วันแม่, แม่ (Mother's Day)


อิ่มอุ่น



เพลง : อิ่มอุ่น
อัลบั้ม : ชุดลำลอง
ศิลปิน : ศุ บุญเลี้ยง
อุ่นใดใดโลกนี้ไม่มีเทียบเทียม
อุ่นอกอ้อมแขนอ้อมกอดแม่ตะกอง
รักเจ้าจึงปลูกรักลูกแม่ย่อมห่วงใย
ไม่อยากจากไปไกลแม้เพียงครึ่งวัน
* ให้กายเราใกล้กันให้ดวงตาใกล้ตา
ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพันธ์
อิ่มใดใดโลกนี้ไม่มีเทียบเทียม
อิ่มอกอิ่มใจอิ่มรักลูกหลับนอน
น้ำนมจากอกอาหารของความอาทร
แม่พร่ำเตือนพร่ำสอนสอนสั่ง
**ให้เจ้าเป็นเด็กดี ให้เจ้ามี่พลัง
ให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป
***ใช่เพียงอุ่นท้องที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่น
อุ่นไอรัก อุ่นละมุน
ขอน้ำนมอุ่นจากอกให้ลูกดื่มกิน
( ซ้ำ * , ** ,*** )


เรียงความเรื่องแม่


วันแม่, แม่ (Mother's Day)
แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิด และโดยทั่วไป คือ แม่ที่เป็นบุคคลสำคัญของครอบครัวแบบ พ่อ แม่ ลูก เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกเพราะเป็นผู้ให้กำเนิด แม่ทั่วไปมีหน้าที่ให้ครอบครัวคือ เลี้ยงลูก ดูแลบ้าน
คนไทยบางคนมักเรียก แม่ ของตัวเองว่า "คุณแม่" ซึ่งถือเป็นคำที่สุภาพกว่าการเรียกว่า "แม่" ห้วน ๆ ในภาษาไทยบางครั้งคำว่า แม่ ถูกใช้เรียก ผู้หญิง ทั่วๆไป หรือ จำเพาะเป็นกลุ่มๆ เช่น แม่บ้าน แม่นม หรือบางครั้งก็ใช้เรียกสิ่งที่เป็นตัวหลักของสิ่งอื่น เช่น แม่ทัพ แม่งาน และบางครั้งก็เรียกสิ่งที่ให้กำเนิดสิ่งอื่นๆในธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ

มีบทประพันธ์แปลเกี่ยวกับความรักของแม่ของพระราชธรรมนิเทศ ไว้ดังนี้
" ในโลกอันหนาวทรวงลวงหลอกนี้
ช่างไม่มีธารรักอันศักดิ์สิทธิ์
ที่ซึมซาบดื่มด่ำอมฤต
เหมือนในจิตของแม่รักแท้จริง "

ประวัติความเป็นมาของวันแม่
ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อ ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
สำหรับในประเทศไทย
นั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่ โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...

นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่นการออกเสียงคำว่าแม่ของแต่ละภาษา มักใช้อักษร "ม" เหมือนกันหมดเช่น แม่หรือว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วให้กำเนิดลูก และลูกก็จะเรียกผู้หญิงคนนั้นว่าแม่โดยทั่วไปแล้วแต่ละภาษามักจะใช้อักษร "ม" เหมือนกันหมดเช่น
คนไทย จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "แม่"
ภาษาอังกฤษ จะเรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาเธอร์ (Mother)" หรือ "มัม (Mom)"
ภาษาสันสกฤต จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มารดา"
ภาษาบาลี จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาตา"
คนจีน จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ม่าม้า"
คนแขก จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามี้"
คนฝรั่งเศส จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามอง"
คนญี่ปุ่น จะเรียกผู้ให้กำเนิดว่า "โอก้าซัง"
คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ออมม่า"
คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "แม๊" ออกเสียงใกล้เคียงภาษาไทยมาก