Service Mind “การมีจิตใจในการให้บริการที่ดี”



ยินดีรับใช้



Service Mind “การมีจิตใจในการให้บริการที่ดี”
ในปัจจุบันนี้ ทุกท่านคงจะได้ยินคำว่า “การมีจิตใจในการให้บริการที่ดี” หรือคำว่า Service Mind อยู่เป็นประจำ หลายคนก็เข้าใจดีหลายคนก็ยังคงงุนงงสงสัยว่าที่จริงแล้ว ความหมายเป็นเช่นไรกันแน่ ผมเองบางครั้งก็ยังงง ๆ อยู่เหมือนกัน เพราะคนได้นำคำนี้ไปใช้ในต่างกรรม ต่างวาระกัน บางทีก็มีความหมายแคบ บางครั้งก็มีความหมายกว้างออกไป ครอบคลุมหลาย ๆ ความหมาย ผมได้อ่านพบในหนังสือหลายเล่มพบว่าได้ให้ความหมายของคำว่า การมีจิตใจในการให้บริการที่ดี หรือคำว่า

“Service Mind” ในลักษณะที่ใกล้เคียงกันว่า การที่จะทำให้คนมีจิตใจในการให้บริการต้องนำเอาคำว่า

“Service” มาเป็นปรัชญา โดยแยกอักษรของ คำว่า “Service” ออกเป็นความหมายดังนี้

S = Smile (อ่านว่า สม้าย) แปลว่า ยิ้มแย้ม
E = enthusiasm (อ่านว่า เอ่นทู้ซิแอ่สซึม) แปลว่า ความกระตือรือร้น
R = rapidness (อ่านว่า เร้ปปิดเนส) แปลว่า ความรวดเร็ว ครบถ้วน มีคุณภาพ
V = value (อ่านว่า ว้าลลู) แปลว่า มีคุณค่า
I = impression (อ่านว่า อิมเพริ้สเซน) แปลว่า ความประทับใจ
C = courtesy (อ่านว่า เค้อติซี) แปลว่า มีความสุภาพอ่อนโยน
E = endurance (อ่านว่า เอนดู้เรน) แปลว่า ความอดทน เก็บอารมณ์

สำหรับคำว่า “Mind” ก็ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

M = make believe (อ่านว่า เมค บิลี้ฟ) แปลว่า มีความเชื่อ
I = insist (อ่านว่า อินซิ้ส) แปลว่า ยืนยัน/ยอมรับ
N = necessitate (อ่านว่า เนอะเซ้สเซอะเตท) แปลว่า การให้ความสำคัญ
D = devote (อ่านว่า ดิโว้ต) แปลว่า อุทิศตน

คำว่า Service Mind นั้น ได้มีการพูดกันมาหลายปีทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ หากจะพิจารณาตามตัวอักษรรวมแล้ว

คำว่า “Service” แปลว่า การบริการ
คำว่า “Mind” แปลว่า “จิตใจ”
รวมคำแล้วแปลว่า “มีจิตใจในการให้บริการ”

ซึ่งพอสรุปได้ว่าการบริหารที่ดี ผู้ให้บริการต้องมีจิตใจในการให้บริการ คือ ต้องมีจิตใจหรือมีใจรัก มีความเต็มใจในการบริการ การทำงานโดยมีใจรักจะแสดงออกมาทางกาย โดยการทำงานด้วยความยิ้มแย้ม แจ่มใส มีอารมณ์รื่นเริง และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่ขึ้นเสียงกับประชาชนหรือผู้มารับบริการ

คำว่า Service Mind มีความหมายทางกว้าง อาจหมายถึง การบริการที่ดี แก่ลูกค้า หรือการทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ มีความสุข และได้รับผลประโยชน์ อย่างเต็มที่

ดังนั้น การให้บริการอย่างดีนั้นมักจะได้ความสำคัญกับแนวทางในการให้บริการสองแนวทาง ดังนี้
ประการแรก คือ ลูกค้าเป็นผู้ถูกเสมอ หรือเห็นว่าลูกค้าต้องได้รับการเอาอกเอาใจถือว่าถูกต้องและเป็นหนึ่งเสมอ หากต้องการให้บริการที่ดีต้องให้ความสะดวก ใช้วาจาไพเราะ ให้คำแนะนำด้วยการยกย่องลูกค้าตลอดเวลา
ประการที่สอง คือ ต้องให้เกียรติลูกค้า ต้องไม่เป็นการบังคับขู่เข็ญให้ลูกค้า มีความพึงพอใจ
เกิดความเชื่อถือจากพฤติกรรมของเราผู้ให้บริการ แล้ว กลับมาใช้บริการ ของเราอีก การบริการที่ดีและมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ ถือว่า ลูกค้าเป็นคนพิเศษ ดังนั้นการจะให้เกิดการมีจิตใจในการให้บริการที่ดีหรือ “Service Mind” ขึ้นในหมู่ของนักพัฒนาชุมชน เราต้องเข้าใจหลักการดังว่าก่อนแล้วทดลองปฏิบัติและทดสอบตนเองตลอดเวลาว่ามี Service Mind หรือไม่ หากเราทำได้ กรมการพัฒนาชุมชนจะเป็นกรมแรกที่ยึดเอา “ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการบริหารงาน” อย่างแน่นอน
jpp-thai.com