Hachi ฮาชิ หัวใจพูดได้




Hatchi: A Dog's Tale Hatchi: A Dog's Tale


ฮาจิโกะ สุนัขผู้ซื่อสัตย์ (Akita)

Hachiko Monogatari

Hachikō ฮาจิโกะ (Nov 10,1923 - March 8, 1935)

ฮาจิโกะ เป็นสุนัขสายพันธุ์อคิตะ (Akita) เกิดที่เมืองโอดาเตะ
จังหวัดอคิตะ ประเทศญี่ปุ่น
ฮาจิโกะเป็นที่จดจำของผู้คนในความจงรักภักดี ที่เค้ามีให้กับเจ้านายของเค้า
จนได้รับการขนานนามว่า ฮาจิโกะสุดยอดสุนัขผู้ซื่อสัตย์

ฮาจิโกะมาอยู่กับศาสตราจารย์ เอชะบุโระ อุเอะโนะ (Hidesamuroh Ueno)
อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล (มหาวิทยาลัยโตเกียว)
เมื่ออายุได้เพียง 2 เดือน ฮาจิโกะเป็นสุนัขพันธุ์อคิตะสายพันธุ์แท้ที่หาได้ยากยิ่ง

ศ.อุเอโนะ

ศ.อุเอโนะต้องเดินทางไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัย
โดยขึ้นรถไฟที่สถานีชิบุยะ
ตอนเช้าฮาจิโกะจะคอยส่งเจ้านายที่ประตูหน้าบ้าน
และในตอนเย็นเมื่อถึงเวลาเลิกงาน 15.00 น.
ฮาจิโกะจะมากระดิกหางรอพบเจ้านายที่สถานีรถไฟอยู่เสมอ

แต่แล้วเมื่อฮาจิโกะยังมีอายุไม่ถึง 2 ปี ในวันที่ 21 พฤษภาคม 1925 ศ.อุเอะโนะ
ได้เกิดอาการเส้นโลหิตในสมองแตก และเสียชีวิตขณะอยู่ที่มหาวิทยาลัย
ในวันนั้นฮาจิโกะยังคงมารอเจ้านายของเค้า ที่สถานีรถไฟอย่างใจจดใจจ่อ
โดยไม่รู้เลยว่าจะไม่มีวันได้พบกับเจ้านายอีกแล้ว

ภายหลังการเสียชีวิตของ ศ.อุเอโนะ ภรรยาของเขาได้ย้ายบ้าน
และนำฮาจิโกะไปให้กับญาติของศาสตราจารย์ ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายกิโลเมตร
แต่ไม่มีอะไรขังหัวใจของฮาจิโกะได้ เพราะทุกครั้งที่หนีออกมาได้
เค้าจะวิ่งตรงไปที่บ้านเก่าของเค้า แต่ก็ไม่เคยเจอใคร ในที่สุดฮาจิโกะ
ก็รู้แล้วว่าเจ้านายของเค้าไม่ได้อยู่ที่บ้านอีกแล้ว
เค้าจึงกลับไปรอที่สถานีรถไฟเหมือนเมื่อครั้ง
ที่เจ้านายยังมีชีวิตอยู่

Hachiko กับเด็กๆที่สถานีรถไฟ

ฮาจิโกะจะวิ่งไปรอเจ้านายของเค้าที่สถานีรถไฟ ในวลา 15.00 น.ทุกวัน
ทุกครั้งที่รถไฟเข้าเทียบท่า เค้าก็จะชะเง้อคอคอยมองหาเจ้านาย
ท่ามกลางผู้คนมากมาย ฮาจิโกะทำแบบนั้นตรงเวลา
เหมือนเดิมทุกๆ วัน ตลอดระยะเวลา 10 ปี โดยมี คิคุซะบุโระ โคบายาชิ
อดีตคนสวนของศาสตราจารย์ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ กับสถานีรถไฟเป็นคนคอยดูแลฮาจิโกะ
คนที่ผ่านไปมาบางคนก็ให้อาหาร และวิเคราะห์กันไปว่า
ที่ฮาจิโกะมาทุกวันนั้นเป็นเพราะหิวอาหาร แต่เมื่อสังเกตพฤติกรรมให้ดีแล้วจะพบว่าเค้า
จะมาเฉพาะช่วงตอนเย็นเท่านั้น โดยเฉพาะอาการที่เค้าชะเง้อมองรถไฟขบวน
เวลา 15.00 น.เมื่อเข้าจอดนั้น เป็นการที่เค้ามองหา ศ.อุเอโนะนายของเค้าจริงๆ

Hachiko กับผู้คนที่ผ่านไปมา

เรื่องราวความจงรักภักดีของเค้า เป็นที่กล่าวขานแก่ผู้คน ในปี 1932
เรื่องของฮาจิโกะถูกตีพิมพ์ลงบนหนังสือพิมพ์ของญี่ปุ่น
ผู้คนทั่วประเทศต่างเดินทางมาดูและมาเล่นกับฮาจิโกะ
ชาวญี่ปุ่นยังยกย่องให้เจ้าฮาจิโกะเป็นแบบอย่างที่ดี
สำหรับเด็กๆอีกด้วย ถึงขนาดที่จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ได้ให้หล่อรูปทองแดงขึ้นในปี 1934
และให้นำไปตั้งไว้ที่สถานีรถไฟชิบุย่า

รูปปั้นที่ย่านชิบูยา


และแล้ว... ในวันที่ 8 มีนาคม 1935
มีคนพบฮาจิโกะนอนตายอยู่ตรงที่ที่เค้า
มักจะมารอคอยเจ้านายตลอดระยะ
เวลา 10 ปีที่ผ่านมา
ในที่สุด... ฮาจิโกะก็ได้เดินทางกลับไปพบ
เจ้านายอีกครั้ง... สิ้นสุดการรอคอยที่ยาวนานเสียที

ร่าง Hachiko ที่พิพิธภัณฑ์

ข่าวการตายของฮาจิโกะนั้น
ถูกตีพิมพ์ลงบนหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น
ร่างของฮาจิโกะนั้นถูกนำไปเก็บรักษาเอาไว้
ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ในกรุงโตเกียว นอกจากรูปหล่อที่ย่านชิบูยะแล้ว
ยังมีรูปปั้นที่เตือนให้ระลึกถึงฮาจิโกะอยู่อีกหลายแห่ง
เช่น ที่หน้าสถานีรถไฟโอะดะเตะ ในจังหวัดอากิตะ
บ้านเกิดของเจ้าฮาจิโกะ เป็นต้น

ร่างของฮาจิโกะที่อยุ่ตรงกลางซึ่งเก็บเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์
(ล่าง ซ้าย) รูปปั้นของฮาจิโกะที่หน้าสถานีรถไฟโอะดะเตะ
(ล่าง ขวา) หลุมศพของฮาจิโกะที่ตั้งอยู่ด้านข้างของหลุมศพศาสตราจารย์อุเอะโนะ


เรื่องของฮาจิโกะยังคงเป็นที่เล่าขาน
เป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่ มีการนำไปสร้างเป็นละคร
ภาพยนตร์ การ์ตูน หนังสือเรียนและอื่นๆ

สุนัขตัวเล็กๆตัวนี้สอนให้รู้ว่า
"ความรักแท้มีจริง และเพื่อความรักแล้วเราต้องมีความอดทน
ความซื่อสัตย์ และมีความหวัง ตราบสิ้นลมหายใจ"


สุนัขพันธุ์ อคิตะ (Akita)
กลุ่มสุนัข ใช้งาน (Working Group)
มาตรฐานของพันธุ์ (Breed Standard)
ลักษณะโดยทั่วไป (General Appearance)

Large, powerful, alert, with much substance and heavy bone. The broad head, forming a blunt triangle, with deep muzzle, small eyes and erect ears carried forward in line with back of neck, is characteristic of the breed. The large, curled tail, balancing the broad head, is also characteristic of the breed


หัว (Head)
Massive but in balance with body; free of wrinkle when at ease. Skull flat between ears and broad; jaws square and powerful with minimal dewlap. Head forms a blunt triangle when viewed from above. Fault–Narrow or snipy head. Muzzle–Broad and full. Distance from nose to stop is to distance from stop to occiput as 2 is to 3. Stop–Well defined, but not too abrupt. A shallow furrow extends well up forehead. Nose–Broad and black. Liver permitted on white Akitas, but black always preferred. Disqualification–Butterfly nose or total lack of pigmentation on nose. Ears–The ears of the Akita are characteristic of the breed. They are strongly erect and small in relation to rest of head. If ear is folded forward for measuring length, tip will touch upper eye rim. Ears are triangular, slightly rounded at tip, wide at base, set wide on head but not too low, and carried slightly forward over eyes in line with back of neck. Disqualification–Drop or broken ears. Eyes–Dark brown, small, deep-set and triangular in shape. Eye rims black and tight. Lips and Tongue–Lips black and not pendulous; tongue pink. Teeth–Strong with scissors bite preferred, but level bite acceptable. Disqualification–Noticeably undershot or overshot

คอ เส้นด้านบนและลำตัว (Neck, Topline, Body)
Neck–Thick and muscular; comparatively short, widening gradually toward shoulders. A pronounced crest blends in with base of skull. Body–Longer than high, as 10 is to 9 in males; 11 to 9 in bitches. Chest wide and deep; depth of chest is one-half height of dog at shoulder. Ribs well sprung, brisket well developed. Level back with firmly-muscled loin and moderate tuck-up. Skin pliant but not loose. Serious Faults–Light bone, rangy body.

หาง (Tail)
Large and full, set high and carried over back or against flank in a three-quarter, full, or double curl, always dipping to or below level of back. On a three-quarter curl, tip drops well down flank. Root large and strong. Tail bone reaches hock when let down. Hair coarse, straight and full, with no appearance of a plume. Disqualification–Sickle or uncurled tail
ส่วนหน้าและส่วนหลัง (Forequarters and Hindquarters)Forequarters–Shoulders strong and powerful with moderate layback. Forelegs heavy-boned and straight as viewed from front. Angle of pastern 15 degrees forward from vertical. Faults–Elbows in or out, loose shoulders. Hindquarters–Width, muscular development and bone comparable to forequarters. Upper thighs well developed. Stifle moderately bent and hocks well let down, turning neither in nor out. Dewclaws–On front legs generally not removed; dewclaws on hind legs generally removed. Feet–Cat feet, well knuckled up with thick pads. Feet straight ahead.

ขน (Coat)
Double-coated. Undercoat thick, soft, dense and shorter than outer coat. Outer coat straight, harsh and standing somewhat off body. Hair on head, legs and ears short. Length of hair at withers and rump approximately two inches, which is slightly longer than on rest of body, except tail, where coat is longest and most profuse. Fault–Any indication of ruff or feathering


สี (Color)
Any color including white; brindle; or pinto. Colors are brilliant and clear and markings are well balanced, with or without mask or blaze. White Akitas have no mask. Pinto has a white background with large, evenly placed patches covering head and more than one-third of body. Undercoat may be a different color from outer coat

ท่าเดิน (Gait)

Brisk and powerful with strides of moderate length. Back remains strong, firm and level. Rear legs move in line with front legs

ลักษณะนิสัย (Temperament)
Alert and responsive, dignified and courageous. Aggressive toward other dogs. Disqualifications Butterfly nose or total lack of pigmentation on nose. Drop or broken ears. Noticeably undershot or overshot. Sickle or uncurled tail. Dogs under 25 inches; bitches under 23 inches.


Hachi ฮาชิ หัวใจพูดได้


ภาพยนตร์แนว ดราม่า
แสดงนำ Richard Gere, Joan Allen, Koji Yakusho
ผู้กำกับ Lasse Hallstorm
จัดจำหน่ายโด บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด

ภาพยนตร์อเมริกันที่สร้างความอบอุ่นหัวใจเรื่องนี้ ดัดแปลงมาจากเรื่องเล่า เลื่องชื่อของประเทศญี่ปุ่น เรื่องราววีรกรรมของสุนัขพันธ์อากิตะ ชื่อเจ้า ฮาชิโกะ

ฮาชิโกะ - เจ้าสุนัขสุดพิเศษ ตัวนี้ มีชื่อเล่นเรียกสั้นๆ ว่า ฮาชิ บังเอิญได้มาอยู่ร่วมกับเจ้าของของมัน ปาร์คเกอร์ (ริชาร์ด เกียร์) อาจารย์มหาวิทยาลัย ทุกๆ เช้า ฮาชิ จะเดินตามไปส่งเจ้าของเดินทางขึ้นรถไฟไปทำงานที่สถานีรถไฟ และ ทุกๆ เย็นก็จะมารอรับเขาเมื่อเลิกงาน... แต่ทุกอย่างต้องเปลี่ยนไป จนทำให้เรื่องราวของ ฮาชิกลายเป็นตำนานที่ถูกเล่าขานมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น ความจงรักภักดีที่ฮาชิมอบให้แก่เจ้าของของมัน เผยให้เห็นถึงพลังแห่งความรักอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมให้อะไรมาหยุดยั้ง แม้ฮาชิ จะแสดงออกเพียงสิ่งเรียบง่ายของฮาชิ แต่ก็ยังยืนยันถึงความรักอันยิ่งใหญ่เหนืออื่นใด

ความซื่อสัตย์เหนือกาลเวลา

ตั้งแต่ปี 1930 ที่เรื่องราวของสุนัขพันธ์อากิตะ ผู้ซื่อสัตย์ ชื่อ ฮาชิโกะ จาก โตเกียว ถูกเล่าขานกลายเป็นตำนานเลื่องลือไปทั่วประเทศญี่ปุ่น ดังเช่นที่มี รูปปั้นของสุนัขตัวนี้ตั้งอยู่อย่างน้อย 3 ตัวอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่นเป็นหลักฐานยืนยัน และมีหนึ่งในรูปปั้นนั้น ยังเป็นจุดนัดพบที่โด่งดังที่สุดของมหานครโตเกียว ที่สุดจะพลุกพล่าน แต่ทุกคนที่โตเกียวก็จะรู้ทันที เมื่อบอกว่า พบกันที่ “ประตูฮาชิ” สถานีรถไฟชิบูย่า

กว่า 70 ปีแล้วที่เรื่องราวของ ฮาชิโกะ เปรียบประดุจฮีโร่ของญี่ปุ่น เรื่องราวสุดรักนี้ ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของญี่ปุ่นมาแล้วหลายครั้ง นับตั้งแต่ Hachikō Monogatari (1987) ถูกใช้เป็นตัวละครในหนังสือสำหรับเด็กชื่อดังหลายเล่ม อาทิ Hachikō: The True Story of a Loyal Dog เขียนโดย พาเมล่า เอส.เทอร์เนอร์ และ Hachiko Waits เขียนโดน เลสเลียร์ นิวแมน ทั้งสองเล่มตีพิมพ์ในปี 2004

เรื่องราวของมิตรภาพ พันธะสัญญาต่อเพื่อนที่ไม่ถูกทำลายด้วยกาลเวลาเรื่องนี้ กำลังถูกหยิบมาถ่ายทอดในรูปแบบของภาพยนตร์อเมริกัน ฝีมือผู้กำกับฯ ผู้เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์
“เลสส์ ฮอลล์สตอร์ม”


ฮอลล์สตอร์ม เล่าถึงการได้รับบทภาพยนตร์เรื่องนี้มาจาก เพื่อนเก่าของเขา ริชาร์ด เกียร์ - ผู้ซึ่งรับตำแหน่งผู้อำนวยงานสร้างหนัง Hachiko “นับเป็นของขวัญสำหรับผมเลย เป็นเรื่องราวที่วิเศษสุด และในฐานะที่ตัวผมเองเป็นคนรักสุนัขเช่นกัน นี่เป็นบทหนังที่น่าอัศจรรย์ใจมาก”

ริชาร์ด เกียร์ และ เลสส์ ฮอลล์สตอร์ม เป็นเพื่อนบ้านกัน ในย่านนิวยอร์ค และนับตั้งแต่ทำงานร่วมกันในหนัง The Hoax ปี 2006 พวกเขาต่างก็นึกฝันจะทำหนังด้วยกันอีก แต่ก็ใช้เวลาไม่น้อย สำหรับริชาร์ด เกียร์ที่จะเห็นด้วยกับไอเดียสร้างหนังสำหรับครอบครัวสักเรื่อง จนกระทั่งเขารับฟังเรื่องราวฮาชิโกะ ทำให้เขานึกถึงผู้กำกับฯ ฮอลล์สตอร์ม สำหรับหนังเกี่ยวกับสุนัขที่มีเนื้อหาสวยงาม น่าพิศวง เรื่องนี้ทันที

ริชาร์ด เกียร์ กล่าวถึง ผู้กำกับฯ ฮอลล์สตอร์ม ว่า “เลสส์เป็นพวกคนแคระตัวแสบในนิทานยุโรป ภรรยาของเขาและผมขำกับนิสัยพวกนี้ของเขาเสมอ เพราะเรารู้ว่าเขาเป็นคนอย่างไร และต้องการควบคุมทุกอย่างขนาดไหน แต่เราก็เดาไม่ถูกเลยว่า เขาทำแบบไหนกับหนังเรื่องนี้” หนังที่เรียบง่ายแต่แฝงเนื้อหาจับใจเช่นนี้ ต้องการผู้กำกับฯที่มีมนต์พิเศษอย่าง ฮอลล์สตอร์มเท่านั้นที่จะกำกับฯถ่ายทอดออกมาได้”

วิคกี้ ซิจิคูนิ หว่อง ผู้อำนวยการสร้าง ได้รับแรงบันดาลใจในการโปรดิวซ์ Hachiko: A Dog’s Story ระหว่างที่เธอเดินทางไปญี่ปุ่น กลางปี 1980 ท่ามกลางความคึกคักจอแจ เร่งรีบของ สถานีรถไฟชิบูย่า โตเกียว หว่อง ได้รับเแรงบันดาลใจจากรูปปั้นบรอนซ์ ที่สร้างไว้ให้ระลึกถึงความทรงจำที่มีต่อ สัตว์เลี้ยงแสนรักของชาวญี่ปุ่น รูปปั้นสุนัขพันธ์ อากิตะ ชื่อ ฮาชิโกะ หว่องได้ถ่ายภาพความงามของรูปปั้น และจดจำเรื่องราวที่น่าประทับใจนั้น จนทำให้ต่อมา เธอตั้งชื่อสุนัขของตนเองว่า ฮาชิโกะ หลังจาก เจ้า”ฮาชิ” ของเธอตายจากไป ความโศกเศร้าอาลัยทำให้เธอตัดสินใจที่จะผลักดันให้เรื่องราวของสุนัขพิเศษสุดนี้เป็นภาพยนตร์

เธอระดมทุนมาจากกลุ่มเพื่อนๆ และ ได้โปรดิวเซอร์ผู้มีประสบการณ์ พอล เมสัน เข้ามาร่วมทีมสร้าง ต่อมาก็ได้ นักเขียนบท สตีเฟน ลินด์เซย์ มาเขียนบท จากเรื่องราวที่เป็นตำนานนี้ขึ้นมาใหม่ กระทั่งได้ตัวแทนจัดจำหน่าย และ บิลล์ จอห์นสัน มาร่วมทุนสร้าง จึงทำให้ความฝันของหว่องที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของฮาชิโกะ เป็นภาพยนตร์อเมริกันกลายเป็นความจริง




เรื่องจริงตามประวัติศาสตร์


ในปี 1924 ฮาชิโกะ ถูกพามาโตเกียวกับเจ้าของของมัน ศาสตราจารย์ ฮิเดซามุโระ อูเอโนะ แห่งภาควิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยโตเกียว ตลอดชีวิตของศาสตราจารย์ ฮาชิโกะ ส่งเขาออกจากบ้านตอนเช้า และรอรับเขาหลังเลิกงานจากที่สถานีรถไฟชิบูย่า เดินกลับบ้าน ทั้งคู่ดำเนินชีวิตประจำวันเช่นนี้มาตลอด จนกระทั่งเดือน พฤษภาคมปี 1925 อุเอโนะ ก็ไมได้กลับมากับรถไฟเที่ยวเย็นเหมือนเคย ท่านศาสตราจารย์หัวใจวายที่มหาวิทยาลัยในวันนั้น และเสียชีวิตจากไปโดยไม่ได้กลับมาที่สถานีรถไฟที่ซึ่งเพื่อนของเขายังรอคอยอยู่

ฮาชิโกะ หนีออกจากบ้านไป หลังการเสียชีวิตของเจ้าของ แต่ก็ยังวนเวียนกลับมาที่บ้านเก่าครั้งแล้วครั้งเล่า จนฮาชิรับรู้แล้วว่า ศาสตราจารย์ไม่ได้อยู่ที่บ้านนั้นอีกแล้ว ดังนั้น ฮาชิโกะจึงไปตามหาเจ้าของที่สถานีรถไฟที่ซึ่งฮาชิเคยได้พบเขาบ่อยๆ แต่ละวันผ่านไป ฮาชิโกะก็ยังเฝ้ารอการกลับมาของอูเอโนะ และแต่ละวัน ก็ไม่เคยได้เห็นเจ้านายเดินออกมาท่ามกลางผู้คนมากมายที่ผ่านไปมาในสถานี


การปรากฏตัวอย่างแน่นอนของฮาชิที่หน้าสถานีรถไฟ กลายเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจของผู้คน มีคนจำนวนมากที่ใช้ชีวิตวนเวียนอยู่หน้าสถานีชิบูย่า และเคยเห็นฮาชิ กับ ศาสตราจารย์อูเอโนะด้วยกัน วันเวลาที่ผ่านไปพวกเขาจึงได้รู้ว่า ฮาชิโกะเฝ้ารอเจ้าของที่เสียชีวิตไปแล้ว พฤติกรรมนี้กลายเป็นความประทับใจ และ คนเหล่านี้ที่เลี้ยงดูให้อาหาร ดูแลฮาชิโกะตลอดช่วงเวลาแห่งการรอคอย

เหตุการณ์นี้ดำเนินไปนานถึง 10 ปี ที่ฮาชิโกะจะมาปรากฏตัวเวลาเย็น ที่รถไฟเข้าสู่สถานีสม่ำเสมอ ในปีที่ 10 นั้น อดีตลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ (ผู้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญสุนัขพันธ์อากิตะ) ได้เห็นฮาชิโกะที่สถานีรถ และติดตามไปจนถึงบ้านที่โคบายาชิที่ซึ่งเขาได้รู้เรื่องประวัติชีวิตของฮาชิโกะ เพียงไม่นานจากนั้น อดีตนักศึกษาคนนั้นก็ได้ตีพิมพ์สารคดีเกี่ยวกับสุนัขพันธ์อากิตะในญี่ปุ่น และทำการค้นคว้าพบ ว่า มีเพียง 30 สายพันธ์แท้ของอากิตะที่ยังคงอยู่ รวมทั้ง ฮาชิโกะ ที่สถานีรถไฟชิบูย่า ตัวนี้ด้วย

อดีตลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ อูเอโนะ ผู้นั้น ยังกลับไปเยี่ยมฮาชิโกะบ่อยๆ ตลอดเวลาหลายปีเขาตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ ฮาชิโกะ เป็นที่จดจำในเรื่องความจงรักภักดี ในปี 1932 หนึ่งในบทความนั้นได้ตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโตเกียว ส่งให้สุนัขตัวนี้มีชื่อเสียงไประดับนานาชาติ ฮาชิโกะกลายเป็นสิ่งดึงดูดระดังประเทศ ความศรัทธาซื่อสัตย์ต่อเจ้าของสร้างความสะเทือนใจประชาชนญี่ปุ่น เปรียบเป็นจิตวิญญาณของความจงรักภักดีที่ทุกครอบครัวควรบรรลุถึง ครูและผู้ปกครองใช้การรอคอยของฮาชิโกะ เป็นตัวอย่างสอนเด็กๆ และศิลปินชื่อดังของญี่ปุ่นได้ปั้นรูปปั้นของสุนัขพันธ์นี้ รวมทั้งทั่วประเทศญี่ปุ่นก็มีการเพาะพันธ์อากิตะอย่างแพร่หลายมากขึ้น

เมษายน ปี 1934 รูปปั้นบรอนซ์ รูปร่างเหมือนฮาชิโกะ ถูกตั้งวางหน้าสถานีรถไฟชิบูย่า และตัวฮาชิโกะเองเป็นผู้เปิดผ้าคลุม (ฮาชิโกะตายในปีถัดมา วันที่ 8 มีนาคม 1935) แต่ภายหลัง รูปปั้นถูกนำไปรีไซเคิล เพื่อสงครามอันเป็นผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หลังสงครามโลกจบลง ฮาชิโกะก็ไม่ได้ถูกหลงลืม ปี 1948 ทาเคชิ เอนโดะ ลูกชายของศิลปินที่ปั้นรูปปั้นอันแรก ได้สร้างรูปปั้นอันที่สอง ซึ่งมาตั้ง เดือนสิงหาคม 1948 และยังคงยืนเด่นเป็นจุดนัดพบยอดนิยม ในบรรดา 5 ประตูทางออกของสถานีรถไฟชิบูย่า ด้านใกล้รูปปั้นฮาชิโกะนี้ เรียกกันในชื่อ “ประตูฮาชิ”

ยังมีรูปปั้นเหมือนฮาชิโกะอีกตัว ตั้งอยู่ที่บ้านเกิดของฮาชิโกะ ที่สถานีรถไฟ โอดาเตะ และในปี 2004 รูปปั้นอันใหม่ของฮาชิโกะ เพิ่งถูกจัดตั้งวางบนฐานหินเดิมจากชิบูย่า นำไปวางตั้งไว้ด้านหน้าปากทางเข้าพิพิธภัณฑ์สุนัขพันธ์อากิตะที่เมืองโอดาเตะ ด้วย

ปี 1987 ภาพยนตร์ญี่ปุ่น Hachikō Monogatari ถ่ายทอดเรื่องราวของฮาชิโกะตั้งแต่เกิดจนตาย และจบหนังด้วยภาพจิตนาการ ฮาชิโกะได้พบกับเจ้าของที่ฮาชิโกะรอคอย ภาพยนตร์เรื่องนั้น กลายเป็นภาพยนตร์ ประสบความสำเร็จสูง และยังคงติดอันดับเป็นประสบความสำเร็จสูงสุดของสตฺดิโอ Shochiku Kinema Kenkyû-jo จวบจนปัจจุบัน

ในฉากที่มีความหมายมากที่สุดฉากหนึ่ง ตัวละคร
“เคน” ที่ทากาว่า แสดง พบตัวอักษรเลข 8 อยู่ที่ปลอกคอของลูกสุนัข เคนบอกปาร์คเกอร์ว่า เลข 8 ในภาษาญี่ปุ่น ออกว่า “ฮาชิ” และ เลข 8 เป็นสัญญาลักษณ์ถึงการเชื่อมโยงโลกมนุษย์กับโลกวิญญาณ ความหมายของเลข 8 คือ ” เอื้อมถึงฟากฟ้า แต่ยังสัมผัสถึงพื้นดิน” และ เลข 8 ยังเป็นสัญญลักษณ์ของความสมบูรณ์ ไม่สิ้นสุด เส้นที่วนไม่รู้จบ ทำให้จุดจบเป็นจุดเริ่มต้น ไม่มีปลายทางที่สิ้นสุด ซึ่ง ความจงรักภักดีของฮาชิโกะก็เปรียบเป็นเช่นนั้น สิ่งพิเศษของสุนัขตัวนี้ เป็นตัวอย่าง ของผู้ที่นำความรักจากฟากฟ้าลงมาสู่พื้นดิน โดยแท้

ริชาร์ด เกียร์ กล่าว สรุป ถึงการรอคอยของฮาชิโกะ และสิ่งที่มีความหมายต่อเขา
“มันยากจะพูดเป็นคำพูดได้ มันเป็นสิ่งที่คุณรู้สึกอยู่ลึกๆ ในหัวใจของคุณ ความรู้สึกที่ว่า นี่เป็นรักที่ไม่มีจุดเริ่มต้น และก็ไม่มีจุดจบ เป็นสิ่งที่เราทุกคนโหยหาอยู่ลึกๆ หัวใจตัวเอง เป็นสิ่งที่เติมเต็มจักรวาลของเรา เรื่องราวนี้เป็นสากล สร้างความประทับผู้คนในวงกว้าง ชักนำผู้คนให้เข้าถึงความเร้นลับที่ละเอียดอ่อน โดยไม่ต้องเป็นคำพูดอธิบายออกมา”


http://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=2073
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=fullgold&month=09-2009&date=01&group=6&gblog=12
http://www.tomyfarm.com/library/archives/283
http://www.shiroshita.dog.sk/index_en.php