้จัก หมอนรองกระดูก อวัยวะรูปร่างคล้ายหมอนหนุนศีรษะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 นิ้วเศษๆ และหนาราว 1 เซนติเมตร เชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ตั้งแต่คอไปจนถึงก้นกบ ทำหน้าที่รองรับแรงกดจากกระดูกสันหลังทั้งหมด


หมอนรองกระดูก ยังมีไส้ด้านในอ่อนนุ่มอยู่ตรงกลาง เรียกว่า นิวเคลียส พัลโพสุส ในวัยเด็กไส้นุ่ม ๆ นี้จะมีลักษณะคล้ายเจล แต่จะแห้งลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้คุณสมบัติการยืดหยุ่นลดลงและปริแตกฉีกง่ายตามวัยที่มากขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


ด้วยความที่อวัยวะส่วนนี้อยู่ใกล้เส้นประสาท เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังแตกเคลื่อนจึงทำให้ นิวเคลียส พัลโพสุส ถอยหลังออกมากดทับเส้นประสาท เกิดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ รู้สึกปวดหลัง ขา หรือแขน

โอกาสที่หมอนรองกระดูกสันหลังจะเคลื่อนทับเส้นประสาทนั้นเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ หากคุณเคลื่อนไหวร่างกายผิดวิธี ตกจากที่สูง ลื่นล้มหลังกระแทกพื้น มีน้ำหนักตัวมากจนทำให้กระดูกสันหลังต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป อายุที่มากขึ้นทำให้เกิดความเสื่อม ขาดการออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างจำกัด เช่น นั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ รวมทั้งภาวะตึงเครียด


สำหรับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากขณะไอหรือจาม โดยผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้นอนราบ แต่ถ้ามีอาการปวดหลังเจ็บร้างลงขา (ต่ำกว่าเข่า) เพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ร่วมกับอาการชาและอ่อนแรง เกิดความผิดปกติกับระบบขับถ่าย เช่น ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ หรือท้องผูก แม้จะใช้ยาแก้ปวดหลังนานกว่า 1 สัปดาห์ก็ยังไม่หาย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน


ทั้งนี้ นายแพทย์วีระพันธ์ ควรทรงธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการปวดดังกล่าวว่า เป็นหมู่โรคเกี่ยวกับหลังและคอ ในการวินิจฉัยของแพทย์จะพบว่า อาการปวดนั้นจะเกิดขึ้นกับ 2 บริเวณ ประกอบด้วย ช่วงเอว-ก้นกบ จะลามลงไปที่ขา และช่วงคอ-สะบัก-หัวไหล่ ซึ่งความเจ็บปวดจะแผ่ซ่านไปที่แขน

สำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนั้นมีหลายวิธี
โดย นพ.วีระพันธ์ ควรทรงธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ระบุว่า อาการปวดด้วยโรคดังกล่าวสามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เริ่มจากการให้ยาระงับปวดลดการอักเสบ ทำกายภาพ และฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท หรือการฝังเข็มสลายจุดปวด แต่วิธีเหล่านี้จะต้องรักษาแล้วหายภายใน 6-12 สัปดาห์


กรณีที่ยังไม่หาย วิธีการรักษาขั้นต่อไปคือการผ่าตัด เนื่องจากอาการเข้าสู่ขั้นเรื้อรัง หากไม่รีบแก้ไขจะส่งผลให้เส้นประสาทช้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบลง

สำหรับการผ่าตัดที่นิยมนำมาใช้รักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท มักทำโดยการผ่าตัดส่องกล้องเอ็นโดสโคป ที่มีเลนส์กำลังขยายสูงและให้แสงสว่างช่วยให้แพทย์เห็นลักษณะภายในได้ชัดเจน โดยหลังจากผ่านการเอ็กซเรย์เพื่อกำหนดจุดของแผลแล้ว แพทย์จะให้ยาสลบแก่ผู้ป่วย ก่อนกรีดแผลยาวเพียงแค่ 8 มิลลิเมตร เพื่อสอดเครื่องมือเข้าไปจัดการกับหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาทโดยไม่ต้องเลาะกล้ามเนื้อ หรือตัดกระดูกสันหลังบางส่วนทิ้งเพื่อสอดเครื่องมือ และไม่ทำให้เสียเลือดมาก


ประโยชน์ของการผ่าตัดส่องกล้องเอ็นโดสโคปที่ใช้เวลาเพียง 30 นาที ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ยังช่วยลดระยะเวลาการพักฟื้นของผู้ป่วยให้เหลือเพียง 12-24 ชั่วโมง โดยหลังผ่านการผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถลุกเดินได้ด้วยตนเองทันที

แม้การผ่าตัดรักษาจะช่วยแก้ไขอาการปวดหลัง แขนและขาที่ต้นเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ คุณผู้อ่านก็ไม่ควรมองข้ามวิธีการนอน นั่ง ยืนอย่างถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากอยากปรับอิริยาบถให้ถูกวิธี




สาเหตุหลัก ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทก็เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายผิดวิธี ไม่ว่าจะเป็นท่าทางการนอน การนั่ง หรือการยืน และเพื่อเป็นการป้องกันอาการปวดหลังที่ลุกลามไปสู่แขนและขา คุณผู้อ่านควรปรับท่าทางต่าง ๆ ให้มีลักษณะดังต่อไปนี้

เริ่มจากท่านอน หากนอนหงาย ควรงอสะโพกและเข่า ให้มีหมอนรองใต้โคนเข่า บริเวณแผ่นหลังจะต้องเหยียดราบติดที่นอน ส่วนการนอนตะแคงข้างนั้น เข่าจะต้องงอ และต้องกอดหมอนข้าง


ส่วนท่าทางการนั่ง ให้นั่งจนเต็มที่รองก้น กรณีที่รองก้นยาวให้นั่งแล้วข้อพับขาชิดกับที่นั่งได้พอดี ส่วนหลังต้องตั้งตรงและพิงพนัก ความสูงของเก้าอี้ที่เลือกนั่งจะต้องให้ผู้นั่งสามารถวางฝ่าเท้าขนานกับพื้นได้ทั้งฝ่าเท้า พนักพิงต้องสูงถึงสะบัก แต่ทำมุมเอียงไม่เกิน 100 องศากับส่วนรองก้น


สำหรับท่านั่งขณะขับรถ ยิ่งถ้าเป็นการขับในระยะไกล ไม่ควรเลื่อนเบาะให้ไกลเกินไป เพราะจะทำให้หลังงอ โดยจะต้องนั่งให้หลังส่วนล่างชิดกับเบาะ พนักพิงไม่เอียงเกิน 30 องศา ทั้งนี้เบาะนั่งควรยกด้านหน้าให้สูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย ที่สำคัญควรพักทุก ๆ 1 ชั่วโมง และอย่ายกของหนักทันทีที่หยุดขับ

ถ้าเป็นการนั่งอ่านหรือเขียนหนังสือ ต้องสามารถวางแขนและข้อศอกบนโต๊ะได้อย่างสบาย ช่วยลดความเมื่อยล้า เก้าอี้ที่นั่งควรมีระดับความสูงที่พอเหมาะกับการวางแขน และควรมีที่วางเท้ากว้าง ๆ ให้เท้าสามารถเคลื่อนไหวได้

มาถึงท่ายืน ให้น้ำหนักตัวค่อนมาทางส้นเท้า แขม่วท้องอกผายไหล่ผึ่ง จะทำให้หน้าอกยื่นไปข้างหน้า แต่บริเวณสะโพกจะแอ่นน้อยที่สุด กรณีที่ยืนเป็นเวลานาน ให้ลงน้ำหนักที่ขาข้างใดข้างหนึ่งและสลับกันไป หรือวางพักเท้าบนที่สูงราว 1 คืบ

การสะพายกระเป๋าเป้ ควรจัดให้สายเป้ตึงกระชับกับหลัง และควรเลือกแบบที่มีสายรัดส่วนเอวช่วยถ่ายเทน้ำหนัก โดยไม่บรรจุของจนกระเป๋ามีน้ำหนักมากเกินไป

สุดท้ายเป็นการก้มเก็บของหรือยกของหนัก จะต้องย่อตัวและงอเข่าทั้งสองข้าง โดยใช้แรงขาช่วยยกของขึ้น ขณะลุกขึ้นให้ลุกด้วยกำลังของขาสองข้าง หลังเหยียดตรงตลอดเวลา

หากปรับอิริยาบถตามคำแนะนำร่วมกับการจัดสรรเวลาในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าคุณจะนอน นั่ง หรือยืนอย่างไร คุณก็จะไม่ต้องพบกับปัญหากวนตัวอย่างอาการปวดหลังอีกต่อไป.

takecareDD@gmail.com
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์




“Little Mermaid” Success




Milagros Cerrón



“Little Mermaid” Success

This girl is known as the “Little Mermaid”. Sweet baby Milagros Cerron was born with a rare birth defect: her legs (bones, muscles and arteries) were joined together. She underwent three difficult surgeries in the last 5 years. A 6-year-old Cerron always smiles and enjoys her life no matter how hard it might be for her.


izismile.com





1
2

Wish You Happinessss

Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. 
If you love what you are doing, you will be successful. 

~ Albert Schweitzer ~

 คัมภีร์ 5 ห่วง  วิถีแห่ง "ซามูไร" วิถีแห่งนักรบ "บูชิโด"   แนวคิดของตัวเม่น   GOOD LUCK สร้างแรงบันดาลใจเพื่อความสำเร็จ ในชีวิตและธุรกิจด้วยตัวคุณเอง    Why complicate life ?   3 x 8 = เท่าไหร่ ?????   "ฉันชื่อ..โอกาส"

Wish You Happinessss