"อั่งเปา" "กงสี่ฟาฉ่าย หงเปาหนาหลาย"


MV อั่งเปาใจ




อั่งเปา" "กงสี่ฟาฉ่าย หงเปาหนาหลาย"




เมื่อถึงวันตรุษจีนเชื่อว่ามีใครหลายคนที่คงรอรับ "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" อยู่ แต่ก่อนจะไปรับอั่งเปา เรามารู้จักที่มาและความหมายของอั่งเปากันค่ะ





"ที่มาของ แต๊ะเอีย"

เงินแต๊ะเอีย หรือ อั่งเปา ที่แปลว่าซองแดง เด็ก ๆ มักได้จากผู้ใหญ่ในครอบครัว โดยหลายบ้านจะถือธรรมเนียมว่าให้กันเฉพาะคนในครอบครัวหรือสกุลเดียวกัน แล้วอาจจะขยายวงไปถึงคนรักใคร่นับถือกันเหมือนญาติ โดยแต่โบราณเรียกเงินนี้ว่า เงินเอี๊ยบส่วยจี๊ เอี๊ยบ แปลว่า กด , อัด , ห้าม ส่วย แปลว่า อายุ


เอี๊ยบส่วยจี๊ เป็นดั่งหนึ่งเงินมงคลคุ้มครองชะตา ตามตำรา 100 ธรรมเนียมจีนโบราณ บอกว่า ดั้งเดิมนิยมให้กันในวันสิ้นปี ผู้ใหญ่จะเอาเหรียญทองแดง 100 อัน ร้อยด้วยด้ายแดง ผูกเป็นพวงให้เด็กในวันก่อนวันตรุษจีนหรือวันสิ้นปีนั่นเอง เรียกเงินพวกนี้ว่าเอี๊ยบส่วนจี๊ โดยมีลูกเล่นเล็กๆ ว่า ส่วนที่แปลว่าอายุนี้ พ้องเสียงกับคำว่า ส่วย ที่แปลว่าผี ปีศาจ และคำว่า ซวย เอี๊ยบส่วย หรือ เอี๊ยบซวย จึงแปลว่า ห้ามความซวยหรือผี ปีศาจมาสู่

เงินร้อยด้ายแดงทั้งพวง นี้ ดั้งเดิมเด็ก ๆ คงห้อยไว้กับเชือกผูกเอว เกิดคำว่า แต๊ะเอีย แปลว่า ถ่วงเอวบางบ้านมีการวางส้มสีทองและลิ้นจี่ไว้ที่หมอน แล้วให้เด็ก ๆ รับประทานก่อนนอนในคืนวันตรุษจีน เรียกผลไม้นี้ว่า เอี๊ยบส่วยก้วย เพื่ออวยพรให้โชคดี ซึ่งคนจีนในไทยไม่ได้นำธรรมเนียมวางเอี๊ยบส่วยก้วย ไว้ที่หมอนให้ลูกหลานทาน แต่จะเป็นการนำส้มสีทองหรือ ไต้กิก 4 ผล ไปมอบให้แก่ผู้ใหญ่หรือญาติมิตรที่นับถือกันมากกว่า เรียกธรรมเนียมนี้ว่า ไป๊เจีย

"ธรรมเนียมและความหมาย"
โดยมีเคล็ดธรรมเนียมว่า เมื่อเรารับส้ม 4 ผล ที่ห่อในผ้าเช็ดหน้า ก็ให้นำมาเปลี่ยน โดยนำส้มของแขกออกมา 2 ใบ แล้วใส่ส้มของเราเข้าไปแทน 2 ใบ ผูกห่อผ้าเช็ดหน้าคืนแขกไป ดังนั้นส้มสีทอง 4 ผลนี้ ก็จะมีส้มของแขก 2 ใบ กับของเราอีก 2 ใบ ถือเป็นการนำโชคดีมามอบให้และแลกเปลี่ยนโชคกันด้วย

ส่วนเงินสิริมงคลนั้น เรียกว่า เงินเอี่ยมเส่งจี่ หมายถึงเหรียญเงินที่พิชิตความไม่ดี คำเต็มๆ คือ จับยี่แซเสี่ยวเอี่ยมเส่งจี๋ เป็นเงินเหรียญรูป 12 ปีนักษัตร สำหรับเป็นเครื่องรางคุ้มครองทุกดวงชะตาให้สันติสุขปลอดภัย

ต่อมาเงินเอี๊ยบส่วยจี๋ ที่เป็นเหรียญ 100 อันร้อยเชือกแดงก็ดี เป็นเงินเอี่ยมเส่งจี๋ 12 นักษัตรก็ดี ก็พัฒนาเป็นการให้ธนบัตรใหม่ๆ ใส่ซองแดง เรียกว่า เงินอั่งเปา หรือ เงินแต๊ะเอีย สืบมาโดยคำนึงว่าเงินเอี๊ยมส่วยจี๋ได้หายไป หากเคล็ดการให้ก็ยังคงเพื่ออวยพรนั่นเอง เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับว่า

"อวยพรให้แข็งแรงเติบโตอายุยืน"
ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้เด็กเล็ก ๆ นี่คือการอวยพรให้เจ้าตัวน้อยเจริญเติบโตแข็งแรง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ลูกหลานที่ทำงานแล้ว ก็เพื่ออวยพรให้เจริญก้าวหน้าสุขภาพแข็งแรง

หากเป็นลูกที่ทำงานแล้วให้พ่อแม่ ก็คือเพื่ออวยพรให้ท่านแข็งแรงอายุยืนยาว โดยการที่ลูกให้พ่อแม่ และพ่อแม่ให้ลูกนั้น ต้องเป็นเงินของใครของมัน ไม่ใช่ว่าลูกให้พ่อแม่ เมื่อพ่อแม่รับเงินอั่งเปาจากลูกก็ส่งคืนเงินทั้งซองกลับไป แต่ต่างฝ่ายต่างควรเตรียมเงินของตนไว้ให้เรียบร้อย


คําอวยพรตรุษจีน
- ซินเหนียนไคว่เล่อ ... ขอให้มีความสุขในวันปีใหม่
- กงเฮ่อซินเหนียน ... สุขสันต์วันปีใหม่
- ต้าจี๋ต้าลี่ ... ค้าขายได้กำไร
- เจาไฉจิ้นเป่า ... เงินทองไหลมาเทมา ทรัพย์สมบัติไหลเข้าบ้าน
- จินอวี้หม่านถัง ... ร่ำรวยเงินทอง ทองหยกเต็มบ้าน
- ไฉหยวนกว่างจิ้น ... เงินทองไหลมาเทมา
- เหนียนเหนียนโหย่วอวี๋ ... เหลือกินเหลือใช้ทุกปี
- ฝูโซ่วว่านว่านเหนียน ... อายุยืนหมื่น ๆ ปี
- หลงหม่าจินเสิน ... สุขภาพแข็งแรง
- ห่าวยวิ่นเหนียนเหนียน ...โชคดีตลอดไป

เมื่อได้รับอั่งเปาเรียบร้อยแล้ว ธรรมเนียมต่อไปคือ การเที่ยวและอยู่พร้อมหน้าครอบครัว
อย่างไรก็ตามวันอาทิตย์นี้ขอให้ทุกครอบครัวมีความสุข สมหวัง



เคยทราบกันมั้ยคะว่า เจ้า "แต๊ะเอีย" ที่เราอยากได้กันนั้น
แตกต่างจาก "อั่งเปา" ยังไง???

ตรุษจีนนั้นผู้ใหญ่เค้ามักให้ทั้ง "อั่งเปา" และ "แต๊ะเอีย" ...แล้วสองอย่างนี้แตกต่างกันยังไงล่ะเนี่ย; เราตามมาหาคำตอบกันดีกว่าค่ะ


คำว่า "อั่ง" แปลว่า สีแดง
คำว่า "เปา" แปลว่า ซอง ห่อ

"อั่งเปา" แปลว่า ซองสีแดง แต่ความหมายของอั่งเปาอยู่ที่ของในซองสีแดง ซึ่งหมายถึง เงิน หรือ ธนบัตร หรือ เช็คแลกเงินที่อยู่ในซองนั้นมากกว่า

"อั่งเปา" คือ ซองสีแดงที่ผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้วหรือมีรายได้จะใส่เงินแล้วนำมาให้ผู้น้อย หรืออาจจะแลกเปลี่ยนกันเองในหมู่ญาติพี่น้อง

สีแดงของซองเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความโชคดี และเงินที่บรรจุภายบางครั้งจะเป็นเลขนำโชค เช่น เลข 8 อ่านในภาษาจีนจะมีความหมายถึงความรุ่งเรือง หรือความร่ำรวย


"แต๊ะ" แปลว่า ทับ หรือ กด
"เอีย" แปลว่า เอว
"แต๊ะเอีย" แปลว่า ของที่มากดหรือทับเอว

ส่วน "แต๊ะเอีย" นั้น มีที่มาจากในสมัยก่อน เหรียญเงินที่ชาวจีนใช้จะมีรูตรงกลาง ตามธรรมเนียมปฏิบัติผู้ใหญ่จะร้อยเหรีญเงินเหล่านั้นด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ ในเทศกาลตรุษจีน พวกเด็กๆ ก็มักจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

และ นอกจากการให้อั่งเปาหรือแต๊ะเอียแล้ว ชาวจีนยังมีอีกธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำสืบต่อกันมานั่นก็คือ การอวยพรในวันตรุษจีน ซึ่งเราจะได้ยินกันบ่อยๆ เช่น "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้" ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่" หรืออาจจะกล่าวอวยพรว่า "เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น" ซึ่งแปลว่า "สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ" อีกฝ่ายที่ได้รับคำอวยพรก็จะกล่าวตอบว่า "ตั่งตังยู่อี่" ซึ่งแปลว่า "ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน" เป็นต้น