ลงทุนในทองคำเลือกซื้ออะไรดี



Gold




ลงทุนในทองคำเลือกซื้ออะไรดี



การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาและการเกิดวิกฤติของระบบสถาบันการเงินโลก ทำให้การลงทุนในทองคำเป็นที่นิยมมากขึ้นจนถึงกับมาการต่อคิวซื้อทองคำในเยาวราช แต่หลายครั้งลูกค้าไม่ได้ทองกลับบ้านได้เพียงตั๋วที่สัญญาว่าจะให้ทองคำในอนาคตข้างหน้า จากความต้องการในการลงทุนในทองคำที่มากขึ้นจนทำให้ผู้ค้าทองคำไม่สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ ทำให้คำมีคำถามขึ้นว่าการลงทุนในทองคำมีทางเลือกอื่นหรือไม่ ซึ่ง Money Clinic ได้รับเกียรติจาก คุณกัมพล จันทวิบูลย์ ผู้จัดการ กองทุนอวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด แนะนำทางเลือกในการลงทุนทองคำที่มีอยู่ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้อ่านได้ดีขึ้น

หากต้องการลงทุนในทองคำอยากทราบว่าทางเลือกการลงทุนในทองคำมีอย่างไรบ้าง แต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

1. ลงทุนในทองคำโดยตรง

ผู้ที่สนใจลงทุนจะทำการซื้อขายทองคำและนำมาเก็บไว้ด้วยตนเอง ซึ่งทองคำที่จะซื้อสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักคือ


1.1 การลงทุนในทองคำแท่ง ( Bullion )

การลงทุนในทองคำแท่งถือว่าเป็นการลงทุนที่มีมาแต่เดิม ในบางประเทศ เช่น ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ และ สวิตเซอร์แลนด์ สามารถซื้อขายทองคำแท่งโดยวิธี over the counter ( OTC ) ได้ตามธนาคารใหญ่ๆ หรือซื้อผ่านตัวแทน ( Bullion Dealer ) โดยทองคำแท่งมีหลายขนาดให้เลือก ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ตั้งแต่ขนาดเล็ก 1 กรัม , 1กิโลกรัม ถึง 12.5 กิโลกรัม และส่วนความบริสุทธิ์ของทองแท่งอยู่ระหว่าง 99.00 - 99.99% ในประเทศไทยทองคำแท่งที่ขนาดเล็กที่สุดประมาณ 5 บาท แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 10-25บาท ความบริสุทธิ์ 96.5% และในระยะหลังเริมมีการขายทองคำแท่งละ 1 กิโลกรัม และมีความบริสุทธิ์ 99.99%


1.2 การลงทุนในเหรียญทองคำ ( Coin )

การลงทุนในเหรียญทองคำเป็นการลงทุนที่เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้สะสมทองคำ โดยราคาของเหรียญทองคำขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเหรียญ บวกเพิ่มเล็กน้อยด้วยค่า Premium เหรียญทองคำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม ได้แก่ South African Krugerrand , Canadian Gold Maple Leaf , Amercan Gold Buffale , American Gold Eagle , Chinese Panda , Austrian Phiharsmonic และ Australian Gold Nugget ซึ่งในประเทศไทยการลงทุนดังกล่าวยังไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากนัก


1.3 การลงทุนในทองรูปพรรณ

ในแถบยุโรปหรืออเมริกา จะไม่นิยมที่จะซื้อทองรูปพรรณทั้งเพื่อการลงทุน หรือการนำมาสวมใส่ แต่จะใช้ทองคำเป็นส่วนหนึ่งของการนำมาประกอบเป็นเครื่องประดับ ซึ่งแตกต่างจากประเทศในแถบเอเชีย ที่มีความนิยมในการสมใส่ทองรูปพรรณ ทำให้ทองคำที่นำมาเป็นเครื่องประตับนั้นมักจะมีมูลค่าไกล้เคียงกับทองคำแท่ง มากกว่าในกลุ่มตะวันตก ข้อดีของการลงทุนในทองรูปพรรณ คือได้ประโยชน์จากการนำมาสวมใส่ หากราคาทองคำสูงขึ้นก็สามารถนำมาขายทำกำไรได้ด้วย แต่ก็มีข้อเสียตรงที่จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าทองแท่ง เนื่องจากทางร้านบวกค่าแรง หรือที่เรียวว่า “ค่ากำเหน็จ” เข้าไปด้วย โดยในแง่การลงทุนค่ากำเหน็จดังกล่าวจะเปรียบเสมือนส่วนต่างระหว่างราคาขาย (Offer) กับราคาซื้อ (Bid) ซึ่งส่วนต่างดังกล่าวเปรียบเสมือนต้นทุนในการลงทุน ในประเทศไทยในอดีตค่ากำเหน็จทองคำเพิ่มมากขึ้นตามราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นเป็น 600-700บาท ซึ่งค่ากำเหน็จดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้ทองคำรูปพรรณไม่เหมาะกับการลงทุนเพราะหากเปรียบเทียบค่ากำเหน็จเป็นอัตราส่วนกับราคาทองที่ซื้อจะอยู่ที่ประมาณ 5 % ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อทองคำแท่งที่มีส่วนต่างราคาเพียง 100 บาท หรือประมาณ 1 %

ข้อดี
1. เป็นการลงทุนที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้บงทุนมากที่สุด เนื่องจากผลตอบแทนจะมีการเปลี่ยนแปลงเท่ากับผลตอบแทนของทองคำ
2. มีทองคำมาเก็บรักษาไว้ ทำให้มีความรู้สึกสบายใจ

ข้อเสีย

1. มีความเสี่ยงในการตรวจพิสูจน์ทองคำว่ามีความบริสุทธิ์ตามที่ระบุไว้หรือไม่ ซึ่งในประเทศไทยผู้ซื้อมักจะป้องกันความเสี่ยงนี้โดยซื้อจากร้านทองที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะร้านทองคำในเยาราช เนื่องจากการซื้อจากร้านขนาดใหญ่สามรถนำไปขายที่ร้านขนาดเล็กได้แต่หากซื้อจากร้านขนาดเล็กอาจจะไม่สามารถนำไปขายที่ร้านขนาดใหญ่ได้
2. มีความเสี่ยงจากการขนส่งและเก็บรักษา รวมไปถึงมีต้นทุนในการเก็บรักษาในกรณีที่ต้องการซื้อเป็นจำนวนมากและต้องทำการเก็บรักษาที่เซฟของธนาคาร
3. มีความเสี่ยงด้านการผิดนัดส่งมอบ ในกรณีที่ซื้อทองคำและไม่ได้ทองคำแต่ได้ตั๋วทองคำแทนเพราะร้านที่ไปซื้อทองคำอาจจะไม่สามารถส่งมอบทองคำได้ตามที่กำหนด

2. การลงทุนผ่านเครื่องมือทางการเงิน

2.1 การลงทุนใน Gold Account คือการซื้อขายทองคำในลักษณะเดียวกับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ Gold Account มีอยู่ 2 ประเภทคือ

Allocated Account คือการซื้อขายทองคำที่สามารถทำการส่งมอบทองคำกันทันที โดยจะมีการระบุถึงน้ำหนัก ความบริสุทธิ์ และระบุหมายเลขทองคำของทองคำแต่ละแท่งที่ผู้เป็นเจ้าของบัญชีครอบครอง โดยทองเหล่านี้จะถูกเก็บที่ผู้รักษาทรัพย์สิน ผู้ที่มีสิทธิที่จะซื้อ ขายหรือให้ยืมทองคำคือเจ้าของบัญชีเท่านั้น ข้อดีของบัญชีประเภทนี้คือ ไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิต เพราะหากผู้รับฝากทรัพย์สิน (โดยทั่วไปคือธนาคาร) ล้มละลายไป เจ้าของบัญชีสามารถอ้างสิทธิในทองคำแต่ละแท่งของตนทันที แต่ข้อเสียของบัญชีประเภทนี้คือ ผู้เป็นเจ้าของบัญชีจะต้องเสียค่ารักษาทรัพย์สินประมาณ 1-2% ของมูลค่าทองคำและค่าประกันให้กับผู้ดูแลสินทรัพย์ด้วย

Unallocated Account คือบัญชีทองคำที่ไม่ระบุเจ้าของทองที่แน่ชัด ทำให้ทองคำทั้งหมดจะเหมือนเป็นของธนาคารที่ผู้ลงทุนไปเปิดไว้ ดังนั้น ธนาคารสามารถที่จะ ซื้อ ขาย หรือให้ยืมทองคำแก่ใครก็ได้ และผู้เป็นเจ้าของทองคำบัญชีจะมีความเสี่ยงในด้านเครดิต เพราะหากธนาคารล้มละลาย ผู้เป็นเจ้าของบัญชีจะต้องฟ้องร้องสิทธิในทองของตน แต่ถ้าบัญชีประเภทนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และค้ำประกัน
ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีการซื้อขายด้วยวิธีดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฏหมาย แต่ในประเทศสิงคโปร์ การซื้อขายทองโดยวิธีดังกล่าวจะมีการกำหนดขั้นต่ำที่ 1 กิโลกรัม และมี Bid Offer Spread ประมาณ 100 สิงคโปร์ดอลลาร์

2.2 การลงทุนใน Gold Certificates

Gold Certificates คือหนังสือที่ผู้ออก (โดยทั่วไปคือ ธนาคาร) สัญญาว่าจะมอบทองให้อีกฝ่ายหนึ่ง (ผู้ลงทุน) ในอนาคต โดยออกเป็นใบรับรองให้ผู้ลงทุนไม่ได้ครอบครองทองคำจริงๆ แต่จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ทั่วไปของผู้ออก Gold Certificates ในปัจจุบันมีเพียงสถาบันไม่กี่แห่งที่ออก Gold Certificates เช่น Perth Mint Certificate Program (PMCP) ที่ออก Gold Certificate และรับประกันโดยรัฐบาลออสเตรเลีย หรือธนาคารบางแห่งในสิงคโปร์ โดยในสิงคโปร์ Gold Certificate ผู้ลงทุนจะต้องซื้อขั้นต่ำ 1 กิโลกรัม และสูงสุดไม่เกิน 30 กิโลกรัม โดยผู้ออกจะคิดค่าเก็บรักษา 30 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปี อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้แย้งว่า Gold Certificates ก็ยังคงมีความเสี่ยงด้าน Credit ของธนาคารผู้ออก ดังนั้น หากผู้ออกล้มละลายก็จะมีปัญหาในภายหลัง ซึ่งในปัจจุบันการที่ร้านทองคำในประเทศไทยออกตั๋วทองคำให้กับผู้ซื้อจะมีรูปแบบใกล้เคียงกันทำให้มีความเสี่ยงทางด้านเครดิต

2.3 Gold Deposit คือการฝากเงินโดยผู้ฝากจะได้รับผลตอบแทนอ้างอิงกับราคาทองคำที่เปลี่ยนไป และผู้ฝากสามารถเลือกได้ว่าจะถอนเป็นเงินสดหรือถอนเป็นทองคำ ในสิงคโปร์กรณีที่ผู้ฝากต้องการเบิกเป็นทองคำจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อ 1 กิโลกรัม และผู้ฝากจะต้องเสียค่ารักษาบัญชี 0.125 กรัมต่อกิโลกรัมต่อปี หรือ 0.25% แล้วแต่อย่างไรจะสูงกว่า ในประเทศไทยยังไม่มีการฝากเงินในลักษณะดังกล่าว

2.4 Gold Futures และ Options

สัญญาฟิวเจอร์ทองคำ ( Gold futuers) เป็นข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่จะซื้อและขายทองคำ ตามจำนวนคุณภาพ และราคาที่ตกลงกัน ณ เวลาในอนาคต นอกจากนี้สัญญาฟิวเจอร์เป็นสัญญาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์จึงต้องมีการกำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่สำคัญในสัญญาโดยต้นทุนในการทำสัญญาฟิวเจอร์นั้นต่ำกว่าต้นทุนในการลงทุนในทองคำโดยตรง กล่าวคือ ผู้ลงทุนสามารถทำสัญญาฟิวเจอร์ผ่านตลาดแลกเปลี่ยนกลาง โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าราคาสัญญาตามมูลค่าของทองคำทั้งหมด แต่จะมีต้นทุนในการวางเงินหลักประกัน (Margin) แทน

สำหรับสัญญาฟิวเจอร์ทองคำนั้น ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์สินค้าโภคภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ New York Commodities Exchange (COMEX) อยู่ใน New York Mercatile Exchange (NYMEX) และ Tokyo Commodity Exchange (TOCOM)

ข้อดีของ Gold Futures คือ การที่ผู้ลงทุนสามารถทำกำไรในช่วงที่ทองคำอยู่ในช่วงขาลงได้ และความเสี่ยงด้านเครดิตไม่มี เนื่องจากมีสำนักหักบัญชีเป็นตัวกลางในการเรียกเก็บเงินประกันให้กับนักลงทุน

ข้อเสียของ Gold Futures คือ การที่ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาวมีภาระด้านการดำเนินงานจากการที่ต้อง Roll สัญญา Futures เนื่องจากสัญญา Futures ที่มีสภาพคล่องจะเป็นสัญญาที่มีอายุสั้น

2.5 การลงทุนทองคำผ่านกองทุน

กองทุนทองคำ คือ กาองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในทองคำเต็มจำนวน เพื่อให้ราคาหน่วยลงทุนเคลื่อนไหวไกล้เคียงที่สุดกับราคาทองคำโลกเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มีการให้ผู้จัดการกองทุนมาบริหารจัดการ หรือเก็งกำไรในราคาทองคำ เช่น ซื้อทองเมื่อถูก หรือขายทองคำออกเมื่อแพงเหมือนการลงทุนในกองทุนหุ้น หรือตราสารหนี้ทั่วไป แต่อย่างใด ทั้งนี้ ราคาของหน่วยลงทุนจะถูกหนุนหลังโดย ทองคำแท่งที่เก็บรักษาไว้ในห้องมั่นคงชั้นใต้ดินของผู้รักษาทรัพย์สิน โดยกองทุนทองคำแท่งทุกกองทุนที่เปิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นในออสเตรเลีย อังกฤษ แอฟริกาใต้ และสหรัฐฯ ล้วนอยู่ภายใต้หลักการเดียวกันคือ “พยายามที่จะให้ราคาของหน่วยลงทุนขึ้นลงใกล้เคียงกับราคาทองคำโลกมากที่สุด” โดยกองทุนทองคำที่มีชื่อเสียงและมีมูลค่ากองทุนสูงที่สุด ได้แก่ กองทุน SPDR Gold Trust จัดตั้งและจัดการโดยสมาพันธ์ทองคำโลก ( World Gold Council ) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ( New York Stoct Exchang , NYSE ) เมื่อพฤศจิกายน ปี 2004 ซึ่งการลงทุนในกองทุนทองคำมีข้อดีคือ

1. นักลงทุนทั่วไปจะสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ตลอดเวลาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

2. นักลงทุนไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของทองคำ เนื่องจากมีผู้ที่เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแลกองทุน

3. ไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิต เนื่องจากกองทุนลงทุนในทองคำแท่งจริงและมีการนำทองคำมาเก็บรักษาไว้แยกเป็นทรัพย์สินของกองทุนต่างหาก มิใช่การลงทุนในตั๋วทองคำ

4. ผู้ลงทุนไม่มีภาระในการเก็บรักษาทองคำ ในปัจจุบัน บลจ.ทหารไทย มีกองทุนทองคำเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน โดยกองทุนเป็น ทหารไทย โกลด์ ฟันด์ของ บลจ.ทหารไทย จะเน้นการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR GORLD TRUST ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่ง (Gold Bullion) เพื่อให้ผลตอบแทนของกองทุนใกล้เคียงกับการลงทุนในทองคำแท่งให้มากที่สุด ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ www.tmbam.com

ขอบคุณ หนังสือ การเงินธนาคาร No.320 เดือนธันวาคม 2551 หน้า128
http://news.nip12.com/?p=193