คุณสมบัติและประโยชน์ของทองคำ, ทอง K คืออะไร




Induction Melting - Gold Melting




คุณสมบัติของทองคำ


ทองคำ เรียกโดยย่อว่า “ทอง” เป็นธาตุลำดับที่ 79 มีสัญลักษณ์ Au ทองคำเป็นโลหะแข็งสีเหลือง เกิดเป็นธาตุอิสระในธรรมชาติ ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาและทนทานต่อการขึ้นสนิมได้ดีเลิศ ทองคำมีจุดหลอมเหลวที่ 1064 องศาเซลเซียส จุดเดือดที่ 2701 องศาเซลเซส มีความถ่วงจำเพาะ 19.244 และมีน้ำหนักอะตอม 196.67 ลักษณะที่พบเป็นเกล็ด เม็ดกลม แบน หรือรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ รูปผลึกแบบลูกเต๋า(Cube) หรือ ออคตะฮีดรอน (Octahedron) หรือ โดเดกะฮีดรอน (Dodecahedron)


คุณสมบัติสำคัญของทองคำอีกประการหนึ่งคือ ทองคำเป็นโลหะที่อ่อนและเหนียว ทองคำหนัก 1 ออนซ์ สามารถทำให้เป็นเส้นได้ยาวถึง 50 ไมล์ และสามารถตีแผ่ทองคำให้เป็นแผ่นบางขนาด 0.00005 นิ้วได้ (หรืออาจบุเป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า 0.0001 มิลลิเมตรได้) นอกจากนี้ ทองคำยังเป็นโลหะที่ไม่ละลายในกรดชนิดใดเลย แต่สามารถละลายได้อย่างช้าๆ ในสารละลายผสมระหว่างกรดดินประสิวและกรดเกลือ

จุดเด่นสำคัญของทองคำอยู่ที่สี กล่าวคือ ทองคำมีสีเหลืองสว่างสดใส และมีความสุกปลั่ง (Brightness) มีประกายมันวาวสะดุดตา นอกจากนี้ยังไม่เป็นสนิมแม้จมดินจมโคลน มีความแข็งเหนียว เนื้อแน่น ไม่สกปรก ไม่หมอง ไม่เป็นคราบไคลง่ายเหมือนวัตถุชนิดอื่นๆ

คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้เป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานาน โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ


ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่นและเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ

1.ความงดงามมันวาว (Lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่น ๆ ช่วนเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง
2.ความคงทน (Durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม
3.ความหายาก (Rarity) ทองคำเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตรจึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นสาเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
4.การนำกลับไปใช้ประโยชน์ (Reuseable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่ม สามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยการทำให้บริสุทธิ์ (Purified) ด้วยการหลอมได้อีกนับครั้งไม่ถ้วน


คุณประโยชน์ของทองคำ

1. วงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณี


ทองคำได้ครอบครองความเป็นหนึ่งในฐานะโลหะที่ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด จากอดีตถึงปัจจุบันเครื่องประดับอัญมณีทองคำได้มีส่วนทำเป็นฐานเรือนรองรับอัญมณีมาโดยตลอด จากรูปแบบขั้นพื้นฐานของงานทองที่ง่ายที่สุด ไปสู้เทคนิคการทำทองด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง

2. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจการคลัง


ทองคำมีประโยชน์ในฐานะเป็นโลหะสื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนเงินตรา ทองคำถูกสำรองไว้เป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เพราะทองคำมีมูลค่าในตัวเอง ผิดกับเงินตราสกุลต่างๆ อาจเพิ่มหรือลดได้ ทองคำถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรของตลาดการค้า นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำเป็นเหรียญกษาปณ์ทองคำ หรือแสตมป์ทองคำ หรือธนบัตรทองคำ ซึ่งถูกผลิตโดยรัฐบาล หรือหน่วยงานเอกชน ในวาระโอกาสพิเศษต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดกระแสค่านิยมการเก็บสะสมเป็นที่ระลึกอีกด้วย

ทองคำกับการเงิน

เรื่องเงินๆ ทองๆ นั้นเป็นของคู่กัน ก็เพราะสองสิ่งนี้ถูกนำมาใช้ในการค้าขายแลกเปลี่ยนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทองคำเริ่มมีบทบาทในการค้าย้อนกลับไปเมื่อหกพันปีก่อน แม้ว่าจะมีการใช้แร่เงินด้วยเช่นกัน แต่ด้วยความที่ทองคำนั้นหายาก มีความคงทน สวยงาม แถมยังตัดแบ่งเป็นส่วนๆ ได้ง่าย ทำให้ทองคำจึงมีมูลค่าสูง และเป็นที่ต้องการ ถึงกับมีการกำหนดมาตรฐานเงินตราที่อิงทองคำด้วย เรียกว่า มาตรฐานทองคำ (Gold Standard) ทองคำที่ใช้เป็นหลักประกันทางการเงินมักจะอยู่ในรูปของ “ทองคำแท่ง” (gold bullion) เพราะว่ามีต้นทุนการผลิตต่ำ ง่ายต่อการจัดการและเก็บรักษา ปัจจุบันนี้ทั้งรัฐบาล สถาบันต่างๆ และบุคคลทั่วไปต่างก็นิยมลงทุนเก็งกำไรจากทองคำแท่ง

อีกหนึ่งรูปแบบของการค้าขายโดยใช้ทองคำก็คือ เหรียญทองคำ แต่ภายหลังกลับไม่ค่อยได้รับความนิยมเนื่องจากมีการนำเงินที่เป็นกระดาษมาใช้ เหรียญทองคำถูกตีค่าด้วยสองหน่วยหลักๆ คือ ตามหน่วยสกุลเงินต่างๆ เช่น ดอลลาร์ และตามหน่วยน้ำหนัก เช่น ออนซ์ หรือ กรัม แม้ว่าตอนนี้เราจะไม่ใช้เหรียญทองคำในการซื้อขายแล้วก็ตาม แต่ผู้คนก็นิยมซื้อเหรียญทองคำเก็บไว้สำหรับเป็นของที่ระลึกและเพื่อเก็งกำไรเช่นเดียวกับทองคำแท่ง

3. ทองคำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์


ทองคำถูกนำมาให้ในวงการอิเล็คทรอนิกส์และการสื่อสารโทรคมนาคม อาทิเช่น สวิตซ์โทรศัพท์ที่ใช้เป็นแผงตัด เพื่อให้กระแสไฟฟ้าเดินได้สะดวก การใช้ลวดทองคำขนาดจิ๋วเชื่อมต่อวัสดุกึ่งตัวนำและทรายซิสเตอร์ การใช้ลวดทังสเตนและโมลิบดีนัมเคลือบทองคำใช้ในอุตสาหกรรมหลอดสูญญากาศ การเคลือบผิวเสาอากาศด้วยทองคำเพื่อการสื่อสารระยะไกล การใช้ตาข่ายทองคำเพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระบบการสื่อสารการบินพาณิชย์ การใช้อลูมิเนี่ยมเคลือบทองในเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อทำหน้าที่สะท้อนรังสีอินฟราเรดได้อย่างดีเลิศ การใช้โลหะทองคำเจือเงิน และนิกเกิลประกบผิวทองเหลืองสำหรับใช้ในปลั๊ก ปุ่มสวิตซ์ไช้งานหนัก หรือสปริงเลื่อนในลูกปิดเลือกเปลี่ยนช่องทีวี แผงวงจรต่างๆ ก็มีทองคำเป็นตัวนำไฟฟ้าเพื่อให้ทำงานได้ตลอดอายุงานเนื่องจากทองคำอยู่ตัว และไม่เกิดฟิล์มออกไซด์ที่ผิว

4. ประโยชน์ในการคมนาคมและการสื่อสารโทรคมนาคม


ทองคำกับอวกาศยาน

ยิ่งที่จะต้องใช้วัสดุที่เชื่อได้ว่าทนทานที่สุด นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมทองคำถึงถูกใช้นับร้อยกระบวนการในการสร้างยานอวกาศ ทุกๆ ลำของนาซ่า ทั้งวงจรไฟฟ้า และเป็นส่วนผสมในโพลิเมอร์ฟิล์มฉาบภายนอกตัวยานเพื่อสะท้อนรังสีอินฟาเรดและ รักษาอุณหภูมิภายในให้คงที่ หากไม่มีฟิล์มนี้ส่วนที่มีสีเข้มของยานอวกาศจะดูดความร้อนอย่างมาก นอกจากนี้เนื่องจากสารหล่อลื่นอินทรีย์จะแตกตัวและระเหยกลายเป็นไอในสภาวะ สูญญากาศ แผ่นทองคำบางๆ จึงถูกใช้เป็นสารหล่อลื่นสำหรับเครื่องจักรแทนเพราะมีความต้านทานแรงเฉือน (shear strength) ต่ำ เมื่อมีแรงเสียดทานมากระทำโมเลกุลของทองคำจะเลื่อนผ่านกัน เสมือนเป็นสารหล่อลื่นไปในตัว

ทองคำมีคุณสมบัติการสะท้อนรังสีอินฟราเรดได้ดี

ทองคำจึงถูกนำมาใช้กับดาวเทียม ชุดอวกาศ และยานอวกาศ เพื่อป้องกันการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่มากเกินไป กระจกด้านหน้าของเครื่องบินคองคอร์ด จะมีแผ่นฟิล์มทองคำติดไว้ป้องกันรังสีจากดวงอาทิตย์ และป้องกันการจับตัวเป็นน้ำแข็งหรือการทำให้เกิดฝ้าหมอกมัวกระจกด้านนอกของเครื่องเป็นที่มีสีน้ำตาลหรือบรอนซ์จาง ๆ และมองจากด้านในจะเป็นสีน้ำเงินจาง ๆ ก็มีชั้นฟิล์มทองคำติดไว้เพื่อป้องกันความกล้าของแสงแดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์ ใบจักรกังหันในเครื่องบินไอพ่น ถ้าไม่มีส่วนผสมของทองคำที่จะประสานกับโรเตอร์ ย่อมจะแตกแยกได้ง่าย ชิ้นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีทองคำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย อาคารสำนักงานใหญ่ ๆ ของธนาคารกลางในแคนนาดา ในนครโตรอนโต้ ก็ติดแผ่นฟิล์มทองคำด้วยทอง 24 K มีน้ำหนักรวมถึง 77.7 กิโลกรัม เพื่อลดความร้อน และปรับอุณหภูมิในอาคารให้พอเหมาะและเพิ่มความสวยของอาคารอีกด้วย

5. ประโยชน์ในวงการแพทย์และทันตกรรม


ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยทองคำมีมาแต่ครั้งเก่าก่อน คนโบราณเชื่อว่าเมื่อนำทองคำผสมกับยา จะเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้มีชีวิตยืนยาว หมอแผนโบราณยังคงสั่ง “ยามเม็ดทอง” ให้กินโรคหลายอย่างรวมทั้งโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและการเป็นหมัน ในโลกยุคปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่ก็มีการทดลองให้ทองคำเพื่อการบำบัดรักษาโรคภัย ทองคำถูกนำมาใช้ในการต่อสู้กับโรคมะเร็งในรายหนัก ๆ แพทย์จะฉีดสารละลายของทองคำกัมมันตรังสี แต่ปริมาณทองที่ใช้ในการแพทย์รวมแล้วยังเล็กน้อยและไม่มีความสำคัญอะไร ซ้ำราคายังแพงอีกต่างหาก การใช้ทองคำในการแผ่รังสี การสอดทองใส่ในกล้ามเนื้อเพื่อให้มีกำลังต่อสู้กับความเจ็บป่วย การใช้ทองคำเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการแยกวิเคราะห์ปอดและตับ ในด้านทันตกรรม ทองคำถูกนำมาใช้โดยวิธีการบ่มแข็งทองคำ ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย และมีจุดหลอมตัวปานกลาง ทองคำจึงเหมาะสมในการถูกนำมาใช้ในการอุดฟัน ครอบฟัน ทำฟันปลอม การจัดฟันและการดัดฟัน

ลองนึกว่าถ้าเรานำเหล็กมาใช้ในการอุดฟัน...อืมม..คงไม่ดีแน่ เพราะว่า หนึ่งทันตแพทย์คงต้องใช้เครื่องมือของช่างตีเหล็ก มาทำกับฟันของเรา สองนอกจากรอยยิ้มของเราจะขึ้นสนิมภายในไม่กี่วันแล้ว ยังต้องทำใจยอมรับรสชาติสนิมในปากไปตลอด.. นี่แหละคือเหตุผลที่ว่าทำไมทองคำถึงถูกนำมาใช้ในการทันตกรรม เพราะมันมีประสิทธิภาพสูง เป็นโลหะที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารอื่นได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ ง่ายต่อการทำงานของทันตแพทย์ แถมยังดูสวยงาม (แม้ว่าจะแพงกว่ามากก็ตาม) ปัจจุบันได้นำโลหะผสมของทองคำมาใช้ในการอุดฟัน เคลือบฟัน และทันตกรรมอื่นๆ

ทองคำกับการแพทย์

เชื่อหรือไม่ว่าแพทย์ใช้ทองคำในการรักษาอาการป่วยบางประเภท เช่น โรคเปลือกตาปิดไม่สนิท (Lagophthalmos) ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถปิดเปลือกตาได้สนิท ทองคำจะถูกผังเข้าไปในเปลือกตาด้านบนเพื่อเป็นน้ำหนักถ่วงให้เปลือกตาปิด ทองคำที่เป็นกัมมันตรังสีในสารละลายคอนลอยด์สามารถแผ่รังสีเบต้าออกมา เมื่อฉีดเข้าไปในร่ายกายจะสามารถตรวจจับขณะที่สารละลายเคลื่อนที่ผ่านอวัยวะต่างๆได้ใช้ในขั้นตอนการวิเคราะห์โรค ทองคำที่เป็นกัมมันตรังสีนี้ยังใช้ในการฉายแสงรักษามะเร็งตามจุดต่างๆโดยการฝังเข้าไปในเนื้อเยื่อโดยตรง


เพิ่มเติม http://www.thefreelibrary.com/Paralytic+lagophthalmos:+gold-weight+implantation-a0152574062

6. ทองคำกับรางวัลและยศถาบันดาศักดิ์


คุณคิดว่ามงกุฎของพระราชาทำด้วยอะไร? แน่นอนว่าต้องเป็นทองคำอยู่แล้ว เพราะเป็นโลหะที่แสดงถึงคุณค่าอันสูงส่ง สมบัติด้านความบริสุทธิ์ยังเป็นเหตุผลให้ทองได้รับเลือกในการประดิษฐ์ สัญลักษณ์และเครื่องรางทางศาสนาด้วย นอกจากนี้ในการประกวดหรือแข่งขันเกือบทุกประเภทเหรียญหรือถ้วยรางวัลสำหรับ ผู้ชนะเลิศก็ทำด้วยทองคำ เช่น เหรียญทองในกีฬาโอลิมปิก รางวัลออสการ์ และรางวัลแกรมมี่ เป็นต้น

7. ทองคำในอุตสาหกรรมกระจกแก้ว


ทองคำถูกใช้ในหลายขั้นตอนของการทำแก้ว ที่นิยมมากที่สุดคือ เพื่อเป็นเม็ดสี การเติมทองปริมาณเล็กน้อยลงในแก้วหลอมจะได้กระจกสีแดงทับทิม ซึ่งสามารถสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์จากภายนอกได้ดี ทำให้ภายในอาคารเย็นสบายในฤดูร้อน ขณะเดียวกันก็ช่วยสะท้อนความร้อนให้อยู่ภายในทำให้อากาศในอาคารอบอุ่นในฤดูหนาว เช่นเดียวกับหน้ากากและชุดของนักบินอวกาศที่เคลือบด้วยชั้นทองคำบางๆ เพื่อปกป้องตาและผิวหนังจากรังสีดวงอาทิตย์นั่นเอง

8. ทองคำกับการเคลือบวัตถุ


เพราะว่าทองเป็นโลหะที่มีสมบัติยืดหยุ่นสูงที่สุดจึงสามารถตีเป็นแผ่นที่บางขนาดหนึ่งในล้านนิ้วได้ ผลผลิตก็คือทองคำเปลวที่ใช้ติดบนรูปภาพ รูปปั้น หรือเฟอร์นิเจอร์นั่นเอง การปิดชั้นทองคำเปลวบนผิวด้านนอกของสิ่งก่อสร้างช่วยให้พื้นผิวทนทานต่อการสึกกร่อนยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากก็คือตามโดมของศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญอื่นๆ

การใช้ทองคำในอนาคต

เนื่องจากทองคำมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับโลหะอื่นๆ การนำทองคำมาใช้แต่ละครั้งย่อมต้องผ่านการประเมินอย่างถี่ถ้วนก่อนว่าไม่มีทางเลือกอื่นที่ต้นทุนต่ำกว่าได้อีก ในอีกแง่หนึ่งคือเมื่อเราค้นพบการใช้ประโยชน์จากทองคำเพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วจะไม่มีโลหะอื่นที่ทดแทนมันได้ ดังนั้นความต้องการใช้ทองคำจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลา และเนื่องจากปริมาณที่จำกัด มูลค่าและความสำคัญของทองคำก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ สมกับการเป็นโลหะแห่งโลกอนาคตอย่างแท้จริง แล้วใครล่ะที่จะเป็นคนค้นหาทองคำ?

ข้อมูลเพิ่มเติม

กบนอกกะลา - เล่นแร่แปรทอง ตอนที่ 1-2

คลิปย้อนหลังตอนที่ 1
คลิปย้อนหลังตอนที่ 2

เรื่องย่อ
ทองคำ เป็นสิ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมานาน นับตั้งแต่แรกเกิดก็มีการรับขวัญหลานคนใหม่ด้วยทอง พอเป็นหนุ่มเป็นสาวก็ต้องมีสินสอดทองหมั้นเป็นหลักประกันความรัก ทองจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง มั่งมี ความเป็นสิริมงคล ทำไมทองคำจึงเป็นสิ่งล้ำค่าที่มากไปด้วยคุณค่าทั้งใน แง่ราคาและมูลค่าทางจิตใจ ทองมาจากไหน และกว่าทองจะมาอยู่ในมือเราถูกเปลี่ยนรูป แปรร่างมาแล้วกี่ครั้งกี่ขั้นตอน กบนอกกะลาจึงเดินทางตามหาความรู้ที่ซุกซ่อนอยู่ในขุมทอง จุดเริ่มต้นของเส้นทางสายทองคำอยู่ที่เหมืองทองที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งในแต่ละวันจะมีการออกพื้นที่สำรวจเพื่อดูว่าตรงไหนที่มีแร่ทองคำ

เมื่อพบว่าบริเวณใดมีแร่ทองคำ ก็จะส่งข้อมูลให้ฝ่ายวิศวกรเหมืองขุดแร่ทองคำขึ้นมา ซึ่งแต่ละวันจะมีแร่ทองคำถูกระเบิดขึ้นมามากมายถึงวันละ 8,000-10,000 ตัน แต่ปริมาณทองคำที่ได้จะมีเพียง 2-3 กรัม / ตัน เท่านั้น จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการเปลี่ยนก้อนดินก้อนหินให้กลายเป็นโลหะที่ใครๆ ก็อยากได้เป็นเจ้าของ นั่นคือการชะละลายเอาสินแร่ทองคำออกมา แล้วนำไปหลอมให้กลายเป็นก้อนโลหะ แต่ในขั้นตอนนี้เราจะยังไม่เห็นว่าเป็นทองสีเหลืองอร ่าม นั่นก็เพราะว่ายังมีแร่เงินปนอยู่ด้วยถึง 75 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเดินทางตามก้อนโลหะนี้ไปถึงฮ่องกง เพื่อไปดูกระบวนการสกัดทองให้เหลือแต่เนื้อทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์ เส้นทางของทองคำยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะหลังจากที่เราได้เฝ้าติดตามกระบวนการแปรรูปทองคำจากสินแร่จนกระทั่งมา เป็นทองคำ เรายังติดตามทองคำบริสุทธิ์กลับมาสู่ตลาดค้าทองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นั่นคือเยาวราช เพื่อมาดูว่าทองคำจะเปลี่ยนไปเป็นทองรูปพรรณอย่างที่ เราใส่กันได้อย่างไร

ขั้นตอนการทำทองรูปพรรณต้องเริ่มจากการนำทองคำบริสุทธิ์มาผสมกับเงินและทองแดงเพื่อให้ได้สัดส่วนเนื้อทอง 96.5 เปอร์เซ็นต์ โดยช่างทองบอกว่าที่ต้องผสมเพื่อให้เนื้อทองมีความแข ็งแรงเหมาะกับการใช้งาน ซึ่งเมื่อได้ทองที่มีเปอร์เซ็นต์ตรงตามมาตรฐานทองไทย ที่กำหนดไว้แล้วก็จะนำ ทองมารีดและดึงให้กลายเป็นเส้นลวดเล็กๆ ก่อนจะนำมาขึ้นรูปด้วยการดัด ตัด แต่ง แล้วนำมาร้อย ถัก ทอ จนกลายเป็นสร้อยทองให้เราใส่กัน

นอกจากทองรูปพรรณ การทำทองคำเปลวก็ต้องใช้ทองคำบริสุทธิ์ในการทำเช่นกัน ซึ่งการทำทองคำเปลวต้องอาศัยภูมิปัญญาและฝีมือของช่างตีทอง ที่ต้องแบกค้อนทองเหลืองหนักกว่า 10 กิโลกรัมเป็นเวลากว่า 7 ชั่วโมง ในการตีทองหนาๆ ให้กลายเป็นทองคำเปลวแผ่นบางๆ จากต้นทางที่เราเห็นเป็นเพียงแค่ก้อนดินธรรมดา ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนกว่าจะกลายเป็นทองคำที่ถูกผู้คนสมมติค่าให้มี ราคาและยังมีมูลค่าในเชิงจิตใจ เพราะฉะนั้นทองคำสำหรับคนไทยจึงมีคุณค่ามากมายเกินกว่าที่จะตีค่าเป็นเงิน เพียงเท่านั้น…




การกำหนดคุณภาพของทองคำ

การกำหนดคุณภาพของทองคำของไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีวิธีการกำหนดคุณสมบัติ ดังนี้

1.ในอดีต
ปรากฎหลักฐานตามประกาศของพระบาทสมเด็จพระพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ระบุถึงการกำหนดคุณภาพทองคำ โดยตั้งพิกัดราคา(ทองคำ) ตามประมาณของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ในทองรูปพรรณ เนื้อทองคำดังกล่าวอาจผสมด้วยแร่เงิน หรือทองแดงมากน้อยตามคุณภาพของทองคำ ส่วนการเรียกทองคุณภาพต่าง ๆ นั้น ใช้วิธีการเรียกราคาของทองคำต่อน้ำหนักทองหนึ่งบาทเป็นมาตรฐานในการเรียกชื่อทองคำ โดยเริ่มตั้งแต่ทองเนื้อสีขึ้นไปจนถึงทองเนื้อเก้า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ทองเนื้อสี่ หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 4 บาท
ทองเนื้อห้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 5 บาท
ทองเนื้อหก หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 6 บาท (ทองดอกบวบ)
ทองเนื้อเจ็ด หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 7 บาท
ทองเนื้อแปด หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 8 บาท
ทองเนื้อเก้า หมายถึง ทองคำหนักหนึ่งบาท ราคา 9 บาท

ทองเนื้อเก้าเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า “ทองธรรมชาติ” หรือบางที่เรียกว่า
“ทองชมพูนุช” เป็นทองที่มีสีเหลืองเข้มออกแดง นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกแตกต่างกันอีกหลายชื่อ เช่น “ทองเนื้อแท้” “ทองคำเลียง” ซึ่งหมายถึงทองบริสุทธิ์ปราศจากธาตุอื่นเจือปน ซึ่งตรงกับคำในภาษาล้านนาว่า “คำขา” นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกทองคุณภาพต่าง ๆ อีกหลายชื่อ เช่น “ทองปะทาสี” ซึ่งเป็นทองคำเปลวเนื้อบริสุทธิ์ชนิดหนา “ทองดอกบวบ” เป็นทองที่มีเนื้อทองสีเหลืองอ่อนคล้ายดอกบวบ

2.ในปัจจุบัน

ทอง K คืออะไร
K คือชื่อเรียกของเนื้อทองเป็น “กะรัต”
ทองคำบริสุทธิ์ หมายถึง ทองคำที่มีเนื้อทอง 99.99 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้น
หรือเรียกกันว่าทองร้อยเปอร์เซ็นต์

การกำหนดคุณภาพของทองคำยังคงใช้ความบริสุทธิ์ของทองคำในการบ่งบอกคุณภาพของทองคำ โดยการคิดเนื้อทองเป็น “กะรัต” ทองคำบริสุทธิ์ หมายถึง ทองคำที่มีเนื้อทอง 99.99 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้น หรือเรียกกันว่าทองร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือเรียกกันในระบบสากลว่า ทอง 24 กะรัต ทองซึ่งมีเกณฑ์การบ่งบอกคุณภาพของเนื้อทองโดยบ่งบอกความบริสุทธิ์เป็นกะรัตมีชื่อเรียกว่า “ทองเค” ทองคำบริสุทธิ์ไม่มีโลหะหรือสารอื่นเจือปนอยู่เป็นทอง 24 กะรัต หากมีความบริสุทธิ์ของทองคำลดต่ำลงมา ก็แสดงว่ามีโลหะอื่นเจือปนมากขึ้นตามส่วน เช่น ทอง 14 กะรัต หมายถึง ทองที่มีเนื้อทองบริสุทธิ์ 14 ส่วน และมีโลหะอื่นเจือปน 10 ส่วน เป็นต้น ทองประเภทนี้บางทีเรียกว่า “ทองนอก” ซึ่งส่วนมากนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพชรพลอยต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอัญมณี

กะรัต สัญลักษณ์ เปอร์เซ็นต์ เฉดสีที่ได้ นิยมในประเทศ

กะรัต/หน่วย

%ความบริสุทธิ์

เฉดสีที่ได้

ประเทศที่นิยม

24 K

99.99%

ทอง

อาหรับ สวิสต์เซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย

23.16 K

96.5%

เหลืองทองเข้ม

ไทย

22 K

91.7%

เหลืองทอง

บังคลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย ตะวันออกกลาง มาเลย์ สิงคโปร์

21 K

87.5%

เหลืองทอง

กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

18 K

75%

เหลือง

อิตาลี สวิส ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อเมริกา

14 K

58.3%

เหลือง

สหรัฐอเมริกา อเมริกาเหนือ อังกฤษ เยอรมัน

10 K

41.6%

เหลือง

สหรัฐอเมริกา อเมริกาเหนือ

9 K

37.5%

เหลืองปนเขียว

อังกฤษ

8 K

33.3%

เหลืองซีด

เยอรมัน อิตาลี กรีซ




When you buy gold jewelry, it isn't pure gold. Your gold is really an alloy, or mixture of metals. The purity or fineness of gold in the jewelry is indicated by its karat number. 24 karat (24K or 24 kt) gold is as pure as gold for jewelry gets. 24K gold is also called fine gold and it is greater than 99.7% pure gold. Proof gold is even finer, with over 99.95% purity, but it is only used for standardization purposes and is not available for jewelry.
So, what are the metals that are alloyed with gold? Gold will form alloys with most metals, but for jewelry, the most common alloying metals are silver, copper, and zinc. However, other metals may be added, especially to make colored gold. Here's a table of the compositions of some common gold alloys:

Gold Alloys
ส่วนประกอบของทอง k


Color of GoldAlloy Composition
Yellow Gold (22K)Gold 91.67%
Silver 5%
Copper 2%
Zinc 1.33%
Red Gold (18K)Gold 75%
Copper 25%
Rose Gold (18K)Gold 75%
Copper 22.25%
Silver 2.75%
Pink Gold (18K)Gold 75%
Copper 20%
Silver 5%
White Gold (18K)Gold 75%
Platinum or Palladium 25%
White Gold (18K)Gold 75%
Palladium 10%
Nickel 10%
Zinc 5%
Gray-White Gold (18K)Gold 75%
Iron 17%
Copper 8%
Soft Green Gold (18K)Gold 75%
Silver 25%
Light Green Gold (18K)Gold 75%
Copper 23%
Cadmium 2%
Green Gold (18K)Gold 75%
Silver 20%
Copper 5%
Deep Green Gold (18K)Gold 75%
Silver 15%
Copper 6%
Cadmium 4%
Blue-White or Blue Gold (18K)Gold 75%
Iron 25%
Purple GoldGold 80%
Aluminum 20%

สำหรับประเทศไทยนั้นใช้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5 เปอร์เซ็นต์ หากจะเทียบเป็นกะรัตแล้ว จะได้ประมาณ 23.16 K ซึ่งจะได้สีทองที่เหลืองเข้มกำลังดี และมีความแข็งของเนื้อทองพอเหมาะสำหรับการนำมาทำเครื่องประดับ เนื่องจากทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์ มีความอ่อนตัวมาก จึงไม่สามารถนำมาใช้งานได้ จำเป็นต้องผสมโลหะอื่น ๆ ลงไปเพื่อปรับสมบัติทางกายภาพของทองคำให้แข็งขึ้น คงทนต่อการสึกหรอ โลหะที่นิยมนำมาผสมกับทองคำได้แก่ เงิน ทองแดง นิกเกล และสังกะสี ซึ่งอัตราส่วนจะสัมพันธ์ตามความต้องการของผู้ใช้งาน กล่าวคือ ผู้ผลิตทองรูปพรรณแต่ละรายจะมีสูตรของตนเอง ในการผสมโลหะอื่นเข้ากับทอง บางรายอาจผสมทองแดงเป็นสัดส่วนที่มากหน่อยเพราะต้องการให้สีของทองออกมามีสีอมแดง หรือบางรายอาจชอบให้ทองของตนสีออกเหลืองขาวก็ผสมเงินในอัตราส่วนที่พอเหมาะ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะได้ความบริสุทธิ์ของทอง 96.5 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน


หน่วยวัดน้ำหนักทอง

กรัม [Grammes]
จะใช้กันเป็นส่วนใหญ่ จะถือได้ว่าเป็นสากล หรือนานาชาติก็ได้

ทรอยออนซ์ [Troy Ounces]
และเป็นหน่วยน้ำหนักที่ใช้ในการกำหนดราคาซื้อขายกันในตลาดโลก
ส่วนใหญ่จะใช้กันในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย

ตำลึง,เทล [Taels]
ส่วนใหญ่ใช้กันในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่นฮ่องกง ไต้หวัน จีน

โทลา [Tolas]
จะใช้กันในอินเดีย ปากีสถาน สิงคโปร์ และประเทศในตะวันออกกลาง

ชิ [Chi]
ใช้ในประเทศเวียตนาม

ดอน [Don]
ใช้ในประเทศเกาหลีใต้

[mesghal]
ใช้ในประเทศอิหร่าน

บาท [Baht]
ใช้ในประเทศไทย

ส่วนใหญ่เรามักจะคุ้นหน้าคุ้นตากับทองคำในรูปแบบของเครื่องประดับอันสวยงาม และทองคำแท่งในภาพลักษณ์ ที่หลายคนรู้จักและมักเห็นแต่เพียงรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่จะมีสักกี่คนที่เคยพบเห็นทองคำแท่งในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป อีก


ก้อนทองคำ (Gold Nugget) เป็นก้อนแร่ทองคำที่พบได้ตามธรรมชาติในลักษณะที่คล้ายก้อนหิน การพบก้อนทองคำแบบนี้ได้จุดชนวน ให้เกิดยุคตื่นทองถึง 4 ครั้งในช่วง ศตวรรษที่ 19 เริ่มตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1840 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในทศวรรษที่ 1850 ที่ประเทศออสเตรเลีย ในทศวรรษที่ 1880 ที่แอฟริกาใต้และในทศวรรษที่ 1890 ที่ประเทศแคนาดา ซึ่งปัจจุบันแหล่งผลิตทองคำยังคง มาจากทั้ง 4 ประเทศนี้เป็นหลักและยังมีที่ผลิตจากสหภาพโซเวียตอีกด้วย แหล่งที่พบทองคำในลักษณะนี้มากที่สุด คือประเทศแอฟริกาใต้ และมีการพบก้อนทองคำก้อนใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่มีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการเรียกชื่อว่า "เวลคัม สเตรนเจอร์"ขุดพบที่ ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ.2401 มีน้ำหนักถึง 2282 ออนซ์ (71 กิโลกรัม)


ทองคำแท่งกิโล (Kilo bars) ทองคำแท่งกิโลจะเป็นทองคำแท่งขนาดเล็กที่มีการซื้อขาย มากที่สุดในโลก ทองคำประเภทนี้ เป็นที่นิยมในบรรดานักลงทุน และนักลอกเลียนแบบ เนื่องจากทองคำแท่งกิโลเหล่านี้จะถูก ซื้อขายกันที่ระดับราคาต่ำมาก จากมูลค่าจริงของ ส่วนประกอบทอคำในขณะที่ทองคำแท่งกิโล ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างตามแบบฉบับสากล แต่รูปตรงดั้งเดิมที่เสมือน "ก้อนอิฐ"ยังคงเป็นที่นิยม ของนักลงทุนและนักเลียนแบบบางคนในยุโรปอยู่


ทองคำแท่ง "บิสกิต" : "Biscuit" Bars ทองคำแท่ง "บิสกิต" ขนาดน้ำหนัก 5 เทล (6 ออนซ์หรือ 187 กรัม) จะเป็นที่นิยมมากที่สุด "บิสกิต" 5 เทคลที่ผลิตในฮ่องกงได้รับรองจากสมาคมผู้ค้าทองและเงินของจีน (Chinese Gold & Silver Exchange Society) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2453 มีการซื้อขายกันในปริมาณที่สูง


ทองคำแท่ง"เรือ" : “Boat" Bars ทองคำแท่ง "เรือ" มีขนาดน้ำหนักตั้งแต่ 0.5 เทลถึง 10 เทลรูปทรง "เรือ" แบบดั้งเดิมนี้เป็นที่ รู้จักกันว่า มักใช้สำหรับเป็นเหรียญเงินและเหรียญอื่น ๆ ของจีน ย้อนหลังกลับ ไปนานถึงช่วงราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337- พ.ศ. 763 )การที่สร้างรูปแบบเป็น ทองคำแท่งเทลทั้ง 3 ลักษณะนี้ เป็นรูปแบบที่ยอมรับกันทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันทองแท่งทั้ง 3 รูปแบบนี้ เป็นการเลียนแบบ เหรียญโบราณ ของจีนสำหรับอักษรหรือเครื่องหมายที่ปรากฏอยู่ด้านบนของทองคำแท่งเทลทั้ง 3 ลักษณะนี้ ก็คือชื่อของบริษัทที่ผลิตนั่นเอง


ทองคำแท่ง "โดนัท" : "Doughnut" Bars ทองคำแท่ง "โดนัท" มีให้เลือกในขนาดเล็ก 3 ขนาดคือ 0.5 ,1 และ 2 เทล รูปทรงแบบโดนัท นั้นเป็นรูปทรงดั้งเดิมของจีนที่ใช้เหรียญต่าง ๆ รูตรง กลางนั้นทำให้สามารถเก็บเรียงทองคำแท่งหลายชิ้นซ้อน ๆ กันได้บนแท่ง ไม้ และผูกเข้าไว้ด้วยกันอย่างแน่นหนาด้วยเชือก


การแปลงหน่วยวัดทองคำแท่ง

1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 ทรอยเอานซ์
1 ทรอยเอานซ์ เท่ากับ 31.104 กรัม
1 ตำลึง เท่ากับ 37.429 กรัม
1 โทลา เท่ากับ 11.6638 กรัม
1 ชิ เท่ากับ 3.75 กรัม
1 ดอน เท่ากับ 3.75 กรัม
1 mesghal เท่ากับ 4.6083 กรัม
1 บาท (ทองคำแท่ง) เท่ากับ 15.244 กรัม
1 บาท (ทองรูปพรรณ) เท่ากับ 15.16 กรัม
1 บาท เท่ากับ 4 สลึง
1 สลึง เท่ากับ 10 หุ๋น
1 หุ๋น เท่ากับ 0.38 กรัม

การกำหนดน้ำหนักของทองในประเทศไทย มีหน่วยเป็น “บาท” โดยทองคำแท่ง 1 บาท หนัก 15.244 กรัม ส่วนทองรูปพรรณ 1บาท หนัก 15.16 กรัม


Gold Investment : เริ่มต้นซื้อ-ขายทองคำ


การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นก่อนจะไปถึงขั้นตอนของการซื้อขาย ต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นกันก่อน

Q การซื้อขายทองคำมีการส่งมอบทองคำกันจริงๆ หรือเป็นแค่สัญญาซื้อขายกันลอยๆ
A การตกลงซื้อขาย ส่งมอบทองคำและชำระราคากันจริงๆ แต่ปัจจุบันมีผู้สนใจลงทุนซื้อเป็นทองคำแท่งมากขึ้น แต่ติดปัญหาเรื่องการจัดเก็บ เพราะไม่สะดวก และไม่ปลอดภัยเพียงพอ แหล่งรับซื้อ-ขายทองคำบางแห่งจึงใช้ “ใบรับฝากทอง” แทนที่จะมารับทองคำจริงๆ และนำกลับไปเก็บ โดยใบรับฝากทองที่ออกจะเป็นในนามบริษัท ซึ่งเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกทองคำโดยตรง

Q การซื้อขายทองคำมีการกำหนดราคาจากที่ใด

A สมาคมค้าทองคำ

Q ในการลงทุนควรจะซื้อทองชนิดไหน
A ทองคำในการลงทุนมี 2 ชนิด คือ 96.5% และ 99.99% ซึ่งจะเลือกซื้อแบบใดขึ้นกับลักษณะความต้องการในการลงทุน โดยปกติแนะนำให้ซื้อ 96.5% เนื่องจากเป็นทองคำมาตรฐานของไทย แต่หากต้องการซื้อเพื่อการผลิตหรือขายไปต่างประเทศก็ควรเป็นทองคำ 99.99% ส่วนผู้ที่ต้องการซื้อเพื่อออมควรเป็นทองคำ 96.5% เพราะมีราคาแจ้งประกาศอย่างเป็นทางการ มั่นใจได้ว่าไม่ถูกโกง

Q การลงทุน 9999 กับ 965 อย่างไหนดีกว่า
A การลงทุนใน 9999 จะซื้อขายกันที่ขั้นต่ำ 1 กิโลกรัม จึงต้องใช้เงินลงทุน 1 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย ในขณะที่ 965 ซื้อขายที่ขั้นต่ำ 1 บาท และสามารถตรวจสอบราคาที่แน่นอนได้จากสมาคมค้าทองคำ ในแง่ของผลกำไร ทอง 9999 ให้ผลกำไรที่ดีกว่า แต่อาจจะไม่มีสภาพคล่องดีเท่ากับ 965 เนื่องจากร้านทองเล็กๆอาจจะไม่มีเงินรองรับพอ สรุปคือ ผู้เริ่มลงทุนควรจะลงทุนในทอง 965 ก่อน

Q อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาทองคำขึ้นลง
A ราคาทองคำในไทยจะขึ้นกับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ราคาทองคำตลาดโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ โดยราคาทองคำในไทยจะเพิ่มขึ้นเมื่อราคาทองคำตลาดโลกเพิ่ม และเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

Q สิ่งที่ควรทราบสำหรับผู้ที่ต้องการเก็งกำไร มีอะไรบ้าง
A การลงทุนเพื่อเก็งกำไร สิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ 3E ได้แก่
Excess money คือ มีเงินเหลือ และ ต้องทราบว่าจะแบ่งเงินออมกี่เปอร์เซนต์ มาลงทุนในทองคำ ซึ่งจำนวนเงินที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 10% ต่อการซื้อ-ขายหนึ่งครั้ง เพื่อกระจายความเสี่ยงและควบคุม Port การลงทุนให้เหมาะสม
Experince คือ ต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนทองคำให้เพียงพอก่อนที่จะเริ่มซื้อ-ขาย อย่างน้อย 1 เดือน
Education คือ ต้องศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง

Q ข้อดี-ข้อเสียของการลงทุนในทองคำ เปรียบเทียบกับการลงทุนประเภทอื่นๆ
A (1) การลงทุนในธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงิน มีความเสี่ยงน้อย แต่ได้ผลตอบแทนที่ต่ำ
(2) การเล่นหุ้น มีความเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน
โดยเฉลี่ยผลตอบแทนจากการเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะอยู่ที่ 5-7%
(3) การลงทุนในทองคำ เหมาะที่จะลงทุนเนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาค่อนข้างแน่นอน สามารถกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนได้ สภาพคล่องสูง ซึ่งตามหลักการบริหารพอร์ตทั่วไปควรลงทุนในทองคำประมาณ 5 - 10 % ของการลงทุนทั้งหมด ส่วนประชาชนทั่วไปควรลงทุนในทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ ประกอบกับขณะนี้ราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นช่วงที่เหมาะแก่การลงทุนที่สุด แต่ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงควรติดตามและศึกษาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

Q การซื้อขายทองคำแท่ง หากลูกค้ามีกำไรที่เกิดจากการขายทองคำแท่ง จะมีการเรียกเก็บภาษีจากสรรพากรหรือไม่

A ไม่มีเนื่องจากทองคำแท่งจัดเป็นสินทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้เช่นเดียวกับ รถยนต์ จึงไม่มีการเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด


Gold Investment : แปลงน้ำหนัก & คิดราคาทอง

การแปลงน้ำหนักทองคำ

ทองคำ ความบริสุทธิ์ 96.5%
ทองรูปพรรณ 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
ทองคำแท่ง 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม
ทองคำ ความบริสุทธิ์ 99.99%
ทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 ออนซ์
ทองคำ 1 ออนซ์ เท่ากับ 31.104 กรัม

การคิดราคาทองของสมาคมค้าทองคำ

การตั้งราคาทองนั้นอ้างอิงจาก 2 ปัจจัยหลักก็คือ Goldspot และค่าเงินบาท

Goldspot คือ ราคาทองเมืองนอก
โดย ราคาทองที่เห็นนี้จะมีหน่วยเป็นเงินดอลล่าร์ ราคาทองจะวิ่งขึ้นลงตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมง โดยมีแรงซื้อขายจากตลาดทั่วโลก กราฟทองตัวนี้จึงมีความจำเป็นสำหรับการดูทิศทางราคาทองคำของนักลงทุนทองคำ

+ USD - THB คือ ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลล่าร์ เมื่อราคาทองใช้เงินสกุลดอลล่าร์เป็นหลัก เมื่อจะแปลงราคามาเป็นราคาในเมืองไทย จึงต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์ มาตีเป็นราคาซื้อขายในเมืองไทยอีกที

สูตรคำนวณราคาทองไทย = (spot gold+1) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x 0.473
(ปัจจุบันอาจมีค่า K=กั๊ก เข้าไปด้วยจะเป็นบวก หรือ ลบ ก็แล้วแต่สมาคมท่านจะกรุณา ไม่มีกดตายตัว )

http://th.wikipedia.org/wiki/
http://chemistry.about.com/od/jewelrychemistry/a/goldalloys.htm
http://www.goldtraders.or.th/gold.php?id=7
http://www.coverdd.com/gold-forum/
http://geothai.net/2009/index.php?option=com_content&view
=article&id=231:useofgold&catid=56:rocks&Itemid=100006