How RFID works
เจิดป้ายวงกลม ฝังชิพ RFID ตามรถหายได้
ฮือฮาป้ายภาษีรุ่นใหม่ฝังชิพ "RFID Chip" ตามรถหายได้-จ่ายเพิ่มอีก120บาท เริ่มใช้ ส.ค.นี้ อีกส่วนจะเป็นสติกเกอร์ "SMART PASS" สำหรับติดบริเวณโคมไฟหน้ารถ... 21 ก.ค. นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมได้พัฒนาเครื่องหมายการเสียภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) รูปแบบใหม่ Radio Frequency Identification (RFID) เป็นทางเลือกใหม่ให้กับเจ้าของรถยนต์ รวมถึงผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ธุรกิจรถเช่า ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ สามารถตรวจสอบและติดตามความเคลื่อนไหวของรถ
ทั้งนี้ โครงการนี้ไม่ได้บังคับ แต่ให้ทำตามสมัครใจ โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เมื่อชำระภาษีรถยนต์ประจำปีจะเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 120 บาท จะได้รับเครื่องหมายการเสียภาษีรถยนต์ซึ่งภายในจะบรรจุ RFID Chip เป็นข้อมูลเกี่ยวกับรถทั้งหมด สำหรับติดไว้ที่กระจกหน้ารถ อีกส่วนจะเป็นสติกเกอร์ หรือ SMART PASS ซึ่งมี RFID บรรจุไว้เช่นกัน สำหรับติดบริเวณโคมไฟหน้ารถ
สำหรับการทำงานของระบบ RFID นั้น จะมี Transceiver ซึ่งเป็นเครื่องอ่าน ที่เชื่อมต่อด้วยระบบคลื่นวิทยุมีทั้งการรับและส่งสัญญาณวิทยุ สำหรับตรวจสอบและติดตามรถยนต์ที่ใช้ระบบ RFID ระยะความเร็วรถไม่เกิน 200 กม.ต่อ ชม. โดยจะมีการติดตั้งเครื่องอ่านสัญญาณตามจุดต่างๆบนถนนสายหลัก เบื้องต้นกำหนดอย่างน้อย 450 จุดทั่วประเทศ กรณีพบรถที่มีปัญหา เช่น รถที่ถูกโจรกรรม หรือรถที่สวมทะเบียนวิ่งผ่านจะมีระบบแจ้งเตือนให้ทราบทันที เพื่อความสะดวกต่อการตรวจสอบและติดตามรถสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยจะเริ่มให้บริการที่กรมการขนส่งทางบก วันที่ 11 ส.ค.นี้เป็นต้นไป และจะขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ภายในเดือน ก.ย. 2553 สำหรับการชำระภาษีรถยนต์แบบเดิมยังให้บริการตามปกติ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวกรมได้เชิญชวนเอกชนมาลงทุน มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 3 ราย ปรากฏว่าบริษัท กลกร จำกัด เสนอเงื่อนไขดีที่สุด ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี
http://www.thairath.co.th/content/region/98039
ระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID (Radio Frequency Identification) คือระบบชี้เฉพาะอัตโนมัติ (Automatic Identification) แบบไร้สาย (Wireless) ระบบนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์สองส่วน คือ ส่วนเครื่องอ่าน (Reader) และส่วนป้ายชื่อ (Tag) โดยการทำงานนั้นเครื่องอ่านจะทำหน้าที่จ่ายกำลังงานในรูปคลื่นความถี่วิทยุให้กับตัวบัตร ยังผลให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในสามารถส่งข้อมูลจำเพาะที่แสดงถึง "Identity" กลับมาประมวลผลที่ตัวอ่านได้
โครงสร้างการทำงานของระบบ RFID แบบ Inductive Coupling ความเป็นมาและเหตุผล ในปัจจุบัน การใช้บัตรอัจฉริยะ (SmartCard) และระบบตรวจสอบรหัสโดยใช้ความถี่วิทยุ (RFID) เป็นที่ยอมรับอย่างสูงว่า เป็นเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานที่ต้องการการบ่งบอกความแตกต่างหรือข้อมูลจำเพาะของแต่ละบุคคล ที่สามารถทำงานได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และมีความเป็นอัตโนมัติกว่าระบบตรวจสอบรหัสในระบบอื่นๆ เช่น รหัสแบบแท่ง (Barcode) การใช้งานที่ง่ายและยังเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเสริมในเชิงพาณิชย์ด้านต่างๆ อีกทั้งยังสอดคล้องกับเทคโนโลยีทางการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ยังผลให้การขยายตัวของการใช้งาน RFID/SmartCard สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด
วัตถุประสงค์ของโครงการ โครงการ RFID เป็นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์วงจรรวมชิปเดี่ยวเพื่อใช้ในบัตรอัจฉริยะ (SmartCard Chip) ชนิดไร้สัมผัส (Contactless) เพื่อสร้างต้นแบบให้กับผู้ประกอบการ RFID/SmartCard ในประเทศไทย นำไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ เป็นการยกระดับขีดความสามารถในการพัฒนา ออกแบบ และผลิตอุปกรณ์ด้านวงจรรวม และสนับสนุนให้เกิดผลผลิตทางการออกแบบวงจรรวมของสถาบันวิจัยในประเทศ ซึ่งเป็นฐานสำหรับการพัฒนาบุคลากรทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมากให้กับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
คุณสมบัติของต้นแบบชิป RFID เป็นระบบชี้เฉพาะด้วยความถี่วิทยุบนชิปเดี่ยว เป็นระบบไร้สัมผัส (Contactless) ใช้งานในย่านความถี่ 13.56 MHz มีหน่วยความจำพรอมอนุกรมแบบโปรแกรมได้ครั้งเดียวขนาด 64 บิต ใช้การเข้ารหัสข้อมูลแบบอินเวอร์สแมนเชสเตอร์ขนาด 70 กิโลบิตต่อวินาที มีระบบป้องกันการชนกันของข้อมูล (Anti-Collision Feature) ขนาดได (Die) 2,270 x 2,620 ตารางไมครอน กินกำลังไฟ140 ไมโครวัตต์ ที่ 3.3 โวลต์ ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีซีมอส 0.8 ไมครอน
การประยุกต์ใช้งาน ระบบการบอกรหัสสัตว์เลี้ยง (Animal identification) ระบบทะเบียนประวัติ บัตรประชาชน (e-Citizen) ระบบข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล (Health Care) ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (e-Ticket) ระบบบัญชีรายการอัตโนมัติ (Automated Inventory) ระบบบอกรหัสพนักงาน (Automatic Teller) ระบบอนุญาตเข้าออกสำนักงาน (Security Access) ใช้แพลตฟอร์มออกแบบ Cadence ED
http://www.nectec.or.th/rd/electronics/be206-45/be206-45.php
ข้อมูล RFID (Radio Frequency Identification) อย่างละเอียด http://www.student.chula.ac.th/~49801110/interests.htm
|