::::: คุณรู้จักหมู่เลือด Rh- Negative ดีแค่ไหน :::::


รักโลกาภิวัฒน์
Ost. O-negative - รักออกแบบไม่ได้




ความรู้เรื่องโลหิตหมู่พิเศษ

หมู่โลหิตระบบ Rh
หมู่โลหิตระบบ Rh เป็นหมู่โลหิตที่มีความซับซ้อนมาก
โดย D แอนติเจนของหมู่โลหิตระบบ Rh มีความสำคัญมากในการถ่ายโลหิต
รองมาจาก A และ B แอนติเจนของหมู่โลหิตระบบ ABO
เนื่องจากแอนติเจน D สามารถกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี
ได้ดีกว่าแอนติเจนอื่นๆ ของเม็ดโลหิตแดง นอกจากนี้หมู่โลหิตระบบ Rh
ยังประกอบด้วยแอนติเจนที่มีความสามารถทางคลินิกอีก 4 ชนิด คือ
แอนติเจน C , E , c , e และแอนติเจนอื่นที่เกี่ยวข้อง
ที่ไม่ค่อยมีความสำคัญทางคลินิกอีก 46 ชนิด


ปกติบุคคลที่เป็นหมู่ Rh ลบ (Rh-negative ) ไม่มี D แอนติเจนบนเม็ดโลหิตแดง
และในซีรั่มจะไม่มี anti-D จะพบว่ามากกว่า 80 % ของคนหมู่ Rh ลบ
จะสร้าง anti-D ได้เมื่อได้รับโลหิต หมู่ Rh บวก ( Rh-positive) จากการถ่ายโลหิต
หรือตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจหมู่โลหิต Rh ทั้งในผู้ป่วยและผู้บริจาคโลหิต
เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยที่เป็นหมู่โลหิต Rh ลบ จะได้รับโลหิต Rh ลบเท่านั้น
เพื่อป้องกันการสร้าง anti-D


การแสดงออกของแอนติเจน D ( expression of antigen )
D แอนติเจนบนผิวเม็ดโลหิตแดงเป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นจะมีหมู่โลหิต Rh บวก
หรือ Rh ลบ โดยทดสอบด้วยน้ำยา anti-D เม็ดโลหิตแดงที่เป็น Rh บวก
ส่วนใหญ่เมื่อทำปฎิกิริยากับน้ำยา anti-D
จะเกิดปฎิกิริยาจับกลุ่มของเม็ดโลหิตแดงให้เห็นชัดเจนทันที
ถ้าเม็ดโลหิตแดงที่ทำปฎิกิริยากับ anti-D แล้วไม่จับกลุ่มใหัผลลบ
ถือว่าบุคคลนั้นเป็น Rh ลบ (ไม่มี D แอนติเจน)






::::: คุณรู้จักหมู่เลือด Rh- Negative ดีแค่ไหน :::::

หลายคนคงจะรู้แล้วว่าตัวเอง มีกรุ๊ปเลือดอะไร A , B , AB และ O แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ากรุ๊ปเลือดของตัวเองมี Rh+ หรือ Rh- ต่อท้ายหรือเปล่า





ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติให้ข้อมูลว่า ทั่วไปคนเรามีหมู่เลือด 2 ระบบ คือ ระบบเอบีโอ(ABO System) และ ระบบอาร์เอช(Rh System) จำแนกตาม แอนติเจน(Antigen - สารที่เคลือบอยู่บนเม็ดเลือดแดง)


ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ 4 กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O โดยที่ กรุ๊ป O พบมากสุด, A กับ B พบพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด


ในระบบ Rh จะแบ่งเป็นสองพวก


1. +ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พบมากในคนไทยเกือบทั้งหมด


2. -ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พบน้อยมากในคนไทยแค่ 0.3% บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบมากขึ้นในชาวไทยซิกข์ อินเดีย หรือชาวต่างชาติ




แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า พอรู้กรุ๊ปเลือดตัวเองว่าเป็น A , B , AB และ O แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่บนพื้นผิวของเม็ดเลือดแดงเดียวกัน ยังมีสาร C, D และ E ที่เป็นตัวกำหนดหมู่เลือดในระบบอาร์เอช ซึ่งมีอยู่ 2 หมู่คือ Rh+ (Rh + Positive) และ Rh- (Rh - Negative)


ในคนไทยส่วนใหญ่ 99.7 เปอร์เซ็นต์ ค่า Rh+ ขณะที่ค่า Rh - มีเพียง 0.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงเรียก หมู่โลหิต Rh-เป็นหมู่เลือดพิเศษ ซึ่งอันตรายมากหากเกิดอุบัติเหตุ เพราะจะหาได้ยากมาก มันจึงมีความสำคัญมากในบ้านเรา


การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด

If your blood type is . . .
 
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก -Rh-ve เท่านั้น 
(หากคนเลือดกรุ๊ป Rh-ve รับเลือดจาก Rh+ve อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)





คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป


คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุป แต่ให้คนอื่นได้เฉพาะคนที่มีกรุ๊ป AB


คนเลือดกรุ๊ป A รับจาก A,O แต่ให้ได้กับ A,AB


คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B,O แต่ให้ได้กับ B,AB

และคนที่ได้รับเลือดจากกรุ๊ปอื่น จะสามารถรับได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะถ้าเกิดมีครั้งที่สอง จะทำให้เลือดตกตะกอน และจะมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น

Red blood cell compatibility


Blood group AB individuals have both A and B antigens on the surface of their RBCs, and their blood serum does not contain any antibodies against either A or B antigen. Therefore, an individual with type AB blood can receive blood from any group (with AB being preferable), but can donate blood only to another type AB individual.
Blood group A individuals have the A antigen on the surface of their RBCs, and blood serum containing IgM antibodies against the B antigen. Therefore, a group A individual can receive blood only from individuals of groups A or O (with A being preferable), and can donate blood to individuals with type A or AB.
Blood group B individuals have the B antigen on the surface of their RBCs, and blood serum containing IgM antibodies against the A antigen. Therefore, a group B individual can receive blood only from individuals of groups B or O (with B being preferable), and can donate blood to individuals with type B or AB.
Blood group O (or blood group zero in some countries) individuals do not have either A or B antigens on the surface of their RBCs, but their blood serum contains IgM anti-A antibodies and anti-B antibodies against the A and B blood group antigens. Therefore, a group O individual can receive blood only from a group O individual, but can donate blood to individuals of any ABO blood group (i.e. A, B, O or AB). If anyone needs a blood transfusion in a dire emergency, and if the time taken to process the recipient's blood would cause a detrimental delay, O Negative blood can be issued.


ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉิน ผู้ป่วยต้องการ Rh- ในจำนวนมากเพราะว่ากำลังตกเลือดอย่างหนัก ก็มีวิธีแก้คือให้ Rh+ เข้าไปก่อน พอผู้ป่วยดีขึ้น เลือดเริ่มหยุดไหลแล้ว ผ่าตัดเย็บแผลแล้ว ค่อยเอา Rh- ที่มีไม่มากนักใส่เข้าไปตบท้าย เพราะ Rh+ที่ใส่เข้าไปในตอนแรกมันไปหล่อเลี้ยง แต่หลังจากนั้นมันจะออกมาเพราะตกเลือด


แต่การที่จะให้ Rh+ กับผู้ป่วยที่เป็น Rh- นั้น ทำได้แค่หนึ่งครั้งเท่านั้น เพราะว่าร่างกายของผู้ป่วยเป็นเนกาทีฟ พอรับเอาเลือดโพสิทีฟเข้าไป มันจะมีการสร้างแอนตี้บอดี้ ทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ถ้าให้ครั้งต่อไปอาจทำลายจนถึงขั้นตายได้


หมู่เลือด Rh หรือ Rh แฟกเตอร์ 
( Rh blood group or Rh factor )


1. หมู่เลือด Rh เป็นหมู่เลือดที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาถ่ายเลือด


2. คนไทยมีหมู่เลือด Rh+ เกือบ100% ส่วนหมู่เลือด Rh- พบน้อยมากประมาณ 1 ใน 500 คนเท่านั้น


3. หมู่เลือด Rh+ หมายถึง เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีแอนติเจน D อยู่ แต่ไม่มีแอนติบอดี้ในน้ำเลือด


4. หมู่เลือด Rh- หมายถึง เลือดที่เม็ดเลือดแดงไม่มีแอนติเจน D และในน้ำเลือดก็ไม่มีแอนติบอดี้ด้วย แต่สามารถสร้างแอนติบอดี้ได้เมื่อได้รับแอนติเจน D


ดังนั้นในการถ่ายเลือดให้ผู้รับ หากผู้ให้เป็นหมู่เลือด Rh+ และผู้รับเป็นหมู่เลือด Rh- ในครั้งแรกผู้รับจะไม่เป็นอะไร เนื่องจากแอนติบอดี้ ที่เกิดขึ้นยังมีน้อย


แต่ถ้าให้เลือดครั้งที่ 2 ผู้ให้เป็นหมู่เลือด Rh+ อีก จะเกิดอันตรายเนื่องจากแอนติเจน D จากผู้ให้จะกระตุ้นให้ผู้รับสร้างแอนติบอดี้ได้มาก และแอนติบอดี้ จะจับตัวกับแอนติเจน D ที่ผิวเม็ดเลือดทำให้ตกตะกอนเป็นอันตรายถึงตายได้


5. ชายมีหมู่เลือด Rh+ แต่งงานกับหญิงมีหมู่เลือด Rh- ลูกจะมีหมู่เลือด Rh+ เนื่องจาก Rh+ เป็นลักษณะเด่น


ลูกคนแรกจะปลอดภัยเนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงของลูกพลัดหลงไปในระบบเลือดของแม่ผ่านทางรก กระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี้ต่อต้านเม็ดเลือดของลูกขึ้นมา แต่ในปริมาณน้อยและช้า





แต่ถ้าท้องถัดไป ถ้าลูกเป็น Rh- ก็จะไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าลูกคนที่สองเป็น Rh+ อีก โอกาสเสี่ยงสูงมากในการเกิดโรคแทกซ้อน เช่น ภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง บางรายอาจถึงขั้นตาย




เพราะลูกคนต่อไปจะได้รับอันตรายจากแอนติบอดี้ของแม่ เนื่องจากแม่สร้างแอนติบอดี้ได้มาก เมื่อเลือดแม่ส่งอาหารเข้าไปเลี้ยงทารกโดยผ่านทางรก แอนติบอดี้ของแม่จะทำปฏิกิริยารวมตัวกับแอนติเจน ที่ผิวเม็ดเลือดแดงของลูก ทำให้เลือดลูกตกตะกอน และลูกจะตายก่อนเกิด โรคนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อีรีโทรบลาสโทซิสฟีทาลิส ( erythroblastosisfetalis )


ดังนั้นถ้ารู้ว่าตัวเองมีกรุ๊ป Rh- แล้วเกิดตั้งท้อง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมป้องกันแต่เนิ่นๆ


แต่ที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้ จำนวนผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษทั่วประเทศรวมกันไม่ถึง 6,000 คน แบ่งเป็นที่ศูนย์ในกรุงเทพฯ 2,898 คน และในต่างจังหวัดอีก 2,246 คนเท่านั้น


จึงอยากจะเชิญเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆทุกท่าน ที่แวะเวียนเข้ามาอ่าน ไปร่วมกันบริจาคเลือดช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แล้วถ้าคุณมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติ ชาวพวกเขาไปด้วยจะดีมาก เพราะกลุ่มคนเหล่านี้โอกาสจะมี Rh- ค่อนข้างมาก และถ้าใครยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็น Rh+ หรือ Rh- เพียงแค่ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดไทย คุณก็จะได้รู้ทันทีว่ามีหมู่เลือดพิเศษหรือเปล่า


สามารถติดต่อชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่เลือดพิเศษได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร 0-2252-1637, 0-2263-9600 ต่อ 1770, 1752, 1753 หรือ http://www.rh-negative.com




พ่อ แม่กรุ๊ปเลือดใด จะมีลูก ที่มีเลือดกรุ๊ปใดได้บ้าง

ให้นึกภาพว่ายีนส์ ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลสืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม
ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง) Group A = มียีนส์ AO หรือ AA Group B = มียีนส์ BO หรือ BB Group AB = มียีนส์AB Group o = มียีนส์ OO


คนหมู่เลือด A +A = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B
คนหมู่เลือด A+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O


หลายคนอาจสงสัยว่าเวลาไปตรวจเลือด คุณหมอมักจะเขียนตัวภาษาอังกฤษสองตัวต่อจากผลกรุ๊ปเลือดด้วย เช่น กรุ๊ป B Rh+ หรือกรุ๊ป O Rh- เป็นต้น จริงๆ แล้ว เป็นการบอกชนิดของแอนติเจนที่พบในเลือดอีกชนิดหนึ่ง นอกจากแอนติเจน A และ B เรียกว่า อาร์เอชแฟกเตอร์ (Rh factor) แอนติเจนชนิดนี้ มีอยู่ในพลเมืองโลก ประมาณ 85% ส่วนที่เหลือไม่มี ดังนั้น ใครที่ตรวจพบว่ามีอาร์เอชแฟกเตอร์อยู่ คุณหมอก็จะเขียนต่อท้ายกรุ๊ปเลือดว่่า Rh+ แต่สำหรับคนที่ไม่มีแอนติเจนชนิดนี้ ก็จะถูกระบุว่า Rh- ข้อมูลเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราควรต้องรู้ไว้อย่างยิ่ง หากผู้หญิงที่มีกรุ๊ปเลือด Rh- แต่งงานกับผู้ชายกรุ๊ปเลือด Rh+ จะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตราย เพราะแอนติบอดีในเลือดของแม่อาจถ่ายผ่านไปยังเลือดของทารกที่มีอาร์เอชแฟกเตอร์ แล้วทำปฏิกิริยาต่อกัน อาจถึงกับแท้งได้ ซึ่งหากเกิดกรณีนี้ ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทารกปลอดภัย ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจมีลูก สามี-ภรรยา ควรจูงมือกันไปตรวจเลือดเพื่อลดความเสี่ยงนี้ นอกจากนี้ คนที่มีกรุ๊ปเลือด Rh- ไม่สามารถรับเลือดที่มี Rh+ ได้ ไม่เช่นนั้น จะเป็นอันตรายถึงชีวิต และเนื่องจากกรุ๊ปเลือด Rh- หาได้ยากมาก เมื่อมีอุบัติเหตุฉุกเฉินกับคนเหล่านี้ขึ้น จึงต้องขอความช่วยเหลือจากธนาคารเลือด หรือขอบริจาคจากคนที่กรุ๊ปเลือดเดียวกัน ที่เราได้ยินบ่อยๆ ทางสถานีวิทยุ นั่นเอง ไม่เพียงเท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับกรุ๊ปเลือดที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากของ Dr.Peter J.D'Adamo





กรุ๊ปเลือดกับอาหาร




 เลือดกรุ๊ป โอ


บุคคลเลือดกรุ๊ปโอนั้น จะมีระบบย่อยเนื้อแดงที่ดีมากเพราะมีความเป็นกรดสูง ทำให้ย่อยเร็วและดูดซึมดี และสามารถให้ประโยชน์สูงสุดต่อส่วนต่างๆของร่างกาย


กรุ๊ปโอ เป็นกรุ๊ปเลือดที่มีวิตามินมากพอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะมีปัญหาบ้างที่จะเกี่ยวกับระบบ metabolism (การเผาผลาญเพื่อนำพลังงานไปใช้ในระบบร่างกาย) จึงควรรับประทานอาหารที่มีไวตามินบี เช่น เนื้อ ตับ เซี่ยงจี๊ ไข่ 5ฟอง/อาทิตย์ ผลไม้ ผักใบเขียวและถั่ว ซึ่งเป็นชนิดที่เหมาะกับเลือดกรุ๊ปโอ หรือเสริมด้วย ไวตามิน บี-คอมเพล็กซ์


คนที่มีเลือดกรุ๊ปโอ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเลือดแข็งตัวช้า ดังนั้นจึงต้องเสริมสร้างวิตามิน เค ให้เลือดกรุ๊ปนี้ด้วยรับประทานตับ ไข่แดง คะน้า สปินิช ผัก Swiss chard และควรหันมารับประทานแป้งสเปลท์แทนแป้งสาลี


และระบบย่อยของคนเลือดกรุ๊ปโอ ไม่รับแคลเซียมจากผลิตภัณฑ์นม จึงต้องหาแคลเซียมจากที่อื่นแทนซึ่งนั่นก็ได้แก่ ปลาซาร์ดีน หรือ ปลาแซลมอนกระป๋องทั้งก้าง บร็อคโคลี่ และผักcollard green


สำหรับเด็ก ที่อายุ 2-5 ขวบ และ 9-16 ขวบ รวมทั้งผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอาจต้องเพิ่มแคลเซียมเสริม 600-1,100 มิลลิกรัม และเพื่อเป็นการป้องกันการอักเสบในส่วนต่างๆของร่างกายด้วย


อาหารอีกชนิดที่คนเลือดกรุ๊ปจะต้องรับประทานคือ อาหารทะเล เพราะอาหารทะเลนั้นจะให้ไอโอดีน เป็นการเพิ่มผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งจะช่วยทำให้ควบคุมน้ำหนักของคนเลือดกรุ๊ปนี้ให้คงที่ เพราะถ้าหากไทรอยด์ไม่คงที่จะทำให้อ้วนได้ง่าย


ผลไม้ที่รับประทานกับเลือดกรุ๊ปโอได้จะมีไม่กี่ชนิด เช่น พลับ พรุน และมะเดื่อ ผลไม้จำพวกนี้จะช่วยลดการละคายเคืองในกระเพาะอาหารได้


น้ำผลไม้ที่ดี คือ นำสับปะรด จะช่วยอุ้มน้ำของเซลในร่างกาย หรือน้ำแบลคเชอรี่ จัดว่าเป็นน้ำที่ดีกับเลือดกรุ๊ปโอมาก เพราะเป็น High alkaline juice ทำให้ลดการระคายเคืองของกระเพาะ


ส่วนถ้าเป็นการดื่มชาสมุนไพรนั้นก็มีชาบางชนิดที่เสริมกับกรุ๊ปเลือดได้ดี เช่น Licoria ช่วยในเรื่องของกระเพาะ ,Peppermint,Parsley,Rosehips,Sarsaparilla ช่วยลดความเครียด เป็นต้น


 เลือดกรุ๊ป เอ


กรุ๊ปนี้จะเป็นกรุ๊ปทีมีความแตกต่างจากรุ๊ปโอ โดยสิ้นเชิง เพราะประชากรกรุ๊ปเอ นั้นจัดว่าเป็นพวกมังสวิรัติ ซึ่งมาจากระบบย่อยเป็นเหตุ


คนเลือดกรุ๊ปเอ จึงควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและมะเร็ง ถ้าต้องการรับประทานเนื้อก็ให้เลือกที่จะรับประทานเนื้อไก่แทน เพราะไม่มัน


ควรระวังอาหารสำเร็จรูป เช่นไส้กรอกและแฮม เพราะมีไนไตรท์ ซึ่งกระตุ้นการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร อีกทั้งคนเลือดกรุ๊ปเอจะมีกรดในกระเพาะต่ำ


และเพื่อเป็นการต่อต้านมะเร็ง คนเลือดกรุ๊ปเอ จึงควรรับประทานวิตามิน ซี เพิ่มซึ่งเป็น antioxidants ช่วยในเรื่องของกรดในกระเพาะต่ำ ส่วนในอาหารจะได้วิตามินซี จาก บร็อคโคลี่ผลไม้พวกเบอรี่ เกรฟฟรุต หรือส้มโอ สับปะรด เชอรี่และมะนาวฝรั่ง


นอกจากนี้ยังควรที่จะรับประทานอาหารที่มีวิตามินอี สูง เพื่อป้องกันทั้งโรคหัวใจและมะเร็ง วิตามินอีนี้จะมีอยู่ในน้ำมันพืช ธัญพืช ถั่งลิสงและผักใบเขียว รวมถึงควรรับประทาน อาหารเพื่อสร้างระบบคุ้มกันด้วย ซึ่งอาหารพวกนี้จะเป็นอาหารที่มีวิตามิน บี มากๆเช่น ธัญพืชขัดสี ปลา และไข่


ส่วนเรื่องของแคลเซียมนั้น ถ้าเป็นการดื่มนม คนเลือดกรุ๊ปเอ ไม่ค่อยจะเหมาะกับการดื่มนมซักเท่าไหร่ แต่ก็ยังดื่มได้มากกว่า คนที่มีเลือดกรุ๊ปโอ แคลเซียมที่เลือดกรุ๊ปเอจะได้นั้น ส่วนใหญ่มาจากโยเกิร์ตไขมันต่ำ นมถั่วเหลือง ไข่ นมแพะ ปลาแซลมอนและปลาซาร์ดีนทั้งก้าง(กระป๋อง) บร็อคโคลี่และสปินิช


การไม่กินเนื้อสัตว์ของคนเลือดกรุ๊ปเอ จะทำให้ขาดธาตุเหล็กจึงควรรับประทานข้างกล้อง ถั่วมะเดื่อ และน้ำตาลโมแลสซิส(สีดำที่เอามาทำซีอิ๊วดำหวาน) ประกอบด้วย


กรุ๊ปเอ ควรรับประทานผลไม้วันละ 3 เวลา ควรเน้นไปที่ Alkaline fruit เช่นแบรี่และผลพลัม (ผลไม้ที่มีความเป็นกลางของกรด) จะช่วยความเป็นกลางในการสร้างกรดในกล้ามเนื้อ ควรเลี่ยงแตงโม แคนตาลูป และผลไม้เมืองร้อนเช่น มะม่วง มะละกอ กล้วย เพราะทำให้อาหารไม่ย่อย สับปะรด ส้มโอ มะนาวจะช่วยย่อยดีมาก รวมถึงมะนาวยังจะช่วยละลายเสมหะในระบบของเลือดกรุ๊ปเอ ดังนั้นทุกเช้าควรดื่มน้ำอุ่นที่ผสมมะนาวครึ่งลูก


 เลือดกรุ๊ปบี 


คนเลือดกรุ๊ปนี้จัดอยู่ในพวกสมดุล เพราะเป็นเลือดเพียงกรุ๊ปเดียวที่สามารถรับประทานอาหารนม เนย ไข่ ได้อย่างเต็มที่


แต่โปรตีนชนิดที่เลือดกรุ๊ปบี รับประทานแล้วเป็นผลร้ายมากที่สุดคือ ไก่ Lectin ในเนื้ออกไก่จะรบกวนระบบและนำไปสู่อาการเส้นเลือดแตกหรือตีบในสมอง รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรรับประทานไก่งวงแทน


คนเลือดกรุ๊ปบี ควรจะรับประทานปลาน้ำลึก เช่นปลาหิมะ และปลาเนื้อขาว เช่น ปลาจะระเม็ด ปลาตาเดียว


ร่างกายของเลือดกรุ๊ปบีจะตอบสนองต่อน้ำมันโอลีฟดีมาก ควรทานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ส่วนข้าวโอ๊ตกับข้าวกล้องนั้นจะมีประโยชน์ต่อกรุ๊ปบีเช่นเดียวกัน


ถั่วต่างๆไม่ดีนักต่อเลือดกรุ๊ปบี โดยเฉพาะถั่วลิสง งา และเม็ดทานตะวัน ซึ่งมี Lectinที่รบกวนระบบสร้างอินซูริน สิ่งนี้มีผลร้ายทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้มากในคนที่มีเลือดกรุ๊ปนี้


ถั่วแดงหลวง Lima,Navy และถั่วเหลืองทานได้แต่อย่ามากนัก เพราะพืชตระกูลถั่วและนัท อื่นๆ จะมีแนวโน้มทำให้เกิดโรค น้ำตาลในเลือดลดกะทันหัน


คนเลือดกรุ๊ปบีสามารถเลือกรับประทานผักได้เกือบทั้งหมด เว้นอยู่ไม่กี่ชนิดเช่น มะเขือเทศ ข้าวโพด เลือดกรุ๊ปบีนั้น มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับไวรัสและภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรรับประทานผักใบเขียวมากๆเพราะมีแมกนีเซียมซึ่งช่วยป้องกันโรคผื่นคันในเด็ก ส่วนผลไม้นั้นก็สามารถรับประทานได้แทบทุกชนิด เพราะมีระบบย่อยที่สมดุล มีเพียงลูกพลับ ทับทิม และลูกแพร์ที่ควรเลี่ยง คนเลือดกรุ๊ปบีควรรับประทานผลไม้ที่มีผลต่อเลือด 2-3 ครั้งต่อวัน จะไห้ผลดีในการรักษาโรคและลดความเจ็บป่วยด้วย


 เลือดกรุ๊ป เอบี


การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพดีเยี่ยมของเลือดกรุ๊ปนี้ค่อนข้างจะซับซ้อน เพราะเป็นส่วนผสมของทั้งกรุ๊ปเลือด เอ และบี อาหารที่ดีต่อกรุ๊ป เอ และบี ก็ดีต่อ กรุ๊ปเอบี ด้วย แต่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้ามอย่างจริงจัง อาหารมังสวิรัติจะให้ผลดีต่อร่างกาย ผลิตภัณฑ์นมและไข่ รับประทานได้แต่ไม่มาก โปรตีนที่เหมาะสมจะได้จากอาหารทะเล เต้าหู้ เนื้อแดง แกะ กวาง และกระต่าย ซึ่งควรรับประทานครั้งละน้อยๆจึงจะย่อยได้ดี เพราะกระเพาะของคนเลือดกรุ๊ป เอบี ไม่ผลิตน้ำย่อยเพียงพอที่จะย่อยโปรตีนที่มากเกินไป


ไม่ควรรับประทานปลาเนื้อขาวและแซลมอนรมควัน ควรรับประทานหอยทากเพราะมี Lectin ที่ต้านมะเร็งเต้านม แม้เลือดกรุ๊ปเอบี จะรับประทาน นม เนย ไข่ ได้คล้ายกรุ๊ปบี แต่โยเกิร์ตและครีมเปรี้ยวจะย่อยได้ง่ายกว่า หากมีเสมหะและมีปัญหาไซนัสอักเสบและหูอื้อ ควรงดอาหารที่ผลิตจาก นม เนย ไข่


ไข่ เป็นแหล่งอาหารที่ดีต่อเลือดกรุ๊ปนี้ แต่ควรใช้ประกอบอาหารในอัตราส่วน ไข่ขาว2ฟองต่อ ไข่แดง 1 ฟอง


ส่วนน้ำมันนั้นควรจะใช้นำมันมะกอกอย่างเดียว เพราะเป็นน้ำมันเพียงชนิดเดียวที่ให้ผลดีกับเลือดกรุ๊ปเอบี


ถั่ว กับเลือดกรุ๊ปเอบีนั้น มีเพียงสามชนิดที่ให้คุณ ซึ่งได้แก่ ถั่งลิสง จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน แต่ถ้าเป็นโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี ก็ไม่ควรรับประทานถั่วเม็ด แต่ให้เปลี่ยนเป็นเนยถั่ว ถั่วชนิดที่สองและสามคือ ถั่วเลนทิลและถั่วเหลือง เพราะเป็นอาหารป้องกันมะเร็งที่สำคัญมาต่อกรุ๊ปเลือด เอบี


อาหารประเภทข้าวและแป้ง เช่น ข้าว ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์ มีประโยชน์แต่ระวังการรับประทานอาหารประเภทแป้งข้าวโพด หากต้องการลดเสมหะควรรับประทานไม่เกิน 1-2 ครั้งต่ออาทิตย์


คนเลือดกรุ๊ป เอบี จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ จึงควรรับประทานผักสดมากๆเพราะเป็นอาหารสำคัญในการป้องกันมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งเกิดได้ง่ายในกรุ๊ปเอบี


ส่วนเรื่องของผลไม้นั้น คนเลือดกรุ๊ปนี้จะสามารถรับประทานผลไม้ได้ดีเพียงบางอย่าง เช่น องุ่น พลัม และแบรี่ เพราะเป็นผลไม้ที่มีกรดเป็นกลาง ช่วยสร้างความสมดุลให้เนื้อเยื่อ อันเนื่องมาจากการบริโภคแป้งและข้าว...




กรุ๊ปเลือดบอกนิสัย 
กรุ๊ป เอ
          คุณ เป็นคนสุขุมเยือกเย็น ทำอะไรคิดรอบคอบ เป็นผู้ฟังที่ดีและไม่ชอบเถียงใครให้วุ่นวาย มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบดูแลเอาใจใส่คนอื่น แต่คุณเป็นคนดื้อเงียบและมีความเชื่อมั่นใจตัวเองสูง (จนบางครั้งไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น)
         ข้อเสียคือ คุณเป็นคนคิดมากและลืมอะไรได้ยาก
         ด้านความรัก ไม่ค่อยกล้าแสดงความรู้สึกจะรักใครใช้เวลาในการตัดสินใจ แต่รักใครแล้วรักจริงนะ

กรุ๊ป บี
        คุณเป็นคนสนุกสนานร่าเริงมีเสน่ห์ใคร ๆ ก็อยากเข้าใกล้ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ช่างจินตนาการและสร้างสรรค์ ไม่ชอบตามอย่างใคร อีกทั้งไม่ชอบความเป็นระเบียบแบบแผน
         ข้อเสียคือ คุณเป็นคนอารมณ์ร้อน ทำอะไรไม่ค่อยคิดสักเท่าไหร่ อาจทำให้ต้องมานั่งเสียใจได้
         ด้านความรัก หากสนใจใครมักเชื่อมความสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่อาจจะแผ่วลงภายหลัง ค่อนข้างเอาแต่ใจ และไม่ชอบการผูกมัด

 กรุ๊ป โอ
        คุณเป็นคนมาดขรึมแต่สุภาพอ่อนโยน มีเสน่ห์ลึก ๆ มีเหตุผลและจริงจังกับชีวิต นิสัยตรงไปตรงมา ไม่ชอบทำอะไรไร้สาระ ทำอะไรเป็นระเบียบแบบแผนและต้องทำให้สำเร็จตามที่กำหนด อีกทั้งยังไม่ค่อยยอมแพ้ใคร
         ข้อเสียคือ คุณเป็นคนอ่อนไหวง่ายและบางครั้งจริงจังกับชีวิตเกินไป
         ด้านความรัก เป็นคนจริงจังกับความรักมาก หากรักใครก็จะแสดงออกกับเขาตรง ๆ และถ้ามีอุปสรรคจะสู้ไม่ถอยเลยทีเดียว

กรุ๊ป เอบี
        คุณเป็นคนอ่อนโยนน่าหลงใหล ใครเข้าใกล้เป็นต้องละลาย เป็นคนมีเหตุผล (ส่วนตัว) ชอบเป็นฝ่ายฟังมากกว่าพูดและไม่ชอบการทะเลาะเบาะแว้ง ค่อนข้างใจเย็น อีกทั้งยังสามารถระงับสติอารมณ์ของตัวเองได้
         ข้อเสียคือ เป็นคนเอาแต่ใจตัวเองมากไปหน่อย จิตใจไม่ค่อยมั่นคง เอาแน่เอานอนไม่ได้
         ด้านความรัก มักไม่เป็นฝ่ายเข้าหาก่อน รูปแบบความรักเรียบง่าย ขอเพียงแค่เข้าใจกันและกันเท่านั้น แต่ไม่ชอบการถูกบีบบังคับ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=iamcake&date=07-08-2007&group=4&gblog=17
http://en.wikipedia.org/wiki/Blood_type
http://pirun.ku.ac.th/~b5002224/
http://www.rh-negative.com/knowledge.php?subaction=showcomments&id=1110469152&archive=&start_from=&ucat=1&