แผ่นดินไหว ( Earthquake )







แผ่นดินไหว ( Earthquake )


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิว
โลก สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การปรับสมดุลเนื่องจากน้ำหนักของน้ำที่กักเก็บในเขื่อน และแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักน่ะและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่างๆของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า
"จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ


สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ


แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็น
ธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์

มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น

คลื่นในแผ่นดินไหว

คลื่นแผ่นดินไหวถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1.คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ
1.2.คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่นเคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง
2.คลื่นพื้นผิว เป็นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว มี 2 ชนิด
2.1.คลื่น L (Wave of Love : Love wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบ มีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น
2.2.คลื่น R (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นสาเหตุทำให้พื้นโลกสั่นขึ้นลง

การวัดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว

ได้แก่ มาตราริคเตอร์ และ มาตราเมอร์แคลลี่

มาตราริคเตอร์

ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง
1-2.9 เล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
3-3.9 เล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
4-4.9 ปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5-5.9 รุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6-6.9 รุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0ขึ้นไป เกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

มาตราเมอร์แคลลี่

อันดับที่และลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ
I อ่อนมาก ผู้คนไม่รู้สึก ต้องทำการตรวจวัดด้วยเครื่องมือเฉพาะทางเท่านั้น
II คนที่อยู่ในตึกสูง ๆ เริ่มรู้สึกเพียงเล็กน้อย
III คนในบ้านเริ่มรู้สึก แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
IV ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างมาทำให้บ้านสั่นเบา ๆ
V คนส่วนใหญ่รู้สึก ของเบาในบ้านเริ่มแกว่งไกว
VI คนส่วนใหญ่รู้สึก ของหนักในบ้านเริ่มแกว่งไหว
VII คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มมีรอยร้าว
VIII อาคารธรรมดาเสียหายอย่างมาก
IX สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดีตามหลักวิศวกรรม เสียหายมาก
X อาคารพัง รางรถไฟงอเสียหาย
XI อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน
XII ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

ข้อปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว

ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้
อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
จัดหาเครื่องรับวิทยุ ที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำ แนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ
เตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต
เตรียมยารักษาโรค และเวชภัณฑ์ให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายให้พ้นขีดอันตรายก่อนที่จะถึงมือแพทย์
จำตำแหน่งของวาล์ว เปิด-ปิดน้ำ ตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำ และไฟฟ้า
ยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ภายในบ้าน ที่ทำงาน และในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกเยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจร่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้
เตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ
วางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษา มีการชี้แจงบทบาทที่ สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติ มีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้ เพื่อเพิ่มลักษณะและความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

ขณะเกิดแผ่นดินไหว

ตั้งสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟฟ้า เป็นต้น
ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟฟ้าดังอาจมีอันตรายจากการติดอยู่ภายใต้ลิฟต์
มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก
อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา
อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย หรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้
หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือนหลังเกิดแผ่นดินไหว
ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป
ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต
ตรวจเช็คระบบแก๊ส โดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส (มีกลิ่น) ให้ เปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบในโอกาสต่อไป
เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ จากทางราชการโดยตลอด
ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น
อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอาจเกิดการ
แตกหักของท่อในส้วม ทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
ออกจากอาคารที่ชำรุดโดยด่วน เพราะอาจเกิดการพังทลายลงมา
สวมรองเท้ายางเพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง
รวมพล ณ ที่หมายที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และตรวจนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่
ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย และผู้ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ หากไม่ได้รับการอนุญาต
อย่าออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งได้ แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
http://th.wikipedia.org/wiki/แผ่นดินไหว
สุดยอด 14 แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด


ในทุกๆ ปี แผ่นดินไหวเป็นสาเหตุของการสูญเสียชีวิตนับพัน ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากเหตุการณ์ที่เกิดตามมาอันได้แก่ คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เพลิงไหม้ และความอดอยาก การสั่นสะเทือนนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน โดยเฉพาะรอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างแผ่นเปลือกโลก ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นไหวสะเทือนสู่พื้นดิน นักวิทยาศาสตร์วัดค่าความรุนแรงของการสั่นสะเทือนออกมาในมาตราริกเตอร์ แสดงขนาดเป็นตัวเลข เช่น 6.0 หรือ 7.2 การสั่นสะเทือนขนาด 5.0 ริกเตอร์มีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดขนาด 32 กิโลตัน ซึ่งใกล้เคียงกับอานุภาพของระเบิดปรมาณูที่ทิ้งลงเมืองนางาซากิเมื่อปี ค.ศ. 1945! และการที่ตัวเลขตามมาตราริกเตอร์นี้เพิ่มขึ้นหนึ่งค่า เช่นจาก 5.0 เป็น 6.0 หมายความว่าแอมพลิจูดของคลื่นแผ่นดินไหวมีขนาดเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นสุดยอดแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดที่เคยบันทึกได้ในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

1. มิสซูรี (Missouri) : 16 ธันวาคม ค.ศ.1811

รอยเลื่อนนิวแมดริด (New Madrid fault) อยู่ใกล้กับเขตติดต่อของรัฐมิสซูรี เคนทักกี อาร์คันซอ และเทนเนสซี ได้ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริกเตอร์หรือมากกว่านั้น โดยแรงสั่นสะเทือนทำให้ระฆังของโบสถ์ในบอสตันที่อยู่ห่างออกไปถึง 1,500 ไมล์แกว่งและส่งเสียงดัง นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้สภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน คือพื้นดินถูกยกขึ้นจนแม่น้ำมิสซิสซิปปีไหลย้อนขึ้นทางต้นน้ำ โชคดีที่บริเวณนั้นมีประชากรเบาบางจึงมีคนเสียชีวิตเพียงคนเดียวและทรัพย์สินเสียหายอีกเล็กน้อย
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://earthquake.usgs.gov/regional/states/events/1811-1812.php

2. ซานฟรานซิสโก (San Francisco): 18 เมษายน 1906


แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์จากการขยับตัวของรอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andres fault) ได้ถล่มโครงสร้างอาคารบ้านเรือนในเขตพื้นทีเบย์แอเรีย (Bay Area) ระบบน้ำหลักพังทลาย และบิดรางรถไฟฟ้าจนกลายเป็นแค่เศษเหล็ก แต่สาเหตุหลักของความเสียหาย 524 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และผู้คนเสียชีวิตถึง 3,000 รายนั้นมาจากเพลิงไหม้ที่เกิดตามมาและลุกลามไปทั่วเมืองอย่างรวดเร็วเนื่องจากขาดน้ำสำหรับดับไฟ ประชาชนที่อาศัยห่างออกมาถึงโอเรกอน และทางตะวันตกของเนวาดายังรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนเป็นเวลาเกือบ 1 นาที
ข้อมูลเพิ่มเติม http://earthquake.usgs.gov/regional/nca/1906/18april/index.php

3. ตอนใต้ของรัสเซีย (Southern USSR) : 5 ตุลาคม 1948

แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดที่เมืองอาชคาบัด ประเทศเติร์กเมนิสถาน ทำให้ประชาชนจำนวน 110,000 คน ซึ่งถือเป็นประชากรที่มากกว่าสองในสามในขณะนั้นเสียชีวิต นอกจากแรงสั่นสะเทือนจะทำให้โครงสร้างเกือบทั้งเมืองกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วยังสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้เอเชียกลางอีกด้วย ในปี 2002 รัฐบาลเติร์กเมนิสถานได้ประกาศระลึกถึงเหตุการณ์ โดยกล่าวไว้อาลัยถึงประธานาธิบดี ซูปามูรัด ไนยาซอฟและครอบครัวซึ่งได้สังเวยชีวิตในแผ่นดินไหวครั้งนี้ทั้งหมด
ข้อมูลเพิ่มเติม http://earthquake.usgs.gov/regional/world/most_destructive.php

4. ชิลีตอนใต้ (Southern Chile) : 22 พฤษภาคม 1960


แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ถึง 9.5 ริกเตอร์ ซึ่งความจริงแล้วมันเป็นชุดของแผ่นดินไหวที่เกิดต่อเนื่องกันหลายชั่งโมง คลื่นสึนามิกวาดล้างทุกสิ่งทุกอย่างบนชายฝั่งชิลีก่อนที่จะเคลื่อนตัวข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปบดขยี้ฮาวายต่อ แผ่นดินถล่ม น้ำท่วมและการระเบิดของภูเขาไฟ Puyehue ในชิลีได้เกิดตามมาหลังจากแผ่นดินไหว 2 วัน จากรายงานพบว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,700 คน ทรัพย์สินเสียหายมูลค่า 675 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ทั้งในชิลี อะแลสกา ฮาวาย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์
ข้อมูลเพิ่มเติม http://pubs.usgs.gov/circ/c1187/
http://earthquake.usgs.gov/regional/world/events/1960_05_22.php

ในบางครั้งตัวแผ่นดินไหวเองไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเสมอไปแต่อาจเป็นผลที่เกิดขึ้นตามมาดังเช่น คลื่นสึนามิ เป็นต้น ที่ก่อให้เกิดความเสียดายอย่างมหาศาล ดังตัวอย่างต่อไปจากนี้

5. อะแลสกา (Alaska) : 28 มีนาคม 1964


แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ (Good Friday Earthquake) นับเป็นการสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา แผ่นดินไหวนานกว่า 3 นาทีวัดได้ 9.2 ริกเตอร์ในพื้นที่ปรินซ์ วิลเลี่ยม ซาวด์ (Prince William Sound) แม้ว่าจะมีการเสียชีวิตเพียง 15 รายจากแผ่นดินไหว แต่คลื่นสึนามิที่สูงร่วม 200 ฟุตที่ปากทางน้ำวาลเดซ (Valdez inlet) ได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 110 ราย และความเสียหาย 311 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยเมืองแองเคอเรจ (Anchorage) เป็นพื้นที่ที่เสียหายมากที่สุด
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Good_Friday_Earthquake
http://earthquake.usgs.gov/regional/states/events/1964_03_28.php

6. เปรู (Peru) : 31 พฤษภาคม 1970

แผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ ทำให้ทรัพย์สินเสียหายกว่า 500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และ ชาวเปรูเสียชีวิต 66,000 คน ซึ่งส่วนมาเป็นผลมาจากตึกถล่ม นักธรณีวิทยากล่าวว่าแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกสู่แผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นแผ่นดินไหวรุนแรงตามแนวชายฝั่งจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/1970_Ancash_earthquake
http://earthquake.usgs.gov/regional/world/events/1970_05_31.php

7. จีน (China) : 27 กรกฎาคม 1976


แผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์นี้เป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดตามแนวของ “วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)” ซึ่งเป็นขอบที่มีการไหวสะเทือนเกิดขึ้นมากที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก มันโจมตีเมืองตังชาน แล้วตามด้วยเมืองทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่มีผู้อยู่อาศัยถึง 1 ล้านคน ทางการจีนแจ้งว่ามียอดผู้เสียชีวิตประมาณ 250,000 คน แต่บางแหล่งข่าวประเมินว่าตัวเลขน่าจะสูงถึง 655,000 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/1976_Tangshan_earthquake
http://earthquake.usgs.gov/regional/world/events/1976_07_27.php


8. แคลิฟอร์เนียตอนกลาง (Central California) : 18 ตุลาคม 1989

แผ่นดินไหว “Loma Prieta” เริ่มเกิดขึ้นจากสวนสาธารณะแคนเดิลสติก (Candlestick Park) ในซานฟรานซิสโก ขณะที่มีกำลังการแข่งขันเบสบอล “1989 World Series” ในเกมที่สาม ทำให้ได้ชื่อว่า World Series Quake หรือ Quake of ’89 เป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 63 คน และทรัพย์สินเสียหายประมาณ 6 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความรุนแรงขนาด 6.9 ริกเตอร์ ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวครั้งที่รุนแรงที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในบริเวณเบย์แอเรีย “Bay Area” นับตั้งแต่ปี 1906 ต่อมา อัล มิคาเอล ผู้รายงานข่าวของ เอบีซี ที่อยู่ในสนามเบสบอลได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมี จากการรายงานสดสถานการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Loma_Prieta_earthquake
http://pubs.usgs.gov/dds/dds-29/web_pages/P1550-1553_TOC.pdf

9. แคลิฟอร์เนียตอนใต้ (Southern California) : 17 มกราคม 1994

แผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ ในนอร์ทตริจด์ (Northridge) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 60 คน และความเสียหายมูลค่าประมาณ 44 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ แรงสั่นสะเทือนทำลายอาคารมากว่า 40,000 หลังในเมืองเศรษฐกิจที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ลอสแองเจอลิส ออเรนจ์ เว็นทูรา และซาน เบอร์นาดิโน ถือว่าเป็นโชคดีที่แผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ไกลถึงรัฐยูทาห์และตอนเหนือของเม็กซิโกนี้เกิดในเวลา 4.30 น. ซึ่งผู้คนยังไม่พลุกพล่านบนท้องถนน ตึกที่ทำงาน และอาคารจอดรถ ซึ่งเกิดการถล่มเป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Northridge_earthquake

10. ญี่ปุ่น (Japan) : 17 มกราคม 1995

แผ่นดินไหวขนาด 6.9 ริกเตอร์ในโกเบ คร่าชีวิตผู้คนกว่า 5,000 รายและสร้างความเสียหายมากกว่า “100 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ” ซึ่งถือว่ามีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากอาคารมากกว่า 200,000 แห่งที่ถล่มและเสียหายนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าครองชีพสูง นอกจากนี้ช่างเป็นเรื่องบังเอิญอย่างยิ่งที่แผ่นดินไหวในโกเบครั้งนี้ (ชาวญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ “แผ่นดินไหวฮานชิน”) เกิดขึ้นพร้อมกับการครบรอบหนึ่งปีของแผ่นดินไหวในนอร์ทตริจด์พอดี
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Great_Hanshin_earthquake
http://quake.wr.usgs.gov/recent/reports/kobe/

11. อินโดนีเซีย (Indonesia) : 26 ธันวาคม 2004


แผ่นดินไหวขนาดใหญ่นี้เกิดขึ้นทางฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราวัดความรุนแรงได้ 9.1 ริกเตอร์และคลื่นสึนามิที่เกิดตามมาก็ได้คร่าชีวิตผู้คนใน 12 ประเทศอย่างน้อย 230,000 ราย (และอาจสูงถึง 290,000 ราย) ซึ่งเป็นชาวอินโดนีเซียประมาณ 168,000 คน นักวิทยาศาสตร์อ้างว่าการสั่นสะเทือนครั้งนี้รุนแรงถึงขนาดทำให้การหมุนของโลกเบนออกจากแกนเดิมเกือบหนึ่งนิ้วเลยทีเดียว เหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้จะเป็นที่จดจำไปอีกนานเท่านานเพราะคลื่นยักษ์ได้นำความวิบัติไปมาสู่ทุกประเทศรอบมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงประเทศไทยด้วย จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับพิบัติภัยแผ่นดินไหวกันอย่างกว้างขวาง
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/2004_Indian_Ocean_earthquake
http://earthquake.usgs.gov/eqcenter/eqinthenews/2004/usslav/

12. ปากีสถาน (Pakistan) : 8 ตุลาคม 2005
แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ริกเตอร์สามารถรู้สึกได้เกือบทั่วทั้งปากีสถานและตอนเหนือของอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 80,000 ราย บาดเจ็บเกือบ 70,000 คน และทำลายอาคารบ้านเรือนกว่าพันหลัง ดินถล่ม หินถล่ม และอาคารที่พังเสียหายเป็นสาเหตุให้ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัย และพื้นที่บางแห่งถูกตัดขาดจากการช่วยเหลือหลายวัน
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/2005_Kashmir_earthquake
http://earthquake.usgs.gov/eqcenter/eqinthenews/2005/usdyae/

13. มณฑลเสฉวน ประเทศจีน : 13 พฤษภาคม 2008
ในขณะที่ประเทศจีนกำลังเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2008 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ ทางตะวันออกของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ศูนย์กลางอยู่ที่ความลึก 19 กิโลเมตรจากผิวดิน และมีแผ่นดินไหวตาม 5.0-6.0 ริกเตอร์ ตามมาอีกหลายครั้ง สิ่งก่อสร้างพังทลายหลายแห่ง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50,000 คน ความเสียหายประมาณ 115 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ สำรับประเทศไทยรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเฉพาะอาคารสูง สาเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากการขยับตัวแบบย้อนกลับ (Reverse Fault) ของรอยเลื่อน “ลองเมนฉาน” (Longmenshan) ซึ่งวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ จากการขยับตัวครั้งนี้ส่งผลทำเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวภูมิประเทศสูงกว่า 3 เมตร และเพิ่มความเค้น (stress) ให้กับส่วนปลายทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของรอยเลื่อน ที่ซึ่งอาจจะปลดปล่อยพลังงานได้อีกในอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/2008_Sichuan_earthquake

14 สาธารณรัฐเฮติ (Republic of Haiti) : 12 มกราคม 2010



ก้าวเข้าสู่ปีใหม่ (2010) ได้ไม่นาน ก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นที่สาธารณรัฐเฮติ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะฮิสปันโยลา ในทะเลแคริบเบียน ส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกา เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ของวันที่ 12 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น โดยวัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึง 7 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 16 กิโลเมตร และลึกลงไปใต้ดินราว 10 กิโลเมตร

แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ส่งผลให้ทำเนียบประธานาธิบดี ที่ทำการกระทรวงต่าง ๆ ตลอดจนที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ พังถล่ม รวมทั้งอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนมาก และยังไม่ทราบชะตากรรมของเจ้าหน้าที่ ที่เชื่อว่าติดอยู่ภายใต้ซากอาคารเหล่านี้ โดยคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน และอาจจะมีผู้เสียชีวิตมากถึงแสนคน

ทั้งนี้แผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 200 กว่าปีของเฮติ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2313 และยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกอย่างรุนแรงตามมาอีกถึง 24 ครั้ง วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.9, 5.5 และ 5.1 ริกเตอร์
ข้อมูลเพิ่มเติม http://earthquake.usgs.gov/earthquakes/recenteqsww/Quakes/us2010rja6.php
http://en.wikipedia.org/wiki/2010_Haiti_earthquake


แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวันทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าโลกเรานั้นไม่หยุดนิ่ง แม้จะมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแผ่นดินไหวอย่างมากมาย แต่แผ่นดินไหวก็ยังเป็นธรณีพิบัติภัยที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นจงเตรียมตัวเองให้พร้อมรับมืออยู่เสมอ อย่างไรก็ตามขออย่าให้เกิดรุนแรงเหมือนดังอดีตเหล่านี้เลย "รอยเลื่อนที่เงียบมานาน อาจเป็นตัวการของแผ่นดินไหวที่น่ากลัว!"
ขอบคุณข้อมูล
http://geothai.net/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=108:-13-&catid=40:geohazards&Itemid=100008

เพิ่มเติม
15.สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile) : 27 กุมภาพันธ์ 2010



แผ่นดินไหวชิลี ล่าสุดตายแล้ว 300 ศพ ฮาวายยกเลิกเตือนภัยสึนามิ

เมื่อเวลาตี 3 ครึ่งตามเวลาท้องถิ่นชิลี หรือบ่ายโมงครึ่งตามเวลาประเทศไทยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.8 ริคเตอร์ ห่างจากชายฝั่งเมืองชิลลาน เมืองสำหรับการเล่นสกี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไปทางเหนือราว 100 กิโลเมตร โดยจุดศูนย์กลางแรงสั่นสะเทือนอยู่ห่างจากกรุงซานติเอโก เมืองหลวงของชิลีราว 320 กิโลตร และอยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 35 กิโลเมตร

และหลังจากนั้น ก็ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อคที่รุนแรงตามมาอีกเป็นระลอก โดยบางลูกมีความรุนแรงมากถึง 6.2 ริคเตอร์

แรงสั่นสะเทือนก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย มีอาคารหลายหลังพัง รวมทั้งอาคารรุ่นเก่าในเมืองหลวง ทั้งยังทำให้เสาโทรศัพท์ล้ม โรงพยาบาลหลายแห่งต้องอพยพคนไข้หนี ล่าสุดประธานาธิบดีมิเชล บาเชเล่ต์ ของชิลี เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวแล้วอย่างน้อย 78 ราย และหากพิจารณาจากความรุนแรงของการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ก็คาดว่าอาจจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมอีกพร้อมกันนั้นก็ได้ประกาศภาวะภัยพิบัติในเขตตอนกลางของประเทศ

ต่อมา ศูนย์ที่ดูแลเรื่องแผ่นดินไหวที่สหรัฐได้ออกประกาศเตือนภัยสึนามิทั่วเขตแปซิฟิก หลังจากที่ตอนแรก ประกาศเตือนเฉพาะประเทศแถบอเมริกากลาง และอเมริกาใต้บางประเทศ เมื่อตรวจสอบระดับน้ำทะเลพบว่ามีการก่อตัวขึ้นของสึนามิ ขณะที่ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฟิลิปปินส์ที่อยู่ห่างออกมาหลายพันกิโลมตร ก็ได้ออกประกาศเตือนประชาชนของตนเรื่องที่สึนามิอาจจะเข้าถล่มแล้ว

เมื่อปี 2503 ชิลีเคยเจอกับแผ่นดินไหวขนาด 9.5 ริคเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 พัน 655 ราย และราว 2 ล้านคนไม่มีที่อยู่อาศัย ขณะที่สึนามิที่เกิดขึ้น ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายรายที่ฮาวาย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เหตุแผ่นดินไหวในชิลีครั้งร้ายแรงเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 300 คน จากอาคารถล่ม ในเมืองคอนเซ็ปเชียล และรถยนต์คว่ำระเนระนาดในเมืองซานติเอโก ขณะที่ไฟฟ้า และระบบสื่อสารใช้งานไม่ได้ทำให้เป็นปัญหายากลำบากในการเข้าถึงความเสียหาย เพื่อช่วยชีวิตผู้ที่ตกอยู่ใต้ซากหักพัง นอกจากนี้ยังเกิดเกิดสึนามิตามชายฝั่งประเทศในแถบแปซิฟิกไกลถึงฮาวาย และรัสเซีย

ศูนย์เตือนภัยสึนามิในแปซิฟิก ที่ฮาวายเตือนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดสึนามิขึ้นทางตอนเหนือของแปซิฟิก รวมถึงชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐและอลาสก้า เนื่องจากพบว่ามีคลื่นสูงกว่าปกติเกิดขึ้นหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม ฮาวายประกาศยกเลิกเตือนภัยสึนามิแล้ว เนื่องจากพบว่าคลื่นที่พัดเข้าสู่ฝั่งมีความสูงไม่ถึง 1 เมตร

คมชัดลึก

ดินไหวชิลีติดอันดับ10รุนแรงที่สุดในโลก

ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาสหรัฐระบุว่า แผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.8 ริคเตอร์ ที่เกิดขึ้นในชิลีเมื่อวานนี้ ถูกบันทึกให้อยู่ใน 10 อันดับของแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในโลก ข้อมูลของศูนย์สำรวจธรณีวิทยาสหรัฐชี้ว่า ครึ่งหนึ่งของแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในโลกทั้งหมด 20 เหตุการณ์เกิดขึ้นในชิลี 4 ครั้ง ซึ่งเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในโลกวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 9.5 ริคเตอร์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2503 ในประเทศชิลี ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,655 คน บาดเจ็บ 3,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย 2 ล้านคน ทั้งนี้ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในชิลีวานนี้ มีจุดศูนย์กลางอยู่ไม่ห่างจากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในโลกดังกล่าว

posttoday.com

เหยื่อดินไหว-สึนามิชิลีพุ่งทะลุ 700 ศพ

เอเอฟพี/เอเจนซี/ASTV ผู้จัดการรายวัน - ยอดผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.8 และคลื่นสึนามิในชิลี ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 711 รายแล้ว ขณะที่ทางการชิลีต้องประกาศภาวะฉุกเฉินพร้อมส่งทหารเรือนหมื่นเข้าไปยังพื้นที่ประสบภัยหลังเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม และมีผู้ประสบภัยออกมาปล้นชิงข้าวของภายในเมืองที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง

รัฐบาลชิลีแถลงที่เมืองหลวงซันติอาโกว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ (27) ที่ผ่านมา ได้เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 350 คนเป็นอย่างน้อย 711 คนแล้ว และคาดว่าจะพบผู้เสียเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นในชิลีหลายแห่งได้เผยแพร่ภาพอาคารบ้านเรือนจำนวนหลายพันหลัง รวมทั้ง ทางหลวงต่างระดับ และสะพานหลายแห่งที่พังถล่มลงมา ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของชิลี ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นประเทศผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก และยังเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา

ขณะที่ประธานาธิบดีเบโรนิกา มิเชเญ บาเชเล็ต เฮเรีย ผู้นำชิลีระบุว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติคราวนี้ได้ทำให้ชาวชิลีจำนวนอย่างน้อย 2 ล้านคนจากทั้งหมดราว 17.03 ล้านคนได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งทางรัฐบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยจากมากกว่า 100 หน่วยทั่วประเทศ เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อย่างเร่งด่วนแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผู้นำหญิงของชิลี วัย 58 ปี ผู้นี้ซึ่งกำลังจะหมดวาระหลังครองอำนาจมาตั้งแต่ต้นปี 2006 ระบุว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องประกาศภาวะฉุกเฉินห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในยามวิกาล ในพื้นที่ของ 2 เมืองที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้มากที่สุดได้แก่ ที่เมืองตัลกา ซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตปกครองเมาเล ทางตอนกลางของประเทศ และที่เมืองก็อนเซ็ปซิออง เมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศที่อยู่ห่างจากรุงซานติอาโกไปทางใต้ราว 500 กิโลเมตร หลังมีรายงานว่าเกิดการปล้นสะดมในพื้นที่ จนเจ้าหน้าตำรวจต้องใช้แก๊ซน้ำตาและสายฉีดน้ำไล่ฝูงชนที่เข้าไปหยิบฉวยอาหารและอุปกรณ์ ไฟฟ้าในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าต่างๆ

นอกจากนั้น ประธานาธิบดีบาเชเล็ตยังได้สั่งการให้ทางกองทัพส่งทหารราว 10,000 คนเข้าไปช่วยดูแลความสงบเรียบร้อยด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกัน ฟรานซิสโก ฮาเบียร์ บีดัล ซาลินัส รัฐมนตรีกลาโหมชิลีประกาศยอมรับความผิดที่ทางกองทัพเรือของชิลีประกาศลดระดับการเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิเร็วเกินไป ทำให้ประชาชนในหลายพื้นที่โดยเฉพาะที่เมือง ก็อนเซ็ปซิอองไม่ได้เตรียมตัวรับมืออย่างเหมาะสมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตในเมืองแห่งนี้มากกว่า 350 คน พร้อมประกาศจะสอบสวนทีมผู้เชี่ยวชาญของกองทัพเรือที่เป็นต้นเหตุของโศกนาฏกรรมดังกล่าว

ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติ โกโมโดโร อาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซ ในกรุงซานติเอโก เริ่มกลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศได้เป็นครั้งแรกแล้ว หลังต้องสั่งยุติการให้บริการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากตัวอาคารผู้โดยสารได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติของชิลีประจำวิทยาเขตอันเดรส เบโญประเมินว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจของชิลีจากภัยพิบัติครั้งนี้อาจคิดเป็นมูลค่าสูงถึง30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหรือราว 987,096ล้านบาทและอาจทำให้จีดีพีของประเทศหายไปถึงร้อยละ 15ในปีนี้

ด้านศูนย์เตือนภัยสึนามิแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐฯ ได้ประกาศยกเลิกการเตือนภัยสึนามิในทุกประเทศทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว หลังมีข้อมูลว่าคลื่นสึนามิที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่ชิลีไม่ได้มีความรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายร้ายแรง แม้ว่าทางศูนย์เตือนภัยสึนามิของรัสเซียจะรายงานว่าพบคลื่นสึนามิความสูงถึง 2 เมตรพัดเข้าสู่ชายฝั่งของหมู่เกาะคูริล และคาดว่าอาจจะมีคลื่นสึนามิขนาดย่อมทะยอยซัดเข้าฝั่งรัสเซียถึง 100 ครั้งภายใน 2-3 วันข้างหน้าก็ตาม

**ราคาทองแดงตลาดโลกพุ่ง**

จากการที่ชิลีซึ่งเป็นประเทศส่งออกทองแดงรายใหญ่ที่สุดของโลก ประสบภัยพิบัติรุนแรงคราวนี้ ทำให้ราคาทองแดงในตลาดโลก พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์ ระหว่างการซื้อขายในช่วงต้นๆ ตลาดเมื่อวันจันทร์(1) ที่ตลาดโลหะลอนดอน (ลอนดอน เมทัล เอกซ์เชนจ์) โดยราคาขยับขึ้น 5.6% ไปอยู่ที่ 7,600 ดอลลาร์ต่อตัน ก่อนจะถอยลงมาอยู่ที่ 7,385 ดอลลาร์

บรรดาเหมืองแร่รายยักษ์ๆ ของชิลี ที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากแผ่นดินไหว ต่างค่อยๆ เปิดดำเนินงานกันใหม่แล้ว ทว่าพวกนักวิเคราะห์ก็ยังให้ความเห็นว่า ระบบการจ่ายไฟฟ้าที่ยังไม่ปกติ อาจทำให้การส่งออกทองแดงลดต่ำลงอยู่ดี และจะทำให้ราคาขยับขึ้นไปอีก

Earthquake in Chile

At 3:34 am local time, today, February 27th, a devastating magnitude 8.8 earthquake struck Chile, one of the strongest earthquakes ever recorded. According to Chilean authorities, over 400 people are now known to have been killed. The earthquake also triggered a Tsunami which is right now propagating across the Pacific Ocean, due to arrive in Hawaii in hours (around 11:00 am local time). The severity of the Tsunami is still not known, but alerts are being issued across the Pacific.


http://www.boston.com/bigpicture/2010/02/earthquake_in_chile.html